ASTVผู้จัดการรายวัน – อสังหาฯประสานเสียง ผลงานของรัฐบาลเข้าตากรรมการ มาตรการอสังหาฯยาดีพยุงตลาดทั้งระบบแทนการทรุดตัว นายกส.ธุรกิจบ้านจัดสรร ชี้ช่วยกระตุ้นยอดปล่อยสินเชื่อรายย่อยของธนาคารพาณิชย์ไตรมาสแรกพุ่ง 1.6 แสนล้าน แจงหากออกมาตรการเสริมอยากให้ครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างมากขึ้น ค่ายมั่นคงเคหะการฯ อ้อนรัฐขอต่ออายุมาตรการภาษีอสังหาฯสิ้นสุดปี 54
นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัดในฐานนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวถึงผลงานของรัฐบาลต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศว่า มาตรการต่างๆ ได้มีส่วนสำคัญในการผลักดันตลาดรวมอสังหาฯในช่วงครึ่งแรกของปี 52 ให้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และสามารถครอบคลุมตลาดอสังหาฯ แม้ว่า มาตรการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีการประกาศล่าช้า ทำให้เหลือเวลาในการใช้น้อยกว่ามาตรการภาษีการโอน ค่าธรรมเนียม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
แต่อย่างไรก็ตาม ผลจากมาตรการภาษีดังกล่าว ก็ส่งผลต่อตลาดอสังหาฯอย่างชัดเจน สังเกตได้จาก ยอดอนุมัติสินเชื่อรายย่อยในไตรมาสแรกของปี 52 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาท เทียบกับยอดอนุมัติสินเชื่อในปีที่ผ่านมาที่ 1.3 แสนล้านบาท
“ แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ แต่หลังจากที่มีการประกาศใช้มาตรการแล้ว ก็ช่วยให้ตลาดอสังหาฯกลับมาคึกคักขึ้น โดยที่ธนาคารพาณิชย์ ได้มีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลเดินมาถูกทาง มาตรการอสังหาฯที่ออกมาช่วยผลักดันให้ขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ ไม่หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลก และหากไม่มีการออกมาตรการอสังหาฯ เชื่อว่าตัวเลขสินเชื่อ และการขยายตัวของตลาดจะไม่กระเตื้องขนาดนี้ ” นายอิสระกล่าว
ส่วนกรณีหากรัฐบาลจะมีมาตรการเสริมเพิ่มเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจอสังหาฯนั้น นายกสมาคมฯมองว่าควรเน้นการออกมาตรการที่ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เนื่องจากมาตรการนำค่าใช้จ่าย จากการผ่อนบ้านมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ออกมา ให้ประโยชน์แก่กลุ่มผู้ที่มีรายได้ 40,000-50,000 บาทขึ้นไป แต่กลุ่มที่มีรายได้ระดับกลางและล่าง ยังไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว จึงน่าจะมีมาตรการที่ครอบคลุมกลุ่มดังกล่าวมากขึ้น
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมานั้น รัฐบาลโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ได้มีการแก้ไขและปรับหลักเกณฑ์การส่งเสริมบ้านเพื่อผู้มีรายได้(บ้านบีโอไอ) ใหม่ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อย สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัย (ซัปพลาย) เข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น โดยกลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างจะได้ประโยชน์จากมาตรการในการซื้อบ้านเอื้ออาทรหรือบ้านบีโอไอ ที่พัฒนาเข้าสู่ตลาดหลังจากนี้มากขึ้น
**มั่นใจศก.ปีหน้าฟื้นตัว
**อ้อนขอต่อมาตรการภาษี
ด้านนายชูเกียรติ ตั้งมติธรรม ธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายการตลาด บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK กล่าวสอดรับว่า มาตรการต่างๆที่เป็นผลงานของรัฐบาล สามารถพยุงสถาการณ์ตลาดทั้งระบบให้สามารถเดินต่อไปได้ ทั้งๆที่ควรจะได้รับผลกระทบจนตลาดอสังหาฯหดตัวลง ทั้งนี้แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีปัจจัยลบเข้ามากระทบ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้ตลาดหยุดชะงัก เนื่องจากมีมาตรการของรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาช่วยเสริม ส่งผลให้สภาพตลาดโดยรวมยังทรงตัวอยู่ได้
" หลังจากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ส่งผลให้ในช่วงเดือนก.พ.-ก.ค.ที่ผ่านมา ยอดขายของผู้ประกอบการอสังหาฯถือว่าดีมาก สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ว่าเมื่อเทียบกับฤดูกาลขาย ในภาวะปกติแล้วยอดขายอาจจะต่ำกว่ากันบ้าง แต่ก็ต่ำกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"นายชูเกียรติกล่าวและว่า
ปัจจุบันมาตรการต่างๆ ครอบคลุมมากแล้ว จึงไม่ต้องการมาตรการอะไรมากกว่าปัจจุบัน แต่อยากให้รัฐบาลมีการต่อมาตรการทางภาษีอสังหาฯ ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าจดจำนองที่มีอยู่ออกไปสิ้นสุดปี 2554 เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจในปี 2553 คาดว่าจะยังฟื้นตัวได้ไม่มากนัก แต่หากมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวไป จะทำให้ภาคอสังหาฯ หดตัวลง หลังสิ้นสุดมาตรการในเดือนมี.ค.53ได้.
นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัดในฐานนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวถึงผลงานของรัฐบาลต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศว่า มาตรการต่างๆ ได้มีส่วนสำคัญในการผลักดันตลาดรวมอสังหาฯในช่วงครึ่งแรกของปี 52 ให้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และสามารถครอบคลุมตลาดอสังหาฯ แม้ว่า มาตรการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีการประกาศล่าช้า ทำให้เหลือเวลาในการใช้น้อยกว่ามาตรการภาษีการโอน ค่าธรรมเนียม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
แต่อย่างไรก็ตาม ผลจากมาตรการภาษีดังกล่าว ก็ส่งผลต่อตลาดอสังหาฯอย่างชัดเจน สังเกตได้จาก ยอดอนุมัติสินเชื่อรายย่อยในไตรมาสแรกของปี 52 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาท เทียบกับยอดอนุมัติสินเชื่อในปีที่ผ่านมาที่ 1.3 แสนล้านบาท
“ แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ แต่หลังจากที่มีการประกาศใช้มาตรการแล้ว ก็ช่วยให้ตลาดอสังหาฯกลับมาคึกคักขึ้น โดยที่ธนาคารพาณิชย์ ได้มีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลเดินมาถูกทาง มาตรการอสังหาฯที่ออกมาช่วยผลักดันให้ขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ ไม่หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลก และหากไม่มีการออกมาตรการอสังหาฯ เชื่อว่าตัวเลขสินเชื่อ และการขยายตัวของตลาดจะไม่กระเตื้องขนาดนี้ ” นายอิสระกล่าว
ส่วนกรณีหากรัฐบาลจะมีมาตรการเสริมเพิ่มเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจอสังหาฯนั้น นายกสมาคมฯมองว่าควรเน้นการออกมาตรการที่ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เนื่องจากมาตรการนำค่าใช้จ่าย จากการผ่อนบ้านมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ออกมา ให้ประโยชน์แก่กลุ่มผู้ที่มีรายได้ 40,000-50,000 บาทขึ้นไป แต่กลุ่มที่มีรายได้ระดับกลางและล่าง ยังไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว จึงน่าจะมีมาตรการที่ครอบคลุมกลุ่มดังกล่าวมากขึ้น
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมานั้น รัฐบาลโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ได้มีการแก้ไขและปรับหลักเกณฑ์การส่งเสริมบ้านเพื่อผู้มีรายได้(บ้านบีโอไอ) ใหม่ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อย สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัย (ซัปพลาย) เข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น โดยกลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างจะได้ประโยชน์จากมาตรการในการซื้อบ้านเอื้ออาทรหรือบ้านบีโอไอ ที่พัฒนาเข้าสู่ตลาดหลังจากนี้มากขึ้น
**มั่นใจศก.ปีหน้าฟื้นตัว
**อ้อนขอต่อมาตรการภาษี
ด้านนายชูเกียรติ ตั้งมติธรรม ธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายการตลาด บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK กล่าวสอดรับว่า มาตรการต่างๆที่เป็นผลงานของรัฐบาล สามารถพยุงสถาการณ์ตลาดทั้งระบบให้สามารถเดินต่อไปได้ ทั้งๆที่ควรจะได้รับผลกระทบจนตลาดอสังหาฯหดตัวลง ทั้งนี้แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีปัจจัยลบเข้ามากระทบ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้ตลาดหยุดชะงัก เนื่องจากมีมาตรการของรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาช่วยเสริม ส่งผลให้สภาพตลาดโดยรวมยังทรงตัวอยู่ได้
" หลังจากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ส่งผลให้ในช่วงเดือนก.พ.-ก.ค.ที่ผ่านมา ยอดขายของผู้ประกอบการอสังหาฯถือว่าดีมาก สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ว่าเมื่อเทียบกับฤดูกาลขาย ในภาวะปกติแล้วยอดขายอาจจะต่ำกว่ากันบ้าง แต่ก็ต่ำกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"นายชูเกียรติกล่าวและว่า
ปัจจุบันมาตรการต่างๆ ครอบคลุมมากแล้ว จึงไม่ต้องการมาตรการอะไรมากกว่าปัจจุบัน แต่อยากให้รัฐบาลมีการต่อมาตรการทางภาษีอสังหาฯ ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าจดจำนองที่มีอยู่ออกไปสิ้นสุดปี 2554 เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจในปี 2553 คาดว่าจะยังฟื้นตัวได้ไม่มากนัก แต่หากมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวไป จะทำให้ภาคอสังหาฯ หดตัวลง หลังสิ้นสุดมาตรการในเดือนมี.ค.53ได้.