น้ำท่วมท้ายเขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรีช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีประชาชน เจ้าของธุรกิจท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเดือดร้อนจากเหตุที่ไม่คาดฝัน ไม่ได้แจ้งเตือนล่วงหน้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
แม้ว่าวันนี้สถานการณ์น้ำท่วมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว กฟผ.จะแถลงการณ์เสียใจและพร้อมจะรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ถ้าไม่คิดอะไรกันมาก เรื่องมันก็น่าจะจบลงเพียงเท่านี้
ทว่า หากพิจารณาเหตุผลของอุทกภัยครั้งนี้ ผมไม่คิดว่ามันจะจบเรื่อง ตรงกันข้ามกลับมองว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของคำถามที่ว่า...เกิดอะไรขึ้นกับความมั่นคงพลังงานของไทย?
ทั้งนี้ก็มาจากเหตุผลที่ กฟผ.แถลงมา 2 ข้อนั่นแหละ
ข้อแรก กฟผ.บอกว่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ กฟผ.มีความจำเป็นต้องผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนศรีนครินทร์เต็มกำลังผลิต เพื่อรักษาระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ ไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง หลังจากเกิดปัญหาการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชในอ่าวไทย และแหล่งยาดานาในสหภาพพม่า โดยบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หายไปรวม 1,700 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 77 ของปริมาณก๊าซในระบบผลิตไฟฟ้า คิดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า รวม 10,000 เมกะวัตต์
ข้อสอง กฟผ.ได้ปรับแผนการเดินเครื่องในช่วง 2 วันที่ผ่านมา โดยเพิ่มการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าอื่นๆ ขึ้นเต็มที่ ได้แก่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงไฟฟ้าถ่านหินของเอกชน โรงไฟฟ้าน้ำพองและรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว เพิ่มเต็มที่ 24 ชั่วโมง อีกทั้งให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีและบางปะกงเดินเครื่องด้วยน้ำมันเตาแทน พร้อมทั้งเดินเครื่องจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนรัชชประภาร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความมั่นคงและรักษาระบบไฟฟ้าของประเทศไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับ
มองโดยผิวเผินเหตุผลของ กฟผ.ฟังดูคล้ายๆ เป็นความจำเป็น หรือเจตนาดีของ กฟผ.ที่ต้องทำเพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าหรือพลังงานเพื่อคนส่วนรวมของประเทศ แม้จะต้องทำให้ประชาชนบางส่วนทนทุกข์ กิจการร้านค้าพื้นที่การเกษตรพังพินาศย่อยยับซึ่งกลายเป็น ‘ผู้เสียสละ’ อย่างไม่ยินยอมพร้อมใจก็ตาม
ถามว่า คราวนี้จำเป็นแล้วคราวต่อๆ ไปล่ะจะมีความจำเป็นแบบนี้อีกหรือไม่ กฟผ.ก็ไม่กล้ายืนยัน
กรณีนี้เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เป็นผลกระทบจากการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์เต็มๆ ถ้ามีความจำเป็นคราวหน้าก็แปลว่า คนที่อยู่ท้ายเขื่อนจะต้องสวมบทคนหมดเนื้อหมดตัวเป็นผู้เสียสละไปอีก ซึ่งไม่รู้ว่า จะอีกสักกี่ครั้ง
ความเป็นจริงหากทุกอย่างเป็นไปตามที่ กฟผ.พยายามย้ำแล้วย้ำอีกว่า “เพื่อเพิ่มความมั่นคงและรักษาระบบไฟฟ้าของประเทศไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับ” เหตุการณ์จับเอา ‘ผู้เสียสละ’ เป็นตัวประกันก็ไม่ควรเกิดขึ้นแม้แต่กับคนเดียว ใช่หรือไม่?
เพราะความเดือดร้อนจากอุทกภัยจะหนึ่งครั้งหรือสองครั้ง มากหรือน้อยมันคือ ความทุกข์แสนสาหัสทั้งกายและใจที่ยากจะฟื้นกลับมาให้เป็นปกติภายในวันสองวันเสียเมื่อไหร่
ปัญหาจึงต้องถามต่อว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน หรือ กระทั่งประชาชนทั่วไปควรจะต้องรับรู้ร่วมกัน คือ อะไร
ผมมองว่า เหตุผลของ กฟผ.ซ่อนอะไรอยู่เยอะมากโดยเฉพาะข้อแรก
นั่นคือ สิ่งสะท้อนว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเรื่องความมั่นคงของพลังงานแน่ๆ
ตามข้อมูล ณ ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าทั้งของรัฐและเอกชนรวมกัน (รวมที่ซื้อมาจากต่างประเทศ เช่น ลาว พม่า และมาเลเซียบางส่วน) สามารถผลิตหรือป้อนกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 26,000-27,000 เมกะวัตต์
พอ กฟผ.อธิบายมาว่า “หลังจากเกิดปัญหาการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชในอ่าวไทย และแหล่งยาดานาในสหภาพพม่า โดยบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หายไปรวม 1,700 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 77 ของปริมาณก๊าซในระบบผลิตไฟฟ้า คิดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า รวม 10,000 เมกะวัตต์”
ผมจงใจขีดเส้นใต้เพื่อเน้นตรงคำว่า 10,000 เมกะวัตต์ ตรงนี้ซึ่งถ้าเอาไปเทียบกับปริมาณทั้งประเทศ 26,000 เมกะวัตต์ จะเห็นว่า เป็นกำลังที่มากพอทำให้เกิดไฟฟ้าดับได้ครึ่งหนึ่งของประเทศ!
มันคงไม่ใช่แค่ “จะเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง” เฉยๆ ตามที่ กฟผ.บอกเสียแล้ว
และประการสำคัญ คือ โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศ 75% ล้วนพึ่งพาก๊าชเป็นเชื้อเพลิง! จึงน่าหนักอกหนักใจหากเกิดปัญหาเช่นนี้
เท่าที่รู้ ตามปกติเมื่อเกิดปัญหาด้านพลังงานไฟฟ้าขึ้น กฟผ.จำเป็นต้องปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า เพราะ กฟผ.เองจะต้องรักษาระดับความสมดุลของระบบ และ การใช้น้ำผลิตไฟฟ้าก็ถือเป็นวิธีการที่ได้ผลรวดเร็ว ต้นทุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแบบอื่นๆ
แต่การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำก็มีข้อจำกัด เช่น ปัญหาน้ำท่วมอย่างที่เห็น และ ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เอาแค่ภาคตะวันตก และกรุงเทพฯ ตอนบนบางส่วนที่ต้องพึ่งพิงจากโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตก (ที่ผลิตไฟฟ้าได้อยู่ราว 3-4,000 เมกะวัตต์) ก็ไม่น่าจะทำได้
ดังนั้น จึงน่าเป็นห่วงว่า ปัญหาแหล่งก๊าชในพม่าที่ป้อนให้กับโรงงานไฟฟ้าฝั่งตะวันตก จะเป็นปัญหาไปอีกนานหรือไม่ ซึ่งนี่อาจไม่สำคัญเท่ากับ ปตท.ก็ไม่ได้อธิบายว่า สาเหตุที่ก๊าซพม่ามีปัญหาเกิดจากสาเหตุอะไร
ปตท.บอกเพียงว่า “เป็นเหตุสุดวิสัย และเตรียมก๊าชจากแหล่งอื่นสำรองไว้แล้ว”
ทว่า คนวงในธุรกิจไฟฟ้าเขาทราบกันว่า ปตท.เองจริงๆ นั้นก็ทราบว่าเป็นเพราะอะไร แต่ก็เหมือนจะพูดเหตุผลที่แท้จริงไม่ได้
ปัญหานี้รับรู้กันภายในว่า เกิดขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม ที่ผ่านมา น่าสังเกตว่า เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลพม่าตัดสินคดีอองซาน ซูจี (วันที่ 11 สิงหาคม) จากนั้นรัฐบาลไทยก็ประณามรัฐบาลทหารพม่าเรื่องนี้
เป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐบาลพม่าเคืองไทยแกล้งปิดวาล์วก๊าซ ตัดไฟฟ้าไทย? เป็นคำถามที่ต้องขออนุญาตยกยอดไปต่อในตอนหน้า
สำหรับวันนี้ ผลของน้ำท่วมเมืองกาญจน์ แหล่งก๊าซอ่าวไทยและพม่ามีปัญหา ปตท.ไม่สามารถจ่ายเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าตามปกติได้นี้ บอกได้ว่ามันเป็นอาการป่วยไข้ที่เกิดขึ้นกับพลังงานไทยโดยที่มองข้ามไม่ได้.
แม้ว่าวันนี้สถานการณ์น้ำท่วมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว กฟผ.จะแถลงการณ์เสียใจและพร้อมจะรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ถ้าไม่คิดอะไรกันมาก เรื่องมันก็น่าจะจบลงเพียงเท่านี้
ทว่า หากพิจารณาเหตุผลของอุทกภัยครั้งนี้ ผมไม่คิดว่ามันจะจบเรื่อง ตรงกันข้ามกลับมองว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของคำถามที่ว่า...เกิดอะไรขึ้นกับความมั่นคงพลังงานของไทย?
ทั้งนี้ก็มาจากเหตุผลที่ กฟผ.แถลงมา 2 ข้อนั่นแหละ
ข้อแรก กฟผ.บอกว่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ กฟผ.มีความจำเป็นต้องผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนศรีนครินทร์เต็มกำลังผลิต เพื่อรักษาระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ ไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง หลังจากเกิดปัญหาการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชในอ่าวไทย และแหล่งยาดานาในสหภาพพม่า โดยบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หายไปรวม 1,700 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 77 ของปริมาณก๊าซในระบบผลิตไฟฟ้า คิดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า รวม 10,000 เมกะวัตต์
ข้อสอง กฟผ.ได้ปรับแผนการเดินเครื่องในช่วง 2 วันที่ผ่านมา โดยเพิ่มการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าอื่นๆ ขึ้นเต็มที่ ได้แก่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงไฟฟ้าถ่านหินของเอกชน โรงไฟฟ้าน้ำพองและรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว เพิ่มเต็มที่ 24 ชั่วโมง อีกทั้งให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีและบางปะกงเดินเครื่องด้วยน้ำมันเตาแทน พร้อมทั้งเดินเครื่องจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนรัชชประภาร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความมั่นคงและรักษาระบบไฟฟ้าของประเทศไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับ
มองโดยผิวเผินเหตุผลของ กฟผ.ฟังดูคล้ายๆ เป็นความจำเป็น หรือเจตนาดีของ กฟผ.ที่ต้องทำเพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าหรือพลังงานเพื่อคนส่วนรวมของประเทศ แม้จะต้องทำให้ประชาชนบางส่วนทนทุกข์ กิจการร้านค้าพื้นที่การเกษตรพังพินาศย่อยยับซึ่งกลายเป็น ‘ผู้เสียสละ’ อย่างไม่ยินยอมพร้อมใจก็ตาม
ถามว่า คราวนี้จำเป็นแล้วคราวต่อๆ ไปล่ะจะมีความจำเป็นแบบนี้อีกหรือไม่ กฟผ.ก็ไม่กล้ายืนยัน
กรณีนี้เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เป็นผลกระทบจากการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์เต็มๆ ถ้ามีความจำเป็นคราวหน้าก็แปลว่า คนที่อยู่ท้ายเขื่อนจะต้องสวมบทคนหมดเนื้อหมดตัวเป็นผู้เสียสละไปอีก ซึ่งไม่รู้ว่า จะอีกสักกี่ครั้ง
ความเป็นจริงหากทุกอย่างเป็นไปตามที่ กฟผ.พยายามย้ำแล้วย้ำอีกว่า “เพื่อเพิ่มความมั่นคงและรักษาระบบไฟฟ้าของประเทศไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับ” เหตุการณ์จับเอา ‘ผู้เสียสละ’ เป็นตัวประกันก็ไม่ควรเกิดขึ้นแม้แต่กับคนเดียว ใช่หรือไม่?
เพราะความเดือดร้อนจากอุทกภัยจะหนึ่งครั้งหรือสองครั้ง มากหรือน้อยมันคือ ความทุกข์แสนสาหัสทั้งกายและใจที่ยากจะฟื้นกลับมาให้เป็นปกติภายในวันสองวันเสียเมื่อไหร่
ปัญหาจึงต้องถามต่อว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน หรือ กระทั่งประชาชนทั่วไปควรจะต้องรับรู้ร่วมกัน คือ อะไร
ผมมองว่า เหตุผลของ กฟผ.ซ่อนอะไรอยู่เยอะมากโดยเฉพาะข้อแรก
นั่นคือ สิ่งสะท้อนว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเรื่องความมั่นคงของพลังงานแน่ๆ
ตามข้อมูล ณ ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าทั้งของรัฐและเอกชนรวมกัน (รวมที่ซื้อมาจากต่างประเทศ เช่น ลาว พม่า และมาเลเซียบางส่วน) สามารถผลิตหรือป้อนกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 26,000-27,000 เมกะวัตต์
พอ กฟผ.อธิบายมาว่า “หลังจากเกิดปัญหาการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชในอ่าวไทย และแหล่งยาดานาในสหภาพพม่า โดยบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หายไปรวม 1,700 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 77 ของปริมาณก๊าซในระบบผลิตไฟฟ้า คิดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า รวม 10,000 เมกะวัตต์”
ผมจงใจขีดเส้นใต้เพื่อเน้นตรงคำว่า 10,000 เมกะวัตต์ ตรงนี้ซึ่งถ้าเอาไปเทียบกับปริมาณทั้งประเทศ 26,000 เมกะวัตต์ จะเห็นว่า เป็นกำลังที่มากพอทำให้เกิดไฟฟ้าดับได้ครึ่งหนึ่งของประเทศ!
มันคงไม่ใช่แค่ “จะเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง” เฉยๆ ตามที่ กฟผ.บอกเสียแล้ว
และประการสำคัญ คือ โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศ 75% ล้วนพึ่งพาก๊าชเป็นเชื้อเพลิง! จึงน่าหนักอกหนักใจหากเกิดปัญหาเช่นนี้
เท่าที่รู้ ตามปกติเมื่อเกิดปัญหาด้านพลังงานไฟฟ้าขึ้น กฟผ.จำเป็นต้องปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า เพราะ กฟผ.เองจะต้องรักษาระดับความสมดุลของระบบ และ การใช้น้ำผลิตไฟฟ้าก็ถือเป็นวิธีการที่ได้ผลรวดเร็ว ต้นทุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแบบอื่นๆ
แต่การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำก็มีข้อจำกัด เช่น ปัญหาน้ำท่วมอย่างที่เห็น และ ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เอาแค่ภาคตะวันตก และกรุงเทพฯ ตอนบนบางส่วนที่ต้องพึ่งพิงจากโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตก (ที่ผลิตไฟฟ้าได้อยู่ราว 3-4,000 เมกะวัตต์) ก็ไม่น่าจะทำได้
ดังนั้น จึงน่าเป็นห่วงว่า ปัญหาแหล่งก๊าชในพม่าที่ป้อนให้กับโรงงานไฟฟ้าฝั่งตะวันตก จะเป็นปัญหาไปอีกนานหรือไม่ ซึ่งนี่อาจไม่สำคัญเท่ากับ ปตท.ก็ไม่ได้อธิบายว่า สาเหตุที่ก๊าซพม่ามีปัญหาเกิดจากสาเหตุอะไร
ปตท.บอกเพียงว่า “เป็นเหตุสุดวิสัย และเตรียมก๊าชจากแหล่งอื่นสำรองไว้แล้ว”
ทว่า คนวงในธุรกิจไฟฟ้าเขาทราบกันว่า ปตท.เองจริงๆ นั้นก็ทราบว่าเป็นเพราะอะไร แต่ก็เหมือนจะพูดเหตุผลที่แท้จริงไม่ได้
ปัญหานี้รับรู้กันภายในว่า เกิดขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม ที่ผ่านมา น่าสังเกตว่า เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลพม่าตัดสินคดีอองซาน ซูจี (วันที่ 11 สิงหาคม) จากนั้นรัฐบาลไทยก็ประณามรัฐบาลทหารพม่าเรื่องนี้
เป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐบาลพม่าเคืองไทยแกล้งปิดวาล์วก๊าซ ตัดไฟฟ้าไทย? เป็นคำถามที่ต้องขออนุญาตยกยอดไปต่อในตอนหน้า
สำหรับวันนี้ ผลของน้ำท่วมเมืองกาญจน์ แหล่งก๊าซอ่าวไทยและพม่ามีปัญหา ปตท.ไม่สามารถจ่ายเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าตามปกติได้นี้ บอกได้ว่ามันเป็นอาการป่วยไข้ที่เกิดขึ้นกับพลังงานไทยโดยที่มองข้ามไม่ได้.