ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเหตุการณ์หลายอย่างที่กระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นธรรมดาอยู่เองที่คณะราษฎรซึ่งเป็นรัฐบาลจำเป็นจะต้องจำกัดบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะเกรงจะมีการฟื้นอำนาจ เหตุการณ์ที่กระทบสถาบันพระมหากษัตริย์ก็คือ กบฏบวรเดช
สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดกบฏบวรเดช คือ ความไม่พอใจในหมู่นายทหารที่ไม่ใช่พรรคพวกของคณะราษฎร โดยเฉพาะทหารหัวเมือง ดังสะท้อนจากคำร้องของเด็กๆ ที่ว่า
พระยาพหลต้นเหตุ
บวรเดชต้นเรื่อง
ไล่เจ้าเข้าป่า
จับหมานั่งเมือง
คณะราษฎรสงสัยว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะทรงรู้เห็นกับการกบฏ จากการพูดคุยกับบุคคลร่วมสมัย มีความเห็นว่า แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะมิได้ทรงเกี่ยวข้องด้วย แต่ก็ทรงทราบว่าจะมีการก่อหวอดกันขึ้น
หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ไม่ดีตลอดมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้ทรงทักท้วงการกระทำของรัฐบาลหลายอย่าง แต่ก็ไม่เป็นผล รัฐบาลได้นำรายชื่อสมาชิกสภาประเภทสองขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงแต่งตั้ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ไม่พอพระทัยว่า เหตุใดพระองค์จึงมิได้ทรงทราบเกี่ยวกับรายชื่อเหล่านั้น หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เสถบุตร) ต้องถวายคำอธิบายว่า รัฐบาลให้ทรงแต่งตั้ง (Appoint) ไม่ได้ให้ทรงเลือก (Select)
ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ทรงสละราชสมบัติ รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาที่สถาบันพระมหากษัตริย์ และ “พวกเจ้า” ตกต่ำที่สุด เป็นระยะเวลาที่ “พวกเจ้า” ถูกกีดกันในงานราชการ ขุนนางที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ตัดสินใจลาออกจากราชการ ทำให้ “ผู้ใหญ่” ในราชการเหลือแต่ข้าราชการระดับคุณหลวง
หากใครสังเกตการณ์นั่งในงานศพหรืองานแต่งงาน จะเห็นว่าแถวหน้าๆ จะไม่มีคนนั่ง เล่ากันว่า หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พวกพระยาหมดอำนาจลง ส่วนพวกคุณหลวงเป็นผู้ใหญ่ที่สุดในงานก็ยังไม่กล้าไปนั่งแถวหน้า จึงกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เคยทรงปรารภว่า เป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้นลำบาก ฝนไม่ตก ฟ้าไม่ร้องก็โทษพระเจ้าแผ่นดิน ก็เป็นความจริงเพราะในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชอำนาจเด็ดขาดจึงมีความรับผิดชอบเต็มที่ด้วย
ในสมัยปัจจุบัน วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับรัฐบาลในระยะแรกๆ ไม่มีอะไรเด่นชัด เพราะพระมหากษัตริย์ยังทรงพระเยาว์อยู่ รัฐบาลเพียงต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ และมิ่งขวัญของประชาชน เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังทรงพระเยาว์ และผู้นำรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น จอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ มีอายุมากกว่าพระมหากษัตริย์ บุคคลเหล่านี้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ “เป็นเด็ก” และไม่ได้ให้ทรงมีบทบาทมากเท่าใดนัก
บทบาทของพระมหากษัตริย์หลังยุคจอมพลสฤษดิ์ โดยเฉพาะการมีการพัฒนาประเทศ เริ่มมีมากขึ้น เพราะ “การพัฒนา” ไม่ใช่ “การเมือง” พระมหากษัตริย์จึงทรงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาได้จนมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ มากมาย
แม้จะไม่ใช่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว และแม้พระมหากษัตริย์จะไม่มีพระราชอำนาจทางการเมือง แต่ก็ยังมีความคาดหวังที่จะให้พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นที่พึ่งในยามบ้านเมืองเกิดวิกฤต ความขัดแย้งทางการเมือง เหตุการณ์แรกก็คือ 14 ตุลา 2516 และหลังจากนั้น พระมหากษัตริย์ก็ได้เข้ามาอยู่ในจิตใจของคนจำนวนมากที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
พระมหากษัตริย์ของเราไม่เคยแสดงพระองค์ว่าฝักใฝ่ให้ท้ายบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นพิเศษ เราไม่ได้ทราบพระราชดำริของพระองค์ท่านทางการเมืองมากนัก เพราะส่วนใหญ่เป็นพระราชดำริทางการพัฒนา
แม้กระนั้นก็ยังมีผู้แอบอ้างว่า พระองค์ทรงปรารภว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ในเว็บก็มีการเผยแพร่เรื่องราวที่แอบอ้างว่า ทรงรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ ในแวดวงคนระดับสูงเองก็มีการพูดคุยกันถึงความยากลำบากของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยนี้ และแสดงความห่วงใยถึงอนาคต
ได้มีการถวายฎีกาหลายครั้ง ที่ผมร่วมด้วยก็คือ “ฎีกา 99” และฎีกาขอพระราชทานการใช้มาตรา 7 แต่ทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องส่วนรวม ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
ก่อนจะมีฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดง มีการเคลื่อนไหวที่น่าสังเกต และเป็นที่ทราบกันดี คือ การยุยงให้คนชนบทปลดพระบรมฉายาลักษณ์ลง และการพูดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีแต่นำเงินมาให้ชาวบ้าน ในกรุงเทพฯ เองก็มีขบวนการแท็กซี่แสดงความเห็นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีวารสาร และเว็บมากมายวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งส่วนมากเป็นการวิจารณ์โจมตีพระมหากษัตริย์ในอดีต
การถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับความเดือดร้อนทั่วไป แต่เป็นความเดือดร้อนของคนที่ไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับโทษ ปัญหาก็คือ ทุกคนเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจในการอภัยโทษในลักษณะนี้ จึงเข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่า คนพวกนี้รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ต้องการก่อให้เกิดความรำคาญพระราชหฤทัย และต้องการสำแดงพลังว่ามี “คนเอา” ทักษิณจำนวนหลายล้านคน
การเคลื่อนไหวออกมาให้ประชาชนลงชื่อการคัดค้านการถวายฎีกา และการแสดงออกของบุคคลระดับนำ เช่น พลเอกสายหยุด เกิดผล และนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นการแสดงออกที่ดี
แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ท่าทีของ ผบ.ทบ.ซึ่งออกมาพูดว่า ไม่มีความเห็น แล้วต่อมาจึงแสดงความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการถวายฎีกา โดยไม่มีการไม่เห็นด้วยหรือตำหนิผู้ดำเนินการ ทำให้คนส่วนใหญ่เป็นห่วง และหลายคนรู้สึกไม่ค่อยดีกับ ผบ.ทบ.คนนี้
ความเห็นส่วนใหญ่ที่แสดงออกในเรื่องนี้เป็นไปในทำนองว่า การถวายฎีกาแบบนี้ ทำไม่ได้ผิดขั้นตอน ซึ่งผมเห็นว่า ก็จริง แต่การถวายฎีกานี้เป็นการใช้วิธีการทางการเมืองกับสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งผมคิดว่าไม่เป็นการยุติธรรม เพราะพระมหากษัตริย์ในยุคนี้ไม่ได้ทรงเกี่ยวข้องกับการเมือง แม้การถวายฎีกาเรื่องการใช้พระราชอำนาจตามมาตรา 7 ก็ยังอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ แต่การถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการใช้มาตรการทางการเมืองต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง
ผมเพียงแต่คิดว่า คนสมัยนี้โหดร้ายเหลือเกินที่ทำเช่นนี้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการทำให้สถาบันที่ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะทรงตอบโต้ทางการเมืองได้ ต้องพบกับปมปัญหาที่เกี่ยวกับความสามัคคีของชนในชาติ ด้วยเหตุนี้เองที่ผมรู้สึกเป็นห่วงบ้านเมือง ว่ามีคนจำนวนถึงหลายล้านคนไปลงชื่อถวายฎีกา แต่เพื่อนผมก็บอกว่า แปลกใจที่จำนวนคนไม่ถึง 14-15 ล้านคนเท่ากับที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทย
หากใครรักพระเจ้าอยู่หัวจริง ก็คงไม่ทำอะไรเช่นนี้ ผมเองยังนึกว่าทหาร-ตำรวจจะออกมาเตือนกลุ่มคนเสื้อแดง แต่เพื่อนๆ บอกว่า สมัยนี้อย่าไปหวังอะไรมาก เพราะทุกคนต่างเอาตัวรอด และความรักความภักดีอยู่ที่เงิน
ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ให้พวกนรกมาเกิดแสดงความเหิมเกริมต่อไปเถิดครับ เพราะผู้แสดงความจงรักภักดีอย่าง สนธิ ลิ้มทองกุล กลับโดนถล่มกลางเมืองอย่างนี้ แล้วบ้านเมืองเราจะเหลืออะไร
สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดกบฏบวรเดช คือ ความไม่พอใจในหมู่นายทหารที่ไม่ใช่พรรคพวกของคณะราษฎร โดยเฉพาะทหารหัวเมือง ดังสะท้อนจากคำร้องของเด็กๆ ที่ว่า
พระยาพหลต้นเหตุ
บวรเดชต้นเรื่อง
ไล่เจ้าเข้าป่า
จับหมานั่งเมือง
คณะราษฎรสงสัยว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะทรงรู้เห็นกับการกบฏ จากการพูดคุยกับบุคคลร่วมสมัย มีความเห็นว่า แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะมิได้ทรงเกี่ยวข้องด้วย แต่ก็ทรงทราบว่าจะมีการก่อหวอดกันขึ้น
หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ไม่ดีตลอดมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้ทรงทักท้วงการกระทำของรัฐบาลหลายอย่าง แต่ก็ไม่เป็นผล รัฐบาลได้นำรายชื่อสมาชิกสภาประเภทสองขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงแต่งตั้ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ไม่พอพระทัยว่า เหตุใดพระองค์จึงมิได้ทรงทราบเกี่ยวกับรายชื่อเหล่านั้น หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เสถบุตร) ต้องถวายคำอธิบายว่า รัฐบาลให้ทรงแต่งตั้ง (Appoint) ไม่ได้ให้ทรงเลือก (Select)
ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ทรงสละราชสมบัติ รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาที่สถาบันพระมหากษัตริย์ และ “พวกเจ้า” ตกต่ำที่สุด เป็นระยะเวลาที่ “พวกเจ้า” ถูกกีดกันในงานราชการ ขุนนางที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ตัดสินใจลาออกจากราชการ ทำให้ “ผู้ใหญ่” ในราชการเหลือแต่ข้าราชการระดับคุณหลวง
หากใครสังเกตการณ์นั่งในงานศพหรืองานแต่งงาน จะเห็นว่าแถวหน้าๆ จะไม่มีคนนั่ง เล่ากันว่า หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พวกพระยาหมดอำนาจลง ส่วนพวกคุณหลวงเป็นผู้ใหญ่ที่สุดในงานก็ยังไม่กล้าไปนั่งแถวหน้า จึงกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เคยทรงปรารภว่า เป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้นลำบาก ฝนไม่ตก ฟ้าไม่ร้องก็โทษพระเจ้าแผ่นดิน ก็เป็นความจริงเพราะในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชอำนาจเด็ดขาดจึงมีความรับผิดชอบเต็มที่ด้วย
ในสมัยปัจจุบัน วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับรัฐบาลในระยะแรกๆ ไม่มีอะไรเด่นชัด เพราะพระมหากษัตริย์ยังทรงพระเยาว์อยู่ รัฐบาลเพียงต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ และมิ่งขวัญของประชาชน เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังทรงพระเยาว์ และผู้นำรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น จอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ มีอายุมากกว่าพระมหากษัตริย์ บุคคลเหล่านี้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ “เป็นเด็ก” และไม่ได้ให้ทรงมีบทบาทมากเท่าใดนัก
บทบาทของพระมหากษัตริย์หลังยุคจอมพลสฤษดิ์ โดยเฉพาะการมีการพัฒนาประเทศ เริ่มมีมากขึ้น เพราะ “การพัฒนา” ไม่ใช่ “การเมือง” พระมหากษัตริย์จึงทรงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาได้จนมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ มากมาย
แม้จะไม่ใช่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว และแม้พระมหากษัตริย์จะไม่มีพระราชอำนาจทางการเมือง แต่ก็ยังมีความคาดหวังที่จะให้พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นที่พึ่งในยามบ้านเมืองเกิดวิกฤต ความขัดแย้งทางการเมือง เหตุการณ์แรกก็คือ 14 ตุลา 2516 และหลังจากนั้น พระมหากษัตริย์ก็ได้เข้ามาอยู่ในจิตใจของคนจำนวนมากที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
พระมหากษัตริย์ของเราไม่เคยแสดงพระองค์ว่าฝักใฝ่ให้ท้ายบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นพิเศษ เราไม่ได้ทราบพระราชดำริของพระองค์ท่านทางการเมืองมากนัก เพราะส่วนใหญ่เป็นพระราชดำริทางการพัฒนา
แม้กระนั้นก็ยังมีผู้แอบอ้างว่า พระองค์ทรงปรารภว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ในเว็บก็มีการเผยแพร่เรื่องราวที่แอบอ้างว่า ทรงรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ ในแวดวงคนระดับสูงเองก็มีการพูดคุยกันถึงความยากลำบากของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยนี้ และแสดงความห่วงใยถึงอนาคต
ได้มีการถวายฎีกาหลายครั้ง ที่ผมร่วมด้วยก็คือ “ฎีกา 99” และฎีกาขอพระราชทานการใช้มาตรา 7 แต่ทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องส่วนรวม ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
ก่อนจะมีฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดง มีการเคลื่อนไหวที่น่าสังเกต และเป็นที่ทราบกันดี คือ การยุยงให้คนชนบทปลดพระบรมฉายาลักษณ์ลง และการพูดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีแต่นำเงินมาให้ชาวบ้าน ในกรุงเทพฯ เองก็มีขบวนการแท็กซี่แสดงความเห็นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีวารสาร และเว็บมากมายวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งส่วนมากเป็นการวิจารณ์โจมตีพระมหากษัตริย์ในอดีต
การถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับความเดือดร้อนทั่วไป แต่เป็นความเดือดร้อนของคนที่ไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับโทษ ปัญหาก็คือ ทุกคนเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจในการอภัยโทษในลักษณะนี้ จึงเข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่า คนพวกนี้รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ต้องการก่อให้เกิดความรำคาญพระราชหฤทัย และต้องการสำแดงพลังว่ามี “คนเอา” ทักษิณจำนวนหลายล้านคน
การเคลื่อนไหวออกมาให้ประชาชนลงชื่อการคัดค้านการถวายฎีกา และการแสดงออกของบุคคลระดับนำ เช่น พลเอกสายหยุด เกิดผล และนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นการแสดงออกที่ดี
แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ท่าทีของ ผบ.ทบ.ซึ่งออกมาพูดว่า ไม่มีความเห็น แล้วต่อมาจึงแสดงความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการถวายฎีกา โดยไม่มีการไม่เห็นด้วยหรือตำหนิผู้ดำเนินการ ทำให้คนส่วนใหญ่เป็นห่วง และหลายคนรู้สึกไม่ค่อยดีกับ ผบ.ทบ.คนนี้
ความเห็นส่วนใหญ่ที่แสดงออกในเรื่องนี้เป็นไปในทำนองว่า การถวายฎีกาแบบนี้ ทำไม่ได้ผิดขั้นตอน ซึ่งผมเห็นว่า ก็จริง แต่การถวายฎีกานี้เป็นการใช้วิธีการทางการเมืองกับสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งผมคิดว่าไม่เป็นการยุติธรรม เพราะพระมหากษัตริย์ในยุคนี้ไม่ได้ทรงเกี่ยวข้องกับการเมือง แม้การถวายฎีกาเรื่องการใช้พระราชอำนาจตามมาตรา 7 ก็ยังอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ แต่การถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการใช้มาตรการทางการเมืองต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง
ผมเพียงแต่คิดว่า คนสมัยนี้โหดร้ายเหลือเกินที่ทำเช่นนี้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการทำให้สถาบันที่ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะทรงตอบโต้ทางการเมืองได้ ต้องพบกับปมปัญหาที่เกี่ยวกับความสามัคคีของชนในชาติ ด้วยเหตุนี้เองที่ผมรู้สึกเป็นห่วงบ้านเมือง ว่ามีคนจำนวนถึงหลายล้านคนไปลงชื่อถวายฎีกา แต่เพื่อนผมก็บอกว่า แปลกใจที่จำนวนคนไม่ถึง 14-15 ล้านคนเท่ากับที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทย
หากใครรักพระเจ้าอยู่หัวจริง ก็คงไม่ทำอะไรเช่นนี้ ผมเองยังนึกว่าทหาร-ตำรวจจะออกมาเตือนกลุ่มคนเสื้อแดง แต่เพื่อนๆ บอกว่า สมัยนี้อย่าไปหวังอะไรมาก เพราะทุกคนต่างเอาตัวรอด และความรักความภักดีอยู่ที่เงิน
ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ให้พวกนรกมาเกิดแสดงความเหิมเกริมต่อไปเถิดครับ เพราะผู้แสดงความจงรักภักดีอย่าง สนธิ ลิ้มทองกุล กลับโดนถล่มกลางเมืองอย่างนี้ แล้วบ้านเมืองเราจะเหลืออะไร