ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกฯสั่งกระทรวงพลังงานศึกษาแนวทางลดราคาน้ำมันเสนอ ครม.สัปดาห์หน้าหากดีเซลแตะ 30 บาทต่อลิตร เผยต้องการลดเฉพาะกลุ่มดีเซล 2 บาทต่อลิตร ขณะที่กองทุนน้ำมันฯอาจต้องควักงินเพิ่มเดือนละ 1.8 พันล้าน
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การหารือร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งนี้เนื่องจากที่ประชุมเป็นห่วงราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายกฯจึงสั่งการให้กระทรวงพลังงานไปพิจารณาหาแนวทางลดจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อราคาดีเซลสูงเกิน 30 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 28 บาท/ลิตร เพราะเห็นว่าฐานะกองทุนน้ำมันฯ มีความแข็งแกร่งมีเงินในกองทุนถึง 16,000 ล้านบาท
ให้นำแนวทางดังกล่าวเสนอที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า (11 ส.ค.) และการเลือกช่วยเหลือดีเซล เพราะเป็นต้นทุนสำหรับผู้ประกอบการและเกษตรให้มีภาระน้อยลง แต่หากราคาน้ำมันยังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง จะนำแนวทางการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันช่วยเหลือเป็นแนวทางสุดท้าย แต่ขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องลดภาษี เพราะรัฐบาลยังมีภาระต้องใช้เงินในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่นการประกันราคาสินค้าเกษตร การลงทุนด้านต่าง ๆ
“นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงเรื่องผลกระทบราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และยืนยันว่าจะทำทุกมาตรการเพื่อช่วยลดภาระประชาชนไม่ให้ราคาน้ำมันดีเซลเกิน 30 บาทต่อลิตร แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่าเรานำเข้าน้ำมัน หากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นก็คงยืนราคาอยู่ที่ระดับนี้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่รัฐบาลยังมีเครื่องมืออยู่ก็จะทำต่อ” นายกรณ์กล่าว
สำหรับเครื่องมือในส่วนของภาษีสรรพสามิตน้ำมันนั้น ตอนนี้คงยังไม่นำมาใช้ เพราะรัฐยังมีภาระในการรับผิดชอบอยู่เป็นจำนวนมากในการรับประกันราคาสินค้า และยังมีการเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าเกณฑ์อยู่ จึงอยากให้คงสถานะไว้ก่อนเพื่อให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
เบื้องต้นภาครัฐให้ความสำคัญกับราคาน้ำมันดีเซลมากเป็นพิเศษ เพราะน้ำมันดีเซลเป็นต้นทุนหลักในการผลิตและเป็นต้นทุนของภาคเกษตร ซึ่งถือเป็นน้ำมันที่คนใช้เป็นจำนวนมาก
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าในที่ประชุมทางกระทรวงพลังงานได้เสนอให้ปรับลดอัตราจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 50 สต./ลิตร และกองทุนเพื่อการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน 50 สต./ลิตร เพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้กับผู้ใช้น้ำมัน แต่ เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นแนวทางดังกล่าวแล้วแสดงความไม่พอใจโดยสั่งให้ไปหาแนวทางในการปรับลดราคาน้ำมันเฉพาะในกลุ่มดีเซลให้ได้ 2 บาท/ลิตรเพื่อให้เท่ากับอัตราการขึ้นภาษีน้ำมันสรรพสามิตที่ผ่านมาเนื่องจากจะเห็นเป็นรูปธรรมกว่า
“แผนที่กระทรวงพลังงานเสนอทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกจะลดลงเพียง 1 บาท/ลิตร ซึ่งเรื่องดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)จะต้องกลับมาพิจารณากันอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ หากต้องเลือกใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเครื่องมือในการลดราคาขายปลีกดีเซล ซึ่งปัจจุบันในกลุ่มของดีเซลบี2 ถูกจัดเก็บอยู่ 1.70 บาท/ลิตร มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 1,170 ล้านบาท ส่วนน้ำมันบี5 รัฐต้องจ่ายชดเชยอยู่ลิตรละ 23 สต./ลิตร หรือเดือนละ 207 ล้านบาท ดังนั้นถ้าต้องปรับลดการจัดเก็บเงินในอัตรา 2 บาท/ลิตร จะทำให้รัฐต้องจ่ายเงินชดเชยทั้งในส่วนของดีเซลบี2เป็น 30 สต./ลิตร และบี5 เป็น 2.23 บาท/ลิตร คำนวณแล้วจะทำให้กองทุนน้ำมันฯมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 1,800 ล้านบาท จากเดิมที่มีรายได้จากกลุ่มดีเซลเดือนละ 1,005 ล้านบาท
****เพดาน 100 เหรียญลดเงินกองทุน
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานคาดว่าราคาน้ำมันปี 2553 จะขยับสูงขึ้นมากกว่าในปี 2552 เนื่องจากหลายฝ่ายต่างมองไปในทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการเพิ่มขึ้น ดังนั้นแนวทางการลดอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของกระทรวงพลังงานมองว่าระดับราคาน้ำมันดิบ 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล น่าจะเป็นระดับที่เหมาะสมในการลดการเก็บเงินกองทุนฯเพื่อลดผลกระทบค่าครองชีพของประชาชนอย่างแท้จริงแต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่นโยบายรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไร
“แม้ว่าช่วงนี้ราคาน้ำมันจะสูงไปที่ประมาณ 71-72 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ราคาแท้จริงจะอยู่ที่ประมาณ 65-70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันส่วนเกินที่มีประมาณ 5 ดอลลาร์สหรัฐ เกิดจากกองทุนเก็งกำไรเข้ามาเก็งกำไรมากขึ้น เพราะมีการซื้อน้ำมันเข้าไปตุนไว้ประมาณ 80-90 ล้านบาร์เรล และเป็นการเล่นข่าวรายวันทั้งที่ข้อเท็จจริงความต้องการน้ำมันของสหรัฐและโลกไม่ได้ปรับตัสูงแต่อย่างใด ดังนั้นหากมีการเทขายทำกำไรราคาตลาดโลกยังจะลดลงมาอีกได้จึงต้องดูจังหวะให้ดี” นายพรชัยกล่าว.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การหารือร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งนี้เนื่องจากที่ประชุมเป็นห่วงราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายกฯจึงสั่งการให้กระทรวงพลังงานไปพิจารณาหาแนวทางลดจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อราคาดีเซลสูงเกิน 30 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 28 บาท/ลิตร เพราะเห็นว่าฐานะกองทุนน้ำมันฯ มีความแข็งแกร่งมีเงินในกองทุนถึง 16,000 ล้านบาท
ให้นำแนวทางดังกล่าวเสนอที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า (11 ส.ค.) และการเลือกช่วยเหลือดีเซล เพราะเป็นต้นทุนสำหรับผู้ประกอบการและเกษตรให้มีภาระน้อยลง แต่หากราคาน้ำมันยังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง จะนำแนวทางการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันช่วยเหลือเป็นแนวทางสุดท้าย แต่ขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องลดภาษี เพราะรัฐบาลยังมีภาระต้องใช้เงินในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่นการประกันราคาสินค้าเกษตร การลงทุนด้านต่าง ๆ
“นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงเรื่องผลกระทบราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และยืนยันว่าจะทำทุกมาตรการเพื่อช่วยลดภาระประชาชนไม่ให้ราคาน้ำมันดีเซลเกิน 30 บาทต่อลิตร แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่าเรานำเข้าน้ำมัน หากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นก็คงยืนราคาอยู่ที่ระดับนี้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่รัฐบาลยังมีเครื่องมืออยู่ก็จะทำต่อ” นายกรณ์กล่าว
สำหรับเครื่องมือในส่วนของภาษีสรรพสามิตน้ำมันนั้น ตอนนี้คงยังไม่นำมาใช้ เพราะรัฐยังมีภาระในการรับผิดชอบอยู่เป็นจำนวนมากในการรับประกันราคาสินค้า และยังมีการเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าเกณฑ์อยู่ จึงอยากให้คงสถานะไว้ก่อนเพื่อให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
เบื้องต้นภาครัฐให้ความสำคัญกับราคาน้ำมันดีเซลมากเป็นพิเศษ เพราะน้ำมันดีเซลเป็นต้นทุนหลักในการผลิตและเป็นต้นทุนของภาคเกษตร ซึ่งถือเป็นน้ำมันที่คนใช้เป็นจำนวนมาก
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าในที่ประชุมทางกระทรวงพลังงานได้เสนอให้ปรับลดอัตราจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 50 สต./ลิตร และกองทุนเพื่อการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน 50 สต./ลิตร เพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้กับผู้ใช้น้ำมัน แต่ เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นแนวทางดังกล่าวแล้วแสดงความไม่พอใจโดยสั่งให้ไปหาแนวทางในการปรับลดราคาน้ำมันเฉพาะในกลุ่มดีเซลให้ได้ 2 บาท/ลิตรเพื่อให้เท่ากับอัตราการขึ้นภาษีน้ำมันสรรพสามิตที่ผ่านมาเนื่องจากจะเห็นเป็นรูปธรรมกว่า
“แผนที่กระทรวงพลังงานเสนอทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกจะลดลงเพียง 1 บาท/ลิตร ซึ่งเรื่องดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)จะต้องกลับมาพิจารณากันอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ หากต้องเลือกใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเครื่องมือในการลดราคาขายปลีกดีเซล ซึ่งปัจจุบันในกลุ่มของดีเซลบี2 ถูกจัดเก็บอยู่ 1.70 บาท/ลิตร มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 1,170 ล้านบาท ส่วนน้ำมันบี5 รัฐต้องจ่ายชดเชยอยู่ลิตรละ 23 สต./ลิตร หรือเดือนละ 207 ล้านบาท ดังนั้นถ้าต้องปรับลดการจัดเก็บเงินในอัตรา 2 บาท/ลิตร จะทำให้รัฐต้องจ่ายเงินชดเชยทั้งในส่วนของดีเซลบี2เป็น 30 สต./ลิตร และบี5 เป็น 2.23 บาท/ลิตร คำนวณแล้วจะทำให้กองทุนน้ำมันฯมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 1,800 ล้านบาท จากเดิมที่มีรายได้จากกลุ่มดีเซลเดือนละ 1,005 ล้านบาท
****เพดาน 100 เหรียญลดเงินกองทุน
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานคาดว่าราคาน้ำมันปี 2553 จะขยับสูงขึ้นมากกว่าในปี 2552 เนื่องจากหลายฝ่ายต่างมองไปในทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการเพิ่มขึ้น ดังนั้นแนวทางการลดอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของกระทรวงพลังงานมองว่าระดับราคาน้ำมันดิบ 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล น่าจะเป็นระดับที่เหมาะสมในการลดการเก็บเงินกองทุนฯเพื่อลดผลกระทบค่าครองชีพของประชาชนอย่างแท้จริงแต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่นโยบายรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไร
“แม้ว่าช่วงนี้ราคาน้ำมันจะสูงไปที่ประมาณ 71-72 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ราคาแท้จริงจะอยู่ที่ประมาณ 65-70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันส่วนเกินที่มีประมาณ 5 ดอลลาร์สหรัฐ เกิดจากกองทุนเก็งกำไรเข้ามาเก็งกำไรมากขึ้น เพราะมีการซื้อน้ำมันเข้าไปตุนไว้ประมาณ 80-90 ล้านบาร์เรล และเป็นการเล่นข่าวรายวันทั้งที่ข้อเท็จจริงความต้องการน้ำมันของสหรัฐและโลกไม่ได้ปรับตัสูงแต่อย่างใด ดังนั้นหากมีการเทขายทำกำไรราคาตลาดโลกยังจะลดลงมาอีกได้จึงต้องดูจังหวะให้ดี” นายพรชัยกล่าว.