xs
xsm
sm
md
lg

หุ้นเด่น:Economic Update : เศรษฐกิจไทยในช่วง H2/52 ยังคงมีสัญญาณการปรับฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประจำช่วง Q2/52 หดตัวลงอยู่ที่ระดับ –4.9% yoy แต่อย่างไรก็ตามในภาพรวมเริ่มเป็นการชะลอในการปรับตัวในอัตราเร่งลง หลังจากที่ในช่วง Q1/52 GDP มีการหดตัวลงถึง -7.1% yoy และหากเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ตัวเลข GDP ของไทยกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ที่ 2.3% qoq ส่งผลให้ GDP ช่วง 1H/52 หดตัวลง -6.0% โดยการหดตัวดังกล่าวลดลงต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ประเมินว่า GDP จะหดตัวลง -5.2% yoy

SCRI ปรับประมาณการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Real GDP Growth) ของไทยปี 2552 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน โดยคาดว่าจะหดตัวเฉลี่ย -3.2% ปรับดีขึ้นจากประมาณการณ์ครั้งก่อนที่ -4.1% โดยการปรับประมาณการณ์เพิ่มขึ้น มีปัจจัยจากการปรับตัวดีขึ้นของภาคการค้าระหว่างประเทศ ที่มีสัญญาณการกลับมาขยายตัวได้เร็วกว่าที่คาด รวมไปถึงในด้านของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของภาครัฐฯ ที่มีแนวโน้มในการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้กลับมาขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ให้กรอบของการหดตัวลงของ GDP อยู่ที่ระดับ -3.7% ถึง -2.7% แต่อย่างไรก็ตาม SCRI ยังคงไม่ทิ้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านเสถียรภาพทางการเมือง รวมไปถึงในด้านของการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ซึ่งอาจจะมีโอกาสส่งผลกระทบเพิ่มเติมกับภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทย ให้มีการชะลอตัวลงเกินกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ SCRI คาดว่าโดยเฉลี่ยทั้งปี 2553 แล้วผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของไทย จะขยายตัวที่ระดับ 2.5%

SCRI ประเมินเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่เหลือของปี จนถึงปี 2553 คาดว่าในภาพรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์แข็งแกร่ง แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องระวังปัจจัยเสี่ยงในด้านของหนี้สาธารณะที่มีโอกาสในการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าSCRI มองว่าในด้านของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า สัญญาณของตัวเลขที่บ่งชี้ถึงระดับเสถียรภาพ ทั้งจากในและนอกประเทศ ยังคงมีสัญญาณอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยถ้ามองถึงปัจจัยนอกประเทศ ระดับเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย ในปัจจุบันยังคงทรงตัวอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ โดยตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทยในช่วงวันที่ 14 ส.ค. อยู่ที่ 123.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างจะปลอดภัย เมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทย ที่โดยรวมยังคงมีสัดส่วนไม่ถึง 1 ใน 5 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย ขณะที่ในด้านของระดับเสถียรภาพในประเทศ ในภาพรวมยังคงต้องถือว่าอยู่ในเกณฑ์มีเสถียรภาพ แต่อย่างไรก็ตามถือได้ว่าเริ่มมีปัจจัยเสี่ยงเข้ามากระทบมากขึ้น ทั้งจากในด้านของระดับอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงในด้านของระดับหนี้สาธารณะ ที่มีแนวโน้มจะปรับตัวเกินกว่าระดับ 50% / GDP ได้ภายในช่วงปี 2553 ซึ่งโดยรวมถือได้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประจำช่วง Q2/52 หดตัวลงอยู่ที่ระดับ –4.9% yoy แต่อย่างไรก็ตามในภาพรวมเริ่มเป็นการชะลอในการปรับตัวในอัตราเร่งลง หลังจากที่ในช่วง Q1/52 GDP มีการหดตัวลงถึง -7.1% yoy และหากเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ตัวเลข GDP ของไทยกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ที่ 2.3% qoq ส่งผลให้ GDP ช่วง 1H/52 หดตัวลง -6.0% โดยการหดตัวดังกล่าวลดลงต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ประเมินว่า GDP จะหดตัวลง -5.2% yoy

โดยสาเหตุที่ส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยในช่วง Q2/52 กลับมาชะลออัตราเร่งในการปรับตัวลดลง มาจากตัวเลขในด้านของภาคอุปสงค์ในประเทศ ที่ชะลอการปรับลดลงในอัตราเร่งเมื่อเทียบกับในปีก่อนหน้าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านของตัวเลขการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ที่หดตัวลงเหลือเพียงแค่ -10.1% yoy เมื่อเทียบกับการปรับลดลงในไตรมาสก่อนหน้าที่ -15.8% yoy ซึ่งมีปัจจัยสำคัญจากการกลับมาปรับตัวดีขึ้นทั้งจากในด้านของการลงทุนจากภาครัฐฯและเอกชน และนอกจากนั้นยังรวมไปถึงตัวเลขในด้านของการใช้จ่ายของภาครัฐบาล ที่เริ่มมีสัญญาณของการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามทิศทางการเบิกจ่ายที่ปรับสูงขึ้น โดยขยายตัวอยู่ที่ระดับ 5.9% yoy ขณะที่ในด้านของตัวเลขการบริโภคภาคเอกชนหดตัวลง -2.3% yoy ใกล้เคียงกับระดับในไตรมาสก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส จะเห็นได้ว่ามีทิศทางปรับขยายตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ที่ระดับ 0.8% qoq ในด้านของภาคการค้าระหว่างประเทศ จากแนวโน้มการปรับตัวขึ้นในอัตราเร่งของภาคการนำเข้า ส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกโดยสุทธิกลับมาชะลอตัวลงอีกครั้ง หลังจากเป็นบวกค่อนข้างมากในช่วงไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกและนำเข้า หดตัวลงอยู่ที่ระดับ -21.8% และ -25.3% ตามลำดับ

ถ้ามองถึงในด้านของภาคการผลิต ภาคการเกษตรของไทยในช่วง Q2/52 หดตัวลง -2.7% yoy ลดลงในอัตราเร่งจากการขยายตัวที่ 3.4% yoy ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยลบทั้งจากในด้านของปริมาณผลผลิตพืชผลสำคัญ และราคาสินค้าที่ลดต่ำลง ขณะที่ในด้านของภาคนอกการเกษตรเริ่มส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หดตัวลงที่ -5.0% yoy ปรับตัวดีขึ้นจากการปรับลดลงถึง -8.1% yoy ในช่วง Q1/52 โดยเฉพาะในด้านของภาคก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ที่กลับมาขยายตัว 2.5% และ 0.4% yoy ตามลำดับ

แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า
กำลังโหลดความคิดเห็น