น่าจะสรุปได้ชัดแล้วว่า ความพิกลพิการของการเมืองไทยที่ล้มลุกคลุกคลานมาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบัน คือ การขาดข้อมูลความรู้ของประชาชน อันเกิดจากการละเลยไม่เอาใจใส่โดยไม่รู้หรือจงใจของฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐทุกยุคทุกสมัย
สื่อมวลชนที่เป็นกลไกสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสาร ไม่ทำหน้าที่ให้ความรู้พื้นฐานแก่ประชาชน โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ในชนบททุกภูมิภาค ที่ด้อยโอกาสด้านการศึกษา ระบบโรงเรียนก็ล้มเหลวพิกลพิการอย่างยั่งยืน
การด้อยการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของวงจรอุบาทว์ โง่-จน- เจ็บ ของชาวชนบท ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาชั่วนาตาปี ฝ่ายการเมืองและฝ่ายราชการประจำไม่เคยแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด มิหนำซ้ำปัญหาชนบทกลับกลายเป็นเหยื่ออันโอชะที่ทุกฝ่ายมะรุมมะตุ้มฉกฉวยแสวงหาประโยชน์
อำนาจทางการเมือง ก็มุ่งหวังเพียงเอาชนะในการเลือกตั้ง เห็นผู้มีสิทธิเป็นเพียงบันไดไต่เต้าไปสู่รัฐสภา ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จึงถูกบิดเบือนเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ทับถมซ้ำเติมความไม่รู้อย่างต่อเนื่องทุกยุคทุกสมัย โดยให้เป็นที่เข้าใจว่า ประดาเจ้าของอำนาจอธิปไตย มีหน้าที่เพียงการกาบัตรหย่อนลงในหีบเลือกตั้ง หลังจากนั้นถือว่าเป็นการมอบสิทธิ์ให้ท่านผู้แทนไปใช้อำนาจตามอำเภอใจ ดังประโยคฮิตติดปากที่ว่า “ผมมาจากประชาชน ประชาชนเลือกมา”
สื่อมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนที่มีอยู่มากมาย เต็มไปด้วยบุคลากรและเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคโนโลยีก้าวไกลไม่แพ้นานาอารยประเทศ ซึ่งควรจะเป็นช่องทางสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสารที่เที่ยงตรงเป็นจริง ให้ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพแก่ประชาชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มชนส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา แต่สื่อมวลชนก็ไม่เคยใส่ใจทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น
สื่อสารมวลชนไทยในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวิทยุ ทีวี หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนแล้วแต่ถูกครอบงำโดยระบบและกลไกทางธุรกิจ ซึ่งทำให้ไม่มีอิสรเสรีภาพในการทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างแท้จริง มิหนำซ้ำกลับกลายเป็นสื่อมอมเมาทั้งการโฆษณาชวนเชื่อทางด้านธุรกิจ การค้า และการบันเทิงเริงรมย์ประเภทเกมโชว์ ละครน้ำเน่าที่เอานิยายเรื่องเก่ามาสร้างใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า รายการทีวีทุกช่องแทบจะหาสื่อประเทืองปัญญาไม่ได้เลย และไม่เคยใส่ใจที่จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่ถูกต้อง เที่ยงตรง แก่ประชาชน
การปฏิวัติ 19 กันยายน2549 ทำให้ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ มาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กำกับดูแลสื่อสารมวลชน ผู้คนไม่น้อยแอบตั้งความหวังว่า คงเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่มีรัฐมนตรีมีความรู้ ความสามารถ เข้าใจปัญหา และมีอำนาจเบ็ดเสร็จล้นฟ้าล้นแผ่นดินของ คมช.หนุนหลัง คงจะได้มาปฏิรูปปรับเปลี่ยนระบบและกระบวนการสื่อให้เข้ารูปเข้ารอย เป็นสื่อมวลชนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ร่วมสร้างสรรค์สังคมที่มีข่าวสารข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องแพร่กระจายสู่ทุกภาคส่วนของสังคมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันเป็นการก่อร่างสร้างฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เติบโตเจริญมั่นคงสืบไป
แต่ความหวังในการปฏิรูปสื่อก็มลายหายไป พร้อมกับความล้มเหลวด้านอื่นๆของรัฐบาล คมช. ที่กลายเป็นจำเลยของสังคมในฐานะคณะปฏิวัติหน่อมแน้ม รัฐบาลรักษาการโลเลที่ทำให้ประเทศชาติสูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เพราะได้อำนาจรัฐมาแล้วใช้ไม่เป็น มีแต่ความกล้าๆ กลัวๆ เก้ๆ กังๆ จนหมดเวลา โดยมุ่งแต่การเร่งรัดจัดการเลือกตั้งอย่างไม่ใส่ใจที่จะสะสางปัญหาต่างๆ ที่เป็นมูลเหตุของการปฏิวัติรัฐประหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่คำนึงถึงการให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชน ทั้งๆ ที่สามารถจะใช้อำนาจทั้งของรัฐบาล และอำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดินของ คมช. ในการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนให้ทำหน้าที่นี้ได้
สื่อมวลชนไทย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนส่วนใหญ่เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ในปัจจุบัน จึงยังคงเป็นสื่อรับใช้ทางธุรกิจ และมอมเมาสังคมมากกว่าที่จะทำหน้าที่ แพร่กระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเป็นจริง และให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อสร้างพื้นฐานทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย วิธีการเช่นนี้เท่านั้นจึงจะทำให้ประเทศและสังคมไทยเข้มแข็งเหมือนดังที่รัฐบาลนี้พยายามป่าวประกาศกรอกหูประชาชนอยู่ตลอดเวลาว่า โครงการเงินกู้หลายแสนล้าน มีเป้าหมายจะสร้างให้ประเทศไทยเข้มแข็งอย่างแน่นอน
ผู้เขียนยังมองไม่เห็นทางว่าประเทศชาติจะเข้มแข็งได้อย่างไร เมื่อสื่อสารมวลชน ที่เป็นช่องทางและเครื่องมือสำคัญที่สุด ที่จะสร้างสังคมเข้มแข็งด้วยข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่เท่าเทียมกันของผู้คนในสังคมทุกภาคส่วน ยังคงเป็นสื่อสารมวลชนที่ด้อยคุณภาพและมอมเมาสังคมอยู่เยี่ยงทุกวันนี้
ปรากฏการณ์ที่น่าประหลาดใจก็คือ สื่อที่พยายามทำหน้าที่สื่อ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้แก่ประชาชนกลับมีเฉพาะสื่อเล็กๆ ของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น ASTV., Nation Channel. หรือวิทยุชุมชนบางคลื่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นบางฉบับซึ่งเป็นสื่อที่ดู ฟัง อ่าน จำกัดเฉพาะกลุ่มคนบางส่วน ไม่มีศักยภาพพอที่จะแพร่ขยายกระจายครอบคลุมทุกพื้นที่เหมือนสื่อวิทยุ ทีวี ของรัฐ และเอกชนรายใหญ่ที่เป็นเจ้าของสัมปทานจากรัฐ
ทุกยุคทุกสมัย ทุกรัฐบาล เมื่อเข้ามาก็มุ่งแต่จะแก้ไขปัญหาชาติด้วยการทำโครงการเมกะโปรเจกต์ก่อสร้างโครงการพื้นฐานต่างๆ สร้างถนน แหล่งน้ำ สร้างอาคารสำนักงาน และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่แข่งขันความใหญ่โตโอฬารกันอยู่ในขณะนี้ ก็คือ สำนักงาน อบต. และเทศบาลตำบลต่างๆ รวมทั้งตึกอาคารเรียนของบรรดาโรงเรียนในชนบทที่แข่งความสูง ความใหญ่โต แทนที่จะคิดแข่งขันกันด้านคุณภาพการเรียนการสอน ไม่เว้นแม้แต่รัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีคนหนุ่มไฟแรงเช่นปัจจุบันนี้ ซึ่งก็ยังคงเดินหน้าแก้ปัญหาชาติในแบบเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างที่รัฐบาลนี้ควรจะต้องให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนที่เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนก็เช่น การล่าลายมือชื่อประชาชนเพื่อยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร ผู้เขียนเชื่อว่า ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดข้อมูลความรู้ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องใช้สื่อทุกช่องทางในการให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชน ว่ากฎเกณฑ์ หลักเกณฑ์ ระเบียบการ วิธีการ รวมทั้งขั้นตอนที่ถูกต้องในการขอพระราชทานอภัยโทษที่ถูกต้องเป็นเช่นใด และรวมทั้งการถวายฎีกาที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในขณะนี้ ความจริงยังมีอีกร้อยแปดพันเรื่องที่รัฐบาลควรจะต้องใช้สื่อสารมวลชนเพื่อให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า มีแต่ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเป็นจริงเท่านั้น ที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น
ในทางตรงกันข้าม ปัญหาบ้านปัญหาเมืองที่ลุกลามใหญ่โตจนเกิดการแตกแยก แบ่งแยกผู้คนในสังคมออกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนบานปลายเกิดการใช้ความรุนแรง ใช่หรือไม่ว่า เกิดจากการรับข้อมูลความรู้คนละด้าน และส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลความรู้ที่ไม่ถูกต้องเป็นจริง หรือถูกบิดเบือนดัดแปลง หลายครั้งผู้เขียนจึงเชื่อว่า ไม่ใช่ความผิดของประชาชนทุกฝ่ายที่จะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ขัดแย้งกัน เพราะเหตุจากการรับรู้ข้อมูลความรู้ที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใช่หรือไม่ว่า ที่จะต้องให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเป็นจริงแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ความจริงโครงการเงินกู้แปดแสนล้านของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ถ้ามีความคิดความจริงใจที่จะบริหารจัดการสื่อให้เป็นสื่อสารมวลชนอย่างแท้จริงก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดี ซึ่งคงใช้งบประมาณไม่มากมายนัก เมื่อเทียบกับการลงทุนในด้านอื่นๆ ไม่ใช่การใช้เวลากว่าครึ่งปี โดยทำได้เพียงการเปลี่ยนโลโก NBT เป็นโลโกหอยสังข์สีม่วงเชยๆ เพื่อใช้เป็นที่ประกาศเชื่อมั่นประเทศไทยของนายกฯ อภิสิทธิ์ เพียงคนเดียว ซึ่งเป็นผลงานยอดเยี่ยมของรัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ที่ทำเอาผู้รู้ด้านสื่อสารมวลชนและผู้รักความเป็นธรรมทุกคน หัวร่อมิได้ร่ำไห้ไม่ออกจริงๆ ครับ
ก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนขอตะโกนดังๆ ไปถึงท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ ว่า ประเทศไทยไม่มีทางเข้มแข็งได้ดอกครับตราบใดที่รัฐบาลของท่าน ยังไม่มีความกล้าหาญพอที่จะบริหารจัดการสื่อสารมวลชน ให้เป็นสื่อที่เข้มแข็ง เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้แก่ประชาชนทั้งประเทศอย่างเที่ยงตรง ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
สื่อมวลชนที่เป็นกลไกสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสาร ไม่ทำหน้าที่ให้ความรู้พื้นฐานแก่ประชาชน โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ในชนบททุกภูมิภาค ที่ด้อยโอกาสด้านการศึกษา ระบบโรงเรียนก็ล้มเหลวพิกลพิการอย่างยั่งยืน
การด้อยการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของวงจรอุบาทว์ โง่-จน- เจ็บ ของชาวชนบท ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาชั่วนาตาปี ฝ่ายการเมืองและฝ่ายราชการประจำไม่เคยแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด มิหนำซ้ำปัญหาชนบทกลับกลายเป็นเหยื่ออันโอชะที่ทุกฝ่ายมะรุมมะตุ้มฉกฉวยแสวงหาประโยชน์
อำนาจทางการเมือง ก็มุ่งหวังเพียงเอาชนะในการเลือกตั้ง เห็นผู้มีสิทธิเป็นเพียงบันไดไต่เต้าไปสู่รัฐสภา ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จึงถูกบิดเบือนเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ทับถมซ้ำเติมความไม่รู้อย่างต่อเนื่องทุกยุคทุกสมัย โดยให้เป็นที่เข้าใจว่า ประดาเจ้าของอำนาจอธิปไตย มีหน้าที่เพียงการกาบัตรหย่อนลงในหีบเลือกตั้ง หลังจากนั้นถือว่าเป็นการมอบสิทธิ์ให้ท่านผู้แทนไปใช้อำนาจตามอำเภอใจ ดังประโยคฮิตติดปากที่ว่า “ผมมาจากประชาชน ประชาชนเลือกมา”
สื่อมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนที่มีอยู่มากมาย เต็มไปด้วยบุคลากรและเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคโนโลยีก้าวไกลไม่แพ้นานาอารยประเทศ ซึ่งควรจะเป็นช่องทางสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสารที่เที่ยงตรงเป็นจริง ให้ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพแก่ประชาชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มชนส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา แต่สื่อมวลชนก็ไม่เคยใส่ใจทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น
สื่อสารมวลชนไทยในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวิทยุ ทีวี หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนแล้วแต่ถูกครอบงำโดยระบบและกลไกทางธุรกิจ ซึ่งทำให้ไม่มีอิสรเสรีภาพในการทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างแท้จริง มิหนำซ้ำกลับกลายเป็นสื่อมอมเมาทั้งการโฆษณาชวนเชื่อทางด้านธุรกิจ การค้า และการบันเทิงเริงรมย์ประเภทเกมโชว์ ละครน้ำเน่าที่เอานิยายเรื่องเก่ามาสร้างใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า รายการทีวีทุกช่องแทบจะหาสื่อประเทืองปัญญาไม่ได้เลย และไม่เคยใส่ใจที่จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่ถูกต้อง เที่ยงตรง แก่ประชาชน
การปฏิวัติ 19 กันยายน2549 ทำให้ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ มาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กำกับดูแลสื่อสารมวลชน ผู้คนไม่น้อยแอบตั้งความหวังว่า คงเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่มีรัฐมนตรีมีความรู้ ความสามารถ เข้าใจปัญหา และมีอำนาจเบ็ดเสร็จล้นฟ้าล้นแผ่นดินของ คมช.หนุนหลัง คงจะได้มาปฏิรูปปรับเปลี่ยนระบบและกระบวนการสื่อให้เข้ารูปเข้ารอย เป็นสื่อมวลชนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ร่วมสร้างสรรค์สังคมที่มีข่าวสารข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องแพร่กระจายสู่ทุกภาคส่วนของสังคมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันเป็นการก่อร่างสร้างฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เติบโตเจริญมั่นคงสืบไป
แต่ความหวังในการปฏิรูปสื่อก็มลายหายไป พร้อมกับความล้มเหลวด้านอื่นๆของรัฐบาล คมช. ที่กลายเป็นจำเลยของสังคมในฐานะคณะปฏิวัติหน่อมแน้ม รัฐบาลรักษาการโลเลที่ทำให้ประเทศชาติสูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เพราะได้อำนาจรัฐมาแล้วใช้ไม่เป็น มีแต่ความกล้าๆ กลัวๆ เก้ๆ กังๆ จนหมดเวลา โดยมุ่งแต่การเร่งรัดจัดการเลือกตั้งอย่างไม่ใส่ใจที่จะสะสางปัญหาต่างๆ ที่เป็นมูลเหตุของการปฏิวัติรัฐประหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่คำนึงถึงการให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชน ทั้งๆ ที่สามารถจะใช้อำนาจทั้งของรัฐบาล และอำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดินของ คมช. ในการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนให้ทำหน้าที่นี้ได้
สื่อมวลชนไทย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนส่วนใหญ่เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ในปัจจุบัน จึงยังคงเป็นสื่อรับใช้ทางธุรกิจ และมอมเมาสังคมมากกว่าที่จะทำหน้าที่ แพร่กระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเป็นจริง และให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อสร้างพื้นฐานทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย วิธีการเช่นนี้เท่านั้นจึงจะทำให้ประเทศและสังคมไทยเข้มแข็งเหมือนดังที่รัฐบาลนี้พยายามป่าวประกาศกรอกหูประชาชนอยู่ตลอดเวลาว่า โครงการเงินกู้หลายแสนล้าน มีเป้าหมายจะสร้างให้ประเทศไทยเข้มแข็งอย่างแน่นอน
ผู้เขียนยังมองไม่เห็นทางว่าประเทศชาติจะเข้มแข็งได้อย่างไร เมื่อสื่อสารมวลชน ที่เป็นช่องทางและเครื่องมือสำคัญที่สุด ที่จะสร้างสังคมเข้มแข็งด้วยข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่เท่าเทียมกันของผู้คนในสังคมทุกภาคส่วน ยังคงเป็นสื่อสารมวลชนที่ด้อยคุณภาพและมอมเมาสังคมอยู่เยี่ยงทุกวันนี้
ปรากฏการณ์ที่น่าประหลาดใจก็คือ สื่อที่พยายามทำหน้าที่สื่อ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้แก่ประชาชนกลับมีเฉพาะสื่อเล็กๆ ของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น ASTV., Nation Channel. หรือวิทยุชุมชนบางคลื่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นบางฉบับซึ่งเป็นสื่อที่ดู ฟัง อ่าน จำกัดเฉพาะกลุ่มคนบางส่วน ไม่มีศักยภาพพอที่จะแพร่ขยายกระจายครอบคลุมทุกพื้นที่เหมือนสื่อวิทยุ ทีวี ของรัฐ และเอกชนรายใหญ่ที่เป็นเจ้าของสัมปทานจากรัฐ
ทุกยุคทุกสมัย ทุกรัฐบาล เมื่อเข้ามาก็มุ่งแต่จะแก้ไขปัญหาชาติด้วยการทำโครงการเมกะโปรเจกต์ก่อสร้างโครงการพื้นฐานต่างๆ สร้างถนน แหล่งน้ำ สร้างอาคารสำนักงาน และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่แข่งขันความใหญ่โตโอฬารกันอยู่ในขณะนี้ ก็คือ สำนักงาน อบต. และเทศบาลตำบลต่างๆ รวมทั้งตึกอาคารเรียนของบรรดาโรงเรียนในชนบทที่แข่งความสูง ความใหญ่โต แทนที่จะคิดแข่งขันกันด้านคุณภาพการเรียนการสอน ไม่เว้นแม้แต่รัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีคนหนุ่มไฟแรงเช่นปัจจุบันนี้ ซึ่งก็ยังคงเดินหน้าแก้ปัญหาชาติในแบบเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างที่รัฐบาลนี้ควรจะต้องให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนที่เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนก็เช่น การล่าลายมือชื่อประชาชนเพื่อยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร ผู้เขียนเชื่อว่า ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดข้อมูลความรู้ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องใช้สื่อทุกช่องทางในการให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชน ว่ากฎเกณฑ์ หลักเกณฑ์ ระเบียบการ วิธีการ รวมทั้งขั้นตอนที่ถูกต้องในการขอพระราชทานอภัยโทษที่ถูกต้องเป็นเช่นใด และรวมทั้งการถวายฎีกาที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในขณะนี้ ความจริงยังมีอีกร้อยแปดพันเรื่องที่รัฐบาลควรจะต้องใช้สื่อสารมวลชนเพื่อให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า มีแต่ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเป็นจริงเท่านั้น ที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น
ในทางตรงกันข้าม ปัญหาบ้านปัญหาเมืองที่ลุกลามใหญ่โตจนเกิดการแตกแยก แบ่งแยกผู้คนในสังคมออกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนบานปลายเกิดการใช้ความรุนแรง ใช่หรือไม่ว่า เกิดจากการรับข้อมูลความรู้คนละด้าน และส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลความรู้ที่ไม่ถูกต้องเป็นจริง หรือถูกบิดเบือนดัดแปลง หลายครั้งผู้เขียนจึงเชื่อว่า ไม่ใช่ความผิดของประชาชนทุกฝ่ายที่จะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ขัดแย้งกัน เพราะเหตุจากการรับรู้ข้อมูลความรู้ที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใช่หรือไม่ว่า ที่จะต้องให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเป็นจริงแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ความจริงโครงการเงินกู้แปดแสนล้านของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ถ้ามีความคิดความจริงใจที่จะบริหารจัดการสื่อให้เป็นสื่อสารมวลชนอย่างแท้จริงก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดี ซึ่งคงใช้งบประมาณไม่มากมายนัก เมื่อเทียบกับการลงทุนในด้านอื่นๆ ไม่ใช่การใช้เวลากว่าครึ่งปี โดยทำได้เพียงการเปลี่ยนโลโก NBT เป็นโลโกหอยสังข์สีม่วงเชยๆ เพื่อใช้เป็นที่ประกาศเชื่อมั่นประเทศไทยของนายกฯ อภิสิทธิ์ เพียงคนเดียว ซึ่งเป็นผลงานยอดเยี่ยมของรัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ที่ทำเอาผู้รู้ด้านสื่อสารมวลชนและผู้รักความเป็นธรรมทุกคน หัวร่อมิได้ร่ำไห้ไม่ออกจริงๆ ครับ
ก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนขอตะโกนดังๆ ไปถึงท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ ว่า ประเทศไทยไม่มีทางเข้มแข็งได้ดอกครับตราบใดที่รัฐบาลของท่าน ยังไม่มีความกล้าหาญพอที่จะบริหารจัดการสื่อสารมวลชน ให้เป็นสื่อที่เข้มแข็ง เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้แก่ประชาชนทั้งประเทศอย่างเที่ยงตรง ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน