ที่ห้องอเนกประสงค์ อาคารพินิตประชานาถ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ วานนี้ (28 ก.ค.) มีการจัดเสวนา เรื่อง เมื่อราษฎร์ถวายฎีกา : กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าว ว่า ตามประวัติศาสตร์ฎีกาในความหมายที่เป็นหนังสือที่ยื่นเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และฎีการ้องทุกข์ การถวายฎีกา จึงเป็นสายสัมพันธ์ที่ยึดโยงพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่คงอยู่กับสังคม ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นช่องทางให้ผู้ต้องโทษอาญาได้ขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ช่องทางการถวายฎีกานี้ต้องไม่ใช่ศาลชั้นที่ 4 การพระราชทานอภัยโทษจึงไม่ใช่การกลับคำพิพากษาของศาล
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ผู้ที่ถวายฎีกาจะอ้างถึงคุณงามความดีในอดีต หรือการเจ็บป่วยทุกข์ยากต่าง ๆ โดยกรมราชทัณฑ์จะทำหน้าที่รวบรวมและนำเสนอฎีกาของผู้ต้องขังให้ รมว.ยุติธรรมได้ประมวลเรื่อง และทำความเห็นประกอบฎีกาต่างๆ ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ โดยทุกครั้งที่เปลี่ยนรมว.ยุติธรรม สำนักพระราชวังจะส่งเรื่อง การถวายฎีกากลับมาให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาความเห็นประกอบเกี่ยวกับการถวายฎีกาอีกครั้ง
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในทางจารีตประเพณีนอกเหนือจากการอภัยโทษทางอาญาแล้ว ยังมีการอภัยโทษทางวินัยและโทษทางแพ่งด้วย อย่างไรก็ตาม ในระบอบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจค่อนข้างจำกัด ทรงปกเกล้าไม่ได้ทรงปกครอง แม้การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจ แต่อยากฝากข้อคิดว่า การเมืองควรแก้ปัญหาด้วยการเมือง การทำให้การเมือง เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ สมควรต้องตรึกตรองด้วยความรอบคอบ เพราะในหลายประเด็นพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถชี้แจงหรือปกป้องตัวเองได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์นี้หรือเหตุการณ์ใด พยายามอย่าให้พระมหากษัตริย์ต้องมาเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องช่วยกันคิด
จากนั้นเป็นการเสวนาเรื่อง เมื่อราษฎร์ถวายฎีกา กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ โดย นายวีระ สมบูรณ์ หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ฎีการ้องทุกข์กับฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และการนิรโทษกรรม มีความแตกต่างกันและไม่ควรนำมาปะปนกัน นิรโทษกรรมคือ ให้เลิกแล้วต่อกัน เป็นเรื่องความผิดทางการเมือง กระทำเป็นการทั่วไป ทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ได้ ในธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ จะคงพระราชอำนาจอภัยโทษไว้ให้เป็นทั้งกฎหมายและพระราชอำนาจ
ส่วนประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขก็มีอำนาจในการอภัยโทษเช่นกัน โดยถือหลักว่าผู้กระทำผิดรู้สำนึก ได้ชดใช้โทษมาช่วงเวลาหนึ่ง และจะไม่กลับมากระทำผิดอีก ควรให้บุคคลดังกล่าวกลับมาใช้ชีวิตปกติ การอภัยโทษจึงไม่ใช่เรื่อง ส่วนบุคคลแต่เป็นเรื่องสาธารณะ โดยราษฎรทุกคนมีสิทธิขอและได้รับการอภัยโทษ
นายวีระ กล่าวว่า อำนาจอภัยโทษเป็นอำนาจสูงสุด อยู่เหนือกระบวนการยุติธรรมและการเมือง จำเป็นต้องมีการกำหนดขั้นตอนและเงื่อนไขให้ชัดเจนและรัดกุม เพื่อไม่ให้มีการใช้อำนาจไปในทางก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบ้านเมือง โดยการอภัยโทษหรือลดหย่อนโทษไม่สามารถกระทำได้ในกรณี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่กระทำผิดอาญา กบฏ ทุจริตคอร์รัปชั่น หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีก็ไม่อาจอภัยโทษให้แก่ผู้ถูกถอดถอนจากตำแหน่งทางการเมืองได้เช่นกัน หรือในประเทศสเปน กษัตริย์ก็ไม่อาจอภัยโทษแก่รัฐมนตรีที่ผิดอาญาหรือกบฏได้
ด้านรศ.สุริชัย หวันแก้ว ผอ.สถาบันวิจัยสังคม กล่าวว่า สังคมไทยไม่ได้มีเพียง 2 กลุ่ม เราจึงไม่ควรมาเถียงกันว่าควรหรือไม่ควรถวายฎีกา ที่ผ่านมาเราหวังพึ่งระบบตุลาการจนเกิดตุลาการเกินดุล หรือการหวังพึ่งการเมืองมากจนเกิดการกินรวบ การพิจารณาเรื่องฎีกาโดยไม่สนใจบริบทของสังคมบริโภคนิยม และมีการสื่อสาร ผ่านเทคโนโลยีข้ามพรมแดนไม่ได้ เราอยู่ในสังคมพร่ามัวคิดว่าโกงก็ได้ขอให้มีผลงาน จะแก้วิกฤตก็ต้องนิรโทษกรรมเหมายกเข่ง ผู้คนคิดว่าไม่มีอะไรที่มีคุณค่าเป็นสัจธรรม ทุกอย่างขึ้นลงได้เหมือนตลาดหุ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในช่วงตอบข้อซักถามมีการถามถึงการล่าชื่อ 1 ล้านชื่อ เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษทำได้หรือไม่ นายวีระ กล่าวว่า ขณะนี้มีการทำเรื่องการถวายฎีการ้องทุกข์มาร่วมกับการขออภัยโทษ และยังโยงเข้ามา เกี่ยวข้องกับกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่คดีได้รับการตัดสินแล้ว โดยส่วนตัวมองว่าไม่สามารถกระทำได้ ไม่ว่าจะมีรายชื่อกี่ล้านชื่อก็ตามและยังเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอีกด้วย ในเบื้องต้นหากไม่แน่ใจว่ากระทำได้หรือไม่ ควรยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการสัมมนาครั้งนี้ผู้จัดงานได้เชิญ นายวิษณุ เครืองาม อดีตเลขาธิการ ครม.ร่วมเสวนา ซึ่งนายวิษณุก็ได้ตอบรับเข้าร่วมกาสัมมนา แต่ภายหลังนายวิษณุได้ขอยกเลิกการเข้าร่วมงานดังกล่าว
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ผู้ที่ถวายฎีกาจะอ้างถึงคุณงามความดีในอดีต หรือการเจ็บป่วยทุกข์ยากต่าง ๆ โดยกรมราชทัณฑ์จะทำหน้าที่รวบรวมและนำเสนอฎีกาของผู้ต้องขังให้ รมว.ยุติธรรมได้ประมวลเรื่อง และทำความเห็นประกอบฎีกาต่างๆ ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ โดยทุกครั้งที่เปลี่ยนรมว.ยุติธรรม สำนักพระราชวังจะส่งเรื่อง การถวายฎีกากลับมาให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาความเห็นประกอบเกี่ยวกับการถวายฎีกาอีกครั้ง
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในทางจารีตประเพณีนอกเหนือจากการอภัยโทษทางอาญาแล้ว ยังมีการอภัยโทษทางวินัยและโทษทางแพ่งด้วย อย่างไรก็ตาม ในระบอบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจค่อนข้างจำกัด ทรงปกเกล้าไม่ได้ทรงปกครอง แม้การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจ แต่อยากฝากข้อคิดว่า การเมืองควรแก้ปัญหาด้วยการเมือง การทำให้การเมือง เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ สมควรต้องตรึกตรองด้วยความรอบคอบ เพราะในหลายประเด็นพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถชี้แจงหรือปกป้องตัวเองได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์นี้หรือเหตุการณ์ใด พยายามอย่าให้พระมหากษัตริย์ต้องมาเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องช่วยกันคิด
จากนั้นเป็นการเสวนาเรื่อง เมื่อราษฎร์ถวายฎีกา กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ โดย นายวีระ สมบูรณ์ หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ฎีการ้องทุกข์กับฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และการนิรโทษกรรม มีความแตกต่างกันและไม่ควรนำมาปะปนกัน นิรโทษกรรมคือ ให้เลิกแล้วต่อกัน เป็นเรื่องความผิดทางการเมือง กระทำเป็นการทั่วไป ทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ได้ ในธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ จะคงพระราชอำนาจอภัยโทษไว้ให้เป็นทั้งกฎหมายและพระราชอำนาจ
ส่วนประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขก็มีอำนาจในการอภัยโทษเช่นกัน โดยถือหลักว่าผู้กระทำผิดรู้สำนึก ได้ชดใช้โทษมาช่วงเวลาหนึ่ง และจะไม่กลับมากระทำผิดอีก ควรให้บุคคลดังกล่าวกลับมาใช้ชีวิตปกติ การอภัยโทษจึงไม่ใช่เรื่อง ส่วนบุคคลแต่เป็นเรื่องสาธารณะ โดยราษฎรทุกคนมีสิทธิขอและได้รับการอภัยโทษ
นายวีระ กล่าวว่า อำนาจอภัยโทษเป็นอำนาจสูงสุด อยู่เหนือกระบวนการยุติธรรมและการเมือง จำเป็นต้องมีการกำหนดขั้นตอนและเงื่อนไขให้ชัดเจนและรัดกุม เพื่อไม่ให้มีการใช้อำนาจไปในทางก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบ้านเมือง โดยการอภัยโทษหรือลดหย่อนโทษไม่สามารถกระทำได้ในกรณี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่กระทำผิดอาญา กบฏ ทุจริตคอร์รัปชั่น หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีก็ไม่อาจอภัยโทษให้แก่ผู้ถูกถอดถอนจากตำแหน่งทางการเมืองได้เช่นกัน หรือในประเทศสเปน กษัตริย์ก็ไม่อาจอภัยโทษแก่รัฐมนตรีที่ผิดอาญาหรือกบฏได้
ด้านรศ.สุริชัย หวันแก้ว ผอ.สถาบันวิจัยสังคม กล่าวว่า สังคมไทยไม่ได้มีเพียง 2 กลุ่ม เราจึงไม่ควรมาเถียงกันว่าควรหรือไม่ควรถวายฎีกา ที่ผ่านมาเราหวังพึ่งระบบตุลาการจนเกิดตุลาการเกินดุล หรือการหวังพึ่งการเมืองมากจนเกิดการกินรวบ การพิจารณาเรื่องฎีกาโดยไม่สนใจบริบทของสังคมบริโภคนิยม และมีการสื่อสาร ผ่านเทคโนโลยีข้ามพรมแดนไม่ได้ เราอยู่ในสังคมพร่ามัวคิดว่าโกงก็ได้ขอให้มีผลงาน จะแก้วิกฤตก็ต้องนิรโทษกรรมเหมายกเข่ง ผู้คนคิดว่าไม่มีอะไรที่มีคุณค่าเป็นสัจธรรม ทุกอย่างขึ้นลงได้เหมือนตลาดหุ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในช่วงตอบข้อซักถามมีการถามถึงการล่าชื่อ 1 ล้านชื่อ เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษทำได้หรือไม่ นายวีระ กล่าวว่า ขณะนี้มีการทำเรื่องการถวายฎีการ้องทุกข์มาร่วมกับการขออภัยโทษ และยังโยงเข้ามา เกี่ยวข้องกับกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่คดีได้รับการตัดสินแล้ว โดยส่วนตัวมองว่าไม่สามารถกระทำได้ ไม่ว่าจะมีรายชื่อกี่ล้านชื่อก็ตามและยังเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอีกด้วย ในเบื้องต้นหากไม่แน่ใจว่ากระทำได้หรือไม่ ควรยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการสัมมนาครั้งนี้ผู้จัดงานได้เชิญ นายวิษณุ เครืองาม อดีตเลขาธิการ ครม.ร่วมเสวนา ซึ่งนายวิษณุก็ได้ตอบรับเข้าร่วมกาสัมมนา แต่ภายหลังนายวิษณุได้ขอยกเลิกการเข้าร่วมงานดังกล่าว