(ต่อเนื่องฉบับวันศุกร์ที่ 24 ก.ค.)
5. ภาษี-ค่าธรรมเนียม
ในปี 2551-52 ที่รัฐบาลประกาศลดภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3 % เหลือ 0.11 และค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดจำนองจาก 2 % และ 1 % เหลือ 0.1 % นั้น ช่วยลดภาระของผู้ซื้อบ้านและผู้ประกอบการไปได้มาก เพราะทำให้ราคาบ้านลดลงไปได้รวมถึง 5.7 %
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ประกาศให้ นำดอกเบี้ยและเงินต้นจากการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลอีก จึงนับได้ว่ามาตรการของรัฐที่ประกาศในปี 2552 ได้ช่วยให้ประชาชนซื้อบ้านได้ง่ายขึ้นมากกว่าที่แล้วมา
6. ค่าดอกเบี้ย
จะเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาบ้านมาก ต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงเกิน 10% ขึ้นไป ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะต้องกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน โดยอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 % จะทำให้กำลังซื้อของลูกค้าลดลงประมาณ 5.5- 6%
การที่สถาบันการเงินจัดสินเชื่อ “ที่อยู่อาศัย” เป็นสินเชื่อพิเศษ ที่ความเสี่ยงน้อยทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านในปี 2552 นับได้ว่าต่ำที่สุด และส่งเสริมผู้ซื้อบ้านได้มากที่สุดปีหนึ่ง
7. ผู้ประกอบการ
มีส่วนสำคัญที่ทำให้ได้บ้านที่ดีขึ้นกว่าเดิม อยู่สบายขึ้นและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในราคาที่ถูกลงได้ โดยผลิตบ้านจำนวนมาก เพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง การทำโครงการให้ใหญ่พอจะทำให้ได้ต้นทุนที่ดินและค่าพัฒนาต่อหน่วยที่ลดลง ในขณะที่สามารถให้สิ่งอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าได้มากขึ้น
ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างย่อ ๆ ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง… ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าเฉพาะในปี 2552 ถึงต้นปี 2553 มาตรการลดหย่อนภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าดอกเบี้ยมีส่วนสนับสนุนการซื้อ “บ้าน” ของประชาชนได้ง่ายขึ้นมาก หรือซื้อบ้านได้หลังใหญ่กว่าที่คิดไว้นั่นเอง แต่มาตรการของรัฐฯ ด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการจัดสรรที่ดิน และกฎหมายควบคุมอาคาร ล้วนทำให้ราคา “บ้าน” เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็ได้เปลี่ยนทัศนคติไปมาก โดยจำเป็นต้องปรับความคิดขนาดบ้านที่จะซื้อไปในแนวทางที่เล็กลง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และกฎเกณฑ์การควบคุมของรัฐฯ ที่เปลี่ยนไป แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าทุกฝ่ายมีความเข้าใจถึง กลไกของตลาดที่อยู่อาศัย ข้อดี ข้อเสีย และต้นทุนของบ้านแต่ละประเภท ตลอดจนความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริงแล้ว ก็จะสามารถช่วยกันทำให้คนไทยซื้อ “ บ้าน ” ได้ง่ายขึ้นที่ขนาดไม่ “ เล็ก ” เกินไป แต่น่าอยู่ ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
ประทีป ตั้งมติธรรม
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
5. ภาษี-ค่าธรรมเนียม
ในปี 2551-52 ที่รัฐบาลประกาศลดภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3 % เหลือ 0.11 และค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดจำนองจาก 2 % และ 1 % เหลือ 0.1 % นั้น ช่วยลดภาระของผู้ซื้อบ้านและผู้ประกอบการไปได้มาก เพราะทำให้ราคาบ้านลดลงไปได้รวมถึง 5.7 %
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ประกาศให้ นำดอกเบี้ยและเงินต้นจากการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลอีก จึงนับได้ว่ามาตรการของรัฐที่ประกาศในปี 2552 ได้ช่วยให้ประชาชนซื้อบ้านได้ง่ายขึ้นมากกว่าที่แล้วมา
6. ค่าดอกเบี้ย
จะเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาบ้านมาก ต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงเกิน 10% ขึ้นไป ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะต้องกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน โดยอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 % จะทำให้กำลังซื้อของลูกค้าลดลงประมาณ 5.5- 6%
การที่สถาบันการเงินจัดสินเชื่อ “ที่อยู่อาศัย” เป็นสินเชื่อพิเศษ ที่ความเสี่ยงน้อยทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านในปี 2552 นับได้ว่าต่ำที่สุด และส่งเสริมผู้ซื้อบ้านได้มากที่สุดปีหนึ่ง
7. ผู้ประกอบการ
มีส่วนสำคัญที่ทำให้ได้บ้านที่ดีขึ้นกว่าเดิม อยู่สบายขึ้นและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในราคาที่ถูกลงได้ โดยผลิตบ้านจำนวนมาก เพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง การทำโครงการให้ใหญ่พอจะทำให้ได้ต้นทุนที่ดินและค่าพัฒนาต่อหน่วยที่ลดลง ในขณะที่สามารถให้สิ่งอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าได้มากขึ้น
ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างย่อ ๆ ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง… ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าเฉพาะในปี 2552 ถึงต้นปี 2553 มาตรการลดหย่อนภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าดอกเบี้ยมีส่วนสนับสนุนการซื้อ “บ้าน” ของประชาชนได้ง่ายขึ้นมาก หรือซื้อบ้านได้หลังใหญ่กว่าที่คิดไว้นั่นเอง แต่มาตรการของรัฐฯ ด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการจัดสรรที่ดิน และกฎหมายควบคุมอาคาร ล้วนทำให้ราคา “บ้าน” เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็ได้เปลี่ยนทัศนคติไปมาก โดยจำเป็นต้องปรับความคิดขนาดบ้านที่จะซื้อไปในแนวทางที่เล็กลง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และกฎเกณฑ์การควบคุมของรัฐฯ ที่เปลี่ยนไป แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าทุกฝ่ายมีความเข้าใจถึง กลไกของตลาดที่อยู่อาศัย ข้อดี ข้อเสีย และต้นทุนของบ้านแต่ละประเภท ตลอดจนความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริงแล้ว ก็จะสามารถช่วยกันทำให้คนไทยซื้อ “ บ้าน ” ได้ง่ายขึ้นที่ขนาดไม่ “ เล็ก ” เกินไป แต่น่าอยู่ ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
ประทีป ตั้งมติธรรม
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)