สมาชิกวุฒิสภาที่ลงชื่อแสดงเจตจำนงในการอภิปรายรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาท ตามที่รัฐบาลเสนอ โดย พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว.สรรหา พยายามอภิปรายเน้นย้ำให้รัฐบาลใช้จ่ายเงินกู้อย่างคุ้มค่า ขณะที่นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา อภิปรายเรียกร้องให้รัฐบาลวางโครงการดำเนินการใช้จ่ายเม็ดเงินอย่างเท่าเทียมกัน และควรให้ความสำคัญกับผู้พิการ ส่วนนายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว.พัทลุง อภิปรายแสดงความเป็นห่วงต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต แต่เห็นควรที่จะกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หากแต่รัฐบาลจะต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง
จนถึงขณะนี้สมาชิกวุฒิสภายังคงลุกขึ้นสลับกันอภิปรายอย่างต่อเนื่อง โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ สมาชิกวุฒิสภาต่างเน้นย้ำถึงข้อห่วงใยในการใช้จ่ายเม็ดเงินกู้ และเห็นควรให้ทุกโครงการที่จะดำเนินการต้องยึดประโยชน์ประชาชน ซึ่งแม้เนื้อหายังไม่ชี้ชัดว่าจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการ ในการลงมติของวุฒิสภา แต่เมื่อ นายภิญโญ สายนุ้ย ส.ว.กระบี่ ลุกขึ้นอภิปรายแสดงความเป็นห่วงต่อการกู้เงินของรัฐบาล และการวางโครงการที่ไม่ชัดเจนในโครงการไทยเข้มแข็งแล้ว กลับมีคำยืนยันที่จะลงมติไม่รับหลักการของร่างกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา อภิปรายสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ และเห็นว่า ระหว่างการพิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมาย จะสามารถแก้ไขเพิ่มเติมข้อห่วงใยต่างๆ ได้
ขณะที่ก่อนหน้านี้ การเคลื่อนไหวของสมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่ง ออกมาวิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จนเป็นเหตุให้ตั้งข้อสังเกตุได้ว่า วุฒิสภาอาจไม่รับหลักการหรือคว่ำร่างกฎหมายกู้เงิน แต่รองประธานวุฒิสภาชี้แจงว่า เป็นหน้าที่ของวุฒิสภาที่จะพิจารณาอย่างรอบคอบ
สำหรับบรรยากาศการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ คณะกรรมการประสานงานวุฒิสภา หรือ วิปวุฒิ เปิดเผยว่า การอภิปรายของวุฒิสภาจะเดินหน้าเร็วกว่ากำหนด และมั่นใจว่าจะแล้วเสร็จก่อนเวลา 22.00 น.คืนนี้ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ร่างกฎหมายจะผ่านความเห็นของวุฒิสภาหรือไม่ เพราะเท่าที่พูดคุย ส.ว.ส่วนใหญ่สะท้อนถึงข้อห่วงใยหลายด้าน และหลายคนหวั่นเกรงปัญหาที่จะตามมา เนื่องจากเงินกู้ 4 แสนล้านบาทก้อนแรกที่รัฐบาลกำลังใช้จ่ายอยู่เห็นภาพการทุจริตเกิดขึ้น โดยเฉพาะโครงการชุมชนพอเพียง กรณีซื้อตู้น้ำหยอดเหรียญ และจากผู้ที่แสดงเจตจำนงในการอภิปรายไว้ 61 คน ตั้งแต่เปิดประชุมจนถึงขณะนี้ อภิปรายไปแล้วประมาณ 10 คน ขณะที่รัฐบาลได้เวลาในการชี้แจง 2 ชั่วโมง ซึ่งการรับหลักการกฎหมายกู้เงินหรือไม่ ส.ว.ส่วนใหญ่รอฟังคำชี้แจงจากรัฐบาล หากวุฒิสภาลงมติไม่รับหลักการในกฎหมายฉบับนี้ เท่ากับว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องส่งคืนให้สภาผู้แทนราษฎร เพื่อยืนยันการบังคับใช้ ภายใน 90 วัน และต้องมีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนเดียวกับร่าง พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่ค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
จนถึงขณะนี้สมาชิกวุฒิสภายังคงลุกขึ้นสลับกันอภิปรายอย่างต่อเนื่อง โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ สมาชิกวุฒิสภาต่างเน้นย้ำถึงข้อห่วงใยในการใช้จ่ายเม็ดเงินกู้ และเห็นควรให้ทุกโครงการที่จะดำเนินการต้องยึดประโยชน์ประชาชน ซึ่งแม้เนื้อหายังไม่ชี้ชัดว่าจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการ ในการลงมติของวุฒิสภา แต่เมื่อ นายภิญโญ สายนุ้ย ส.ว.กระบี่ ลุกขึ้นอภิปรายแสดงความเป็นห่วงต่อการกู้เงินของรัฐบาล และการวางโครงการที่ไม่ชัดเจนในโครงการไทยเข้มแข็งแล้ว กลับมีคำยืนยันที่จะลงมติไม่รับหลักการของร่างกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา อภิปรายสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ และเห็นว่า ระหว่างการพิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมาย จะสามารถแก้ไขเพิ่มเติมข้อห่วงใยต่างๆ ได้
ขณะที่ก่อนหน้านี้ การเคลื่อนไหวของสมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่ง ออกมาวิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จนเป็นเหตุให้ตั้งข้อสังเกตุได้ว่า วุฒิสภาอาจไม่รับหลักการหรือคว่ำร่างกฎหมายกู้เงิน แต่รองประธานวุฒิสภาชี้แจงว่า เป็นหน้าที่ของวุฒิสภาที่จะพิจารณาอย่างรอบคอบ
สำหรับบรรยากาศการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ คณะกรรมการประสานงานวุฒิสภา หรือ วิปวุฒิ เปิดเผยว่า การอภิปรายของวุฒิสภาจะเดินหน้าเร็วกว่ากำหนด และมั่นใจว่าจะแล้วเสร็จก่อนเวลา 22.00 น.คืนนี้ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ร่างกฎหมายจะผ่านความเห็นของวุฒิสภาหรือไม่ เพราะเท่าที่พูดคุย ส.ว.ส่วนใหญ่สะท้อนถึงข้อห่วงใยหลายด้าน และหลายคนหวั่นเกรงปัญหาที่จะตามมา เนื่องจากเงินกู้ 4 แสนล้านบาทก้อนแรกที่รัฐบาลกำลังใช้จ่ายอยู่เห็นภาพการทุจริตเกิดขึ้น โดยเฉพาะโครงการชุมชนพอเพียง กรณีซื้อตู้น้ำหยอดเหรียญ และจากผู้ที่แสดงเจตจำนงในการอภิปรายไว้ 61 คน ตั้งแต่เปิดประชุมจนถึงขณะนี้ อภิปรายไปแล้วประมาณ 10 คน ขณะที่รัฐบาลได้เวลาในการชี้แจง 2 ชั่วโมง ซึ่งการรับหลักการกฎหมายกู้เงินหรือไม่ ส.ว.ส่วนใหญ่รอฟังคำชี้แจงจากรัฐบาล หากวุฒิสภาลงมติไม่รับหลักการในกฎหมายฉบับนี้ เท่ากับว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องส่งคืนให้สภาผู้แทนราษฎร เพื่อยืนยันการบังคับใช้ ภายใน 90 วัน และต้องมีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนเดียวกับร่าง พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่ค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร