นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงว่า ที่ประชุม กกต. พิจารณรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมการไต่สวนกรณีนายศุภชัย ใจสมุทร ยี่นคำร้องขอให้ตรวจสอบการกระทำของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 28 รายกระทำการอันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 48ถือครองหุ้นในธุรกิจประกอบมาตรา 265 ถือครองหุ้นในบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานรัฐ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลง ตามมาตรา 106(6) ของรัฐธรรมนูญ โดยมีมติเสียงข้างมากเห็นว่า ส.ส. 13 ประกอบด้วย 1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี เลขาธิการพรรค และรองนายกรัฐมนตรี ถือหุ้นในบริษัท บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 2.นายอนุชา บูรพชัยศรี ส.ส.กทม. ถือหุ้น บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 3.นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กทม.ถือหุ้น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 4.นายสราวุธ อ่อนละมัย ส.ส.ชุมพร ถือหุ้น บริษัท โทเทิล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
5.นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ส.ส.ตาก ถือหุ้น บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 6.น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้น บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 7.นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 8.นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ถือหุ้นโดยภรรยา คือนางสมานจิตต์ ไกรฤกษ์ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหานชน) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน)
9.นายเจือ ราชสีห์ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นโดยภรรยา คือนางสมผิว ราชสีห์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโกลว์พลังงานจำกัด (มหาชน) 10.นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นโดยภรรยาคือ นางสุไหม ลาภาโรจน์กิจ ถือหุ้นใน บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) 11.นางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ถือหุ้นโดย นายกำธร พริ้งศุลกะ ถือหุ้นในบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 12.น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้น บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และ 13.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้นโดยภรรยาคือนางนงนุช สุวรรณคีรี ถือหุ้นใน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
ซึ่งกระทำการอันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นเหตุให้สมาชิภาพสิ้นสุดลง ซึ่งก็ได้มีการยกร่างคำวินิจฉัยยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คาดว่าจะดำเนินการได้เร็วขึ้นเนื่องจาก มีแนวปฏิบัติจากส.ว.แล้ว
นอกจากนี้มติเสียงข้างมากยังยกคำร้องส.ส. 14 ราย ประกอบด้วย 1.นายสกลธี ภัทิยกุล ส.ส.กทม. 2.นายวินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา .น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. 4..นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.กทม. 5.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ 6.นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก 7.นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช 8.นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา 9.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี ส.ส.สัดส่วน 10.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.กทม. 11.นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ส.ส.นครสวรรค์ 12.นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. 13.นายวิชัย ล้ำสุทธิ ส.ส.ระยอง และ14.นายประกอบ จิรกิติ ส.ส.สัดส่วน เนื่องจากเห็นว่า ถือครองหุ้นที่บริษัทที่ไม่เข้าข่ายต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ และในบางรายแม้จะถือหุ้นในบริษัทต้องห้ามแต่หุ้นที่ถือครองนั้นเป็นประเภทหุ้นกู้
เลขาธิการกกต. ยืนยันว่าการพิจารณากกต.นั้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเสถียรภาพ ทางการเมืองของรัฐบาล แต่เป็นการยึดหลักการตามกฎหมาย ไม่เลือกว่าใคร อยู่ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลหรือพรรคร่วม แต่ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องดังกล่าวคือศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย
อย่างงไรก็ตามมติเสียงข้างมากของกกต.ในครั้งนี้เหมือนกับที่เคยลงมติ ในคราววินิจฉัยหุ้น 16 ส.ว. โดยเสียงข้างน้อย 1 เสียงคือนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง
ส่วนกรณีนางจินตนา ภิรมย์ ภริยา นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศถือหุ้น บริษัท ทางด่วนกรุงเทพฯ จำนวน 100 หุ้น เป็นเงิน 1 แสนบาทนั้น ที่ประชุม กกต.มีมติเห็นด้วยกับคณะกรรมการไตร่สวนที่ให้ยกคำร้อง เนื่องจากนางจินตนา ถือหุ้นกู้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีการถือหุ้นของ ส.ส.ยังเหลือกรณีที่คณะกรรมการไต่สวนของ กกต.กำลังสอบสวนอยู่ ทั้งหมด 61 คน แต่มีที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์และลาออก จึงเหลือ กกต.จะต้องวินิจฉัย 44 คน เป็นของพรรคเพื่อไทย 23 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 3 คน พรรคประชาราช 3 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 8 คน พรรคภูมิใไทย 3 คน พรรคกิจสังคม 1 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 2 คน และพรรคประชาธิปัตย์อีก 1 คน ในจำนวนนี้มีที่เป็นรัฐมนตรี 6 คน
ประกอบด้วยนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกฯ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข และนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน โดยคณะกรรมการไต่สวนครบกำหนดขอขยายระยะเวลาการสอบสวน 15 วันในวันที่ 23 ก.ค.นี้
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ายังไม่เห็นมติ กกต. เพราะประชุมทั้งวัน เดี๋ยวจะไปดูว่า 13 คนที่ว่าใครบ้าง เมื่อผู้สื่อข่าวบอกว่ามีท่านด้วย นายสุเทพ ร้อง อ๋อทันที ก่อนจะกล่าวว่าของผมง่าย ผมมีอยู่ในใจอยู่แล้ว เดี๋ยวผมจะชี้แจงให้ทราบทีหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้นนายสุเทพพยายามจะเดินเลี่ยงการสัมภาษณ์ จนทำให้สะดุดสายไมโครโฟนของทีวีช่องหนึ่งจนหัวทิ่ม ทำให้ผู้สื่อข่าวต่างพากันอุทานด้วยความตกใจ แต่นายสุเทพก็ไม่ได้บาดเจ็บอะไร และเมื่อนายสุเทพตั้งหลักขึ้นมาได้ ผู้สื่อข่าวก็ถามอีกว่า เรื่องนี้จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่เพราะส.ส.จะหายไป 13 คน นายสุเทพ กล่าวทันทีว่า ไม่เลยครับ ไม่เป็นไรครับ ไม่หนักใจครับ
ด้านนายไตรรงค์ สุวรรณคิรี ผลออกมาอย่างนี้ก็ไม่เป็ฯไร ตนไม่เห็นด้วยกับ กกต.อยู่แลัว เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ม.265 ไม่ได้มีระบุให้ถามถือหุ้น จึงสามารถถือหุ้นได้โดยไม่ต้องขาย แต่ห้ามซื้อหุ้นเพิ่มเท่านั้น ซึ่ง กกต.ก็มีความเห็นต่างจากคนอื่นในประเด็นนี้ ซึ่งก็คงต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญชีขาดว่าเป็นอย่างไร และเมื่อ กกต.มีคำวินิจฉัยออกมาเช่นนี้ก็ยังไม่มีผลต่อการเป็น ส.ส.ต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน
5.นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ส.ส.ตาก ถือหุ้น บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 6.น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้น บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 7.นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 8.นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ถือหุ้นโดยภรรยา คือนางสมานจิตต์ ไกรฤกษ์ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหานชน) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน)
9.นายเจือ ราชสีห์ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นโดยภรรยา คือนางสมผิว ราชสีห์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโกลว์พลังงานจำกัด (มหาชน) 10.นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นโดยภรรยาคือ นางสุไหม ลาภาโรจน์กิจ ถือหุ้นใน บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) 11.นางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ถือหุ้นโดย นายกำธร พริ้งศุลกะ ถือหุ้นในบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 12.น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้น บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และ 13.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้นโดยภรรยาคือนางนงนุช สุวรรณคีรี ถือหุ้นใน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
ซึ่งกระทำการอันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นเหตุให้สมาชิภาพสิ้นสุดลง ซึ่งก็ได้มีการยกร่างคำวินิจฉัยยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คาดว่าจะดำเนินการได้เร็วขึ้นเนื่องจาก มีแนวปฏิบัติจากส.ว.แล้ว
นอกจากนี้มติเสียงข้างมากยังยกคำร้องส.ส. 14 ราย ประกอบด้วย 1.นายสกลธี ภัทิยกุล ส.ส.กทม. 2.นายวินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา .น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. 4..นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.กทม. 5.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ 6.นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก 7.นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช 8.นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา 9.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี ส.ส.สัดส่วน 10.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.กทม. 11.นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ส.ส.นครสวรรค์ 12.นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. 13.นายวิชัย ล้ำสุทธิ ส.ส.ระยอง และ14.นายประกอบ จิรกิติ ส.ส.สัดส่วน เนื่องจากเห็นว่า ถือครองหุ้นที่บริษัทที่ไม่เข้าข่ายต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ และในบางรายแม้จะถือหุ้นในบริษัทต้องห้ามแต่หุ้นที่ถือครองนั้นเป็นประเภทหุ้นกู้
เลขาธิการกกต. ยืนยันว่าการพิจารณากกต.นั้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเสถียรภาพ ทางการเมืองของรัฐบาล แต่เป็นการยึดหลักการตามกฎหมาย ไม่เลือกว่าใคร อยู่ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลหรือพรรคร่วม แต่ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องดังกล่าวคือศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย
อย่างงไรก็ตามมติเสียงข้างมากของกกต.ในครั้งนี้เหมือนกับที่เคยลงมติ ในคราววินิจฉัยหุ้น 16 ส.ว. โดยเสียงข้างน้อย 1 เสียงคือนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง
ส่วนกรณีนางจินตนา ภิรมย์ ภริยา นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศถือหุ้น บริษัท ทางด่วนกรุงเทพฯ จำนวน 100 หุ้น เป็นเงิน 1 แสนบาทนั้น ที่ประชุม กกต.มีมติเห็นด้วยกับคณะกรรมการไตร่สวนที่ให้ยกคำร้อง เนื่องจากนางจินตนา ถือหุ้นกู้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีการถือหุ้นของ ส.ส.ยังเหลือกรณีที่คณะกรรมการไต่สวนของ กกต.กำลังสอบสวนอยู่ ทั้งหมด 61 คน แต่มีที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์และลาออก จึงเหลือ กกต.จะต้องวินิจฉัย 44 คน เป็นของพรรคเพื่อไทย 23 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 3 คน พรรคประชาราช 3 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 8 คน พรรคภูมิใไทย 3 คน พรรคกิจสังคม 1 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 2 คน และพรรคประชาธิปัตย์อีก 1 คน ในจำนวนนี้มีที่เป็นรัฐมนตรี 6 คน
ประกอบด้วยนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกฯ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข และนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน โดยคณะกรรมการไต่สวนครบกำหนดขอขยายระยะเวลาการสอบสวน 15 วันในวันที่ 23 ก.ค.นี้
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ายังไม่เห็นมติ กกต. เพราะประชุมทั้งวัน เดี๋ยวจะไปดูว่า 13 คนที่ว่าใครบ้าง เมื่อผู้สื่อข่าวบอกว่ามีท่านด้วย นายสุเทพ ร้อง อ๋อทันที ก่อนจะกล่าวว่าของผมง่าย ผมมีอยู่ในใจอยู่แล้ว เดี๋ยวผมจะชี้แจงให้ทราบทีหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้นนายสุเทพพยายามจะเดินเลี่ยงการสัมภาษณ์ จนทำให้สะดุดสายไมโครโฟนของทีวีช่องหนึ่งจนหัวทิ่ม ทำให้ผู้สื่อข่าวต่างพากันอุทานด้วยความตกใจ แต่นายสุเทพก็ไม่ได้บาดเจ็บอะไร และเมื่อนายสุเทพตั้งหลักขึ้นมาได้ ผู้สื่อข่าวก็ถามอีกว่า เรื่องนี้จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่เพราะส.ส.จะหายไป 13 คน นายสุเทพ กล่าวทันทีว่า ไม่เลยครับ ไม่เป็นไรครับ ไม่หนักใจครับ
ด้านนายไตรรงค์ สุวรรณคิรี ผลออกมาอย่างนี้ก็ไม่เป็ฯไร ตนไม่เห็นด้วยกับ กกต.อยู่แลัว เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ม.265 ไม่ได้มีระบุให้ถามถือหุ้น จึงสามารถถือหุ้นได้โดยไม่ต้องขาย แต่ห้ามซื้อหุ้นเพิ่มเท่านั้น ซึ่ง กกต.ก็มีความเห็นต่างจากคนอื่นในประเด็นนี้ ซึ่งก็คงต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญชีขาดว่าเป็นอย่างไร และเมื่อ กกต.มีคำวินิจฉัยออกมาเช่นนี้ก็ยังไม่มีผลต่อการเป็น ส.ส.ต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน