“กอร์ปศักดิ์” ยอมรับไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟสูง แต่ไม่ให้คำตอบจะหนุนนิวเคลียร์ลดความเสี่ยง ตามที่รัฐบาลชุดเก่าวางแผนให้เกิดในปี 2564 หรือไม่ เล่นลิ้นยังไม่ถึงเวลาตัดสินใจ พร้อมมอบนโยบายกฟผ.ลงทุนให้ใช้เงินบาทลดแรงกดดันบาทแข็ง
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการตรวจเยี่ยมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)วานนี้ (28ส.ค.) ว่า ได้หารือถึงแผนระยะยาวในการผลิตไฟฟ้า ที่จะต้องลดการนำเข้าน้ำมันดิบเนื่องจากราคาแพง ด้วยการไปเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานลม อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟค่อนข้างสูงถึงกว่า 70% แต่รัฐบาลที่ผ่านมาได้วางแผนพัฒนากำลังการผลิตไว้ในระยะยาว ที่จะลดใช้ก๊าซฯด้วยการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์และถ่านหิน ซึ่งยอมรับว่าประเด็นเรื่องนิวเคลียร์มีความอ่อนไหวมาก จำเป็นต้องให้สังคมได้รับรู้ แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาจะต้องตัดสินใจ เพราะยังมีเวลาอีกเพราะแผนจะเกิดขึ้นในปี 2564
ด้านนายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่ากฟผ.กล่าวว่า กฟผ.ได้บริหารหนี้และการนำเข้าอุปกรณ์ต่างๆเป็นเงินบาทอยู่แล้ว โดยเงินกู้ของ กฟผ.ปีนี้มีทั้งสิ้น 80,000 กว่าล้านบาท คิดเป็นสกุลต่างประเทศ เพียง 20% เท่านั้น จากอดีตที่สูงถึง 80% ซึ่งเฉลี่ยกฟผ.จะใช้เงินลงทุนประมาณปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท
“ อย่างโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของกฟผ.ได้ลงทุนเร็วกว่าแผนจากจะเริ่มปี 2553 ก็เป็นปี 2552-2555 วงเงิน 10,000 กว่าล้านบาทเพื่อสร้างสายส่งในการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมหงสาลิกไนต์ ก็ดำเนินการเป็นบาทหมด”นายสมบัติกล่าว
สำหรับการบริหารทางการเงินเพื่อดูแลสภาพคล่อง กฟผ.ได้มีการออกพันธบัตรกฟผ.ไปแล้ว 43,000 ล้านบาท ตามแผนจะเหลืออีกประมาณ 3,000 ล้านบาท คาดว่าจะออกได้ในเดือนก.ย.นี้ และคาดว่าภาระค่าไฟฟ้าที่กฟผ.แบกรับไว้ประมาณ 20,000 ล้านบาท น่าจะทยอยคืนได้ในช่วงกลางปีนี้ได้ ก็จะทำให้สภาพคล่องดีขึ้นส่วนปี 2553
กฟผ.มีแผนลงทุนทั้งสิ้น 3 หมื่นล้าน
“ การใช้ไฟที่ลดลงจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงการตรึงค่าไฟจะส่งผลให้กำไรของกฟผ.ปีนี้คาดว่าจะลดลงประมาณ 10-20% จากปีที่ผ่านมาที่กำไรประมาณ 25,000 ล้านบาท .”นายสมบัติกล่าว
แหล่งข่าวจากกฟผ.กล่าวว่า กรณีก๊าซพม่าที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟของไทยเมื่อเร็วๆ นี้จนต้องบริหารการผลิตจากน้ำในเขื่อนแทนเป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงความเสี่ยงและความมั่นคงต่อระบบพลังงานไฟฟ้าของไทยอย่างมาก เนื่องจากหากระบบท่อที่พม่ามีปัญหาจะมีผลต่อไฟฟ้าของไทยทันที นอกเหนือจากจะต้องหันไปใช้น้ำมันที่แพงขึ้นแล้ว อนาคตหากโรงไฟฟ้าต่างๆไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามแผน เพราะปัจจุบันถูกต่อต้านทั้งหมด จะยิ่งทำให้ความเสี่ยงยิ่งมีสูงขึ้นซึ่งเห็นว่าทุกฝ่ายน่าจะพิจารณาร่วมกันถึงปัญหาดังกล่าว
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการตรวจเยี่ยมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)วานนี้ (28ส.ค.) ว่า ได้หารือถึงแผนระยะยาวในการผลิตไฟฟ้า ที่จะต้องลดการนำเข้าน้ำมันดิบเนื่องจากราคาแพง ด้วยการไปเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานลม อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟค่อนข้างสูงถึงกว่า 70% แต่รัฐบาลที่ผ่านมาได้วางแผนพัฒนากำลังการผลิตไว้ในระยะยาว ที่จะลดใช้ก๊าซฯด้วยการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์และถ่านหิน ซึ่งยอมรับว่าประเด็นเรื่องนิวเคลียร์มีความอ่อนไหวมาก จำเป็นต้องให้สังคมได้รับรู้ แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาจะต้องตัดสินใจ เพราะยังมีเวลาอีกเพราะแผนจะเกิดขึ้นในปี 2564
ด้านนายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่ากฟผ.กล่าวว่า กฟผ.ได้บริหารหนี้และการนำเข้าอุปกรณ์ต่างๆเป็นเงินบาทอยู่แล้ว โดยเงินกู้ของ กฟผ.ปีนี้มีทั้งสิ้น 80,000 กว่าล้านบาท คิดเป็นสกุลต่างประเทศ เพียง 20% เท่านั้น จากอดีตที่สูงถึง 80% ซึ่งเฉลี่ยกฟผ.จะใช้เงินลงทุนประมาณปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท
“ อย่างโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของกฟผ.ได้ลงทุนเร็วกว่าแผนจากจะเริ่มปี 2553 ก็เป็นปี 2552-2555 วงเงิน 10,000 กว่าล้านบาทเพื่อสร้างสายส่งในการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมหงสาลิกไนต์ ก็ดำเนินการเป็นบาทหมด”นายสมบัติกล่าว
สำหรับการบริหารทางการเงินเพื่อดูแลสภาพคล่อง กฟผ.ได้มีการออกพันธบัตรกฟผ.ไปแล้ว 43,000 ล้านบาท ตามแผนจะเหลืออีกประมาณ 3,000 ล้านบาท คาดว่าจะออกได้ในเดือนก.ย.นี้ และคาดว่าภาระค่าไฟฟ้าที่กฟผ.แบกรับไว้ประมาณ 20,000 ล้านบาท น่าจะทยอยคืนได้ในช่วงกลางปีนี้ได้ ก็จะทำให้สภาพคล่องดีขึ้นส่วนปี 2553
กฟผ.มีแผนลงทุนทั้งสิ้น 3 หมื่นล้าน
“ การใช้ไฟที่ลดลงจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงการตรึงค่าไฟจะส่งผลให้กำไรของกฟผ.ปีนี้คาดว่าจะลดลงประมาณ 10-20% จากปีที่ผ่านมาที่กำไรประมาณ 25,000 ล้านบาท .”นายสมบัติกล่าว
แหล่งข่าวจากกฟผ.กล่าวว่า กรณีก๊าซพม่าที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟของไทยเมื่อเร็วๆ นี้จนต้องบริหารการผลิตจากน้ำในเขื่อนแทนเป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงความเสี่ยงและความมั่นคงต่อระบบพลังงานไฟฟ้าของไทยอย่างมาก เนื่องจากหากระบบท่อที่พม่ามีปัญหาจะมีผลต่อไฟฟ้าของไทยทันที นอกเหนือจากจะต้องหันไปใช้น้ำมันที่แพงขึ้นแล้ว อนาคตหากโรงไฟฟ้าต่างๆไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามแผน เพราะปัจจุบันถูกต่อต้านทั้งหมด จะยิ่งทำให้ความเสี่ยงยิ่งมีสูงขึ้นซึ่งเห็นว่าทุกฝ่ายน่าจะพิจารณาร่วมกันถึงปัญหาดังกล่าว