ASTVผู้จัดการรายวัน –คนไทยเสียชีวิตจากหวัดใหญ่ 2009 อีก 14 ราย สธ.เผยผู้เสียชีวิตร้อยละ 85 มีโรคประจำตัว ส่งผลยอดรวมขยับไปที่ 111 ราย พร้อมเผยยอดติดเชื้อทะลุ 5แสน โดยพบ 25 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อเกินร้อยคน WHO บอกทุกประเทศไม่ต้องรายงานผลการตรวจหาเชื้อแล้ว
วานนี้(19 ส.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ของไทยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 9-15 ส.ค.52 ได้รับรายงานผู้เสียชีวิต 14 ราย เป็นชาย 7 ราย หญิง 7 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ85 มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดหรือสูบบุหรี่จัด ภาวะอ้วน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคระบบเลือดและโรคเบาหวาน รวมไทยมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 111 ราย และคาดว่ามีผู้ป่วยสะสมมากกว่า 5 แสนราย ขณะที่องค์การอนามัยโลกสรุปถึงวันที่ 11 ส.ค.52 มีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตมายังองค์การอนามัยโลก 1,735 ราย ซึ่งทั่วโลกใช้วิธีการประเมิน ในอัตราการเสียชีวิต 1 ต่อจำนวนผู้ป่วย 10,000 ราย
ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯของไทย ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้มชะลอตัวในกทม.และปริมณฑล แต่ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในต่างจังหวัด ซึ่งกระจายทุกภาคใน 25 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้ป่วยเกินกว่า 100 รายขึ้นไป ได้แก่ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ราชบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก กำแพงเพชร ชลบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช
**ยังไม่พบเชื้อดื้อยา
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า สำหรับการติดตามเฝ้าระวังการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้สุ่มตัวอย่างเชื้อจากกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบ และกลุ่มที่ยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ นำมาตรวจด้วยวิธีทางพันธุกรรมเพื่อหายีนที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยา และวิธียืนยันทางชีววิทยาเพื่อทดสอบการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์และยาซานามิเวียร์ ตลอด 4 เดือนมานี้จนถึงวันที่ 10 ส.ค.ยังไม่พบปัญหาเชื้อดื้อยาหรือเชื้อกลายพันธุ์แต่อย่างใด
“ขณะนี้มีการรายงานการกระจายยาต้านไวรัสไปสู่คลินิกเอกชนทั่วประเทศขึ้น จำนวน 60 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 80 มีคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ 571 แห่ง จาก 4,394 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 13 แต่สิ่งที่สำคัญไม่ใช่กระจ่ายยาให้คลินิกอย่างเดียวแล้วจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้แต่หากมีผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ให้ไปโรงพยาบาล โดยเน้นให้แพทย์ รักษาตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ”นพ.ไพจิตร์กล่าว
**WHO ไฟเขียวไม่ต้องรายงานตัวเลข
พญ.มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์โลกโดยภาพรวมองค์การอนามัยโลกแนะนำไปยังประเทศต่างๆ ไม่ต้องส่งยืนยันผลการตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่ให้ใช้ดัชนีชี้วัดการป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ เป็นตัวชี้สถานการณ์ของการแพร่ระบาด ซึ่งขณะนี้แนวโน้มการระบาดในบางประเทศลดลง 3-4 ประเทศ ได้แก่ อาเจนตินา ชิลี ออสเตรเลีย และมีบางประเทศที่มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย ปารากวัย อินโดซีเซีย กัวเตมาลา ส่วนสาเหตุที่โรครุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตจากปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส จะมีการประมวลสถานการณ์ล่าสุดมาใช้ในการวางแผนการทำงานในแต่ละวัน และจะนำแนวทางของแต่ละประเทศมาแลกเปลี่ยนความรู้ และทำเป็นคู่มือ รวมทั้งนำข้อมูลของไทยมาเป็นตัวอย่างเผยแพร่ด้วย
ส่วนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งพบว่ามีปัญหาการเก็บเกี่ยววัคซีนจากการเพาะเชื้อไวรัสในไข่ไก่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายนั้น ไม่เห็นว่ามีปัญหาสำคัญอะไร ซึ่งปัญหาทางเทคนิคก็ต้องปรับแก้กันไป โดยในวันที่ 20 ส.ค.ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกสำนักงานใหญ่จะประชุมวีดีโอผ่านทางไกลเทเลคอนเฟอร์เรนซ์กับผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทยด้านการผลิตวัคซีนอาทิ องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้คุยกันเป็นระยะอยู่แล้ว เพื่อหารือและปรับปรุงความคืบหน้าในการวิจัยดังกล่าว
**ห่วงเชื้อกะล่อนใหม่-เก่า ผสมกัน
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 10 กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะนำผลการประมาณการณ์ผู้ป่วย เข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่มี ศ.เกียรติคุณนพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน เพื่อพิจารณาว่าสามารถนำโครงสร้างดังกล่าวมาใช้ในการประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยเพื่อให้มีความเป็นจริงมากที่สุดได้หรือไม่ ซึ่งสูตรการคำนวณ 2 แบบคือ 1. ดูจากจำนวนผู้ป่วยที่มาเข้ารับการบริการที่สถานพยาบาลซึ่งมีอาการเข้าข่ายไข้หวัดใหญ่ว่ามีเท่าใดแล้วนำร้อยละของเชื้อที่ตรวจพบมาคำนวณปริมาณผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้จะสามารถทำได้ง่ายและประเมินได้ทุกเดือน 2 .การเจาะเลือดเพื่อตรวจดูปริมาณภูมิคุ้มกันในชุมชนต่างๆ ซึ่งจะต้องใช้เวลานานในการประเมิน
ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่าในช่วงปลายปีอาจจะมีเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลผสมกับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคขึ้นกว่าเดิมนั้น เป็นการคาดการณ์ตามทฤษฎีว่า เมื่อเชื้อ 2 สายพันธุ์รวมกันจะไม่สามารถคาดเดาได้ โดยองค์การอนามัยโลก เรียกว่า Nasty Flu คือ เชื้อไวรัสมีความกะล่อน มีความเชื่อถือไม่ได้ แต่เท่าที่มีการระบาดมายังไม่เคยพบเชื้อ 2 ตัวในคนเดียวกัน
วานนี้(19 ส.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ของไทยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 9-15 ส.ค.52 ได้รับรายงานผู้เสียชีวิต 14 ราย เป็นชาย 7 ราย หญิง 7 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ85 มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดหรือสูบบุหรี่จัด ภาวะอ้วน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคระบบเลือดและโรคเบาหวาน รวมไทยมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 111 ราย และคาดว่ามีผู้ป่วยสะสมมากกว่า 5 แสนราย ขณะที่องค์การอนามัยโลกสรุปถึงวันที่ 11 ส.ค.52 มีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตมายังองค์การอนามัยโลก 1,735 ราย ซึ่งทั่วโลกใช้วิธีการประเมิน ในอัตราการเสียชีวิต 1 ต่อจำนวนผู้ป่วย 10,000 ราย
ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯของไทย ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้มชะลอตัวในกทม.และปริมณฑล แต่ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในต่างจังหวัด ซึ่งกระจายทุกภาคใน 25 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้ป่วยเกินกว่า 100 รายขึ้นไป ได้แก่ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ราชบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก กำแพงเพชร ชลบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช
**ยังไม่พบเชื้อดื้อยา
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า สำหรับการติดตามเฝ้าระวังการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้สุ่มตัวอย่างเชื้อจากกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบ และกลุ่มที่ยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ นำมาตรวจด้วยวิธีทางพันธุกรรมเพื่อหายีนที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยา และวิธียืนยันทางชีววิทยาเพื่อทดสอบการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์และยาซานามิเวียร์ ตลอด 4 เดือนมานี้จนถึงวันที่ 10 ส.ค.ยังไม่พบปัญหาเชื้อดื้อยาหรือเชื้อกลายพันธุ์แต่อย่างใด
“ขณะนี้มีการรายงานการกระจายยาต้านไวรัสไปสู่คลินิกเอกชนทั่วประเทศขึ้น จำนวน 60 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 80 มีคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ 571 แห่ง จาก 4,394 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 13 แต่สิ่งที่สำคัญไม่ใช่กระจ่ายยาให้คลินิกอย่างเดียวแล้วจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้แต่หากมีผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ให้ไปโรงพยาบาล โดยเน้นให้แพทย์ รักษาตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ”นพ.ไพจิตร์กล่าว
**WHO ไฟเขียวไม่ต้องรายงานตัวเลข
พญ.มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์โลกโดยภาพรวมองค์การอนามัยโลกแนะนำไปยังประเทศต่างๆ ไม่ต้องส่งยืนยันผลการตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่ให้ใช้ดัชนีชี้วัดการป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ เป็นตัวชี้สถานการณ์ของการแพร่ระบาด ซึ่งขณะนี้แนวโน้มการระบาดในบางประเทศลดลง 3-4 ประเทศ ได้แก่ อาเจนตินา ชิลี ออสเตรเลีย และมีบางประเทศที่มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย ปารากวัย อินโดซีเซีย กัวเตมาลา ส่วนสาเหตุที่โรครุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตจากปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส จะมีการประมวลสถานการณ์ล่าสุดมาใช้ในการวางแผนการทำงานในแต่ละวัน และจะนำแนวทางของแต่ละประเทศมาแลกเปลี่ยนความรู้ และทำเป็นคู่มือ รวมทั้งนำข้อมูลของไทยมาเป็นตัวอย่างเผยแพร่ด้วย
ส่วนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งพบว่ามีปัญหาการเก็บเกี่ยววัคซีนจากการเพาะเชื้อไวรัสในไข่ไก่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายนั้น ไม่เห็นว่ามีปัญหาสำคัญอะไร ซึ่งปัญหาทางเทคนิคก็ต้องปรับแก้กันไป โดยในวันที่ 20 ส.ค.ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกสำนักงานใหญ่จะประชุมวีดีโอผ่านทางไกลเทเลคอนเฟอร์เรนซ์กับผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทยด้านการผลิตวัคซีนอาทิ องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้คุยกันเป็นระยะอยู่แล้ว เพื่อหารือและปรับปรุงความคืบหน้าในการวิจัยดังกล่าว
**ห่วงเชื้อกะล่อนใหม่-เก่า ผสมกัน
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 10 กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะนำผลการประมาณการณ์ผู้ป่วย เข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่มี ศ.เกียรติคุณนพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน เพื่อพิจารณาว่าสามารถนำโครงสร้างดังกล่าวมาใช้ในการประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยเพื่อให้มีความเป็นจริงมากที่สุดได้หรือไม่ ซึ่งสูตรการคำนวณ 2 แบบคือ 1. ดูจากจำนวนผู้ป่วยที่มาเข้ารับการบริการที่สถานพยาบาลซึ่งมีอาการเข้าข่ายไข้หวัดใหญ่ว่ามีเท่าใดแล้วนำร้อยละของเชื้อที่ตรวจพบมาคำนวณปริมาณผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้จะสามารถทำได้ง่ายและประเมินได้ทุกเดือน 2 .การเจาะเลือดเพื่อตรวจดูปริมาณภูมิคุ้มกันในชุมชนต่างๆ ซึ่งจะต้องใช้เวลานานในการประเมิน
ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่าในช่วงปลายปีอาจจะมีเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลผสมกับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคขึ้นกว่าเดิมนั้น เป็นการคาดการณ์ตามทฤษฎีว่า เมื่อเชื้อ 2 สายพันธุ์รวมกันจะไม่สามารถคาดเดาได้ โดยองค์การอนามัยโลก เรียกว่า Nasty Flu คือ เชื้อไวรัสมีความกะล่อน มีความเชื่อถือไม่ได้ แต่เท่าที่มีการระบาดมายังไม่เคยพบเชื้อ 2 ตัวในคนเดียวกัน