ASTVผู้จัดการรายวัน - บลจ.เอ็มเอฟซี รับหน้าเสื่อศึกษาตั้ง "กองทุนคาร์บอนเครดิต" หาประโยชน์ จากการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ชง 2 แนวทาง กองทุน "ต้นน้ำ-ปลายน้ำ" ระดมทุนภาครัฐ-เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ คาดเกิดได้สิงหาคมนี้
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า องค์การบริหารจัดการก๊าชเรือนกระจกได้ให้บลจ.เอ็มเอฟซี ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนคาร์บอนเครดิต (Carbon Fund)ในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อการหาผลประโยชน์สูงสุด จากการช่วยลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนด์ไดซ์ออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งไทยเอง ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีพันธกรณีร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Kyoto Protocal) แต่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ด้วยการพัฒนาโครงการที่จะนำไปสู่การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM)
โดยในเบื้องต้น รูปแบบของการจัดตั้งกองทุน มีความเป็นไปได้ 2 รูปแบบ คือ กองทุนต้นน้ำ ที่จะเป็นแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีโครงการพลังงานสะอาด และสามารถลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนด์ไดซ์ได้ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับกองทุนเอ็นเนอร์จี่ฟันด์ ที่บริษัทเข้าไปร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการที่ผลิตพลังงานทดแทนในปัจจุบัน โดยผลตอบแทนที่ได้จากการตั้งกองทุนคาร์บอนด์เครดิต จะเป็นทั้งผลตอบแทนในรูปตัวเงินจากการเข้าไปร่วมลงทุน รวมถึงผลตอบแทนในรูปแบบของคาร์บอนด์เครดิตด้วย
ส่วนรูปแบบที่ 2 คือ กองทุนปลายน้ำ ซึ่งหมายถึงการเป็นนายหน้าหรือดีลเลอร์ในการรับซื้อขายคาร์บอนด์เครดิต โดยอาจจะตั้งกองทุนเพื่อไปซื้อคาร์บอนด์เครดิต แล้วขายต่อให้กับกลุ่มประเทศที่มีพันธกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ กองทุนที่เป็นกองทุนปลายน้ำ อาจจะต้องมีการปรุงแต่งให้มีความเหมาะสมเพื่อให้ขายได้ในตลาด เพราะต้องยอมรับว่าโครงการพลังงานสะอาดหรือโครงการคาร์บอนด์เครดิตจะมีความไม่แน่นอนในตัวของมันเอง เพราะส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ยังไม่เกิด ดังนั้น การจะนำไปขายในตลาดอาจจะต้องทำสัญญาส่งมอบล่วงหน้าไว้ก่อน พร้อมทั้งกำหนดราคา ผลตอบแทนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงด้วย ผู้ซื้อถึงจะยอมซื้อ
"กลุ่มประเทศที่มีพันธกรณีร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ มีต้นทุนค่อนข้างสูงในการลดปล่อยก๊าซ และจะถูกปรับเงินในอัตราที่สูงมากหากไม่สามารถทำตามพันธกิจได้ แต่กฏหมายนี้เปิดโอกาสให้จ้างประเทศอื่นช่วยลดการปล่อยก๊าซแทนได้ ดังนั้น จึงเกิดการซื้อขายคาร์บอนด์เครดิตขึ้นมา และแม้ไทยเอง ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีพันธกิจที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซ แต่ก็สามารถหาประโยชน์ได้จากการขายคาร์บอนด์เครดิต ที่สำคัญ ยังช่วยให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี จากการลดการปล่อยก๊าซเรือกกระจกสู่ชั้นบรรยากาศด้วย"นายพิชิตกล่าว
ทั้งนี้ บลจ.เอ็มเอฟซีได้ศึกษาการตั้งกองทุนคาร์บอนเครดิตมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาและหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไข รวมถึงความต้องการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายด้วย
ในส่วนของเงินทุนนั้น นายพิชิตกล่าวว่า ในเบื้องต้นจะมาจากเงินทุนภาครัฐ และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด ซึ่งจะรวมถึงองค์กรต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดเหล่านี้ด้วย เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี กองทุนหลายๆ กองในต่างประเทศ รวมถึงรัฐบาลต่างประเทศที่มีพันธกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประเทศเหล่านี้เอง ถือเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ในตลาดด้วย
ทั้งนี้ คาดว่าประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะได้ข้อสรุปว่าจะออกมาเป็นกองทุนในรูปแบบใด ซึ่งมูลค่าที่เหมาะสมนั้น ส่วนตัวมองว่าน่าจะอยู่ที่ 3,000-5,000 ล้านบาท
สำหรับที่มาของการซื้อขายคาร์บอนด์เครดิต เป็นผลสืบเนื่องมาจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดประมาณการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก หรือกรีนเฮ้าส์เอฟเฟคท์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ โดยพิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่16 กุมภาพันธ์ 2549 หากประเทศที่ลงนาม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 5.2% ในปี 2551-2555 จะมีค่าปรับถึงตันละ 2,000-5,000 บาท ดังนั้น การซื้อขายคาร์บอนเครดิต จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่กำหนดออกมาพิเศษ เพื่อช่วยให้ประเทศตัวการปล่อยก๊าซพิษไม่ต้องถูกลงโทษ
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า องค์การบริหารจัดการก๊าชเรือนกระจกได้ให้บลจ.เอ็มเอฟซี ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนคาร์บอนเครดิต (Carbon Fund)ในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อการหาผลประโยชน์สูงสุด จากการช่วยลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนด์ไดซ์ออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งไทยเอง ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีพันธกรณีร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Kyoto Protocal) แต่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ด้วยการพัฒนาโครงการที่จะนำไปสู่การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM)
โดยในเบื้องต้น รูปแบบของการจัดตั้งกองทุน มีความเป็นไปได้ 2 รูปแบบ คือ กองทุนต้นน้ำ ที่จะเป็นแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีโครงการพลังงานสะอาด และสามารถลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนด์ไดซ์ได้ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับกองทุนเอ็นเนอร์จี่ฟันด์ ที่บริษัทเข้าไปร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการที่ผลิตพลังงานทดแทนในปัจจุบัน โดยผลตอบแทนที่ได้จากการตั้งกองทุนคาร์บอนด์เครดิต จะเป็นทั้งผลตอบแทนในรูปตัวเงินจากการเข้าไปร่วมลงทุน รวมถึงผลตอบแทนในรูปแบบของคาร์บอนด์เครดิตด้วย
ส่วนรูปแบบที่ 2 คือ กองทุนปลายน้ำ ซึ่งหมายถึงการเป็นนายหน้าหรือดีลเลอร์ในการรับซื้อขายคาร์บอนด์เครดิต โดยอาจจะตั้งกองทุนเพื่อไปซื้อคาร์บอนด์เครดิต แล้วขายต่อให้กับกลุ่มประเทศที่มีพันธกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ กองทุนที่เป็นกองทุนปลายน้ำ อาจจะต้องมีการปรุงแต่งให้มีความเหมาะสมเพื่อให้ขายได้ในตลาด เพราะต้องยอมรับว่าโครงการพลังงานสะอาดหรือโครงการคาร์บอนด์เครดิตจะมีความไม่แน่นอนในตัวของมันเอง เพราะส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ยังไม่เกิด ดังนั้น การจะนำไปขายในตลาดอาจจะต้องทำสัญญาส่งมอบล่วงหน้าไว้ก่อน พร้อมทั้งกำหนดราคา ผลตอบแทนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงด้วย ผู้ซื้อถึงจะยอมซื้อ
"กลุ่มประเทศที่มีพันธกรณีร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ มีต้นทุนค่อนข้างสูงในการลดปล่อยก๊าซ และจะถูกปรับเงินในอัตราที่สูงมากหากไม่สามารถทำตามพันธกิจได้ แต่กฏหมายนี้เปิดโอกาสให้จ้างประเทศอื่นช่วยลดการปล่อยก๊าซแทนได้ ดังนั้น จึงเกิดการซื้อขายคาร์บอนด์เครดิตขึ้นมา และแม้ไทยเอง ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีพันธกิจที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซ แต่ก็สามารถหาประโยชน์ได้จากการขายคาร์บอนด์เครดิต ที่สำคัญ ยังช่วยให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี จากการลดการปล่อยก๊าซเรือกกระจกสู่ชั้นบรรยากาศด้วย"นายพิชิตกล่าว
ทั้งนี้ บลจ.เอ็มเอฟซีได้ศึกษาการตั้งกองทุนคาร์บอนเครดิตมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาและหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไข รวมถึงความต้องการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายด้วย
ในส่วนของเงินทุนนั้น นายพิชิตกล่าวว่า ในเบื้องต้นจะมาจากเงินทุนภาครัฐ และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด ซึ่งจะรวมถึงองค์กรต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดเหล่านี้ด้วย เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี กองทุนหลายๆ กองในต่างประเทศ รวมถึงรัฐบาลต่างประเทศที่มีพันธกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประเทศเหล่านี้เอง ถือเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ในตลาดด้วย
ทั้งนี้ คาดว่าประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะได้ข้อสรุปว่าจะออกมาเป็นกองทุนในรูปแบบใด ซึ่งมูลค่าที่เหมาะสมนั้น ส่วนตัวมองว่าน่าจะอยู่ที่ 3,000-5,000 ล้านบาท
สำหรับที่มาของการซื้อขายคาร์บอนด์เครดิต เป็นผลสืบเนื่องมาจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดประมาณการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก หรือกรีนเฮ้าส์เอฟเฟคท์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ โดยพิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่16 กุมภาพันธ์ 2549 หากประเทศที่ลงนาม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 5.2% ในปี 2551-2555 จะมีค่าปรับถึงตันละ 2,000-5,000 บาท ดังนั้น การซื้อขายคาร์บอนเครดิต จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่กำหนดออกมาพิเศษ เพื่อช่วยให้ประเทศตัวการปล่อยก๊าซพิษไม่ต้องถูกลงโทษ