กมธ.เศรษฐกิจวุฒิสภา จวกรัฐบาลพูดไม่จริง 100% ขึ้นภาษีน้ำมันผลักภาระให้ประชาชน หวั่นราคาทะลุ 60 บาทต่อลิตร หลังรัฐนำกองทุนน้ำมันโปะราคาน้ำมัน เรียกร้องรัฐบาลทบทวน พ.ร.ก. จี้ ส.ส.คว่ำ พ.ร.ก.เหตุเพิ่มภาระประชาชน
วันนี้ (2 ก.ค.) นายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม และนายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม วุฒิสภา แถลงข่าวคัดค้านการปรับขึ้นภาษีน้ำมัน โดยนายวิทยากล่าวว่า การที่วุฒิสภาได้คว่ำ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ฉบับที่ 5 พ.ศ.2552 เพราะเห็นว่าส่งผลกระทบต่อประชาชน เพราะเดิมรัฐบาลก็เก็บภาษีน้ำมันที่ 5 บาทต่อลิตร แต่เมื่อออก พ.ร.ก.ดังกล่าวรัฐบาลสามารถขยายเพดานการเก็บภาษีได้จาก 5 เป็น 10 บาท ซึ่งขณะนี้เก็บอยู่ที่ราคา 7 บาทต่อลิตร โดยภาษีที่ขึ้นรัฐบาลอ้างว่าจะนำไปปิดหีบงบดุลของรัฐบาล ซึ่งเป็นวิธีง่ายที่รัฐบาลจะหาเงิน โดยรัฐบาลอ้างว่าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในระยะสั้น เพราะมีกองทุนน้ำมันมาอุดหนุน ซึ่งรัฐบาลอธิบายไม่ชัดเจน ยอมรับว่าไม่ส่งผลกกระทบในระยะสั้นจริง แต่ระยะยาวจะมีปัญหาเนื่องจากราคากองทุนน้ำมันที่เหลือประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านลิตร เชื่อว่าจะหมดไปในการไปอุดหนุนราคาภายใน 1 ปี และถือว่าผิดวัตถุประสงค์ในการตั้งกองทุนน้ำมันที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง ยกตัวอย่างกรณีปี 2551 ราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งขึ้นสูงถึง 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งรัฐบาลก็ใช้เงินกองทุนน้ำมัน เข้าไปพยุงราคาน้ำมันไม่ให้ปรับขึ้นสูง ถือเป็นวิธีที่ถูกต้อง นอกจากนี้ เมื่อน้ำมันขาดแคลนรัฐบาลจะต้องเอาเงินกองทุนไปหาซื้อน้ำมันให้ประชาชนใช้
“ในระยะยาวหากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เชื่อว่าเงินกองทุนน้ำมันจะหมดลง จะทำให้ประชาชนเดือดร้อน เพราะราคาน้ำมันในบ้านเราอาจจะถึง 60 บาทลิตร รัฐบาลพูดความจริงไม่ทั้ง 100% มันต้องคำนึงถึงระยะยาว และที่อ้างว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่ถูกทาง กลายเป็นทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า และผมไม่แน่ใจว่าจะมีการคอร์รัปชันด้วยหรือไม่ คณะกรรมาธิการมองว่านโยบายการบริหารงานของรัฐบาลที่ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แท้จริงเพียงแค่ลมปาก” นายวิทยา กล่าว
ด้าน นายยุทธนา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯได้พิจารณาการขึ้นภาษีน้ำมันของรัฐบาลจะส่งผลกระทบทันทีต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ทุ่มงบประมาณหาแหล่งเงินกู้เพื่อมาใช้จ่ายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ขัดแย้ง และอาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยขึ้น เพราะการปรับขึ้นภาษีน้ำมันส่งผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้น จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้ โดยเฉพาะราคาน้ำมันในปัจจุบันถือว่าสูงเกินไป เพราะเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ราคาตลาดโลกสูงถึง 147 เหรียญต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยแค่ 40 บาท แต่ราคาตลาดโลกในปัจจุบันประมาณ 70 เหรียญต่อบาร์เรล ดังนั้น ราคาที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 28 บาทต่อลิตร
วันนี้ (2 ก.ค.) นายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม และนายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม วุฒิสภา แถลงข่าวคัดค้านการปรับขึ้นภาษีน้ำมัน โดยนายวิทยากล่าวว่า การที่วุฒิสภาได้คว่ำ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ฉบับที่ 5 พ.ศ.2552 เพราะเห็นว่าส่งผลกระทบต่อประชาชน เพราะเดิมรัฐบาลก็เก็บภาษีน้ำมันที่ 5 บาทต่อลิตร แต่เมื่อออก พ.ร.ก.ดังกล่าวรัฐบาลสามารถขยายเพดานการเก็บภาษีได้จาก 5 เป็น 10 บาท ซึ่งขณะนี้เก็บอยู่ที่ราคา 7 บาทต่อลิตร โดยภาษีที่ขึ้นรัฐบาลอ้างว่าจะนำไปปิดหีบงบดุลของรัฐบาล ซึ่งเป็นวิธีง่ายที่รัฐบาลจะหาเงิน โดยรัฐบาลอ้างว่าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในระยะสั้น เพราะมีกองทุนน้ำมันมาอุดหนุน ซึ่งรัฐบาลอธิบายไม่ชัดเจน ยอมรับว่าไม่ส่งผลกกระทบในระยะสั้นจริง แต่ระยะยาวจะมีปัญหาเนื่องจากราคากองทุนน้ำมันที่เหลือประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านลิตร เชื่อว่าจะหมดไปในการไปอุดหนุนราคาภายใน 1 ปี และถือว่าผิดวัตถุประสงค์ในการตั้งกองทุนน้ำมันที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง ยกตัวอย่างกรณีปี 2551 ราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งขึ้นสูงถึง 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งรัฐบาลก็ใช้เงินกองทุนน้ำมัน เข้าไปพยุงราคาน้ำมันไม่ให้ปรับขึ้นสูง ถือเป็นวิธีที่ถูกต้อง นอกจากนี้ เมื่อน้ำมันขาดแคลนรัฐบาลจะต้องเอาเงินกองทุนไปหาซื้อน้ำมันให้ประชาชนใช้
“ในระยะยาวหากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เชื่อว่าเงินกองทุนน้ำมันจะหมดลง จะทำให้ประชาชนเดือดร้อน เพราะราคาน้ำมันในบ้านเราอาจจะถึง 60 บาทลิตร รัฐบาลพูดความจริงไม่ทั้ง 100% มันต้องคำนึงถึงระยะยาว และที่อ้างว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่ถูกทาง กลายเป็นทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า และผมไม่แน่ใจว่าจะมีการคอร์รัปชันด้วยหรือไม่ คณะกรรมาธิการมองว่านโยบายการบริหารงานของรัฐบาลที่ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แท้จริงเพียงแค่ลมปาก” นายวิทยา กล่าว
ด้าน นายยุทธนา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯได้พิจารณาการขึ้นภาษีน้ำมันของรัฐบาลจะส่งผลกระทบทันทีต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ทุ่มงบประมาณหาแหล่งเงินกู้เพื่อมาใช้จ่ายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ขัดแย้ง และอาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยขึ้น เพราะการปรับขึ้นภาษีน้ำมันส่งผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้น จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้ โดยเฉพาะราคาน้ำมันในปัจจุบันถือว่าสูงเกินไป เพราะเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ราคาตลาดโลกสูงถึง 147 เหรียญต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยแค่ 40 บาท แต่ราคาตลาดโลกในปัจจุบันประมาณ 70 เหรียญต่อบาร์เรล ดังนั้น ราคาที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 28 บาทต่อลิตร