นายธวัช บวรวนิชยกูร ส.ว.สรรหา ในฐานะกมธ.วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่วุฒิสภา เตรียมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯปี 53 ที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้วว่า งบปี53 ร้อยละ 85 เป็นรายจ่ายประจำ ที่เหลือเป็นงบลงทุน ซึ่งปกติเรื่องไม่ชอบมาพากล มักจะไปอยู่ที่งบลงทุน แต่ปีนี้น้อยมาก รวมถึงค่าเวนคืน และงบผูกพันจากปีก่อนๆ ซึ่งมีการพิจารณากันมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม หากดูประสิทธิภาพการใช้จ่ายเปรียบเทียบกับผลผลิต งบประจำในปี 53 ที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เทียบกับผลผลิตแล้ว ไม่คุ้มค่า ที่ผ่านมีความพยายามผลักดันการพัฒนาระบบราชการให้สร้างผลผลิตที่จับต้องได้ แต่วันนี้ก็ยังเป็นนามธรรม เงินที่ลงไปกับราชการสามารถไปช่วยแก้ปัญหาความยากจน การเกษตร ความขัดแย้ง แต่กลายเป็นระบบราชการลอย ไปลอยมา แก้ปัญหาเรื่องแรงจูงใจให้ราชการทำงานไม่ได้ รัฐบาลเองก็ยังไม่มีเอกภาพ ดังนั้นเงินในส่วนรายจ่ายประจำสูญเปล่า ประเทศไปไม่ได้ ถ้างบประจำสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีผลผลิตที่จับต้องได้ การสร้างกลไกตรวจสอบประสิทธิภาพประสิทธิผลของราชการที่จับต้องได้ก็ไม่มี
นอกจากนี้ควรจะจับตาดูเงินกู้ 8 แสนล้านบาท ที่จะใช้สำหรับแผนไทยเข้มแข็ง โดยเฉพาะในการพิจารณาของวุฒิสภา น่าแปลกใจ ตอนอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ในวาระแรก ส.ว.อภิปรายโจมตีรัฐบาลเรื่องเงินกู้ก้อนนี้เป็นอย่างมาก แต่ตอนลงมติกลับเป็นคนละเรื่อง โดยโหวตผ่านขาดลอย
"ผมได้ยินมาว่าในการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการวิสามัญ มีกระบวนการต่อรองระหว่างรัฐบาล และ ส.ว.เลือกตั้งบางกลุ่ม ที่จะจัดงบให้ไปลงจังหวัดต่างๆ ของ ส.ว. ซึ่งถือว่าแย่มากหากทำกันแบบนี้ ขอให้จับตาดูตอนอภิปราย วาระ 2 และ 3 หาก ร่าง พ.ร.บ.ยังเป็นเหมือนเดิม แต่ ส.ว.ยังให้ผ่านมากมายแบบวาระแรก ก็แสดงว่า มีความผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นจริง" นายธวัชกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากดูประสิทธิภาพการใช้จ่ายเปรียบเทียบกับผลผลิต งบประจำในปี 53 ที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เทียบกับผลผลิตแล้ว ไม่คุ้มค่า ที่ผ่านมีความพยายามผลักดันการพัฒนาระบบราชการให้สร้างผลผลิตที่จับต้องได้ แต่วันนี้ก็ยังเป็นนามธรรม เงินที่ลงไปกับราชการสามารถไปช่วยแก้ปัญหาความยากจน การเกษตร ความขัดแย้ง แต่กลายเป็นระบบราชการลอย ไปลอยมา แก้ปัญหาเรื่องแรงจูงใจให้ราชการทำงานไม่ได้ รัฐบาลเองก็ยังไม่มีเอกภาพ ดังนั้นเงินในส่วนรายจ่ายประจำสูญเปล่า ประเทศไปไม่ได้ ถ้างบประจำสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีผลผลิตที่จับต้องได้ การสร้างกลไกตรวจสอบประสิทธิภาพประสิทธิผลของราชการที่จับต้องได้ก็ไม่มี
นอกจากนี้ควรจะจับตาดูเงินกู้ 8 แสนล้านบาท ที่จะใช้สำหรับแผนไทยเข้มแข็ง โดยเฉพาะในการพิจารณาของวุฒิสภา น่าแปลกใจ ตอนอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ในวาระแรก ส.ว.อภิปรายโจมตีรัฐบาลเรื่องเงินกู้ก้อนนี้เป็นอย่างมาก แต่ตอนลงมติกลับเป็นคนละเรื่อง โดยโหวตผ่านขาดลอย
"ผมได้ยินมาว่าในการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการวิสามัญ มีกระบวนการต่อรองระหว่างรัฐบาล และ ส.ว.เลือกตั้งบางกลุ่ม ที่จะจัดงบให้ไปลงจังหวัดต่างๆ ของ ส.ว. ซึ่งถือว่าแย่มากหากทำกันแบบนี้ ขอให้จับตาดูตอนอภิปราย วาระ 2 และ 3 หาก ร่าง พ.ร.บ.ยังเป็นเหมือนเดิม แต่ ส.ว.ยังให้ผ่านมากมายแบบวาระแรก ก็แสดงว่า มีความผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นจริง" นายธวัชกล่าว