มีเหตุระเบิดที่มีคนตายและบาดเจ็บเกิดขึ้นหลายครั้งในระยะไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จนกำลังสั่นสะเทือนเสถียรภาพของฟิลิปปินส์ และทำให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดสร้างสถานการณ์ขึ้นมาหลายๆ ทฤษฎี โดยมีทั้งที่ระบุว่าพวกกบฎมุสลิม, ผู้ก่อการร้ายที่มีความเชื่อมโยงระดับระหว่างประเทศ, ไปจนถึงคณะรัฐบาลของประธานาธิบดีกลอเรีย มากาปากัล-อาร์โรโย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีอันลึกลับมีปริศนาเหล่านี้
ยังไม่มีกลุ่มใดเลยออกมาประกาศความรับผิดชอบเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดดังกล่าว กระนั้นก็ตาม กองกำลังรักษาความมั่นคงปลอดภัยก็ถูกสั่งให้เตรียมพร้อมในระดับสูงตลอดทั่วทั้งประเทศหมู่เกาะแห่งนี้ ทำให้เกิดความหวาดกลัวเพิ่มมากขึ้นว่า อีกไม่นานอาร์โรโยอาจจะประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือภาวะฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขวิกฤต อันเป็นความเคลื่อนไหวที่อาจกลายเป็นการขยายเวลาแห่งการครองอำนาจของเธอให้ล้ำเลยไปจากวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปีตามที่กำหนดบังคับไว้ในกฎหมาย
เหตุระเบิดในสัปดาห์ที่แล้วที่เมือง โคตาบาโต ซิตี, อิลิกาน, และโจโล ซึ่งล้วนแต่ตั้งอยู่บนเกาะมินดาเนา ทางภาคใต้ของประเทศ ได้ผลาญชีวิตผู้คนไป 12 คน และมีบาดเจ็บอีกร่วมๆ 100 คน ในสัปดาห์ก่อนๆ ก็มีเหตุระเบิดที่สำนักงานของผู้ตรวจการณ์รัฐสภาในกรุงมะนิลา รวมทั้งมีการวางแผนระเบิดที่มุ่งเล่นงานที่ทำการของรัฐบาลแห่งอื่นๆ เป็นต้นว่า กระทรวงเกษตร, ตลอดจนอาคารคอนโดมีเนียมของภาคเอกชนแห่งหนึ่งในนครหลวงแห่งนี้ ทว่าถูกขัดขวางได้ก่อนจากการติดตามสืบสวนของกองกำลังรักษาความมั่นคงปลอดภัย ทั้งนี้เป็นการบอกเล่าของแหล่งข่าวในรัฐบาลผู้หนึ่ง
พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลให้คำอธิบายถึงสาเหตุของการระเบิดเหล่านี้ในลักษณะที่ขัดแย้งกัน ฝ่ายทหารนั้นรีบออกมาประณามขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโร (เอ็มไอแอลเอฟ) ที่เป็นพวกต้องการแบ่งแยกดินแดน และกองทัพได้สู้รบด้วยนับตั้งแต่ข้อตกลงสันติภาพแลกกับการปกครองตนเอง ต้องมีอันพังพาบไปเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว พล.อ.วิกเตอร์ อิบราโด ผู้บัญชาการกองทัพฟิลิปปินส์ พูดเป็นนัยว่าเหตุระเบิดเหล่านี้อาจจะเป็น “การปฏิบัติการทดสอบ” ของพวกกบฎที่เพิ่งสำเร็จการฝึกอบรมวิธีทำระเบิดเมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้
ขณะที่ พล.ต.ฆวนโช ซับบัน ผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจ “โคเมต” อ้างว่า เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มก่อการร้ายระดับภูมิภาคอย่าง ญะมะอาห์ อิสลามิยะห์ (เจไอ) ได้จัดฝึกอบรมเทคนิคเรื่องระเบิดให้แก่ทั้งเอ็มไอแอลเอฟ และกลุ่มก่อการร้าย “อาบู ไซยาฟ” ที่มีความเกี่ยวพันกับอัลกออิดะห์
อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ นอร์แบร์โต กอนซาเลส กลับระบุว่าการโจมตีหลายๆ ครั้งในกรุงมะนิลานั้น กระทำโดยกลุ่มหลายกลุ่มด้วยมูลเหตุจูงใจต่างๆ กัน และไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่เกาะมินดาเนา เขายังขอร้องฝ่ายทหารว่าอย่าประณามเอ็มไอแอลเอฟแบบอัตโนมัติ โดยไม่ได้มีหลักฐานที่หนักแน่น พร้อมทั้งวิตกว่าการพูดเช่นนี้จะขัดขวางการหาทางฟื้นฟูการเจรจาสันติภาพขึ้นมาใหม่
ทางด้าน อิด คาบาลู โฆษกของเอ็มไอแอลเอฟก็ปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมกับบอกว่ากลุ่มของเขาไม่ได้อะไรเลยจากการสังหารพลเรือนและสร้างความโหดเหี้ยมสยดสยองกับบรรดาชุมชนของพวกเขาเอง
คนอื่นๆ รวมทั้งอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลหลายๆ คน กลับชี้ไปทางอาร์โรโยและพวกพันธมิตรทางการเมืองของเธอ
อดีตประธานสภาล่าง โฆเซ เดอ เบเนเซีย ระบุอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนว่า เหตุระเบิดเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนกโลบายใหญ่ที่มุ่งทำให้รู้สึกว่าเสถียรภาพกำลังสั่นคลอดน จะได้สร้างความชอบธรรมให้แก่การประกาศใช้กฎอัยการศึก และระงับการดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย เป็นต้นว่า การจัดการเลือกตั้งที่ตามกำหนดต้องมีขึ้นในปีหน้า โดยที่อาร์โรโยจะถูกห้ามจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ทำให้ไม่สามารถลงเลือกตั้งอีกสมัยได้
เดอ เบเนเซีย ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรของอาร์โรโยมาก่อน อ้างว่าแผนกโลบายดังกล่าวนี้ได้เคยมีการหารือกันมาก่อนแล้วในหมู่บุคคลวงในคณะรัฐบาล และเขายังเชื่อมโยงเหตุระเบิดคราวนี้ กับสภาพไร้เสถียรภาพที่อดีตจอมเผด็จการ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส สร้างขึ้นเพื่อทำให้เกิดความชอบธรรมในการประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อปี 1972 หนึ่งปีก่อนที่เขาจะต้องลงจากอำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ยังมีนักวิเคราะห์หลายรายชี้ว่า เหตุระเบิดลึกลับที่มินดาเนาเหล่านี้ตูมตามขึ้นมาเพียงไม่กี่วันก่อนการเยือนกรุงมะนิลาของผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ(ซีไอเอ) เลออน แพเนตตา
รัฐบาลสหรัฐฯชุดก่อนของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ระบุให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น “แนวรบแนวที่สอง” ใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ทั่วโลกของเขา และความช่วยเหลือทางการเงินของสหรัฐฯไปยังกองทัพฟิลิปปินส์ก็พุ่งทะยานขึ้นมาหลายร้อยล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือในการสู้รบกับพวกกบฎกลุ่มอาบูไซยาฟ ซึ่งสหรัฐฯบอกว่าโยงใยกับเครือข่ายก่อการร้ายทั่วโลกของอัลกออิดะห์
อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะให้น้ำหนักความสำคัญและทรัพยากรในระดับเดียวกันเพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ต่อไปหรือไม่
(เก็บความตัดทอนจากเรื่อง Bombshaell conspiracies in the Philippines โดย Shawn W Crispin และ Joel D Adriano ฌอว์น ดับเบิลยู คริสพิน เป็นบรรณาธิการข่าวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ส่วน โจเอล ดี อาดริอาโน เป็นที่ปรึกษาอิสระ และนักหนังสือพิมพ์อิสระระดับได้รับรางวัลมาแล้ว เขาพำนักอยู่ในกรุงมะนิลา)
ยังไม่มีกลุ่มใดเลยออกมาประกาศความรับผิดชอบเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดดังกล่าว กระนั้นก็ตาม กองกำลังรักษาความมั่นคงปลอดภัยก็ถูกสั่งให้เตรียมพร้อมในระดับสูงตลอดทั่วทั้งประเทศหมู่เกาะแห่งนี้ ทำให้เกิดความหวาดกลัวเพิ่มมากขึ้นว่า อีกไม่นานอาร์โรโยอาจจะประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือภาวะฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขวิกฤต อันเป็นความเคลื่อนไหวที่อาจกลายเป็นการขยายเวลาแห่งการครองอำนาจของเธอให้ล้ำเลยไปจากวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปีตามที่กำหนดบังคับไว้ในกฎหมาย
เหตุระเบิดในสัปดาห์ที่แล้วที่เมือง โคตาบาโต ซิตี, อิลิกาน, และโจโล ซึ่งล้วนแต่ตั้งอยู่บนเกาะมินดาเนา ทางภาคใต้ของประเทศ ได้ผลาญชีวิตผู้คนไป 12 คน และมีบาดเจ็บอีกร่วมๆ 100 คน ในสัปดาห์ก่อนๆ ก็มีเหตุระเบิดที่สำนักงานของผู้ตรวจการณ์รัฐสภาในกรุงมะนิลา รวมทั้งมีการวางแผนระเบิดที่มุ่งเล่นงานที่ทำการของรัฐบาลแห่งอื่นๆ เป็นต้นว่า กระทรวงเกษตร, ตลอดจนอาคารคอนโดมีเนียมของภาคเอกชนแห่งหนึ่งในนครหลวงแห่งนี้ ทว่าถูกขัดขวางได้ก่อนจากการติดตามสืบสวนของกองกำลังรักษาความมั่นคงปลอดภัย ทั้งนี้เป็นการบอกเล่าของแหล่งข่าวในรัฐบาลผู้หนึ่ง
พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลให้คำอธิบายถึงสาเหตุของการระเบิดเหล่านี้ในลักษณะที่ขัดแย้งกัน ฝ่ายทหารนั้นรีบออกมาประณามขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโร (เอ็มไอแอลเอฟ) ที่เป็นพวกต้องการแบ่งแยกดินแดน และกองทัพได้สู้รบด้วยนับตั้งแต่ข้อตกลงสันติภาพแลกกับการปกครองตนเอง ต้องมีอันพังพาบไปเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว พล.อ.วิกเตอร์ อิบราโด ผู้บัญชาการกองทัพฟิลิปปินส์ พูดเป็นนัยว่าเหตุระเบิดเหล่านี้อาจจะเป็น “การปฏิบัติการทดสอบ” ของพวกกบฎที่เพิ่งสำเร็จการฝึกอบรมวิธีทำระเบิดเมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้
ขณะที่ พล.ต.ฆวนโช ซับบัน ผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจ “โคเมต” อ้างว่า เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มก่อการร้ายระดับภูมิภาคอย่าง ญะมะอาห์ อิสลามิยะห์ (เจไอ) ได้จัดฝึกอบรมเทคนิคเรื่องระเบิดให้แก่ทั้งเอ็มไอแอลเอฟ และกลุ่มก่อการร้าย “อาบู ไซยาฟ” ที่มีความเกี่ยวพันกับอัลกออิดะห์
อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ นอร์แบร์โต กอนซาเลส กลับระบุว่าการโจมตีหลายๆ ครั้งในกรุงมะนิลานั้น กระทำโดยกลุ่มหลายกลุ่มด้วยมูลเหตุจูงใจต่างๆ กัน และไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่เกาะมินดาเนา เขายังขอร้องฝ่ายทหารว่าอย่าประณามเอ็มไอแอลเอฟแบบอัตโนมัติ โดยไม่ได้มีหลักฐานที่หนักแน่น พร้อมทั้งวิตกว่าการพูดเช่นนี้จะขัดขวางการหาทางฟื้นฟูการเจรจาสันติภาพขึ้นมาใหม่
ทางด้าน อิด คาบาลู โฆษกของเอ็มไอแอลเอฟก็ปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมกับบอกว่ากลุ่มของเขาไม่ได้อะไรเลยจากการสังหารพลเรือนและสร้างความโหดเหี้ยมสยดสยองกับบรรดาชุมชนของพวกเขาเอง
คนอื่นๆ รวมทั้งอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลหลายๆ คน กลับชี้ไปทางอาร์โรโยและพวกพันธมิตรทางการเมืองของเธอ
อดีตประธานสภาล่าง โฆเซ เดอ เบเนเซีย ระบุอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนว่า เหตุระเบิดเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนกโลบายใหญ่ที่มุ่งทำให้รู้สึกว่าเสถียรภาพกำลังสั่นคลอดน จะได้สร้างความชอบธรรมให้แก่การประกาศใช้กฎอัยการศึก และระงับการดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย เป็นต้นว่า การจัดการเลือกตั้งที่ตามกำหนดต้องมีขึ้นในปีหน้า โดยที่อาร์โรโยจะถูกห้ามจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ทำให้ไม่สามารถลงเลือกตั้งอีกสมัยได้
เดอ เบเนเซีย ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรของอาร์โรโยมาก่อน อ้างว่าแผนกโลบายดังกล่าวนี้ได้เคยมีการหารือกันมาก่อนแล้วในหมู่บุคคลวงในคณะรัฐบาล และเขายังเชื่อมโยงเหตุระเบิดคราวนี้ กับสภาพไร้เสถียรภาพที่อดีตจอมเผด็จการ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส สร้างขึ้นเพื่อทำให้เกิดความชอบธรรมในการประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อปี 1972 หนึ่งปีก่อนที่เขาจะต้องลงจากอำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ยังมีนักวิเคราะห์หลายรายชี้ว่า เหตุระเบิดลึกลับที่มินดาเนาเหล่านี้ตูมตามขึ้นมาเพียงไม่กี่วันก่อนการเยือนกรุงมะนิลาของผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ(ซีไอเอ) เลออน แพเนตตา
รัฐบาลสหรัฐฯชุดก่อนของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ระบุให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น “แนวรบแนวที่สอง” ใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ทั่วโลกของเขา และความช่วยเหลือทางการเงินของสหรัฐฯไปยังกองทัพฟิลิปปินส์ก็พุ่งทะยานขึ้นมาหลายร้อยล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือในการสู้รบกับพวกกบฎกลุ่มอาบูไซยาฟ ซึ่งสหรัฐฯบอกว่าโยงใยกับเครือข่ายก่อการร้ายทั่วโลกของอัลกออิดะห์
อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะให้น้ำหนักความสำคัญและทรัพยากรในระดับเดียวกันเพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ต่อไปหรือไม่
(เก็บความตัดทอนจากเรื่อง Bombshaell conspiracies in the Philippines โดย Shawn W Crispin และ Joel D Adriano ฌอว์น ดับเบิลยู คริสพิน เป็นบรรณาธิการข่าวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ส่วน โจเอล ดี อาดริอาโน เป็นที่ปรึกษาอิสระ และนักหนังสือพิมพ์อิสระระดับได้รับรางวัลมาแล้ว เขาพำนักอยู่ในกรุงมะนิลา)