อีกไม่นานก็จะครบ 2 ปี ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาตัดสินจำคุก ทักษิณ ชินวัตร ในคดีประมูลซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก
ถ้าไม่หนีคุกเสีย ขณะนี้ก็จะใกล้เวลาได้อิสรภาพ แต่อาจจะติดคุกคดีอื่นอีกหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล ซึ่งทราบว่ามีอีกหลายคดีที่เรียงแถวเข้ามาสู่ศาลสถิตยุติธรรม
แต่เมื่อระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศ ก็ได้แต่หาทางดิ้นรนเพื่อจะกลับประเทศโดยไม่ถูกจำคุก อย่างที่บรรดาลิ่วล้อทั้งหลายดิ้นรนกันอยู่ขณะนี้ ซึ่งเริ่มจากความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่สมัยที่ได้นายสมัคร สุนทรเวช มารับใช้ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วก็ล้มเหลว หวังจะพึ่งพาน้องเขยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็เหลวอีก
บัดนี้หวังว่าการรวบรวมรายชื่อประชาชนทั้งหลายทั้งปวงให้ได้จำนวนมากๆ เพื่อถวายฎีกา ก็จะล้มเหลวอีก เพราะไม่เข้าหลักเข้าเกณฑ์ เนื่องจาก
1. ทักษิณ ยังไม่ได้รับโทษ ศาลพิพากษาจำคุก 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา แต่ทักษิณหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลจึงออกหมายจับ
2. ทักษิณ ยังไม่ได้สำนึกในความผิดที่ได้กระทำลงไป
3. การยื่นถวายฎีกาเป็นเรื่องของทักษิณ และเรื่องของลูกและเมีย มิใช่เรื่องของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นร้อยคน พันคน หรือกี่ล้านคนก็ตาม
เมื่อไม่เข้าหลักเข้าเกณฑ์ทำไปก็เหนื่อยเปล่า เปลืองเวลา เปลืองเงินทองเปล่าๆ แต่ดูเหมือนทักษิณ และบรรดาลิ่วล้อของเขาจะไม่สนใจในเรื่องเหล่านี้ โดยอาจจะถือว่าเป็นภารกิจในการต่อสู้ดิ้นรนของพวกเขาอย่างหนึ่ง เป็นการเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจ เป็นสงครามช่วงชิงประชาชนที่ทักษิณทำมาโดยตลอด นับตั้งแต่วันที่เขาถูกโค่นล้มลงโดยคณะรัฐประหาร นำโดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อ 19 กันยายน 2549
ทักษิณ จะโฆษณาป่าวร้องว่า เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 1 สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียว ซึ่งตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้ง ไม่มีพรรคการเมืองใดประสบความสำเร็จอย่างพรรคไทยรักไทยของเขา และตัวเขาเลย
นั่นก็มีส่วนถูกต้องอยู่บ้าง แต่เบื้องหลังที่พรรคของเขาประสบชัยชนะนั้น เขาไม่ได้แจกแจงให้ประชาชนและคนทั้งโลกได้รู้ว่า เขาใช้เงินไปเท่าไรในการรวบรวมพรรคการเมืองต่างๆ กลุ่มการเมืองต่างๆ เข้ามารวมกันอยู่ในชื่อของพรรคไทยรักไทย
เอาละ ถ้าจะบอกว่า ใครคิดจะสร้างพรรคการเมือง คิดจะเป็นนายกรัฐมนตรีต่างก็รวบรวมพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองมาอยู่กับตัวให้ได้มากที่สุดกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ฯลฯ
แต่ที่สำคัญคือ เมื่อได้เสียงข้างมาก ได้จัดตั้งรัฐบาล ได้บริหารประเทศ คุณได้ให้ความสำคัญกับคำว่า ประชาธิปไตย แค่ไหน เห็นความสำคัญของสภาหรือไม่ บริหารประเทศโดยใช้ธรรมาภิบาลหรือไม่ เป็นนิติรัฐหรือไม่ ซื่อสัตย์สุจริต รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ และผลประโยชน์ของประชาชนหรือไม่
คดีแรกที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ ทักษิณต้องหนีคุกอยู่ขณะนี้ สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงที่สุดว่า ทักษิณเป็นคนอย่างไร และควรจะได้รับความเห็นอกเห็นใจหรือไม่
ทักษิณ และบรรดาลูกกระเป๋งของเขามักจะพูดเสมอว่า ศาลที่ตัดสินคดีเขาเป็นศาลสำหรับนักการเมือง ไม่ใช่ศาลปกติทั่วไป คณะกรรมการที่คณะปฏิรูปการปกครองแต่งขึ้นมาเมื่อ 30 กันยายน 2549 นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่งตั้งบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์กับเขาให้มาเล่นงานเขา ฯลฯ
คำโฆษณาป่าวร้องเช่นนี้ น่าจะมีผู้คนหลงเชื่ออยู่บ้าง เพราะความเท็จนั้นถ้าหากตอกย้ำอยู่เรื่อยๆ บ่อยๆ คนฟังก็อาจจะเคลิ้มประกอบกับรัฐบาลซึ่งช่วงที่มีคำพิพากษาเป็นรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งถือว่าเป็นลูกกระเป๋งของทักษิณ ก็อยากจะให้ประชาชนทั้งหลายเข้าใจอย่างที่ทักษิณต้องการอยู่แล้ว จึงไม่จำต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบ
มารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ค่อนข้างจะอ่อนประสบการณ์ รัฐมนตรีร่วมคณะก็เก่งแต่ที่จะพูดเรื่องอื่นโดยเฉพาะงานที่มิใช่หน้าที่ของตัว
ความสับสน ความไม่เข้าใจก็ยังดำรงอยู่
ศาลที่พิจารณาคดีทักษิณนั้น เป็นศาลฎีกาซึ่งตั้งขึ้นอีกแผนกหนึ่งคือ แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทักษิณมิใช่รายแรกที่ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาคดี
มีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข คือ นายรักเกียรติ สุขธนะ ถูกตัดสินจำคุกมาแล้วในคดีทุจริต เมื่อครั้งที่นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิใช่ศาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเล่นงานทักษิณโดยเฉพาะ เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นนานแล้ว โดยเป็นแผนกหนึ่งพิจารณาคดีอาญาของนักการเมืองโดยเฉพาะ เพื่อที่จะปราบปรามการทุจริต หรือความผิดของนักการเมืองโดยเฉพาะ
เมื่อคดีซื้อที่ดินขึ้นสู่ศาล ทักษิณและภริยาต่อสู้โต้แย้งว่า ประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 30 แต่งตั้ง คตส.ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ปี 2549 และรัฐธรรมนูญปี 2550
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 5/2551 แล้วว่า ประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 30 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 และมีคำวินิจฉัย 11/2551 ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 4, 100 และ 122 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2550
ทักษิณและภริยาโต้แย้งว่า ประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 30 ให้รัฐธรรมนูญ 2540 สิ้นสุดลงมีผลให้ พ.ร.บ. ป.ป.ช.สิ้นสุดลง ศาลเห็นว่า การทำรัฐประหารเป็นการยึดอำนาจบริหารนิติบัญญัติ และตุลาการ แต่ไม่ได้ประสงค์เป็นการล้มล้างการใช้อำนาจแต่อย่างใด ประกาศคณะปฏิรูปให้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง แต่ศาลอื่นยังคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรคคดีได้ แสดงว่า กฎหมายที่ยังใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่ได้ถูกยกเลิก ข้อโต้แย้งจึงฟังไม่ขึ้น
ทักษิณและภริยาโต้แย้งว่า กองทุนฟื้นฟู และพัฒนาสถาบันการเงินไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่ได้มีการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย คตส.มิใช่พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายอาญา และไม่มีอำนาจสอบสวนตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช.
ศาลเห็นว่า หลังการยึดอำนาจ คณะปฏิรูปแต่งตั้ง คตส.ข้อ 5 ของประกาศแต่งตั้งให้ คตส.มีอำนาจตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช.และข้อ 9 หาก คตส.มีมติว่า บุคคลกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการให้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนินการตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช.และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้น คตส.จึงมีอำนาจสอบสวนตามกฎหมาย
ในที่สุด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงได้พิจารณาคดีนี้ และในที่สุดก็ตัดสินจำคุกจำเลยที่ 1 คือ ทักษิณ ชินวัตร 2 ปี เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 100 (1) วรรค 3 และมาตรา 112 วรรค 1
คดีนี้ไม่ว่าเอาใครมาสอบสวน ก็จะได้ความจริงตรงกันดังนี้
1. ที่ดินพิพาทนี้ กองทุนฟื้นฟูหรือมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอราวัณทรัสต์ 13 โฉนด เนื้อที่ 35 ไร่ มูลค่า 2,140 ล้านบาทเศษ
ปี 2544 กองทุนปรับมูลค่าหนี้ให้ลดน้อยลง ลดราคาที่ดินเหลือ 700 ล้านบาท
2. กองทุนนำที่ดินออกประมูลตั้งราคาขั้นต่ำ 870 ล้านบาท วางมัดจำ 10 ล้านบาท เมื่อถึงเวลาไม่มีการเสนอราคา จึงเลิกประมูล
3. เปิดประมูลใหม่ ไม่มีการกำหนดราคาขั้นต่ำ และเพิ่มวางมัดจำเป็น 100 ล้านบาท ซึ่งใครก็รู้ว่า นี่เป็นการกีดกันทำให้มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยลง
4. ภริยาของทักษิณ ร่วมประมูลมีอีก 2 บริษัท คือ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ แต่เมื่อรู้ว่าสู้กับภริยานายกฯ ก็ไม่สู้ราคา
5.กองทุนฟื้นฟูเห็นว่าภริยานายกฯ เสนอ 772 ล้านบาท เป็นราคาสูงสุด แต่ก็ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำในการประมูลครั้งแรก
6. ทักษิณใช้บัตรประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลงนามยินยอมให้ภริยาซื้อขายที่ดิน จะถือเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากการเข้าทำสัญญาด้วยตัวเองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 100 (1) วรรคสาม
7. ปีที่ซื้อที่ดิน ทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรีสั่งให้วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันทำงานเพราะเกรงว่าภริยาซึ่งซื้อที่ดินจะโอนไม่ทันเปลี่ยนศักราชใหม่ จะไม่ได้ลดภาษีโอนที่ดิน
8. ก่อนที่จะมีการซื้อขายที่ดิน ที่ดินบริเวณดังกล่าวสร้างตึกสูงไม่ได้ ต่อเมื่อซื้อขายเสร็จจึงได้ยกเลิกข้อห้ามดังกล่าวนี้
ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ เอาใครที่ไหนมาสอบสวนก็จะได้ความเหมือนกัน เว้นแต่บริษัท บริวาร ลิ่วล้อของทักษิณซึ่งพร้อมจะมืดบอดต่อข้อเท็จจริง อาจจะเห็นเป็นอย่างอื่น
ถ้าไม่หนีคุกเสีย ขณะนี้ก็จะใกล้เวลาได้อิสรภาพ แต่อาจจะติดคุกคดีอื่นอีกหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล ซึ่งทราบว่ามีอีกหลายคดีที่เรียงแถวเข้ามาสู่ศาลสถิตยุติธรรม
แต่เมื่อระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศ ก็ได้แต่หาทางดิ้นรนเพื่อจะกลับประเทศโดยไม่ถูกจำคุก อย่างที่บรรดาลิ่วล้อทั้งหลายดิ้นรนกันอยู่ขณะนี้ ซึ่งเริ่มจากความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่สมัยที่ได้นายสมัคร สุนทรเวช มารับใช้ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วก็ล้มเหลว หวังจะพึ่งพาน้องเขยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็เหลวอีก
บัดนี้หวังว่าการรวบรวมรายชื่อประชาชนทั้งหลายทั้งปวงให้ได้จำนวนมากๆ เพื่อถวายฎีกา ก็จะล้มเหลวอีก เพราะไม่เข้าหลักเข้าเกณฑ์ เนื่องจาก
1. ทักษิณ ยังไม่ได้รับโทษ ศาลพิพากษาจำคุก 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา แต่ทักษิณหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลจึงออกหมายจับ
2. ทักษิณ ยังไม่ได้สำนึกในความผิดที่ได้กระทำลงไป
3. การยื่นถวายฎีกาเป็นเรื่องของทักษิณ และเรื่องของลูกและเมีย มิใช่เรื่องของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นร้อยคน พันคน หรือกี่ล้านคนก็ตาม
เมื่อไม่เข้าหลักเข้าเกณฑ์ทำไปก็เหนื่อยเปล่า เปลืองเวลา เปลืองเงินทองเปล่าๆ แต่ดูเหมือนทักษิณ และบรรดาลิ่วล้อของเขาจะไม่สนใจในเรื่องเหล่านี้ โดยอาจจะถือว่าเป็นภารกิจในการต่อสู้ดิ้นรนของพวกเขาอย่างหนึ่ง เป็นการเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจ เป็นสงครามช่วงชิงประชาชนที่ทักษิณทำมาโดยตลอด นับตั้งแต่วันที่เขาถูกโค่นล้มลงโดยคณะรัฐประหาร นำโดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อ 19 กันยายน 2549
ทักษิณ จะโฆษณาป่าวร้องว่า เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 1 สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียว ซึ่งตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้ง ไม่มีพรรคการเมืองใดประสบความสำเร็จอย่างพรรคไทยรักไทยของเขา และตัวเขาเลย
นั่นก็มีส่วนถูกต้องอยู่บ้าง แต่เบื้องหลังที่พรรคของเขาประสบชัยชนะนั้น เขาไม่ได้แจกแจงให้ประชาชนและคนทั้งโลกได้รู้ว่า เขาใช้เงินไปเท่าไรในการรวบรวมพรรคการเมืองต่างๆ กลุ่มการเมืองต่างๆ เข้ามารวมกันอยู่ในชื่อของพรรคไทยรักไทย
เอาละ ถ้าจะบอกว่า ใครคิดจะสร้างพรรคการเมือง คิดจะเป็นนายกรัฐมนตรีต่างก็รวบรวมพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองมาอยู่กับตัวให้ได้มากที่สุดกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ฯลฯ
แต่ที่สำคัญคือ เมื่อได้เสียงข้างมาก ได้จัดตั้งรัฐบาล ได้บริหารประเทศ คุณได้ให้ความสำคัญกับคำว่า ประชาธิปไตย แค่ไหน เห็นความสำคัญของสภาหรือไม่ บริหารประเทศโดยใช้ธรรมาภิบาลหรือไม่ เป็นนิติรัฐหรือไม่ ซื่อสัตย์สุจริต รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ และผลประโยชน์ของประชาชนหรือไม่
คดีแรกที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ ทักษิณต้องหนีคุกอยู่ขณะนี้ สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงที่สุดว่า ทักษิณเป็นคนอย่างไร และควรจะได้รับความเห็นอกเห็นใจหรือไม่
ทักษิณ และบรรดาลูกกระเป๋งของเขามักจะพูดเสมอว่า ศาลที่ตัดสินคดีเขาเป็นศาลสำหรับนักการเมือง ไม่ใช่ศาลปกติทั่วไป คณะกรรมการที่คณะปฏิรูปการปกครองแต่งขึ้นมาเมื่อ 30 กันยายน 2549 นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่งตั้งบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์กับเขาให้มาเล่นงานเขา ฯลฯ
คำโฆษณาป่าวร้องเช่นนี้ น่าจะมีผู้คนหลงเชื่ออยู่บ้าง เพราะความเท็จนั้นถ้าหากตอกย้ำอยู่เรื่อยๆ บ่อยๆ คนฟังก็อาจจะเคลิ้มประกอบกับรัฐบาลซึ่งช่วงที่มีคำพิพากษาเป็นรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งถือว่าเป็นลูกกระเป๋งของทักษิณ ก็อยากจะให้ประชาชนทั้งหลายเข้าใจอย่างที่ทักษิณต้องการอยู่แล้ว จึงไม่จำต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบ
มารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ค่อนข้างจะอ่อนประสบการณ์ รัฐมนตรีร่วมคณะก็เก่งแต่ที่จะพูดเรื่องอื่นโดยเฉพาะงานที่มิใช่หน้าที่ของตัว
ความสับสน ความไม่เข้าใจก็ยังดำรงอยู่
ศาลที่พิจารณาคดีทักษิณนั้น เป็นศาลฎีกาซึ่งตั้งขึ้นอีกแผนกหนึ่งคือ แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทักษิณมิใช่รายแรกที่ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาคดี
มีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข คือ นายรักเกียรติ สุขธนะ ถูกตัดสินจำคุกมาแล้วในคดีทุจริต เมื่อครั้งที่นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิใช่ศาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเล่นงานทักษิณโดยเฉพาะ เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นนานแล้ว โดยเป็นแผนกหนึ่งพิจารณาคดีอาญาของนักการเมืองโดยเฉพาะ เพื่อที่จะปราบปรามการทุจริต หรือความผิดของนักการเมืองโดยเฉพาะ
เมื่อคดีซื้อที่ดินขึ้นสู่ศาล ทักษิณและภริยาต่อสู้โต้แย้งว่า ประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 30 แต่งตั้ง คตส.ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ปี 2549 และรัฐธรรมนูญปี 2550
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 5/2551 แล้วว่า ประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 30 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 และมีคำวินิจฉัย 11/2551 ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 4, 100 และ 122 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2550
ทักษิณและภริยาโต้แย้งว่า ประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 30 ให้รัฐธรรมนูญ 2540 สิ้นสุดลงมีผลให้ พ.ร.บ. ป.ป.ช.สิ้นสุดลง ศาลเห็นว่า การทำรัฐประหารเป็นการยึดอำนาจบริหารนิติบัญญัติ และตุลาการ แต่ไม่ได้ประสงค์เป็นการล้มล้างการใช้อำนาจแต่อย่างใด ประกาศคณะปฏิรูปให้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง แต่ศาลอื่นยังคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรคคดีได้ แสดงว่า กฎหมายที่ยังใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่ได้ถูกยกเลิก ข้อโต้แย้งจึงฟังไม่ขึ้น
ทักษิณและภริยาโต้แย้งว่า กองทุนฟื้นฟู และพัฒนาสถาบันการเงินไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่ได้มีการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย คตส.มิใช่พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายอาญา และไม่มีอำนาจสอบสวนตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช.
ศาลเห็นว่า หลังการยึดอำนาจ คณะปฏิรูปแต่งตั้ง คตส.ข้อ 5 ของประกาศแต่งตั้งให้ คตส.มีอำนาจตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช.และข้อ 9 หาก คตส.มีมติว่า บุคคลกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการให้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนินการตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช.และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้น คตส.จึงมีอำนาจสอบสวนตามกฎหมาย
ในที่สุด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงได้พิจารณาคดีนี้ และในที่สุดก็ตัดสินจำคุกจำเลยที่ 1 คือ ทักษิณ ชินวัตร 2 ปี เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 100 (1) วรรค 3 และมาตรา 112 วรรค 1
คดีนี้ไม่ว่าเอาใครมาสอบสวน ก็จะได้ความจริงตรงกันดังนี้
1. ที่ดินพิพาทนี้ กองทุนฟื้นฟูหรือมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอราวัณทรัสต์ 13 โฉนด เนื้อที่ 35 ไร่ มูลค่า 2,140 ล้านบาทเศษ
ปี 2544 กองทุนปรับมูลค่าหนี้ให้ลดน้อยลง ลดราคาที่ดินเหลือ 700 ล้านบาท
2. กองทุนนำที่ดินออกประมูลตั้งราคาขั้นต่ำ 870 ล้านบาท วางมัดจำ 10 ล้านบาท เมื่อถึงเวลาไม่มีการเสนอราคา จึงเลิกประมูล
3. เปิดประมูลใหม่ ไม่มีการกำหนดราคาขั้นต่ำ และเพิ่มวางมัดจำเป็น 100 ล้านบาท ซึ่งใครก็รู้ว่า นี่เป็นการกีดกันทำให้มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยลง
4. ภริยาของทักษิณ ร่วมประมูลมีอีก 2 บริษัท คือ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ แต่เมื่อรู้ว่าสู้กับภริยานายกฯ ก็ไม่สู้ราคา
5.กองทุนฟื้นฟูเห็นว่าภริยานายกฯ เสนอ 772 ล้านบาท เป็นราคาสูงสุด แต่ก็ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำในการประมูลครั้งแรก
6. ทักษิณใช้บัตรประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลงนามยินยอมให้ภริยาซื้อขายที่ดิน จะถือเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากการเข้าทำสัญญาด้วยตัวเองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 100 (1) วรรคสาม
7. ปีที่ซื้อที่ดิน ทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรีสั่งให้วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันทำงานเพราะเกรงว่าภริยาซึ่งซื้อที่ดินจะโอนไม่ทันเปลี่ยนศักราชใหม่ จะไม่ได้ลดภาษีโอนที่ดิน
8. ก่อนที่จะมีการซื้อขายที่ดิน ที่ดินบริเวณดังกล่าวสร้างตึกสูงไม่ได้ ต่อเมื่อซื้อขายเสร็จจึงได้ยกเลิกข้อห้ามดังกล่าวนี้
ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ เอาใครที่ไหนมาสอบสวนก็จะได้ความเหมือนกัน เว้นแต่บริษัท บริวาร ลิ่วล้อของทักษิณซึ่งพร้อมจะมืดบอดต่อข้อเท็จจริง อาจจะเห็นเป็นอย่างอื่น