รอยเตอร์/เอเอฟพี – กลุ่ม 8 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) เปิดการประชุมซัมมิตเป็นเวลา 3 วันซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวานนี้(10) ณ เมืองลาควิลา ประเทศอิตาลี โดยที่ได้เชื้อเชิญผู้นำกลุ่ม 5 ประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่(จี5) ตลอดจนหลายชาติในแอฟริกาเข้าร่วมในหลายๆ วาระ ทั้งนี้หัวข้อของการหารือมีหลากหลาย ตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ไปจนถึงการแก้ปัญหาโลกร้อน, การค้า,และความมั่นคงด้านอาหาร
ผลสรุปและสีสันการประชุมคราวนี้พอจะสรุปได้ดังนี้
**การลดปล่อยไอเสียสู่บรรยากาศโลก**
บรรดาผู้นำต่างต้องการลดจุดยืนที่ยังแตกต่างระหว่างกันในเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่บรรยากาศ รวมทั้งเรื่องการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับให้ชาติยากจนหันมาใช้เทคโนโลยีที่ปล่อยไอเสียคาร์บอนในระดับต่ำ ให้ได้ก่อนการประชุมในเดือนธันวาคมของสหประชาชาติ ที่กำหนดจะประกาศใช้สนธิสัญญาเกี่ยวกับการต่อต้านภาวะโลกร้อนฉบับใหม่ แทนที่ พิธีสารเกียวโต ที่จะหมดอายุลง
อย่างไรก็ตาม ผู้นำกลุ่มจี 8 ไม่สามารถโน้มน้าวให้อินเดียและจีนเข้ามาร่วมการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 50% ภายในปี 2050 แม้จะประสบความสำเร็จในการเกลี้ยกล่อมให้เห็นชอบกับเป้าหมายไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไปเกิน 2 องศาเซลเซียส จากระดับก่อนหน้าที่โลกเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม
นอกจากนั้น ในกลุ่มจี8 เอง ข้อเสนอที่จะลดการปล่อยก๊าซร้อนลง 80% ภายในปี 2050 ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะตกลงกันได้ โดยเมื่อการประชุมวาระนี้สิ้นสุดลง แคนาดาได้แถลงว่าเป้าหมายนั้น “ทะเยอทะยาน” ขณะที่รัสเซียก็บอกตรง ๆว่าไม่สามารถจะทำตามเป้าหมายได้
บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติจึงวิจารณ์ว่า การต่อสู้กับภาวะโลกร้อนของกลุ่มจี 8 นั้น ยังคืบหน้า “ไม่เพียงพอ”
**การค้า**
นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายฝ่ายคาดว่าต้องมีความก้าวหน้า
กลุ่มจี8, จี5, เกาหลีใต้, อียิปต์, ออสเตรเลีย เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องสรุปการประชุมการค้าเสรีรอบโดฮากันภายในปี 2010 และตั้งเป้าจะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีก่อนการประชุมซัมมิตกลุ่มจี 20 ที่สหรัฐฯ ในเดือนกันยายนนี้ พวกนักการทูตกล่าวว่าการตั้งเส้นตายไว้เช่นนี้ อาจทำให้สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เสียที เนื่องจากได้มีการตั้งกรอบโครงเพื่อการเจรจารายละเอียดเอาไว้แล้ว
**ความช่วยเหลือและความมั่นคงทางด้านอาหาร**
กลุ่มประเทศจี 8 ถูกกดดันให้รับประกันว่าจะทำตามให้คำมั่นที่เคยไว้ว่าจะเพิ่มความช่วยเหลือให้แก่โลกกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอฟริกา
แต่ที่เป็นรูปธรรมก็คือ คำแถลงในวันสุดท้ายของการประชุม ผู้นำจี8ตกลงที่จะให้เงินจำนวน 20,000 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อเพิ่มการลงทุนด้านการเกษตรในประเทศยากจนและในการต่อสู้ความอดอยาก
เงินจำนวนดังกล่าวนับว่ามากกว่าที่คาดหมายตอนแรกถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ แม้ยังไม่มีการให้รายละเอียดว่าแต่ละประเทศจะออกเงินกันเท่าใด โดยมีแต่สหรัฐฯที่ประกาศยืนยันแล้วว่าจะให้อย่างน้อย 3,500 ล้านดอลลาร์ ขณะที่คาดหมายว่าญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปน่าจะให้รายละ 3,000 ล้านดอลลาร์
สิ่งที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือแม้ยังคงสัญญาให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินด้านอาหาร แต่เงินช่วยเหลือก้อนใหม่นี้จะเน้นให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาการเกษตร เพื่อให้พวกชาติยากจนผลิตอาหารมาเลี้ยงตัวเองได้มากขึ้น
**วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจ**
ใครก็ตามที่คาดว่ากลุ่มประเทศจี8จะผ่านแผนการลดเลิกการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็คงจะต้องผิดหวัง เพราะพวกเขาดูระมัดระวังในประเด็นนี้อย่างยิ่ง และกล่าวเน้นว่าต้องแน่ใจเสียก่อนว่าแผนกระตุ้นที่ออกมาก่อนหน้านี้นั้นได้ผลอย่างแท้จริง จากนั้นแล้วจึงจะหันมาแก้ไขภาวะการขาดดุลทางการคลังในระยะกลาง
“สถานการณ์ยังคงไม่แน่นอน และยังคงมีความเสี่ยงอยู่มากที่อาจจะสั่นคลอนเสถียรภาพของเศรษฐกิจและการเงิน” คำแถลงการณ์ที่ออกมาเมื่อสิ้นสุดการประชุมวันแรกในวันพุธ(8)ระบุ
เมื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลยังไม่เห็นเด่นชัด รัฐบาลหลายแห่งจึงบอกว่า จะหันไปกังวลกับเรื่องการใช้จ่ายอย่างหนักจนขาดดุลรุนแรง ต่อเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วเท่านั้น
**น้ำมัน**
ฝรั่งเศสและอังกฤษกล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการกำกับดูแลตลาดพลังงานเพื่อลดความผันผวนของราคาน้ำมัน ในขณะที่รัสเซียและแคนาดาต่างบอกว่า ไม่สามารถจะควบคุมตลาดนี้ได้ด้วยวิธีการดังกล่าว
ผลสรุปและสีสันการประชุมคราวนี้พอจะสรุปได้ดังนี้
**การลดปล่อยไอเสียสู่บรรยากาศโลก**
บรรดาผู้นำต่างต้องการลดจุดยืนที่ยังแตกต่างระหว่างกันในเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่บรรยากาศ รวมทั้งเรื่องการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับให้ชาติยากจนหันมาใช้เทคโนโลยีที่ปล่อยไอเสียคาร์บอนในระดับต่ำ ให้ได้ก่อนการประชุมในเดือนธันวาคมของสหประชาชาติ ที่กำหนดจะประกาศใช้สนธิสัญญาเกี่ยวกับการต่อต้านภาวะโลกร้อนฉบับใหม่ แทนที่ พิธีสารเกียวโต ที่จะหมดอายุลง
อย่างไรก็ตาม ผู้นำกลุ่มจี 8 ไม่สามารถโน้มน้าวให้อินเดียและจีนเข้ามาร่วมการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 50% ภายในปี 2050 แม้จะประสบความสำเร็จในการเกลี้ยกล่อมให้เห็นชอบกับเป้าหมายไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไปเกิน 2 องศาเซลเซียส จากระดับก่อนหน้าที่โลกเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม
นอกจากนั้น ในกลุ่มจี8 เอง ข้อเสนอที่จะลดการปล่อยก๊าซร้อนลง 80% ภายในปี 2050 ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะตกลงกันได้ โดยเมื่อการประชุมวาระนี้สิ้นสุดลง แคนาดาได้แถลงว่าเป้าหมายนั้น “ทะเยอทะยาน” ขณะที่รัสเซียก็บอกตรง ๆว่าไม่สามารถจะทำตามเป้าหมายได้
บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติจึงวิจารณ์ว่า การต่อสู้กับภาวะโลกร้อนของกลุ่มจี 8 นั้น ยังคืบหน้า “ไม่เพียงพอ”
**การค้า**
นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายฝ่ายคาดว่าต้องมีความก้าวหน้า
กลุ่มจี8, จี5, เกาหลีใต้, อียิปต์, ออสเตรเลีย เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องสรุปการประชุมการค้าเสรีรอบโดฮากันภายในปี 2010 และตั้งเป้าจะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีก่อนการประชุมซัมมิตกลุ่มจี 20 ที่สหรัฐฯ ในเดือนกันยายนนี้ พวกนักการทูตกล่าวว่าการตั้งเส้นตายไว้เช่นนี้ อาจทำให้สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เสียที เนื่องจากได้มีการตั้งกรอบโครงเพื่อการเจรจารายละเอียดเอาไว้แล้ว
**ความช่วยเหลือและความมั่นคงทางด้านอาหาร**
กลุ่มประเทศจี 8 ถูกกดดันให้รับประกันว่าจะทำตามให้คำมั่นที่เคยไว้ว่าจะเพิ่มความช่วยเหลือให้แก่โลกกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอฟริกา
แต่ที่เป็นรูปธรรมก็คือ คำแถลงในวันสุดท้ายของการประชุม ผู้นำจี8ตกลงที่จะให้เงินจำนวน 20,000 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อเพิ่มการลงทุนด้านการเกษตรในประเทศยากจนและในการต่อสู้ความอดอยาก
เงินจำนวนดังกล่าวนับว่ามากกว่าที่คาดหมายตอนแรกถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ แม้ยังไม่มีการให้รายละเอียดว่าแต่ละประเทศจะออกเงินกันเท่าใด โดยมีแต่สหรัฐฯที่ประกาศยืนยันแล้วว่าจะให้อย่างน้อย 3,500 ล้านดอลลาร์ ขณะที่คาดหมายว่าญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปน่าจะให้รายละ 3,000 ล้านดอลลาร์
สิ่งที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือแม้ยังคงสัญญาให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินด้านอาหาร แต่เงินช่วยเหลือก้อนใหม่นี้จะเน้นให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาการเกษตร เพื่อให้พวกชาติยากจนผลิตอาหารมาเลี้ยงตัวเองได้มากขึ้น
**วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจ**
ใครก็ตามที่คาดว่ากลุ่มประเทศจี8จะผ่านแผนการลดเลิกการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็คงจะต้องผิดหวัง เพราะพวกเขาดูระมัดระวังในประเด็นนี้อย่างยิ่ง และกล่าวเน้นว่าต้องแน่ใจเสียก่อนว่าแผนกระตุ้นที่ออกมาก่อนหน้านี้นั้นได้ผลอย่างแท้จริง จากนั้นแล้วจึงจะหันมาแก้ไขภาวะการขาดดุลทางการคลังในระยะกลาง
“สถานการณ์ยังคงไม่แน่นอน และยังคงมีความเสี่ยงอยู่มากที่อาจจะสั่นคลอนเสถียรภาพของเศรษฐกิจและการเงิน” คำแถลงการณ์ที่ออกมาเมื่อสิ้นสุดการประชุมวันแรกในวันพุธ(8)ระบุ
เมื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลยังไม่เห็นเด่นชัด รัฐบาลหลายแห่งจึงบอกว่า จะหันไปกังวลกับเรื่องการใช้จ่ายอย่างหนักจนขาดดุลรุนแรง ต่อเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วเท่านั้น
**น้ำมัน**
ฝรั่งเศสและอังกฤษกล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการกำกับดูแลตลาดพลังงานเพื่อลดความผันผวนของราคาน้ำมัน ในขณะที่รัสเซียและแคนาดาต่างบอกว่า ไม่สามารถจะควบคุมตลาดนี้ได้ด้วยวิธีการดังกล่าว