ASTVผู้จัดการรายวัน – มาช้าดีกว่าไม่มา คลังล้อมคอกรัฐวิสาหกิจสกัดนักการเมืองรุมทึ้งแสวงหาผลประโยชน์เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน สคร.รับลูกเตรียมเสนอร่างกฎหมายกำกับรัฐวิสาหกิจขึ้นมากำกับดูแล การดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ
นายตรัยรักษ์ เต็งไตรรัตน์ ที่ปรึกษา รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากนโยบายที่ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับรัฐวิสาหกิจและป้องกันนักการเมืองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในแต่ละรัฐวิสาหกิจนั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อยู่ระหว่างร่างกฎหมายเพื่อสร้างกรอบการทำงานให้รัฐวิสาหกิจพัฒนาตัวเองและไม่ให้นักการเมืองเข้ามาหากินได้ อีกทั้งจะเพิ่มอำนาจให้แก่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อใช้บริหารจัดการรัฐวิสาหกิจให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สคร. กลาวว่า ขณะนี้สคร.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.กำกับรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.... ต่อนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง พิจารณาเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบและส่งให้รัฐสภาพิจารณาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายต่อไป คาดจะเสนอได้ภายในเดือนก.ย.นี้ โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อกำกับดูแล ประเมินผลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและความมุ่งหวังของหน่วยงานภาครัฐมากยิ่งขึ้น
"ที่ผ่านมากลุ่มรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานมีทิศทางดำเนินงานชัดเจนที่สุด แต่กลุ่มขนส่ง เกษตร และสื่อสาร กลับไร้ทิศทางอย่างเห็นได้ชัด ทำให้รัฐเสียโอกาสที่จะมีรายได้เพิ่ม ประเทศชาติขาดการพัฒนาให้เท่าเทียมต่างชาติ และประชาชนไม่ได้รับผลประโยชน์ที่ควรจะได้ ซึ่งหากมีกฎหมายเป็นกรอบนโยบายพัฒนารัฐวิสาหกิจแต่ละประเภทให้ชัดเจนเป็น 5-10 ปีได้ ปัญหาที่เคยพบเจอก็อาจเบาบางลง รวมไปถึงความไม่แน่นอนของทิศทางรัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วย" นายอารีพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ ตามกฎหมายใหม่ เป็นการระดมความคิดร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เจ้ากระทรวงของแต่ละรัฐวิสาหกิจและกระทรวงการคลัง เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ของแต่ละรัฐวิสาหกิจออกมาระยะ 10 ปี ดังนั้นการบริหารของแต่ละกระทรวงต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจจากนี้ไปจะไม่เพียงดูแลงานเฉพาะของรัฐวิสาหกิจ แต่จะดูภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอซีที) จะต้องดูภาพรวมของไอซีทีทั้งหมด หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องดูอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งระบบ เพื่อให้การพัฒนาเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถลดบทบาทของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งได้หากไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น.
นายตรัยรักษ์ เต็งไตรรัตน์ ที่ปรึกษา รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากนโยบายที่ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับรัฐวิสาหกิจและป้องกันนักการเมืองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในแต่ละรัฐวิสาหกิจนั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อยู่ระหว่างร่างกฎหมายเพื่อสร้างกรอบการทำงานให้รัฐวิสาหกิจพัฒนาตัวเองและไม่ให้นักการเมืองเข้ามาหากินได้ อีกทั้งจะเพิ่มอำนาจให้แก่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อใช้บริหารจัดการรัฐวิสาหกิจให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สคร. กลาวว่า ขณะนี้สคร.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.กำกับรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.... ต่อนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง พิจารณาเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบและส่งให้รัฐสภาพิจารณาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายต่อไป คาดจะเสนอได้ภายในเดือนก.ย.นี้ โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อกำกับดูแล ประเมินผลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและความมุ่งหวังของหน่วยงานภาครัฐมากยิ่งขึ้น
"ที่ผ่านมากลุ่มรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานมีทิศทางดำเนินงานชัดเจนที่สุด แต่กลุ่มขนส่ง เกษตร และสื่อสาร กลับไร้ทิศทางอย่างเห็นได้ชัด ทำให้รัฐเสียโอกาสที่จะมีรายได้เพิ่ม ประเทศชาติขาดการพัฒนาให้เท่าเทียมต่างชาติ และประชาชนไม่ได้รับผลประโยชน์ที่ควรจะได้ ซึ่งหากมีกฎหมายเป็นกรอบนโยบายพัฒนารัฐวิสาหกิจแต่ละประเภทให้ชัดเจนเป็น 5-10 ปีได้ ปัญหาที่เคยพบเจอก็อาจเบาบางลง รวมไปถึงความไม่แน่นอนของทิศทางรัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วย" นายอารีพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ ตามกฎหมายใหม่ เป็นการระดมความคิดร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เจ้ากระทรวงของแต่ละรัฐวิสาหกิจและกระทรวงการคลัง เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ของแต่ละรัฐวิสาหกิจออกมาระยะ 10 ปี ดังนั้นการบริหารของแต่ละกระทรวงต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจจากนี้ไปจะไม่เพียงดูแลงานเฉพาะของรัฐวิสาหกิจ แต่จะดูภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอซีที) จะต้องดูภาพรวมของไอซีทีทั้งหมด หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องดูอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งระบบ เพื่อให้การพัฒนาเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถลดบทบาทของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งได้หากไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น.