ไทยพาณิชย์ ผนึกแบงก์ชาติ จัดเสวนา “แนวโน้มเศรษฐกิจ-แนวทางบริหารความเสี่ยงจากค่าเงิน” ระบุ แม้มีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก แต่ยังต้องใช้ระยะเวลาปรับโครงสร้างอีกระยะ ชี้ ปัจจัยที่ยังน่าห่วงเป็นภาคท่องเที่ยวที่ทรุดหนัก และมีสัญญาณฟื้นตัวช้า ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนจะยังมีความผันผวนจากเงินทุนที่ยังทะลักเข้าภูมิภาคเอเชียต่อเเนื่อง แนะผู้ประกอบหันป้องกันความเสี่ยงหวั่นกระทบรายได้ธุรกิจ
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาพรรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ในงานเสวนาใบโพธิ์ Business Forum หัวข้อ “แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและแนวทางการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน” ว่า เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปีที่เศรษฐกิจโลกหดตัวจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินโลก ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและปล่อยสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่ออกมาเริ่มแสดงสัญญาณของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจคงต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติ
สำหรับภาวะเศรษฐกิจของไทย ขณะนี้มีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี การส่งออกสินค้าและบริการไปต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกยังจะขยายตัวต่ำกว่าแนวโน้มในอดีตจากกำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังคงมีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น SMEs ที่ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการวางแผนธุรกิจ รวมถึงการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้มากขึ้น
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ประเมินถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะถึงจุดต่ำสุดเมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา และจะค่อยๆ ดีขึ้น เบ็ดเสร็จแล้ว ส่งผลทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้จะหดตัวประมาณ 4-4.5% และจะกลับมาขยายตัวประมาณ 3.5-4% ในปี 2553 โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่ยังเหลืออยู่สำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น ไม่ใช่การส่งออก แต่เป็นเรื่องของการท่องเที่ยว จะเห็นได้จากการหดตัวหนักเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ และแนวโน้มการฟื้นตัวจะช้าตามสภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะยุโรปที่จะฟื้นตัวช้ากว่าภูมิภาคอื่นๆ รวมถึงความไม่สงบทางด้านการเมืองที่ผ่านมาของไทยเอง
ทั้งนี้ การท่องเที่ยวที่หดตัวลงมีผลสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทย เนื่องจาก ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และการค้าปลีก มีการจ้างงานโดย SME ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคการผลิตมาก คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80-90% เมื่อเทียบการจ้างงานโดย SME ในกลุ่มการผลิตอุตสาหกรรม ที่มีจ้างงานรวมไม่ถึง 30%
นายณัฐวุฒิ สัจจพุทธวงค์ นักเศรษฐศาสตร์การเงินอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ทิศทางค่าเงินและการบริหารความเสี่ยงทางการเงินนั้น แนวโน้มในอนาคตยังคงคาดว่าจะมีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามายังประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งตลาดเงินยังคงมีความเปราะบางและผันผวนอยู่ค่อนข้างมาก อาจจะส่งผลให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนเพิ่มสูงขึ้นได้ในอนาคต ผู้ประกอบการควรจะให้ความสนใจต่อการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้นเพื่อป้องกันมิให้รายรับและผลกำไรของธุรกิจผันผวนไปตามสภาพตลาดการเงิน
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาพรรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ในงานเสวนาใบโพธิ์ Business Forum หัวข้อ “แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและแนวทางการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน” ว่า เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปีที่เศรษฐกิจโลกหดตัวจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินโลก ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและปล่อยสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่ออกมาเริ่มแสดงสัญญาณของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจคงต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติ
สำหรับภาวะเศรษฐกิจของไทย ขณะนี้มีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี การส่งออกสินค้าและบริการไปต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกยังจะขยายตัวต่ำกว่าแนวโน้มในอดีตจากกำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังคงมีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น SMEs ที่ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการวางแผนธุรกิจ รวมถึงการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้มากขึ้น
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ประเมินถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะถึงจุดต่ำสุดเมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา และจะค่อยๆ ดีขึ้น เบ็ดเสร็จแล้ว ส่งผลทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้จะหดตัวประมาณ 4-4.5% และจะกลับมาขยายตัวประมาณ 3.5-4% ในปี 2553 โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่ยังเหลืออยู่สำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น ไม่ใช่การส่งออก แต่เป็นเรื่องของการท่องเที่ยว จะเห็นได้จากการหดตัวหนักเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ และแนวโน้มการฟื้นตัวจะช้าตามสภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะยุโรปที่จะฟื้นตัวช้ากว่าภูมิภาคอื่นๆ รวมถึงความไม่สงบทางด้านการเมืองที่ผ่านมาของไทยเอง
ทั้งนี้ การท่องเที่ยวที่หดตัวลงมีผลสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทย เนื่องจาก ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และการค้าปลีก มีการจ้างงานโดย SME ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคการผลิตมาก คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80-90% เมื่อเทียบการจ้างงานโดย SME ในกลุ่มการผลิตอุตสาหกรรม ที่มีจ้างงานรวมไม่ถึง 30%
นายณัฐวุฒิ สัจจพุทธวงค์ นักเศรษฐศาสตร์การเงินอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ทิศทางค่าเงินและการบริหารความเสี่ยงทางการเงินนั้น แนวโน้มในอนาคตยังคงคาดว่าจะมีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามายังประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งตลาดเงินยังคงมีความเปราะบางและผันผวนอยู่ค่อนข้างมาก อาจจะส่งผลให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนเพิ่มสูงขึ้นได้ในอนาคต ผู้ประกอบการควรจะให้ความสนใจต่อการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้นเพื่อป้องกันมิให้รายรับและผลกำไรของธุรกิจผันผวนไปตามสภาพตลาดการเงิน