และแล้ววุฒิสภาก็ลงมติในวาระที่ 1 รับร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ. ..... หรือนัยหนึ่งร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ไว้พิจารณาหลังจากมีสมาชิกอภิปรายทั้งสิ้น 61 คน ด้วยคะแนนเสียงที่ออกมาขาดลอยเกินคาด 110 ต่อ 21 เสียง
แน่นอน ผมเป็น 1 ใน 21 เสียงที่ลงมติไม่รับไว้พิจารณาด้วยเหตุผลหลักๆ อย่างที่กล่าวไว้ในข้อเขียนสัปดาห์ที่แล้วหรือที่นำมาสรุปสั้นๆ ชัดๆ ในคำอภิปรายที่ไปขอแลกคิวเขาขอขึ้นพูดเป็นคนที่ 61 สุดท้ายว่า ที่รับไม่ได้เพราะมันขัดหลักการ และจะเป็นตัวอย่างที่เลวให้กับรัฐบาลต่อๆ ไปในอนาคต แม้จะเข้าใจและเชื่อใจนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะพอสมควร แต่ก็ต้องตัดสินใจในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ จะให้ยกมือรับได้อย่างไรในเมื่อพิจารณาแล้วว่านี่คือ....
1 พระราชบัญญัติยกเว้นรัฐธรรมนูญ 1 หมวด 5 มาตรา
1 มาตรายกเว้นพระราชบัญญัติหลัก 3 ฉบับ
1 ระเบียบฯ ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเทียบเท่ารัฐธรรมนูญ
ยิ่งรู้ว่าโอกาสแพ้มีสูงมาก ยิ่งต้องยืนหยัด ในเมื่ออย่างไรเสียรัฐบาลก็จะชนะแน่นอนอยู่แล้ว การมีเสียงคัดค้านที่หนักแน่นในหลักการบันทึกไว้จึงจะเป็นเครื่องเตือนใจรัฐบาลในการใช้จ่ายเงินกู้อย่างระมัดระวังสูงสุด นอกจากนั้นยังเป็นการบันทึกการทำงานของตัวเราเองไว้ด้วย
ต้องเข้าใจให้ตรงกันนะครับสำหรับท่านผู้อ่านที่รักนายกฯ อภิสิทธิ์ ก่อนจะเข้ามาคอมเมนต์ผมในเว็บเมเนเจอร์ออนไลน์ ว่าผมไม่ได้คัดค้านการใช้เงินในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ไม่ได้คัดค้านการกู้เงิน แต่คัดค้านวิธีการใช้เงินและการกู้เงิน ที่ผมต้องการให้เป็นเงินในงบประมาณ เดินตามแนวทางรัฐธรรมนูญหมวด 8 ไม่ใช่ใช้เป็นเงินนอกงบประมาณที่ทั้งยกเว้นรัฐธรรมนูญและกฎหมายหลักอื่นๆ
และไม่ใช่ความเห็นผมคนเดียว เป็นความเห็นของ ส.ว.จำนวนไม่น้อยที่อภิปรายวันนั้น ที่โดดเด่นจนผมจำได้แม่นคือ ส.ว.พิเชต สุนทรพิพิธ ซึ่งเคยเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน และปัจจุบันเป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ของวุฒิสภา, ส.ว.จำนง สวมประคำ อดีตเลขาธิการวุฒิสภา และปัจจุบันเป็นรองประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 และ ฯลฯ ที่ผมไม่อาจเอ่ยชื่อได้หมด
นายกฯ อภิสิทธิ์ที่ขึ้นตอบก่อนลงมติก็ไม่ได้ปฏิเสธโดยตรง เพียงบอกว่าไม่มีทางเลือกจริงๆ
ผมเคยพูดเสมอมา – รวมทั้งต่อหน้าท่าน – ว่านายกฯ คนนี้เป็นคนที่มีลักษณะพิเศษอย่างยิ่งประการหนึ่ง คือมี “เสน่ห์สาธารณะ” สูงมาก หน้าตาดีสะอาดสะอ้านน่าเชื่อถือ ภูมิหลังทางครอบครัวและการศึกษาดีมาก สุภาพ จับประเด็นเก่ง ความจำแม่นยำ โวหารคมคาย เมื่อถึงคราวต้องเชือดเฉือนก็สุดยอดไม่แพ้คุณชวน หลีกภัยแม่แบบของท่าน แต่เมื่อถึงคราวต้อง “อ้อน” ดูจะทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ
แต่นายกฯ พูดกว่าครึ่งชั่วโมงคืนนั้นพูดตามตรงว่าไม่ได้เปลี่ยนใจการตัดสินใจของสมาชิกสักเท่าไร
สมาชิกที่ตัดสินใจรับร่างพ.ร.บ.นี้จำนวนหนึ่ง ไม่ใช่เพราะเห็นด้วยกับรัฐบาล เห็นไม่ต่างกับผมหรอกในหลักการ แต่ที่ตัดสินใจโหวตรับก็เพราะต้องการแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ เพราะถ้าโหวตไม่รับ ร่างพ.ร.บ.ก็จะกลับสู่สภาผู้แทนราษฎร หากได้มติยืนยันเกินกึ่งหนึ่ง ก็ถือว่าผ่านรัฐสภาครบกระบวนการ ประกาศใช้ได้โดยไม่มีการแก้ไข ซึ่งต้องไม่ลืมว่าในการพิจารณาวารระที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายค้านวอล์คเอาต์ กฎหมายจึงผ่านสภาผู้แทนราษฎร 3 วาระรวดโดยไม่มีการแก้ไขแม้แต่คำเดียว
เรื่องนี้รู้กันมาแต่ต้น เพราะในกลุ่ม 40 ส.ว.ก็คิดอย่างนี้เป็นส่วนใหญ่ มีเพียง 5 – 6 คนรวมทั้งผมด้วยที่เห็นต่าง ปรากฏชัดเจนมาตั้งแต่ครั้งลงมติผ่านพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาทเมื่อคืนวันที่ 22 มิถุนายน 2552 โน่นแล้ว ซึ่งก็เป็นความงามประการหนึ่งที่พวกเราเคารพซึ่งกันและกัน!
แต่มีสมาชิกอีกจำนวนหนึ่งที่น่าจะมาตัดสินใจในตอนค่ำ ก่อนลงมติไม่กี่นาที และน่าจะก่อนนายกฯ ขึ้นชี้แจงตอนเกือบ 3 ทุ่ม
นายกฯ อภิสิทธิ์เดินพูดคุยทักทายแทบทุกโต๊ะในห้องอาหารข้างห้องประชุมด้วยกิริยามารยาทสุภาพ อ่อนน้อม มือพนมก้มคารวะ
ขอโอกาสทำงาน ขอเครื่องมือให้รัฐบาลได้ทำงาน
มีข้ออ่อนประการใด ขอให้บอกมา รัฐบาลยินดีรับฟังและแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
นี่แหละครับที่ผมเรียกว่า “เสน่ห์สาธารณะ” ใครเห็นใครรัก
บนพื้นฐานที่วุฒิสภาไม่ใช่สภาการเมืองที่แบ่งเป็นฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล สมาชิกจำนวนมากค่อนข้างอาวุโส อยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าไปได้ ไม่อยากให้เกิดทางตันหรือการเผชิญหน้าโดยไม่จำเป็น แม้จะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล แต่ถ้าไม่หนักหนาสาหัสจริงๆ เรื่องที่จะลงมติสวนรัฐบาลจะไม่เกิดขึ้นง่ายๆ ที่สำคัญคือทุกคนเป็นคนไทยที่มีวัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ เมื่อคนเป็นนายกรัฐมนตรีให้เกียรติมารับฟัง พูดคุย และรับทั้งข้อติติงข้อสังเกตไปปรับปรุง การตัดสินใจในกรณีนี้ที่ ส.ว.ตวง อันทะไชยอภิปรายว่า “ยากที่สุดในโลก...” ก็ไม่ยากอีกต่อไป
การเมืองไทย หรือการเมืองที่ไหนในโลก บางครั้งไม่ได้ตัดสินกันบนเวทีอภิปรายที่ถ่ายทอดสดไปทั่ว
แต่ตัดสินกันชั่วไม่กี่นาทีในห้องอาหารหรือห้องกาแฟ
การไปเรียนหลักสูตรระดับสูงต่างๆ ไม่ว่า ว.ป.อ. (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร), ป.ป.ร. (หลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้า) บ.ย.ส. (หลักสูตรของกระทรวงยุติธรรม) หรือต่อไปก็จะต้องรวม พ.ต.ส. (หลักสูตรของ ก.ก.ต.) ก็เช่นกันครับ วิชาที่นักศึกษาอาวุโสสนใจและได้รับความรู้มากที่สุดไม่ใช่ในห้องบรรยายสถานเดียวเสมอไป แต่ยังรวมการสนทนาในห้องอาหารหรือห้องกาแฟ และในงานเลี้ยงรุ่นเลี้ยงกลุ่มต่างๆ รวมทั้งงานหาทุนในสนามกอล์ฟ
อันที่จริงร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาก็ดีไปอย่าง
เพราะกระบวนการยังไม่จบ
ผมไม่ได้เป็นกรรมาธิการวิสามัญ เหตุหนึ่งเพราะไม่ใช่คิว และไปเลือกเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ไปแล้ว
อีกเหตุหนึ่งก็เพราะตั้งใจไว้ก่อนว่าจะขอใช้สิทธิแปรญัตติในฐานะ ส.ว.คนหนึ่ง ซึ่งก็ได้เตรียมการทางความคิดไว้ก่อนการลงมติเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม 2552 แล้ว พอผลออกมาก็ให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งข้างนอกข้างในสภาช่วยกันระดมความคิด จนสามารถเสนอคำแปรญัตติได้ภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ก่อนครบกำหนด 7 วันตามข้อบังคับหลายวันอยู่
ยังไม่เล่ารายละเอียด ณ ที่นี้นะครับ เพราะแปรญัตติไปกว่า 10 ประเด็น ตั้งแต่ชื่อกฎหมาย คำปรารภ และ 2 ใน 3 ของมาตราที่มีอยู่
ก็พยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในฐานะส่วนหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติ
เพราะนี่คือการกู้เงินครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่คนไทยทุกคนต้องร่วมกันชดใช้ในอนาคต
แน่นอน ผมเป็น 1 ใน 21 เสียงที่ลงมติไม่รับไว้พิจารณาด้วยเหตุผลหลักๆ อย่างที่กล่าวไว้ในข้อเขียนสัปดาห์ที่แล้วหรือที่นำมาสรุปสั้นๆ ชัดๆ ในคำอภิปรายที่ไปขอแลกคิวเขาขอขึ้นพูดเป็นคนที่ 61 สุดท้ายว่า ที่รับไม่ได้เพราะมันขัดหลักการ และจะเป็นตัวอย่างที่เลวให้กับรัฐบาลต่อๆ ไปในอนาคต แม้จะเข้าใจและเชื่อใจนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะพอสมควร แต่ก็ต้องตัดสินใจในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ จะให้ยกมือรับได้อย่างไรในเมื่อพิจารณาแล้วว่านี่คือ....
1 พระราชบัญญัติยกเว้นรัฐธรรมนูญ 1 หมวด 5 มาตรา
1 มาตรายกเว้นพระราชบัญญัติหลัก 3 ฉบับ
1 ระเบียบฯ ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเทียบเท่ารัฐธรรมนูญ
ยิ่งรู้ว่าโอกาสแพ้มีสูงมาก ยิ่งต้องยืนหยัด ในเมื่ออย่างไรเสียรัฐบาลก็จะชนะแน่นอนอยู่แล้ว การมีเสียงคัดค้านที่หนักแน่นในหลักการบันทึกไว้จึงจะเป็นเครื่องเตือนใจรัฐบาลในการใช้จ่ายเงินกู้อย่างระมัดระวังสูงสุด นอกจากนั้นยังเป็นการบันทึกการทำงานของตัวเราเองไว้ด้วย
ต้องเข้าใจให้ตรงกันนะครับสำหรับท่านผู้อ่านที่รักนายกฯ อภิสิทธิ์ ก่อนจะเข้ามาคอมเมนต์ผมในเว็บเมเนเจอร์ออนไลน์ ว่าผมไม่ได้คัดค้านการใช้เงินในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ไม่ได้คัดค้านการกู้เงิน แต่คัดค้านวิธีการใช้เงินและการกู้เงิน ที่ผมต้องการให้เป็นเงินในงบประมาณ เดินตามแนวทางรัฐธรรมนูญหมวด 8 ไม่ใช่ใช้เป็นเงินนอกงบประมาณที่ทั้งยกเว้นรัฐธรรมนูญและกฎหมายหลักอื่นๆ
และไม่ใช่ความเห็นผมคนเดียว เป็นความเห็นของ ส.ว.จำนวนไม่น้อยที่อภิปรายวันนั้น ที่โดดเด่นจนผมจำได้แม่นคือ ส.ว.พิเชต สุนทรพิพิธ ซึ่งเคยเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน และปัจจุบันเป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ของวุฒิสภา, ส.ว.จำนง สวมประคำ อดีตเลขาธิการวุฒิสภา และปัจจุบันเป็นรองประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 และ ฯลฯ ที่ผมไม่อาจเอ่ยชื่อได้หมด
นายกฯ อภิสิทธิ์ที่ขึ้นตอบก่อนลงมติก็ไม่ได้ปฏิเสธโดยตรง เพียงบอกว่าไม่มีทางเลือกจริงๆ
ผมเคยพูดเสมอมา – รวมทั้งต่อหน้าท่าน – ว่านายกฯ คนนี้เป็นคนที่มีลักษณะพิเศษอย่างยิ่งประการหนึ่ง คือมี “เสน่ห์สาธารณะ” สูงมาก หน้าตาดีสะอาดสะอ้านน่าเชื่อถือ ภูมิหลังทางครอบครัวและการศึกษาดีมาก สุภาพ จับประเด็นเก่ง ความจำแม่นยำ โวหารคมคาย เมื่อถึงคราวต้องเชือดเฉือนก็สุดยอดไม่แพ้คุณชวน หลีกภัยแม่แบบของท่าน แต่เมื่อถึงคราวต้อง “อ้อน” ดูจะทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ
แต่นายกฯ พูดกว่าครึ่งชั่วโมงคืนนั้นพูดตามตรงว่าไม่ได้เปลี่ยนใจการตัดสินใจของสมาชิกสักเท่าไร
สมาชิกที่ตัดสินใจรับร่างพ.ร.บ.นี้จำนวนหนึ่ง ไม่ใช่เพราะเห็นด้วยกับรัฐบาล เห็นไม่ต่างกับผมหรอกในหลักการ แต่ที่ตัดสินใจโหวตรับก็เพราะต้องการแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ เพราะถ้าโหวตไม่รับ ร่างพ.ร.บ.ก็จะกลับสู่สภาผู้แทนราษฎร หากได้มติยืนยันเกินกึ่งหนึ่ง ก็ถือว่าผ่านรัฐสภาครบกระบวนการ ประกาศใช้ได้โดยไม่มีการแก้ไข ซึ่งต้องไม่ลืมว่าในการพิจารณาวารระที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายค้านวอล์คเอาต์ กฎหมายจึงผ่านสภาผู้แทนราษฎร 3 วาระรวดโดยไม่มีการแก้ไขแม้แต่คำเดียว
เรื่องนี้รู้กันมาแต่ต้น เพราะในกลุ่ม 40 ส.ว.ก็คิดอย่างนี้เป็นส่วนใหญ่ มีเพียง 5 – 6 คนรวมทั้งผมด้วยที่เห็นต่าง ปรากฏชัดเจนมาตั้งแต่ครั้งลงมติผ่านพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาทเมื่อคืนวันที่ 22 มิถุนายน 2552 โน่นแล้ว ซึ่งก็เป็นความงามประการหนึ่งที่พวกเราเคารพซึ่งกันและกัน!
แต่มีสมาชิกอีกจำนวนหนึ่งที่น่าจะมาตัดสินใจในตอนค่ำ ก่อนลงมติไม่กี่นาที และน่าจะก่อนนายกฯ ขึ้นชี้แจงตอนเกือบ 3 ทุ่ม
นายกฯ อภิสิทธิ์เดินพูดคุยทักทายแทบทุกโต๊ะในห้องอาหารข้างห้องประชุมด้วยกิริยามารยาทสุภาพ อ่อนน้อม มือพนมก้มคารวะ
ขอโอกาสทำงาน ขอเครื่องมือให้รัฐบาลได้ทำงาน
มีข้ออ่อนประการใด ขอให้บอกมา รัฐบาลยินดีรับฟังและแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
นี่แหละครับที่ผมเรียกว่า “เสน่ห์สาธารณะ” ใครเห็นใครรัก
บนพื้นฐานที่วุฒิสภาไม่ใช่สภาการเมืองที่แบ่งเป็นฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล สมาชิกจำนวนมากค่อนข้างอาวุโส อยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าไปได้ ไม่อยากให้เกิดทางตันหรือการเผชิญหน้าโดยไม่จำเป็น แม้จะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล แต่ถ้าไม่หนักหนาสาหัสจริงๆ เรื่องที่จะลงมติสวนรัฐบาลจะไม่เกิดขึ้นง่ายๆ ที่สำคัญคือทุกคนเป็นคนไทยที่มีวัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ เมื่อคนเป็นนายกรัฐมนตรีให้เกียรติมารับฟัง พูดคุย และรับทั้งข้อติติงข้อสังเกตไปปรับปรุง การตัดสินใจในกรณีนี้ที่ ส.ว.ตวง อันทะไชยอภิปรายว่า “ยากที่สุดในโลก...” ก็ไม่ยากอีกต่อไป
การเมืองไทย หรือการเมืองที่ไหนในโลก บางครั้งไม่ได้ตัดสินกันบนเวทีอภิปรายที่ถ่ายทอดสดไปทั่ว
แต่ตัดสินกันชั่วไม่กี่นาทีในห้องอาหารหรือห้องกาแฟ
การไปเรียนหลักสูตรระดับสูงต่างๆ ไม่ว่า ว.ป.อ. (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร), ป.ป.ร. (หลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้า) บ.ย.ส. (หลักสูตรของกระทรวงยุติธรรม) หรือต่อไปก็จะต้องรวม พ.ต.ส. (หลักสูตรของ ก.ก.ต.) ก็เช่นกันครับ วิชาที่นักศึกษาอาวุโสสนใจและได้รับความรู้มากที่สุดไม่ใช่ในห้องบรรยายสถานเดียวเสมอไป แต่ยังรวมการสนทนาในห้องอาหารหรือห้องกาแฟ และในงานเลี้ยงรุ่นเลี้ยงกลุ่มต่างๆ รวมทั้งงานหาทุนในสนามกอล์ฟ
อันที่จริงร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาก็ดีไปอย่าง
เพราะกระบวนการยังไม่จบ
ผมไม่ได้เป็นกรรมาธิการวิสามัญ เหตุหนึ่งเพราะไม่ใช่คิว และไปเลือกเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ไปแล้ว
อีกเหตุหนึ่งก็เพราะตั้งใจไว้ก่อนว่าจะขอใช้สิทธิแปรญัตติในฐานะ ส.ว.คนหนึ่ง ซึ่งก็ได้เตรียมการทางความคิดไว้ก่อนการลงมติเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม 2552 แล้ว พอผลออกมาก็ให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งข้างนอกข้างในสภาช่วยกันระดมความคิด จนสามารถเสนอคำแปรญัตติได้ภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ก่อนครบกำหนด 7 วันตามข้อบังคับหลายวันอยู่
ยังไม่เล่ารายละเอียด ณ ที่นี้นะครับ เพราะแปรญัตติไปกว่า 10 ประเด็น ตั้งแต่ชื่อกฎหมาย คำปรารภ และ 2 ใน 3 ของมาตราที่มีอยู่
ก็พยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในฐานะส่วนหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติ
เพราะนี่คือการกู้เงินครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่คนไทยทุกคนต้องร่วมกันชดใช้ในอนาคต