ASTVผู้จัดการรายวัน-กบง.ไฟเขียวแผนคลังลอยน้ำนำเข้าแอลพีจีปตท. รองรับนำเข้าพุ่งเป็นแสนตันช่วงปลายปี สาเหตุคลังเก็บแอลพีจีที่เขาบ่อยารับได้แค่ 6 หมื่นตันเท่านั้น โบ้ยการใช้เพิ่มขึ้นจากมาตรการตรึงราคา แหล่งข่าววงใน แฉจับตาปตท.มั่วนิ่มนำเข้าแอลพีจีเพิ่มเพื่อป้อนโรงงานผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตันของปตท.เคมิคอลที่จะเสร็จในไตรมาส 4 นี้ ขณะที่โรงแยกก๊าซฯ 6 เสร็จล่าช้ากว่า
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพลังงาน(กบง.) วานนี้ (27ส.ค.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแผนรองรับการนำเข้าก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ที่คาดว่าจะสูงขึ้นจากมาตรการตรึงราคาของรัฐบาล เนื่องจากราคาน้ำมันแพง ซึ่งคลังบนบกที่เขาบ่อยา จังหวัดชลบุรี รองรับการนำเข้าแอลพีจีได้สูงสุด 6 หมื่นตันต่อเดือนเท่านั้น จึงทำให้มีการนำเข้าทางเรือมาลอยลำเพื่อทำเป็นคลังลอยน้ำ (Floating Storage Unit) แต่การดำเนินงานดังกล่าวผิดระเบียบหลายด้าน จึงต้องให้มีการปรับระเบียบใหม่ให้ถูกต้องทั้งระเบียบของคลังและคมนาคม
“ส่วนของคลังนั้นเกี่ยวกับสรรพสามิต และศุลกากร ส่วนคมนาคมเกี่ยวข้องกับกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี การนำมาลอยเรือจึงต้องเสนอกระทรวงที่เกี่ยวข้องให้ปรับระเบียบเพื่อให้มีการถ่ายเทแอลพีจีได้ถูกต้อง กล่าวคือให้สามารถนำแอลพีจีจากเรือใหญ่สู่เรือเล็ก ให้เรือนั้นสามารถเป็นคลังแอลพีจีเพื่อคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ “รมว.พลังงานกล่าว
ปัจจุบันปตท.นำเข้าแอลพีจีเดือนก.ค. 6 หมื่นกว่าตัน เดือนส.ค.คาดว่าจะเป็น 8 หมื่นตันและในช่วงปลายปีคาดว่าจะเพิ่มเป็นระดับแสนตัน เนื่องจากจะมีโรงกลั่นบางแห่งหยุดซ่อมตามแผน รวมถึงความต้องการใช้ที่จะเพิ่มมาจากมาตรการตรึงราคา ซึ่งคาดว่าจะเป็นเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น และหลังจากนั้นการนำเข้าจะลดลงและจะไม่มีการนำเข้าเลยในเดือนเม.ย. 53 เนื่องจากโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 จะสามารถเปิดหน่วยผลิตได้
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณากำหนดโครงสร้างราคาแอลพีจีหน้าโรงกลั่นใหม่จากเดิมกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 33.0453 บาท เป็นการอิงระบบลอยตัว เนื่องจากบมจ. ปตท.ระบุว่าไม่เป็นธรรม ซึ่งหากกรณีเงินบาทแข็งค่าก็จะส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้กำไรแต่หากอ่อนค่าก็จะต้องจ่ายเพิ่มแทน
พร้อมกันนี้ ยังได้เห็นชอบให้กองทุนน้ำมันฯจ่ายชดเชยให้กับโรงกลั่นคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านบาทกรณีที่รัฐบาลได้ขอร้องให้โรงกลั่นก่อนหน้าที่ใช้แอลพีจีหันไปใช้น้ำมันเตาแทนเพื่อนำแอลพีจีป้อนให้กับประชาชนในช่วงที่เกิดปัญหาขาดแคลนแอลพีจีช่วงปี 2551
รมว.พลังงาน กล่าวว่า กบง.ยังอนุมัติหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราเงินชดเชยให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะ โดยต้นทุนน้ำมันจากขยะพลาสติกที่นำมาใช้กำหนดโครงสร้างไม่เกิน 18 บาทต่อลิตร ซึ่งคิดเป็นสูตรคือ อัตราเงินชดเชยเท่ากับ 18 ลบด้วยราคาน้ำมันดิบ ซึ่งหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่า 18 บาทต่อลิตรก็จะไม่มีการชดเชยโดยมีระยะเวลาการชดเชย 5 ปี
**จับตาส่อมั่วนิ่มนำเข้าป้อนPTTCH
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การนำเข้าแอลพีจีในช่วงไตรมาส 4 มีแนวโน้มจะสูงกว่าระดับแสนตันจากเดือนส.ค.ที่นำเข้าแล้ว 8 หมื่นตันนั้น สาเหตุหลักจะมาจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางแห่งตามแผนงานปกติ แต่ส่วนหนึ่งอาจจะนำเข้าแอลพีจีเพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)หรือ PTTCH ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตันซึ่งโรงงานดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้ จากเดิมที่วัตถุดิบจะได้จากโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ของปตท. แต่เนื่องจากโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 จะแล้วเสร็จในต้นปี 2553
ทั้งนี้ การใช้แอลพีจีเดือนก.ค.รวม แยกเป็นการใช้ในก๊าซหุงต้ม 1.91 แสนตัน ปิโตรเคมี 1.3 แสนตัน ภาคขนส่ง 5.51 หมื่นตัน และภาคอุตสาหกรรม 5.26 หมื่นตัน ซึ่งการใช้ในปิโตรเคมีพบว่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากม.ค.ที่ใช้เพียง 6 หมื่นตันเท่านั้น เป็นการชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันกล่าวว่า การนำเข้าแอลพีจี ทางกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นผู้จ่ายชดเชยส่วนต่างราคานำเข้ากับราคาขายแอลพีจีในประเทศทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นข้อผิดพลาดของรัฐบาลที่ไม่ยอมแยกตลาดระหว่างภาคขนส่งและปิโตรเคมี กับภาคครัวเรือน ซึ่งวิธีนี้แม้ว่าจะดีน้อยกว่าการลอยตัว แต่ก็ดีกว่าปัจจุบัน เพราะเท่ากับว่าคนที่จ่ายเงินเข้ากองทุนคือผู้ใช้น้ำมันต้องไปอุ้มผู้ประกอบการปิโตรเคมีและภาคขนส่งแทน
แหล่งข่าวจากบมจ. ปตท.เคมิคอล กล่าวว่า ในช่วงที่โรงเอทิลีนแครกเกอร์เริ่มผลิตในปลายปีนี้ ก็จะมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานโอเลฟินส์(I 1) เพื่อนำวัตถุดิบ คืออีเทนไปป้อนโรงงานใหม่แทน แต่ปริมาณก็ไม่เพียงพอ ก็จะมีโยกวัตถุดิบจากโรงI4/1-2 ด้วยเช่นกัน ซึ่งแอลพีจีสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีการใช้แอลพีจีในกระบวนการผลิตด้วย ขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการวางแผนการผลิตในช่วงที่จะเดินเครื่องโรงเอทิลีนแครกเกอร์
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพลังงาน(กบง.) วานนี้ (27ส.ค.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแผนรองรับการนำเข้าก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ที่คาดว่าจะสูงขึ้นจากมาตรการตรึงราคาของรัฐบาล เนื่องจากราคาน้ำมันแพง ซึ่งคลังบนบกที่เขาบ่อยา จังหวัดชลบุรี รองรับการนำเข้าแอลพีจีได้สูงสุด 6 หมื่นตันต่อเดือนเท่านั้น จึงทำให้มีการนำเข้าทางเรือมาลอยลำเพื่อทำเป็นคลังลอยน้ำ (Floating Storage Unit) แต่การดำเนินงานดังกล่าวผิดระเบียบหลายด้าน จึงต้องให้มีการปรับระเบียบใหม่ให้ถูกต้องทั้งระเบียบของคลังและคมนาคม
“ส่วนของคลังนั้นเกี่ยวกับสรรพสามิต และศุลกากร ส่วนคมนาคมเกี่ยวข้องกับกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี การนำมาลอยเรือจึงต้องเสนอกระทรวงที่เกี่ยวข้องให้ปรับระเบียบเพื่อให้มีการถ่ายเทแอลพีจีได้ถูกต้อง กล่าวคือให้สามารถนำแอลพีจีจากเรือใหญ่สู่เรือเล็ก ให้เรือนั้นสามารถเป็นคลังแอลพีจีเพื่อคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ “รมว.พลังงานกล่าว
ปัจจุบันปตท.นำเข้าแอลพีจีเดือนก.ค. 6 หมื่นกว่าตัน เดือนส.ค.คาดว่าจะเป็น 8 หมื่นตันและในช่วงปลายปีคาดว่าจะเพิ่มเป็นระดับแสนตัน เนื่องจากจะมีโรงกลั่นบางแห่งหยุดซ่อมตามแผน รวมถึงความต้องการใช้ที่จะเพิ่มมาจากมาตรการตรึงราคา ซึ่งคาดว่าจะเป็นเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น และหลังจากนั้นการนำเข้าจะลดลงและจะไม่มีการนำเข้าเลยในเดือนเม.ย. 53 เนื่องจากโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 จะสามารถเปิดหน่วยผลิตได้
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณากำหนดโครงสร้างราคาแอลพีจีหน้าโรงกลั่นใหม่จากเดิมกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 33.0453 บาท เป็นการอิงระบบลอยตัว เนื่องจากบมจ. ปตท.ระบุว่าไม่เป็นธรรม ซึ่งหากกรณีเงินบาทแข็งค่าก็จะส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้กำไรแต่หากอ่อนค่าก็จะต้องจ่ายเพิ่มแทน
พร้อมกันนี้ ยังได้เห็นชอบให้กองทุนน้ำมันฯจ่ายชดเชยให้กับโรงกลั่นคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านบาทกรณีที่รัฐบาลได้ขอร้องให้โรงกลั่นก่อนหน้าที่ใช้แอลพีจีหันไปใช้น้ำมันเตาแทนเพื่อนำแอลพีจีป้อนให้กับประชาชนในช่วงที่เกิดปัญหาขาดแคลนแอลพีจีช่วงปี 2551
รมว.พลังงาน กล่าวว่า กบง.ยังอนุมัติหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราเงินชดเชยให้แก่โรงกลั่นน้ำมันที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะ โดยต้นทุนน้ำมันจากขยะพลาสติกที่นำมาใช้กำหนดโครงสร้างไม่เกิน 18 บาทต่อลิตร ซึ่งคิดเป็นสูตรคือ อัตราเงินชดเชยเท่ากับ 18 ลบด้วยราคาน้ำมันดิบ ซึ่งหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่า 18 บาทต่อลิตรก็จะไม่มีการชดเชยโดยมีระยะเวลาการชดเชย 5 ปี
**จับตาส่อมั่วนิ่มนำเข้าป้อนPTTCH
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การนำเข้าแอลพีจีในช่วงไตรมาส 4 มีแนวโน้มจะสูงกว่าระดับแสนตันจากเดือนส.ค.ที่นำเข้าแล้ว 8 หมื่นตันนั้น สาเหตุหลักจะมาจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางแห่งตามแผนงานปกติ แต่ส่วนหนึ่งอาจจะนำเข้าแอลพีจีเพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)หรือ PTTCH ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตันซึ่งโรงงานดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้ จากเดิมที่วัตถุดิบจะได้จากโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ของปตท. แต่เนื่องจากโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 จะแล้วเสร็จในต้นปี 2553
ทั้งนี้ การใช้แอลพีจีเดือนก.ค.รวม แยกเป็นการใช้ในก๊าซหุงต้ม 1.91 แสนตัน ปิโตรเคมี 1.3 แสนตัน ภาคขนส่ง 5.51 หมื่นตัน และภาคอุตสาหกรรม 5.26 หมื่นตัน ซึ่งการใช้ในปิโตรเคมีพบว่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากม.ค.ที่ใช้เพียง 6 หมื่นตันเท่านั้น เป็นการชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันกล่าวว่า การนำเข้าแอลพีจี ทางกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นผู้จ่ายชดเชยส่วนต่างราคานำเข้ากับราคาขายแอลพีจีในประเทศทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นข้อผิดพลาดของรัฐบาลที่ไม่ยอมแยกตลาดระหว่างภาคขนส่งและปิโตรเคมี กับภาคครัวเรือน ซึ่งวิธีนี้แม้ว่าจะดีน้อยกว่าการลอยตัว แต่ก็ดีกว่าปัจจุบัน เพราะเท่ากับว่าคนที่จ่ายเงินเข้ากองทุนคือผู้ใช้น้ำมันต้องไปอุ้มผู้ประกอบการปิโตรเคมีและภาคขนส่งแทน
แหล่งข่าวจากบมจ. ปตท.เคมิคอล กล่าวว่า ในช่วงที่โรงเอทิลีนแครกเกอร์เริ่มผลิตในปลายปีนี้ ก็จะมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานโอเลฟินส์(I 1) เพื่อนำวัตถุดิบ คืออีเทนไปป้อนโรงงานใหม่แทน แต่ปริมาณก็ไม่เพียงพอ ก็จะมีโยกวัตถุดิบจากโรงI4/1-2 ด้วยเช่นกัน ซึ่งแอลพีจีสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีการใช้แอลพีจีในกระบวนการผลิตด้วย ขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการวางแผนการผลิตในช่วงที่จะเดินเครื่องโรงเอทิลีนแครกเกอร์