รัฐบาล ส.ป.ป.ลาว เตรียมล้างไพ่ โครงการรับซื้อไฟฟ้าใหม่ เหตุต้นทุนค่าก่อสร้างพุ่ง ผู้ประกอบการที่เสนอราคาค่าไฟมาแล้วทำไม่ได้ ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาลิกไนต์ของบ้านปู มีสิทธิ์ชวดโครงการ มีเอกชนหลายรายจ่อจองคิว ด้านผู้ว่าการ กฟผ.เผย จะรับซื้อไฟฟ้ากับผู้ที่ให้ราคาดีกว่า
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ว่า จากที่รัฐบาลไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยู ในการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) จำนวน 7,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 นั้น ล่าสุด ทางกระทรวงพลังงานได้เดินทางไปหารือกับทางรัฐบาล ส.ป.ป.ลาว เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ทางรัฐบาล ส.ป.ป.ลาว จำเป็นต้องเลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าออกไปจำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาลิกไนต์ ของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ขนาดกำลังการผลิต 1,653 เมกะวัตต์
โครงการเขื่อนน้ำเงี๊ยบ ของกลุ่มคันไซ จากญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิต 260 เมกะวัตต์ โครงการเขื่อนน้ำเทิน 1 ของบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท กัมบูดา ของมาเลเซีย ขนาดกำลังการผลิต 523 เมกะวัตต์ และโครงการเขื่อนน้ำงึม 3 ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ขนาดกำลังการผลิต 460 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ เป็นเหตุผลมาจากขณะนี้ภาวะเงินเฟ้อได้พุ่งสูงขึ้นมาก จากภาวะราคาน้ำมัน ส่งผลให้ค่าวัสดุอุปกรณ์ค่าก่อสร้างได้เพิ่มขึ้นกว่า 30% ทำให้ผู้ประกอบการที่เคยเสนอราคาค่าไฟฟ้าไปก่อนหน้านี้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ จึงได้ทำเรื่องเสนอทางรัฐบาล ส.ป.ป.ลาว เพื่อจะขอทบทวนโครงการใหม่ ทาง ส.ป.ป.ลาว จึงทำเรื่องเสนอคณะอนุกรรมการรัฐซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มี นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน เพื่อขอยุติเอ็มโอยูที่ได้เซ็นกันไว้ เพื่อให้มีการเจรจาเรื่องค่าไฟฟ้ากันใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรอหนังสืออย่างเป็นทางการจากรัฐบาล ส.ป.ป.ลาว อยู่
นายสมบัติ กล่าวอีกว่า ส่วนจะมีการเจรจาค่าไฟฟ้ากันเมื่อใดนั้น ต้องขึ้นกับทาง ส.ป.ป.ลาวจะมีหนังสืออย่างเป็นทางการเมื่อใด และจะเปลี่ยนผู้ดำเนินการโครงการหรือไม่ เนื่องจากทางส.ป.ป.ลาว มีสิทธิ์ที่จะยกโครงการให้กับผู้ประกอบการรายใดก็ได้ที่มีความพร้อมมากกว่า โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาลิกไนต์ ที่กำหนดจ่ายไฟฟ้าในปี 2556 ที่มีผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจ ซึ่งหากมีผู้เสนอในราคาค่าไฟฟ้าที่ดีกว่า กฟผ.ก็สามารถเลือกซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการรายใหม่ได้ ซึ่งรวมถึงโครงการอื่นๆ ด้วย ที่ผู้ประกอบการรายเดิมอาจจะถูกตัดสิทธิ์ออกไป หากไม่สามารถดำเนินโครงการได้ และเสนอค่าไฟฟ้าที่สูงกว่า
ส่วนกรณีของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เกาะกง ประเทศกัมพูชานั้น รัฐบาลกัมพูชาได้แจ้งรายชื่อผู้ได้สิทธิ์การก่อสร้างไว้ ประกอบด้วย กลุ่มบริษัท เกาะกงเพาเวอร์ กลุ่มเอกชนของกัมพูชา ร่วมกับจีน และกลุ่มบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และ อิตาเลียนไทย แต่กลุ่มใดจะเป็นผู้ดำเนินการนั้น ทางรัฐบาลกัมพูชายังไม่ได้ตัดสินใจ ขึ้นอยู่ผู้ประกอบการรายใดจะเสนอค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม และจะต้องมาดูว่าประเทศมีความจำเป็นต้องรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้หรือไม่ มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ประเทศมีทางเลือกหรือไม่ด้วย โดยโครงการนี้จะมีกำลังการผลิต 7,200 เมกะวัตต์ แบ่งการดำเนินการเป็น 2 เฟสๆ และ 3,600 เมกะวัตต์
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ว่า จากที่รัฐบาลไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยู ในการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) จำนวน 7,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 นั้น ล่าสุด ทางกระทรวงพลังงานได้เดินทางไปหารือกับทางรัฐบาล ส.ป.ป.ลาว เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ทางรัฐบาล ส.ป.ป.ลาว จำเป็นต้องเลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าออกไปจำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาลิกไนต์ ของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ขนาดกำลังการผลิต 1,653 เมกะวัตต์
โครงการเขื่อนน้ำเงี๊ยบ ของกลุ่มคันไซ จากญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิต 260 เมกะวัตต์ โครงการเขื่อนน้ำเทิน 1 ของบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท กัมบูดา ของมาเลเซีย ขนาดกำลังการผลิต 523 เมกะวัตต์ และโครงการเขื่อนน้ำงึม 3 ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ขนาดกำลังการผลิต 460 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ เป็นเหตุผลมาจากขณะนี้ภาวะเงินเฟ้อได้พุ่งสูงขึ้นมาก จากภาวะราคาน้ำมัน ส่งผลให้ค่าวัสดุอุปกรณ์ค่าก่อสร้างได้เพิ่มขึ้นกว่า 30% ทำให้ผู้ประกอบการที่เคยเสนอราคาค่าไฟฟ้าไปก่อนหน้านี้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ จึงได้ทำเรื่องเสนอทางรัฐบาล ส.ป.ป.ลาว เพื่อจะขอทบทวนโครงการใหม่ ทาง ส.ป.ป.ลาว จึงทำเรื่องเสนอคณะอนุกรรมการรัฐซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มี นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน เพื่อขอยุติเอ็มโอยูที่ได้เซ็นกันไว้ เพื่อให้มีการเจรจาเรื่องค่าไฟฟ้ากันใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรอหนังสืออย่างเป็นทางการจากรัฐบาล ส.ป.ป.ลาว อยู่
นายสมบัติ กล่าวอีกว่า ส่วนจะมีการเจรจาค่าไฟฟ้ากันเมื่อใดนั้น ต้องขึ้นกับทาง ส.ป.ป.ลาวจะมีหนังสืออย่างเป็นทางการเมื่อใด และจะเปลี่ยนผู้ดำเนินการโครงการหรือไม่ เนื่องจากทางส.ป.ป.ลาว มีสิทธิ์ที่จะยกโครงการให้กับผู้ประกอบการรายใดก็ได้ที่มีความพร้อมมากกว่า โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาลิกไนต์ ที่กำหนดจ่ายไฟฟ้าในปี 2556 ที่มีผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจ ซึ่งหากมีผู้เสนอในราคาค่าไฟฟ้าที่ดีกว่า กฟผ.ก็สามารถเลือกซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการรายใหม่ได้ ซึ่งรวมถึงโครงการอื่นๆ ด้วย ที่ผู้ประกอบการรายเดิมอาจจะถูกตัดสิทธิ์ออกไป หากไม่สามารถดำเนินโครงการได้ และเสนอค่าไฟฟ้าที่สูงกว่า
ส่วนกรณีของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เกาะกง ประเทศกัมพูชานั้น รัฐบาลกัมพูชาได้แจ้งรายชื่อผู้ได้สิทธิ์การก่อสร้างไว้ ประกอบด้วย กลุ่มบริษัท เกาะกงเพาเวอร์ กลุ่มเอกชนของกัมพูชา ร่วมกับจีน และกลุ่มบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และ อิตาเลียนไทย แต่กลุ่มใดจะเป็นผู้ดำเนินการนั้น ทางรัฐบาลกัมพูชายังไม่ได้ตัดสินใจ ขึ้นอยู่ผู้ประกอบการรายใดจะเสนอค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม และจะต้องมาดูว่าประเทศมีความจำเป็นต้องรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้หรือไม่ มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ประเทศมีทางเลือกหรือไม่ด้วย โดยโครงการนี้จะมีกำลังการผลิต 7,200 เมกะวัตต์ แบ่งการดำเนินการเป็น 2 เฟสๆ และ 3,600 เมกะวัตต์