เอเอฟพี – การเข้าถึงเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม กลายเป็นปมปัญหาที่อาจทำให้ความพยายามของนานาชาติที่จะต่อสู้กับภาวะโลกร้อนเกิดอาการสะดุด ล่าสุด ส.ส.จากทั้ง 2 พรรคใหญ่ในสหรัฐฯ กล่าวหาว่าจีนพยายาม “ขโมย” โนว์-ฮาวด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจีนโต้กลับ ชาติร่ำรวยไม่รักษาสัญญาว่าจะแบ่งปันเทคโนโลยี
จากกรณีที่จีนและอินเดียได้แสดงบทบาทนำ ในการเรียกร้องให้ชาติพัฒนาแล้วแบ่งปันเทคโนโลยีที่จะใช้ต่อต้านภาวะโลกร้อนให้แก่ชาติที่ด้อยกว่า เพื่อให้ทันการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเก้นในปลายปีนี้ ที่นานาชาติจะต้องรับรองสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่จะเข้ามาแทนพิธีสารเกียวโต
แต่ในการประชุมสภาผู้แทนของสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้ ส.ส.กลับโหวตให้สหรัฐฯ ดำเนินการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งจะมีการพูดคุยกันในการประชุมที่โคเปนเฮเก้น
โดยนายริค ลาร์เซ่น ส.ส.จากพรรคเดโมแครต กล่าวว่า สหรัฐฯ ให้ความใส่ใจทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการขาดดุลการค้ากับจีนที่เพิ่มมากขึ้น
“สหรัฐฯ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้จีนมีเทคโนโลยีด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพ เพราะเราต่างก็เป็นชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศมากที่สุด แต่มันก็มีความจำเป็นที่เราทั้งคู่จะต้องช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องการขาดดุลทางการค้าด้วย” นายลาร์เช๋นกล่าว
ขณะที่นายมาร์ค เคิร์ก ส.ส.จากพรรครีพลับลิกัน ที่เคยเดินทางไปเยือนจีนร่วมกับนายลาร์เซ่น กล่าวว่า เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกลายเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดระหว่างที่มีการหารือกับฝ่ายจีน เพราะจีนพยายามหาทางที่จะ “ขโมยทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด” ที่เกี่ยวข้องการพลังงานที่มีประสิทธิภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
สหรัฐฯ กลายเป็นประเทศเดียวในกลุ่มชาติอุตสาหกรรมที่ปฏิเสธการลงนามในพิธีสารเกียวโต เพราะอดีตประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช เห็นว่า ม้นไม่ยุติธรรม ที่ไม่มีการเรียกร้องเช่นเดียวกันนี้กับชาติที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น จีนและอินเดีย
ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ก็สัญญาว่าจะทำทุกอย่างเพื่อหยุดยั้งภาวะโลกร้อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากสหประชาชาติได้เตือนว่า หากนานาชาติยังไม่ใส่ใจกับเรื่องนี้ ในปลายศตวรรษนี้สภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวมทั้งพืชและสัตว์บางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ได้
ในการประชุมที่ว่าด้วยสนธิสัญญาเรื่องโลกร้อนฉบับใหม่ ที่จัดขึ้นในบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนธันวาคม 2550 ตัวแทนกว่า 180 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมต่างเห็นพ้องกันว่าทุกชาติมี “เป้าหมายเดียวกัน แต่ความรับผิดชอบในระดับแตกต่างกัน” ระหว่างชาติที่พัฒนาแล้วกับชาติที่กำลังพัฒนา
แต่ดูเหมือนว่าการประชุมเป็นเวลา 12 วันที่กรุงบอนน์ในเดือนนี้จะไม่มีความคืบหน้าที่แต่อย่างใด โดยนายหลี่ เกา ตัวแทนเจรจาจากจีน ก็ได้กล่าวหาชาติที่ร่ำรวยว่าไม่รักษาสัญญาที่จะแบ่งปันเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และยังทำให้ข้อตกลงเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเพียงลมปาก
“มันมีความพยายามที่จะลบล้างหลักการที่ว่า ‘เป้าหมายเดียวกัน แต่ความรับผิดชอบแตกต่างกัน’ ออกไป และยังพยายามที่จะแยกชาติกำลังพัฒนาออกไป” นายหลี่ กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวของจีน
ขณะเดียวกัน นายชยัม ซารัน ผู้แทนจากอินเดีย ก็ได้วิจารณ์ชาติร่ำรวยว่าควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อน พร้อมกันนี้ อินเดียก็ได้เสนอให้ตั้ง “ศูนย์นวตกรรม” เพื่อมาทำงานด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศจากสหประชาชาติ ก็ได้เรียกร้องให้ทุกชาติจัดสมดุลในเรื่องนี้ โดยกล่าวว่าเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาก็มีความสำคัญ แต่ทุกชาติก็จำเป็นต้องยอมรับข้อตกลง
ขณะที่นายดาเนียล เคสส์เลอร์ จากกรีนพีซ กล่าวว่า เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาในระดับนานาชาติได้
จากกรณีที่จีนและอินเดียได้แสดงบทบาทนำ ในการเรียกร้องให้ชาติพัฒนาแล้วแบ่งปันเทคโนโลยีที่จะใช้ต่อต้านภาวะโลกร้อนให้แก่ชาติที่ด้อยกว่า เพื่อให้ทันการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเก้นในปลายปีนี้ ที่นานาชาติจะต้องรับรองสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่จะเข้ามาแทนพิธีสารเกียวโต
แต่ในการประชุมสภาผู้แทนของสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้ ส.ส.กลับโหวตให้สหรัฐฯ ดำเนินการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งจะมีการพูดคุยกันในการประชุมที่โคเปนเฮเก้น
โดยนายริค ลาร์เซ่น ส.ส.จากพรรคเดโมแครต กล่าวว่า สหรัฐฯ ให้ความใส่ใจทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการขาดดุลการค้ากับจีนที่เพิ่มมากขึ้น
“สหรัฐฯ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้จีนมีเทคโนโลยีด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพ เพราะเราต่างก็เป็นชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศมากที่สุด แต่มันก็มีความจำเป็นที่เราทั้งคู่จะต้องช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องการขาดดุลทางการค้าด้วย” นายลาร์เช๋นกล่าว
ขณะที่นายมาร์ค เคิร์ก ส.ส.จากพรรครีพลับลิกัน ที่เคยเดินทางไปเยือนจีนร่วมกับนายลาร์เซ่น กล่าวว่า เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกลายเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดระหว่างที่มีการหารือกับฝ่ายจีน เพราะจีนพยายามหาทางที่จะ “ขโมยทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด” ที่เกี่ยวข้องการพลังงานที่มีประสิทธิภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
สหรัฐฯ กลายเป็นประเทศเดียวในกลุ่มชาติอุตสาหกรรมที่ปฏิเสธการลงนามในพิธีสารเกียวโต เพราะอดีตประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช เห็นว่า ม้นไม่ยุติธรรม ที่ไม่มีการเรียกร้องเช่นเดียวกันนี้กับชาติที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น จีนและอินเดีย
ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ก็สัญญาว่าจะทำทุกอย่างเพื่อหยุดยั้งภาวะโลกร้อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากสหประชาชาติได้เตือนว่า หากนานาชาติยังไม่ใส่ใจกับเรื่องนี้ ในปลายศตวรรษนี้สภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวมทั้งพืชและสัตว์บางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ได้
ในการประชุมที่ว่าด้วยสนธิสัญญาเรื่องโลกร้อนฉบับใหม่ ที่จัดขึ้นในบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนธันวาคม 2550 ตัวแทนกว่า 180 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมต่างเห็นพ้องกันว่าทุกชาติมี “เป้าหมายเดียวกัน แต่ความรับผิดชอบในระดับแตกต่างกัน” ระหว่างชาติที่พัฒนาแล้วกับชาติที่กำลังพัฒนา
แต่ดูเหมือนว่าการประชุมเป็นเวลา 12 วันที่กรุงบอนน์ในเดือนนี้จะไม่มีความคืบหน้าที่แต่อย่างใด โดยนายหลี่ เกา ตัวแทนเจรจาจากจีน ก็ได้กล่าวหาชาติที่ร่ำรวยว่าไม่รักษาสัญญาที่จะแบ่งปันเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และยังทำให้ข้อตกลงเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเพียงลมปาก
“มันมีความพยายามที่จะลบล้างหลักการที่ว่า ‘เป้าหมายเดียวกัน แต่ความรับผิดชอบแตกต่างกัน’ ออกไป และยังพยายามที่จะแยกชาติกำลังพัฒนาออกไป” นายหลี่ กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวของจีน
ขณะเดียวกัน นายชยัม ซารัน ผู้แทนจากอินเดีย ก็ได้วิจารณ์ชาติร่ำรวยว่าควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อน พร้อมกันนี้ อินเดียก็ได้เสนอให้ตั้ง “ศูนย์นวตกรรม” เพื่อมาทำงานด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศจากสหประชาชาติ ก็ได้เรียกร้องให้ทุกชาติจัดสมดุลในเรื่องนี้ โดยกล่าวว่าเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาก็มีความสำคัญ แต่ทุกชาติก็จำเป็นต้องยอมรับข้อตกลง
ขณะที่นายดาเนียล เคสส์เลอร์ จากกรีนพีซ กล่าวว่า เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาในระดับนานาชาติได้