ลูกจ้างบริษัทเอกชนเสี่ยงถูกปิดกิจการหนาว! แบงก์เฝ้าระวังเป็นพิเศษเข้มข้นปล่อยสินเชื่อ หวั่นหนี้เสียโผล่ซ้ำเติมอีก ธอส.ยอมรับยอดปฏิเสธเพิ่มขึ้นวงเงินกู้ไม่เกินล้านบาทเพิ่ม 50% ฟุ้งยอดปล่อยสินเชื่อทะลุเป้าครึ่งปีทำได้กว่า 40,000 ล้านบาทสะท้อนยอดขายบ้านยังดี ด้านนายกส.ธุรกิจบ้านจัดสรรผวาสถิติลูกค้าผ่อนค่างวดไม่ไหวพุ่ง พร้อมเสนอ 3 แนวทางแก้ปมปัญหาหนี้สินเชื่อบ้าน
นางจามรี เศวตจินดา ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อบุคคล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ได้ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งทางธอส.ได้มีนโยบายเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฝ้าระวังเป็นพิเศษสำหรับลูกค้าสินเชื่อที่ทำงานในบริษัทที่มีความเสี่ยงอาจถูกลดเงินเดือน ลดจำนวนพนักงาน หรืออยู่ในธุรกิจเสี่ยงต่อการปิดกิจการ โดยทางธอส.มีรายชื่อบริษัทเหล่านี้อยู่ในมือ แต่ถึงกระนั้น ธนาคารฯก็ไม่ได้ปฏิเสธลูกค้าที่มาจากบริษัทเสี่ยงไปทุกๆคน เพียงแต่จะพิจารณาเป็นรายบุคคลไป โดยจะคำนึงถึงที่มาและความมั่นคงของรายได้เป็นพิเศษ
ส่วนแนวโน้มยอดการปฏิเสธสินเชื่อของธอส. ขณะนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 50% จากยอดปฏิเสธสินเชื่อของปีที่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีหลักฐานและที่มาของรายได้ที่ไม่ชัดเจนและอยู่ในธุรกิจเสี่ยงต่อการถูกลดเงินหรือเลิกกิจการ
ทั้งนี้ ในส่วนของลูกค้าเก่า ปัจจุบันตัวเลขการผ่อนชำระยังเป็นปกติ ยอดของลูกค้าผ่อนชำระล่าช้าไม่ได้เพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วง ซึ่งธอส.ได้มีนโยบายดูแลลูกค้าที่ประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจ เช่น ถูกลดเงินเดือน หรือถูกเลิกจ้าง หากเป็นลูกค้าสวัสดิการของบริษัทเอกชน ที่ใช้ระบบหักเงินค่างวดผ่านบัญชีเงินเดือน โดยบริษัทต้นสังกัดจะส่งหนังสือมาแจ้งยังธนาคารเพื่อเจรจาช่วยเหลือพนักงานอยู่แล้ว โดยวีธีดำเนินการยังคงเดิมคือ ขยายระยะเวลาสินเชื่อออกไป หรือลดเงินค่างวด แล้วแต่ความจำเป็นของลูกค้า
นางจามรี กล่าวว่า สำหรับการปล่อยสินเชื่อของธอส. ในช่วง 6 เดือนแรกถือว่าดีเกินคาด ในช่วง 3 เดือนแรกปล่อยสินเชื่อใหม่เฉลี่ยเดือนละ 7,000 ล้านบาท ในเดือนพฤษภาคมปล่อยได้ 7,700 ล้านบาท โดยเฉพาะ
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปล่อยได้สูงถึง 10,000 ล้านบาท และหากรวมยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ใน 6 เดือนแรกกว่า 40,000 ล้านบาท ทำให้เชื่อว่า ทั้งปีธอส.น่าจะปล่อยสินเชื่อได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ในช่วงต้นปี 73,500 ล้านบาท
“ จากยอดสินเชื่อดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนยังซื้อที่อยู่อาศัยกันตามปกติ แม้ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลง เพราะตัวเลขการขอสินเชื่อจะเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกค้าซื้อบ้านและผ่อนดาวน์อย่างเร็วที่สุด 5-10 งวด จึงจะทำการโอนและขอสินเชื่อ ”
นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากมาตรการลดหย่อนภาษีที่เริ่มเห็นผล จากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ผู้ที่จะขอสินเชื่อซื้อบ้าน สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้และเงินต้นจากการผ่อนบ้าน นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 3 แสนบาท ทำให้เกิดผู้ที่คิดจะซื้อบ้านและกำลังจะโอนที่อยู่อาศัยเกิดความตื่นตัวอย่างมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงปิดงวดบัญชีครึ่งปีของผู้ประกอบการ ทำให้ทางโครงการเร่งรัดให้ลูกค้าโอนบ้านในช่วงเดือนมิ.ย.มากเป็นพิเศษ เพื่อแสดงตัวเลขผลประกอบการในรอบ 6 เดือนแรกของปี 52
ลูกค้าขรก.หนุนยอดสินเชื่อเคหะพุ่ง
นางจามรี กล่าวถึงโครงสร้างลูกค้าสินเชื่อของธอส.ว่า ส่วนหนึ่งเป็นลูกค้าสวัสดิการข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันมีประมาณ 50% จากลูกค้าทั้งหมด ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ในทางกลับกันลูกค้ากลุ่มนี้สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น มีให้เลือกมากขึ้นและยังซื้อได้ในราคาถูก ได้รับโปรโมชั่นพิเศษจากผู้ประกอบการมากกว่าในอดีต อย่างเช่น โครงการธอส.-กบข.เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการ ครั้งที่ 6 เริ่มเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มียอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในเดือนมิ.ย.มียอดปล่อยสินเชื่อสูงถึง 1,500 ล้านบาท ส่วนลูกค้าบ้านเอื้ออาทรปกติจะมียอดปล่อยสินเชื่อเฉลี่ยเดือนละ 1,000 ล้านบาท แต่ในเดือนดังกล่าวกลับมียอดปล่อยสินเชื่อสูงถึง 1,600 ล้านบาท
ส.ธุรกิจบ้านจัดสรรแนะ3วิธีคุมหนี้เสีย
นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรกล่าวยอมรับว่า จากตัวเลขสถิติการผิดนัดชำระค่างวดผ่อนที่อยู่อาศัย ที่สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้มีการวบรวมจากสถาบันการเงินในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ มีแนวโน้มการเกิดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ เป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มถูกเลิกจ้างงาน หรือถูกปรับลดรายได้ลง ส่งผลต่อกำลังซื้อที่ลดลง จนอาจจะลุกลามไปถึงความสามารถในการผ่อนชำระและกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอลได้
“เรื่องดังกล่าว สถาบันการเงินและรัฐบาล รวมถึงลูกค้า ต้องเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน โดยจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขเหตุไว้ 3 ระยะ คือ ช่วงแรก สถาบันการเงินต้องยอมรับผลจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งธนาคารในฐานะเจ้าหนี้เอง ต้องปรับตัวเข้ามาดูแลผู้บริโภคด้วย ไม่ใช่ทำหน้าที่เป็นเจ้าหนี้เพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ผ่อนชำระกับสถาบันการเงินมาช่วงหนึ่ง และเหลือระยะการผ่อนไม่มาก ในส่วนนี้ธนาคารควรมีบทบาทในการช่วยลดภาระการผ่อนค่างวดให้แก่ลูกค้า โดยการเข้ามาประนอมหนี้ให้ลูกค้า เช่น การยืดระยะเวลาในการผ่อนออกไป ซึ่งจะช่วยให้เงินต้นที่ต้องผ่อนส่งลดลง และเพิ่มความสามารถในการผ่อนชำระได้ ”
ในระยะกลาง รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการเลิกจ้างงานของภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจไปในตัวด้วย สุดท้ายการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้น ผู้บริโภคต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การคำนวณหรือประมาณการค่าใช้จ่าย และภาระที่เกิดจากการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผ่อนส่งของลูกค้า เช่น การลดขนาดหรือสเปกบ้านที่วางไว้เดิมเพื่อลดภาระด้านการผ่อนส่งค่างวด
“ กลุ่มคนที่มีพฤติกรรม หรือแนวคิดว่า ในหนึ่งชีวิตสามารถซื้อบ้านได้หลายหลังนั้น ก็ต้องคำนวณความสามารถและภาระในอนาคตที่จะเกิดขึ้นด้วย อย่ามองเพียงว่า ซื้อบ้านหลังแรกแล้วซื้ออีกหลังเข้ามา และเชื่อว่าในระยะข้างหน้าจะสามารถขายได้เพื่อซื้อใหม่ได้ทันที เนื่องจากอสังหาฯเป็นทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ ดังนั้นต้องคำนึงด้วยว่า ภาระที่มีอยู่จะตัดทอนกำลังความสามารถในการผ่อนค่างวดของตนเอง” นายอิสระกล่าว
นางจามรี เศวตจินดา ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อบุคคล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ได้ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งทางธอส.ได้มีนโยบายเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฝ้าระวังเป็นพิเศษสำหรับลูกค้าสินเชื่อที่ทำงานในบริษัทที่มีความเสี่ยงอาจถูกลดเงินเดือน ลดจำนวนพนักงาน หรืออยู่ในธุรกิจเสี่ยงต่อการปิดกิจการ โดยทางธอส.มีรายชื่อบริษัทเหล่านี้อยู่ในมือ แต่ถึงกระนั้น ธนาคารฯก็ไม่ได้ปฏิเสธลูกค้าที่มาจากบริษัทเสี่ยงไปทุกๆคน เพียงแต่จะพิจารณาเป็นรายบุคคลไป โดยจะคำนึงถึงที่มาและความมั่นคงของรายได้เป็นพิเศษ
ส่วนแนวโน้มยอดการปฏิเสธสินเชื่อของธอส. ขณะนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 50% จากยอดปฏิเสธสินเชื่อของปีที่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีหลักฐานและที่มาของรายได้ที่ไม่ชัดเจนและอยู่ในธุรกิจเสี่ยงต่อการถูกลดเงินหรือเลิกกิจการ
ทั้งนี้ ในส่วนของลูกค้าเก่า ปัจจุบันตัวเลขการผ่อนชำระยังเป็นปกติ ยอดของลูกค้าผ่อนชำระล่าช้าไม่ได้เพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วง ซึ่งธอส.ได้มีนโยบายดูแลลูกค้าที่ประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจ เช่น ถูกลดเงินเดือน หรือถูกเลิกจ้าง หากเป็นลูกค้าสวัสดิการของบริษัทเอกชน ที่ใช้ระบบหักเงินค่างวดผ่านบัญชีเงินเดือน โดยบริษัทต้นสังกัดจะส่งหนังสือมาแจ้งยังธนาคารเพื่อเจรจาช่วยเหลือพนักงานอยู่แล้ว โดยวีธีดำเนินการยังคงเดิมคือ ขยายระยะเวลาสินเชื่อออกไป หรือลดเงินค่างวด แล้วแต่ความจำเป็นของลูกค้า
นางจามรี กล่าวว่า สำหรับการปล่อยสินเชื่อของธอส. ในช่วง 6 เดือนแรกถือว่าดีเกินคาด ในช่วง 3 เดือนแรกปล่อยสินเชื่อใหม่เฉลี่ยเดือนละ 7,000 ล้านบาท ในเดือนพฤษภาคมปล่อยได้ 7,700 ล้านบาท โดยเฉพาะ
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปล่อยได้สูงถึง 10,000 ล้านบาท และหากรวมยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ใน 6 เดือนแรกกว่า 40,000 ล้านบาท ทำให้เชื่อว่า ทั้งปีธอส.น่าจะปล่อยสินเชื่อได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ในช่วงต้นปี 73,500 ล้านบาท
“ จากยอดสินเชื่อดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนยังซื้อที่อยู่อาศัยกันตามปกติ แม้ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลง เพราะตัวเลขการขอสินเชื่อจะเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกค้าซื้อบ้านและผ่อนดาวน์อย่างเร็วที่สุด 5-10 งวด จึงจะทำการโอนและขอสินเชื่อ ”
นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากมาตรการลดหย่อนภาษีที่เริ่มเห็นผล จากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ผู้ที่จะขอสินเชื่อซื้อบ้าน สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้และเงินต้นจากการผ่อนบ้าน นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 3 แสนบาท ทำให้เกิดผู้ที่คิดจะซื้อบ้านและกำลังจะโอนที่อยู่อาศัยเกิดความตื่นตัวอย่างมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงปิดงวดบัญชีครึ่งปีของผู้ประกอบการ ทำให้ทางโครงการเร่งรัดให้ลูกค้าโอนบ้านในช่วงเดือนมิ.ย.มากเป็นพิเศษ เพื่อแสดงตัวเลขผลประกอบการในรอบ 6 เดือนแรกของปี 52
ลูกค้าขรก.หนุนยอดสินเชื่อเคหะพุ่ง
นางจามรี กล่าวถึงโครงสร้างลูกค้าสินเชื่อของธอส.ว่า ส่วนหนึ่งเป็นลูกค้าสวัสดิการข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันมีประมาณ 50% จากลูกค้าทั้งหมด ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ในทางกลับกันลูกค้ากลุ่มนี้สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น มีให้เลือกมากขึ้นและยังซื้อได้ในราคาถูก ได้รับโปรโมชั่นพิเศษจากผู้ประกอบการมากกว่าในอดีต อย่างเช่น โครงการธอส.-กบข.เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการ ครั้งที่ 6 เริ่มเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มียอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในเดือนมิ.ย.มียอดปล่อยสินเชื่อสูงถึง 1,500 ล้านบาท ส่วนลูกค้าบ้านเอื้ออาทรปกติจะมียอดปล่อยสินเชื่อเฉลี่ยเดือนละ 1,000 ล้านบาท แต่ในเดือนดังกล่าวกลับมียอดปล่อยสินเชื่อสูงถึง 1,600 ล้านบาท
ส.ธุรกิจบ้านจัดสรรแนะ3วิธีคุมหนี้เสีย
นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรกล่าวยอมรับว่า จากตัวเลขสถิติการผิดนัดชำระค่างวดผ่อนที่อยู่อาศัย ที่สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้มีการวบรวมจากสถาบันการเงินในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ มีแนวโน้มการเกิดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ เป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มถูกเลิกจ้างงาน หรือถูกปรับลดรายได้ลง ส่งผลต่อกำลังซื้อที่ลดลง จนอาจจะลุกลามไปถึงความสามารถในการผ่อนชำระและกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอลได้
“เรื่องดังกล่าว สถาบันการเงินและรัฐบาล รวมถึงลูกค้า ต้องเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน โดยจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขเหตุไว้ 3 ระยะ คือ ช่วงแรก สถาบันการเงินต้องยอมรับผลจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งธนาคารในฐานะเจ้าหนี้เอง ต้องปรับตัวเข้ามาดูแลผู้บริโภคด้วย ไม่ใช่ทำหน้าที่เป็นเจ้าหนี้เพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ผ่อนชำระกับสถาบันการเงินมาช่วงหนึ่ง และเหลือระยะการผ่อนไม่มาก ในส่วนนี้ธนาคารควรมีบทบาทในการช่วยลดภาระการผ่อนค่างวดให้แก่ลูกค้า โดยการเข้ามาประนอมหนี้ให้ลูกค้า เช่น การยืดระยะเวลาในการผ่อนออกไป ซึ่งจะช่วยให้เงินต้นที่ต้องผ่อนส่งลดลง และเพิ่มความสามารถในการผ่อนชำระได้ ”
ในระยะกลาง รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการเลิกจ้างงานของภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจไปในตัวด้วย สุดท้ายการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้น ผู้บริโภคต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การคำนวณหรือประมาณการค่าใช้จ่าย และภาระที่เกิดจากการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผ่อนส่งของลูกค้า เช่น การลดขนาดหรือสเปกบ้านที่วางไว้เดิมเพื่อลดภาระด้านการผ่อนส่งค่างวด
“ กลุ่มคนที่มีพฤติกรรม หรือแนวคิดว่า ในหนึ่งชีวิตสามารถซื้อบ้านได้หลายหลังนั้น ก็ต้องคำนวณความสามารถและภาระในอนาคตที่จะเกิดขึ้นด้วย อย่ามองเพียงว่า ซื้อบ้านหลังแรกแล้วซื้ออีกหลังเข้ามา และเชื่อว่าในระยะข้างหน้าจะสามารถขายได้เพื่อซื้อใหม่ได้ทันที เนื่องจากอสังหาฯเป็นทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ ดังนั้นต้องคำนึงด้วยว่า ภาระที่มีอยู่จะตัดทอนกำลังความสามารถในการผ่อนค่างวดของตนเอง” นายอิสระกล่าว