เปิดข้อมูลส.ส.คอพาดเขียง ส่อพิษ"ไข้หุ้น"เล่นงาน เบื้องต้นปชป.14 คน พรรคอื่น11 คน "เทพเทือก" ติดกลุ่ม จับตาอนุฯสอบจะกล้าชงกกต.ฟันหรือไม่ หาก 63 ส.ส.ที่"เรืองไกร" ยื่นไว้ แต่ไม่ระบุว่าถือหุ้นบริษัทใด "ประพันธ์"ชี้มติกรณีส.ว.จะเป็นบรรทัดฐานทั้งกับ ส.ส.และรมต. ด้าน ปชป.เรียกประชุมด่วนวันนี้ "มาร์ค"แนะให้ตัดใจเลิกเล่นหุ้น ขณะที่ 16 ส.ว.หารือที่ปรึกษากฎหมาย เตรียมชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ "ประสพสุข" ยอมรับหาก ส.ว.สิ้นสมาชิกภาพ กระทบการทำงานแน่
วานนี้ (19 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ กกต.มีมติเสียงข้างมากให้16 ส.ว.สิ้นสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา119 (5) เนื่องจากถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อที่เข้าข่ายขัดมาตรา 48 และถือครองหุ้นบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ หรือคู่สัญญาอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนซึ่งเข้าข่ายขัด มาตรา 265(2) ของรัฐธรรมนูญ กรณีดังกล่าวจะเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาข้อกล่าวหาเดียวกันนี้ ที่นายศุภชัย ใจสุมทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ร้องขอให้ กกต.ตรวจสอบการสิ้นสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา106(6) ของส.ส.ที่มีรายง่านว่า กกต.จะมีการพิจารณาวินิจฉัยในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ ในจำนวนส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 28 คน ที่นายศุภชัย ยื่นให้ กกต.ตรวจสอบนั้น มี14 คนที่ถือหุ้นใน14 บริษัท ที่กกต.มีมติว่าห้ามมีหุ้น ประกอบด้วย 1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค และส.ส.สุราษฎร์ธานี ถือหุ้นในบริษัททีพีไอโพลีนจำกัด(มหาชน) บริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน) 2.นายอนุชา บุรพชัยศรี ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) 3.นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัทเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) 4.นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)
5 น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธุ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) 6.นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัทผลิตไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) 7.นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ส.ส.นครสวรรค์ ถือหุ้นบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) 8.นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ถือหุ้นบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัททีทีแอนด์ที จำกัด(มหานชน) 9.นายวิชัย ล้ำสุทธิ ส.ส.ระยอง ถือหุ้นบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)
10.นายเจือ ราชสีห์ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) 11.นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) 12.นางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ถือหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) 13.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้น บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) และ14.น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้นบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) บริษัททีทีแอนด์ทีจำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม ยังมีบริษัทที่ ส.ส.ถือหุ้นอยู่ แต่กกต.ยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยว่า เป็นบริษัทที่เข้าข่ายห้ามถือหุ้นหรือไม่ ประกอบด้วย 1หุ้นบริษัทโทเทิล แอคเซส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) ที่นายอนุชา บุรพชัยศรี ถืออยู่ 2 หุ้นบริษัทเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ที่นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กทม. ถืออยู่ 3 บริษัทโทเทิลแอคเซส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) ที่นายสราวุธ อ่อนละมัย ส.ส.ชุมพร ถืออยู่ 4.บริษัทอสมท จำกัด (มหาชน) ที่นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ส.ส.ตาก ถืออยู่ 5. บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) และบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) ที่นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ถืออยู่ 7. บริษัท เดอะโคเจนเนอเรชั่นจำกัด (มหาชน) ที่นายเจือ ราชสีห์ ส.ส. สงขลา ถืออยู่
ส่วนส.ส.ที่ถูกร้อง แต่พบว่าถือหุ้นในบริษัทที่ กกต.มีมติว่าไม่เข้าข่ายห้ามถือประกอบด้วย 1.นายสกลธี ภัทิยกุล ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัท อะโรเมติกส์และการกลั่นจำกัด (มหาชน) 2. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.กทม. ถือหุ้น บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด(มหาชน) 3 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. ถือหุ้น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) บริษัทไทยออยล์จำกัด(มหาชน) 4.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.กทม. บริษัทไทยออยล์จำกัด (มหาชน)
5.นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก ถือหุ้น บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) 6.นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) 7.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ ถือหุ้น บริษัทไทยออยล์จำกัด (มหาชน) 8.นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา ถือหุ้น บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) 9.นายวินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา ถือหุ้นบริษัทอะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) 10. พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 1 ถือหุ้น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ส่วนนายประกอบ จิรกิติ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 6 ได้ลาออกไปแล้ว
ขณะเดียวกันในส่วน ส.ส.ที่นายเรืองไกร ยื่นขอให้ กกต.ตรวจสอบทั้งหมด 2 ครั้งนั้น ไม่มีการระบุว่าถือหุ้นในบริษัทใด มีทั้งหมด 63 คน แต่มีที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์ และลาออกไป 21 คน ทำให้เหลือส.ส.ที่ถูกร้อง 42 คน ซึ่งมี ส.ส.11 คน ที่ผู้สื่อข่าวตรวจสอบพบจากการรายงานบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช. ล่าสุดยังถือหุ้นในบริษัทที่กกต.มีมติว่าห้ามมีหุ้นประกอบด้วย
1.นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นปตท.จำกัด(มหาชน) และบริษัทปตท.อะโรเมติกส์ และการกลั่นจำกัด (มหาชน) 2.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา รมช.คมนาคม บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) บริษัทปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) 3. นางอุไรวรรณ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาราช ถือหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) 4.นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ที่ภรรยาถือหุ้นบริษัททางด่วน ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคท้าย บัญญัติครอบคลุมห้ามไปถึงคู่สมรสหรือบุตร ถือหุ้นเหล่านี้ด้วย
5.นายสุนัย จุลพงศธร พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) 6.นายสมพล เกยุราพันธุ์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด(มหาชน) บริษัทบางจากปิโตเลียม จำกัด(มหาชน) และบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด(มหาชน) 7.นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 8. ม.ร.ว.กิติวัฒนา (ไชยันต์)ปกมนตรี พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด(มหาชน) 9.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทปตท.สผ.จำกัด(มหาชน) 10.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้น บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) 11.พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ พรรคชาติไทยพัฒนา ถือหุ้นบริษัททีทีแอนด์ทีจำกัด(มหาชน)
ส่วน ส.ส.ที่ผู้สื่อข่าวตรวจสอบการถือหุ้นจากบัญชีทรัพย์สิน ที่ได้แจ้งไว้ต่อ ป.ป.ช.และพบว่าถือในบริษัทที่ กกต.มีมติว่าไม่เข้าข่ายต้องห้ามนั้นมี 13 คน ประกอบด้วย 1. นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) 2. นายเอี่ยม ทองใจสด พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์เอเชียจำกัด(มหาชน) 3. นายนิทัศน์ ศรีนนท์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) 4.นายอิทธิเดช แก้วหลวง พรรคเพื่อไทย บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)
5. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ถือหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)
6. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ถือหุ้นการบินไทยจำกัด (มหาชน) 7. นายภูมิ สาระผล พรรคเพื่อไทย ที่ภรรยา ถือหุ้น บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) 8. พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) 9. น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ธนายง จำกัด(มหาชน) 10. นายประนอม โพธิ์คำ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) 11. นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน) และบริษัทบางจากปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) 12. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) 13. นายปวีณ แซ่จึง ส.ส.เพื่อไทย ถือหุ้น บริษัทบางจากปิโตเลียมจำกัด(มหาชน)
สำหรับที่ตรวจสอบพบว่า ถือหุ้นบริษัทที่ กกต.ยังไม่วินิจฉัยประกอบด้วย หุ้นธนาคารกรุงไทย ที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พรรคเพื่อแผ่นดิน และนายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ พรรคเพื่อไทย ถืออยู่ หุ้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ที่พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย (มหาชน) ถืออยู่ หุ้นเทเลคอมเอเชียคอร์เปอร์ชั่น จำกัด (มหาชน) ที่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย ถืออยู่ หุ้นบริษัทเอ็มลิ้งค์ เอเชียจำกัด (มหาชน) ที่ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย ถืออยู่ หุ้นศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด ที่ นายชัย ชิดชอบ พรรคภูมิใจไทย ถืออยู่ หุ้นเอสซีแอสเสท จำกัด และบริษัทอสมท.จำกัด(มหาชน) ที่ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช พรรคเพื่อไทย ถืออยู่
นอกจากนี้ ที่ตรวจสอบไม่พบว่าถือครองหุ้นใดอยู่ประกอบด้วย 1.นางปานหทัย เสรีรักษ์ พรรคเพื่อไทย 2. นายไพโรจน์ ตันบรรจง พรรคเพื่อไทย 3.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พรรคภูมิใจไทย 4. น.ส.ตรีนุช เทียนทอง พรรคประชาราช 5.นายมานิต นพอมรบดี พรรคภูมิใจไทย รมช.สาธารณสุข 6.นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ พรรคเพื่อแผ่นดิน 7. นายอัศวิน วิภูศิริ พรรคชาติไทยพัฒนา 8.นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ พรรคประชาราช 9. นางดวงแข อรรณนพพร พรรคเพื่อไทย 10. นายอัสนี เชิดชัย ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย 11. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน 12 พล.ต.อ.วิรุฬห์ พื้นแสน ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย 13.นายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ น่าสนใจว่าหากนายเรืองไกร ไม่ได้ยื่นข้อมูลว่า ส.ส.ที่เขาร้องนั้น ถือหุ้นในบริษัทใดจริงตามที่ระบุ อนุกรรมการไต่สวนกกต.จะมีการไปสืบค้นข้อมูลหรือไม่ เพราะตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมา จะเป็นการพิจารณาและสืบค้นในข้อมูลที่มีการร้องเข้ามาเท่านั้น
ถือหุ้นก่อนหรือหลังมีค่าเท่ากัน
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณี กกต.มีมติเสียงข้างมากให้ 16 ส.ว.สิ้นสมาชิกภาพ เนื่องจากถือหุ้นเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา48 และ265 ว่าข้อมูลที่อนุกรรมการไต่สวนเสนอได้มีการตรวจสอบหุ้นที่ผู้ถูกร้องเสนอ พร้อมคัดแยกรายชื่อบริษัทที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย 14 บริษัท และบริษัทที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย 21 บริษัท โดยกกต.เสียงข้างมาก เห็นว่า การถือครองหุ้นสื่อ และบริษัทที่รับสัมปทานรัฐนั้นขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 265 ที่บัญญัติไว้เพียงว่า ส.ส.หรือ ส.ว.จะต้องไม่ถือครองหุ้นบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ ดังนั้นไม่ว่าจะถือก่อน หรือหลังเข้ารับตำแหน่ง ก็ไม่มีผลอะไรแตกต่าง
"ที่ผมเป็นเสียงข้างน้อย เพราะมองว่า มาตรา 265 อยู่ในหมวดการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะถือว่า ฝ่าฝืนมาตรานี้ก็ต้องมีการกระทำในลักษณะที่ขัดกับประโยชน์ แต่จากการไต่สวนของอนุกรรมการนั้น หุ้นสื่อ หรือหุ้นบริษัทที่16 ส.ว.ถืออยู่ เป็นการถือมาก่อนที่จะดำรงตำแหน่ง และในรายงานของอนุกรรมการฯ ก็ระบุเองว่า ตอนที่ส.ว.ชุดนี้เข้ามาแรกๆ สำนักเลขาธิการวุฒิสภาได้เชิญผู้แทนของป.ป.ช. มาอธิบายเรื่องการถือหุ้น โดยมี ส.ว.ถามว่า ถ้าถือหุ้นบริษัทการบินไทย บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) และซื้อในตลาดหลักทรัพย์ จะต้องมีการขายไปก่อนที่เขาจะเข้าปฏิญาณตนรับตำแหน่งเป็นส.ว.หรือไม่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ป.ป.ช. ก็ชี้แจงเองว่า คงไม่จำเป็น เพราะไม่ได้เข้าไปครอบงำ และในความเห็นของผมเอง ก็มองว่า 16 ส.ว. เขาไม่ได้จงใจที่จะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ หุ้นที่เขามีก็ไม่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งบริษัท เพราะอย่างบางคนถือหุ้นแค่หลักร้อยเท่านั้นเอง ซึ่งหุ้นขนาดนี้ไม่มีผลให้เขาสามารถเข้าไป จูงใจ แทรกแซงหรือบริหาร ครอบงำบริษัทอะไรได้ จนเรียกว่าเป็นการกระทำฝ่าฝืนเรื่องผลประโยชน์ขัดกัน"
ส่วนหลายบริษัทที่อนุกรรมการฯเห็นว่า ไม่เข้าข่ายบริษัทที่มีลักษณะต้องห้าม ส.ว.เข้าไปถือหุ้นแต่คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าเป็นสัมปทานรัฐ เช่นบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) นั้นทางอนุกรรมการฯ ก็มองว่า บริษัทดังกล่าวมีการแข่งขันกับสายการบินอื่น จึงไม่เข้าข่าย แต่อย่างบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) ในรายงานสอบสวนของอนุฯ ก็บอกว่า ผู้แทนของบริษัทเหล่านี้ ก็รับว่าเป็นกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ อย่างไรก็ตาม เมื่อกกต.มีมติแล้วว่า การถือหุ้นของ 16 ส.ว. เป็นเหตุให้สิ้นสมาชิกภาพ ก็จะส่งคำวินิจฉัยไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งส.ว.ทั้ง 16 ก็ เอาประเด็นเหล่านี้ไปสู้ที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้วกัน
นายประพันธ์ ยังกล่าวอีกว่า มติ กกต.เรื่องนี้สามารถนำไปใช้กับการพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส.และรมต.ได้เลย เพราะเป็นหลักกฎหมายเดียวกัน ซึ่งเวลานี้ทั้ง 2 เรื่อง อยู่ในชั้นการไต่สวนของอนุกรรมการ กกต.
มาร์คให้ตัดใจเลิกซื้อหุ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.และส.ว. หลายคนถือหุ้นสัมปทานรัฐ โดยมีรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้อยู่ด้วยว่า กกต.จะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ถูกร้องเรียนต้องยอมรับการตัดสิน ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
ส่วนกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีก็มีชื่อถูกยื่นตรวจสอบด้วยนั้น จะมีผลต่อการปรับ ครม.หรือไม่ ก็ต้องขึ้นกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตนจำไม่ได้ว่ามีรัฐมนตรีท่านใดบ้าง เพราะจำนวนที่ถูกร้องมี 20-30 คน ที่เป็นส.ส.
เมื่อถามว่า การขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.หมายความว่าขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าไม่ถือเป็นคุณสมบัติ แต่เป็นการกระทำที่ต้องห้าม เข้าใจว่าถ้าห้ามส.ส.ทำอะไร ก็ต้องห้ามรมต.ทำอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่เข้ากับกฎเหล็ก 9 ข้อที่ได้ตั้งขึ้น เพราะไม่ใช่เรื่องพฤติกรรมหลังจากที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรี เพราะหลายท่านถูกร้องในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน หลังจากนั้นขายหุ้นไปก็มี ขณะนี้ไม่ได้ถือหุ้นอยู่
เมื่อถามว่าถ้ามีผลกระทบต่อส.ส. จำนวนมากจะมีผลต่อการทำงานในสภาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไปถึงตรงนั้นแล้วก็ต้องมาคิดคำนวณว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
"ผมว่ามันเป็นกติกา ทุกคนต้องเคารพกติกา เพียงแต่เราไม่ทราบแน่ชัดเท่านั้นเองว่า สุดท้ายผลคำวินิจฉัยสุดท้ายเป็นอย่างไร ส่วนจะตายน้ำตื้นหรือไม่ ท่านเหล่านี้ผมเข้าใจว่า ทั้งส.ส.และส.ว.บางท่านร่วมร่างรัฐธรรมนูญมาก็มี ท่านก็เข้าใจของท่านว่าไม่เป็นปัญหา ผมว่าต้องไปถามท่าน ส่วนตัวผมเองเลิกไปหมดแล้ว เพราะที่ผ่านมาผมเลิกการถือ-ซื้อ-ขายหุ้น มาสักระยะหนึ่งแล้ว เพราะรู้ว่าจะเป็นปัญหาต่อการวินิจฉัยเหมือนกัน ดีที่สุดผมว่าตัดใจเถอะครับ อย่าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับนักการเมือง สำหรับผม" นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่า คิดว่ารัฐธรรมนูญในมาตรา 48 และมาตรา 265 (2) และ(4) มีปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ตีความเป็นข้อยุติสุดท้าย ต้องดูเหตุผลของศาล เพราะเข้าใจว่ามีถึง 20 คนไม่ผิด คงต้องมีเหตุผลของกกต. ก่อนหน้านี้ตนได้กำชับส.ส.ในพรรค แต่ถือเป็นดุลยพินิจของแต่ละคน เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่ารัฐบาลนี้จะพังก่อนกำหนด นายอภิสิทธิ์ หัวเราะก่อนกล่าวว่า กำหนดมันเหลือ 2 ปีกว่า เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องเหตุการณ์ทางการเมือง เป็นไปตามกติกา อยู่ในกรอบประชาธิปไตย
"สุเทพ"แจงขายไปนานแล้ว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ตนมีชื่ออยู่ในข่ายที่ต้องตรวจสอบเนื่องจากมีหุ้นบริษัทที่ได้รับสัมปทานรัฐว่า ไม่เป็นไร ว่ากันไปตามกฎหมาย สำหรับตนไปซื้อหุ้นไว้ในตลาดหลักทรัพย์ ตอนนั้นหุ้นราคาตก จึงไม่ได้ขาย จึงค้างอยู่ แต่พอเห็นว่ามีปัญหาก็โอนขายไปหมดแล้ว ยอมขาดทุน และไม่ซื้ออีกเลย เลิก ซึ่งขายไปนานแล้วตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่งรองนายกฯ ตอนสมัยที่ยังเป็นฝ่ายค้านอยู่
เมื่อถามว่าได้คุยกับสมาชิกในพรรคประชาธิปัตย์บ้างหรือไม่ เพราะมีข่าวว่ามีถึง 28 คน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่ามีใครบ้าง และยังไม่ได้มีการหารือกัน แต่เราก็ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าอย่างไรก็ตามนั้น ถ้าผิดก็ไปสู้คดีในศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อถามว่าจำนวนตัวเลขส.ส.ที่ถูกร้องเรียนค่อนข้างมาก อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล นายสุเทพ กล่าวว่า จะทำอย่างไรได้ กฎหมายเป็นอย่างนั้นก็ต้องว่ากันไป เมื่อถามว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่าต้องไปถามฝ่ายที่เขาแก้รัฐธรรมนูญกัน ตนไม่เข้าไปร่วมวงด้วยแล้ว ปวดหัวเหลือเกิน
เมื่อถามว่า หากเป็นไปตามนี้ก็คงจะสอยหมดทั้ง ส.ส.และส.ว. ก็คงไม่เหลือ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า "เขาก็คงเลือกตั้งใหม่ ถ้ามีตำแหน่งว่าง ก็ต้องเลือกตั้งใหม่ ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าเท่าไหร่ ก็รอดูไปก่อน และประเด็นนี้มีแต่เขาฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ แต่เราไม่ได้ไปฟ้องใครเลย"
เมื่อถามว่าแสดงว่าพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีข้อมูลของพรรคอื่นที่อาจจะไปฟ้องในเรื่องนี้เหมือนกันหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ได้สนใจหรอก ตนไม่มีหน้าที่เที่ยวตามราวีใคร
ปชป.เรียกประชุมด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันที่ 20 มิ.ย. เวลา 14.00 น. พรรคประชาธิปัตย์ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค โดยการประชุมครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วมประชุมด้วย โดยวาระสำคัญมี 3 เรื่องได้แก่ 1. การถือครองหุ้นกิจการสื่อ-สัมปทานรัฐ ของรัฐมนตรี และส.ส.กว่า 60 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลชุดนี้ 2. การพิจารณาการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากมีการส่งสัญญาณจากพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคที่ผิดหวัง และต้องการสลับตำแหน่งรัฐมนตรี ตามที่รัฐบาลได้สัญญาว่า ครบ 6 เดือนจะมีการปรับเปลี่ยน 3.วิเคราะห์และประเมินการประชุมใหญ่ของกลุ่มเสื้อแดงในวันที่ 27 มิ.ย.
16 ส.ว.หารือที่ปรึกษากฎหมาย
เมื่อเวลา 15.30 น. วานนี้ (19มิ.ย.) ที่รัฐสภา ส.ว.บางส่วนจาก16 คน ที่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีคำวินิจฉัยให้ พ้นสมาชิกภาพ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 48 และ 265 (2) จากกรณีที่ถือหุ้นสัมปทานของรัฐ และการถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน นำโดยนายวรวุฒิ โรจนพานิช นายสมชาย แสวงการ ส.ว. สรรหาได้หารือกับคณะที่ปรึกษากฎหมายของวุฒิสภา อาทินายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานกรรมาการที่ปรึกษาฯ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา
นายไพบูลย์ กล่าวว่า การตีความของ กกต.ผิดสังเกต เพราะส.ว.จำนวน30 กว่าคน ซึ่งต้องวินิจเป็นรายบุคคล แต่กลับเสร็จอย่างรวดเร็วในคราวเดียวกัน เกรงว่าจะไม่รอบคอบ หากวินิจฉัยสถานภาพของส.ส. ส.ว.อย่างนี้เป็นเรื่องน่าห่วง ทั้งนี้จะมีการประชุมของส.ว.ทั้ง 16 คน เพื่อหารือในเรื่องข้อกฎหมายอีกครั้ง ในวันพุธที่24 มิ.ย.นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมเอกสาร และหลักฐานที่จะนำไปชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความบกพร่องของรัฐธรรมนูญปี50 หรือไม่นายไพบูลย์ กล่าวว่ารัฐธรรมนูญมาตรา48 ประกอบมาตรา265 (2) (4) มีมานานแล้ว ซึ่งการบัญญัติไว้ไม่ใช่ปัญหา แต่คนตีความกฎหมายคือปัญหา ที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้มีการพิจารณารายละเอียดของรัฐธรรมนูญก่อนที่จะตัดสิน เพราจะทำให้เกิดความยุ่งยาก และขยายผลปัญหาระหว่างสถาบันนิติบัญญัติ และองค์กรอิสระ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เรื่องนี้แม้จะมีมติจากกกต.แล้วก็ตาม แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้วินิจฉัย ชี้ขาด โดยพิจารณาเป็นรายๆ อยู่ที่การถือหุ้นของของแต่ละคน ซึ่งแตกต่างกัน ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าแนวทางใดถูกต้อง
นายวรวุฒิ หนึ่งใน16 ส.ว. ที่ถูกกกต.วินิจฉัยให้สิ้นสมาชิกภาพ กล่าวว่าหลังจากที่นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังกกต. ตนได้นำหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีอีซีแอล จำนวน 1 พันหุ้น ขายไปในราคาทั้งสิ้น 400 บาท และเมื่อมีการตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนของส.ว. ตนจึงได้ทำเอกสารชี้แจงซึ่งเป็นที่เข้าใจเรียบร้อยแล้ว และรู้สึกสบายใจเพราะบริษัทดังกล่าวไม่ใช่บริษัทที่มีสัมปทาน ทั้งนี้ ตนขอแสดงเจตนารมณ์ว่า ไม่ได้ทำการค้ากำไร หรือมีหุ้นในบริษัทสัมปทานแบบผูกขาด แต่เมื่อจะถึงขั้นที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตนอยากวิงวอนให้มีการพิจารณาโดยรอบคอบในรายละเอียด ตนจึงจะยอมรับ แต่ ณ ตอนนี้ตนรับไม่ได้
"ผมเสียใจ เพราะมูคค่าหุ้นที่ผมมีตอนนั้นแค่ 400 บาทแต่ต้องถูกขับออกจากส.ว. มันตลก ซึ่งเอกสารที่มีคนนำไปยื่นนั้น ไม่รู้ว่ากกต.ได้ตรวจสอบดีแล้วหรือไม่ ผมจึงอยากจะขอความเห็นใจด้วย" นายวรวุฒิกล่าวและว่า ตนได้รับทราบข้อมูลมาว่ากกต.ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณา 2 ชุด เพื่อพิจารณาสถานะของ ส.ส. 5 คน และของส.ว.5 คน ซึ่งอนุกรรรมการพิจารณาแล้ว ก็ยกคำร้องทั้งหมด แต่ปรากฏว่ากกต. กลับฟังเสียงข้างน้อยแค่ 2 เสียง แล้วมาวินิจฉัยสถานะของพวกเรา ไม่เข้าใจว่าเมื่อตั้งอนุกรรมการแล้วทำไมไม่ฟังมติของอนุกรรมการเป็นตัวตั้ง
ด้านพล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง ผู้ถือหุ้นบริษัทปตท.เคมิคอลจำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ตนเคยได้ประชุมร่วมกับนักกฎหมายของวุฒิสภา และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยให้ความเห็นว่า การถือหุ้นของตนนั้นไม่มีเจตนาเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำหนังสือชี้แจงทรัพย์สินทั้งหมดไปยังกกต. รวมทั้งชี้แจงหุ้นสัมปทานที่ถูกกล่าวหาอยู่ด้วย เพื่อแสดงเจตนารมณ์ ซึ่งขั้นตอนการไต่สวนของกกต.ยังอยู่อีกไกล เนื่องจากต้องมีขั้นตอนการยื่นเรื่องมายังประธานวุฒิสภา และเป็นหน้าที่ศาลที่ต้องให้ความเป็นธรรม
"ผมรับราชการมา35ปี จะทำอะไรก็ต้องคิดถึงส่วนรวมและบ้านเมืองให้รอบคอบกว่าทุกคน ดังนั้นการจะทำอะไรให้เป็นข่าวในขณะที่บ้านเมืองวิกฤต ผมไม่รู้ว่าคนที่ทำคิดอะไรอยู่" พล.ต.อ.โกวิทกล่าว
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การตีไม่ควรตีความโดยใช้กฎหมายเพียงมาตราเดียว แต่ต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมด และดูที่เจตนาของกฎหมายเป็นหลัก ซึ่งน่าจะถามคนที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ50 จะได้ชัดเจนมากขึ้น
นายถาวร ลีนุตพงษ์ ส.ว.สรรหา หนึ่งใน 16 ส.ว.ที่ต้องคำวินิจฉัยของกกต. กล่าวว่า ปัญหาในส่วนของตนเป็นการถือหุ้นกู้ของบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) โดยหุ้นดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ยและจำนวนไม่มาก ตนเคยชี้แจงเรื่องนี้กับกกต. และไม่มีเจตนาที่จะปิดบัง ในการแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังเป็นแค่คำวินิจฉัยของกกต. ซึ่งหากมีโอกาสได้ตรวจสอบแล้วก็พร้อมจะชี้แจงเรื่องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ศ.ตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า รู้สึกตกใจกับคำวินิจฉัยของกกต. แต่ก็ต้องยอมรับ ส่วนตัวหุ้นที่มีอยู่ถือโดยสามี โดยเป็นหุ้นจำนวนไม่มากไม่สามารถไปแทรกแซงหรือให้คุณให้โทษกับกิจการของปตท.ได้ หุ้นที่ได้มาได้มาจากผู้ใหญ่ให้เป็นของขวัญ จึงเก็บไว้เป็นขวัญถุง ส่วนหุ้นของบริษัทเทเลคอมเอเชีย หากพิจารณาจากชื่อหุ้น ก็รู้แล้วว่าเป็นหุ้นเก่าไม่ใช่หุ้นของบริษัททรู ซึ่งตนถือมานานจนนึกว่าเป็นบริษัทของต่างประเทศเสียด้วยซ้ำ หากเป็นหุ้นของบริษัททรู ได้ว่าเป็นบริษัทเดียวกันคงขายไปแล้ว
ทั้งนี้ จากการหารือกับส.ว.บางคนที่ต้องคำวินิจฉัยของกกต.ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเข้าข่ายขาดสมาชิกภาพได้อย่างไร กรณีถือหุ้นในบริษัททรู ส.ว.บางคนที่ถูกร้องแต่ไม่ถูกวินิจฉัย ก็ถือหุ้นบริษัททรู จึงไม่เข้าใจว่าทำไมคนหนึ่งรอด อีกคนกลับมีปัญหา ทั้งนี้ ตนพร้อมชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญหากกกต.ส่งเรื่องให้ศาลวินิจฉัย
ปธ.วุฒิชี้กระทบการทำงานแน่
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กกต.ยังไม่ส่งเรื่องมาที่ตน แต่ได้รับทราบข้อมูลจากสื่อมวลชน ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่กกต.วินิจฉัย แต่ต้องมีอีกด้าน คือให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าข้อกฎหมายนี้จะออกมาอย่างไร หุ้นที่ถืออยู่ หรือผูกขาดตัดตอนหรือเปล่า และเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นอย่างไร ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ที่จะเอนเอียงได้รับผลประโยชน์จากการสัมปทานหรือเปล่า ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยกัน
"หากศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นเช่นเดียวกับ กกต. จะกระทบต่อการทำงานของวุฒิแน่นอน เพราะตั้ง 16 ท่าน องค์ประกอบของส.ว.ไม่ถึงร้อยละ95 และส.ว.ก็ทำงานอะไรไม่ได้ ก็จะรอให้หามาจนครบ รวมทั้งพิจารณากฎหมายก็ไม่ได้ คล้ายกับเป็นสูญญากาศ แต่เชื่อว่ายังไม่เกิดเร็วๆ นี้ต้องใช้เวลา" ประธานวุฒิสภา กล่าว และว่าหาก กกต.ส่งเรื่องมาถึงตน จะพิจารณาความถูกต้องประมาณ 1 สัปดาห์ หากไม่มีอะไร ก็ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย.
วานนี้ (19 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ กกต.มีมติเสียงข้างมากให้16 ส.ว.สิ้นสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา119 (5) เนื่องจากถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อที่เข้าข่ายขัดมาตรา 48 และถือครองหุ้นบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ หรือคู่สัญญาอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนซึ่งเข้าข่ายขัด มาตรา 265(2) ของรัฐธรรมนูญ กรณีดังกล่าวจะเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาข้อกล่าวหาเดียวกันนี้ ที่นายศุภชัย ใจสุมทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ร้องขอให้ กกต.ตรวจสอบการสิ้นสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา106(6) ของส.ส.ที่มีรายง่านว่า กกต.จะมีการพิจารณาวินิจฉัยในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ ในจำนวนส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 28 คน ที่นายศุภชัย ยื่นให้ กกต.ตรวจสอบนั้น มี14 คนที่ถือหุ้นใน14 บริษัท ที่กกต.มีมติว่าห้ามมีหุ้น ประกอบด้วย 1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค และส.ส.สุราษฎร์ธานี ถือหุ้นในบริษัททีพีไอโพลีนจำกัด(มหาชน) บริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน) 2.นายอนุชา บุรพชัยศรี ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) 3.นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัทเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) 4.นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)
5 น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธุ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) 6.นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัทผลิตไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) 7.นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ส.ส.นครสวรรค์ ถือหุ้นบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) 8.นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ถือหุ้นบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัททีทีแอนด์ที จำกัด(มหานชน) 9.นายวิชัย ล้ำสุทธิ ส.ส.ระยอง ถือหุ้นบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)
10.นายเจือ ราชสีห์ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) 11.นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) 12.นางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ถือหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) 13.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้น บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) และ14.น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้นบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) บริษัททีทีแอนด์ทีจำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม ยังมีบริษัทที่ ส.ส.ถือหุ้นอยู่ แต่กกต.ยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยว่า เป็นบริษัทที่เข้าข่ายห้ามถือหุ้นหรือไม่ ประกอบด้วย 1หุ้นบริษัทโทเทิล แอคเซส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) ที่นายอนุชา บุรพชัยศรี ถืออยู่ 2 หุ้นบริษัทเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ที่นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กทม. ถืออยู่ 3 บริษัทโทเทิลแอคเซส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) ที่นายสราวุธ อ่อนละมัย ส.ส.ชุมพร ถืออยู่ 4.บริษัทอสมท จำกัด (มหาชน) ที่นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ส.ส.ตาก ถืออยู่ 5. บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) และบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) ที่นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ถืออยู่ 7. บริษัท เดอะโคเจนเนอเรชั่นจำกัด (มหาชน) ที่นายเจือ ราชสีห์ ส.ส. สงขลา ถืออยู่
ส่วนส.ส.ที่ถูกร้อง แต่พบว่าถือหุ้นในบริษัทที่ กกต.มีมติว่าไม่เข้าข่ายห้ามถือประกอบด้วย 1.นายสกลธี ภัทิยกุล ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัท อะโรเมติกส์และการกลั่นจำกัด (มหาชน) 2. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.กทม. ถือหุ้น บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด(มหาชน) 3 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. ถือหุ้น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) บริษัทไทยออยล์จำกัด(มหาชน) 4.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.กทม. บริษัทไทยออยล์จำกัด (มหาชน)
5.นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก ถือหุ้น บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) 6.นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) 7.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ ถือหุ้น บริษัทไทยออยล์จำกัด (มหาชน) 8.นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา ถือหุ้น บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) 9.นายวินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา ถือหุ้นบริษัทอะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) 10. พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 1 ถือหุ้น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ส่วนนายประกอบ จิรกิติ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 6 ได้ลาออกไปแล้ว
ขณะเดียวกันในส่วน ส.ส.ที่นายเรืองไกร ยื่นขอให้ กกต.ตรวจสอบทั้งหมด 2 ครั้งนั้น ไม่มีการระบุว่าถือหุ้นในบริษัทใด มีทั้งหมด 63 คน แต่มีที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์ และลาออกไป 21 คน ทำให้เหลือส.ส.ที่ถูกร้อง 42 คน ซึ่งมี ส.ส.11 คน ที่ผู้สื่อข่าวตรวจสอบพบจากการรายงานบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช. ล่าสุดยังถือหุ้นในบริษัทที่กกต.มีมติว่าห้ามมีหุ้นประกอบด้วย
1.นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นปตท.จำกัด(มหาชน) และบริษัทปตท.อะโรเมติกส์ และการกลั่นจำกัด (มหาชน) 2.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา รมช.คมนาคม บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) บริษัทปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) 3. นางอุไรวรรณ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาราช ถือหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) 4.นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ที่ภรรยาถือหุ้นบริษัททางด่วน ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคท้าย บัญญัติครอบคลุมห้ามไปถึงคู่สมรสหรือบุตร ถือหุ้นเหล่านี้ด้วย
5.นายสุนัย จุลพงศธร พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) 6.นายสมพล เกยุราพันธุ์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด(มหาชน) บริษัทบางจากปิโตเลียม จำกัด(มหาชน) และบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด(มหาชน) 7.นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 8. ม.ร.ว.กิติวัฒนา (ไชยันต์)ปกมนตรี พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด(มหาชน) 9.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทปตท.สผ.จำกัด(มหาชน) 10.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้น บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) 11.พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ พรรคชาติไทยพัฒนา ถือหุ้นบริษัททีทีแอนด์ทีจำกัด(มหาชน)
ส่วน ส.ส.ที่ผู้สื่อข่าวตรวจสอบการถือหุ้นจากบัญชีทรัพย์สิน ที่ได้แจ้งไว้ต่อ ป.ป.ช.และพบว่าถือในบริษัทที่ กกต.มีมติว่าไม่เข้าข่ายต้องห้ามนั้นมี 13 คน ประกอบด้วย 1. นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) 2. นายเอี่ยม ทองใจสด พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์เอเชียจำกัด(มหาชน) 3. นายนิทัศน์ ศรีนนท์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) 4.นายอิทธิเดช แก้วหลวง พรรคเพื่อไทย บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)
5. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ถือหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)
6. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ถือหุ้นการบินไทยจำกัด (มหาชน) 7. นายภูมิ สาระผล พรรคเพื่อไทย ที่ภรรยา ถือหุ้น บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) 8. พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) 9. น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ธนายง จำกัด(มหาชน) 10. นายประนอม โพธิ์คำ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) 11. นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน) และบริษัทบางจากปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) 12. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) 13. นายปวีณ แซ่จึง ส.ส.เพื่อไทย ถือหุ้น บริษัทบางจากปิโตเลียมจำกัด(มหาชน)
สำหรับที่ตรวจสอบพบว่า ถือหุ้นบริษัทที่ กกต.ยังไม่วินิจฉัยประกอบด้วย หุ้นธนาคารกรุงไทย ที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พรรคเพื่อแผ่นดิน และนายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ พรรคเพื่อไทย ถืออยู่ หุ้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ที่พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย (มหาชน) ถืออยู่ หุ้นเทเลคอมเอเชียคอร์เปอร์ชั่น จำกัด (มหาชน) ที่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย ถืออยู่ หุ้นบริษัทเอ็มลิ้งค์ เอเชียจำกัด (มหาชน) ที่ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย ถืออยู่ หุ้นศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด ที่ นายชัย ชิดชอบ พรรคภูมิใจไทย ถืออยู่ หุ้นเอสซีแอสเสท จำกัด และบริษัทอสมท.จำกัด(มหาชน) ที่ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช พรรคเพื่อไทย ถืออยู่
นอกจากนี้ ที่ตรวจสอบไม่พบว่าถือครองหุ้นใดอยู่ประกอบด้วย 1.นางปานหทัย เสรีรักษ์ พรรคเพื่อไทย 2. นายไพโรจน์ ตันบรรจง พรรคเพื่อไทย 3.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พรรคภูมิใจไทย 4. น.ส.ตรีนุช เทียนทอง พรรคประชาราช 5.นายมานิต นพอมรบดี พรรคภูมิใจไทย รมช.สาธารณสุข 6.นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ พรรคเพื่อแผ่นดิน 7. นายอัศวิน วิภูศิริ พรรคชาติไทยพัฒนา 8.นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ พรรคประชาราช 9. นางดวงแข อรรณนพพร พรรคเพื่อไทย 10. นายอัสนี เชิดชัย ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย 11. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน 12 พล.ต.อ.วิรุฬห์ พื้นแสน ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย 13.นายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ น่าสนใจว่าหากนายเรืองไกร ไม่ได้ยื่นข้อมูลว่า ส.ส.ที่เขาร้องนั้น ถือหุ้นในบริษัทใดจริงตามที่ระบุ อนุกรรมการไต่สวนกกต.จะมีการไปสืบค้นข้อมูลหรือไม่ เพราะตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมา จะเป็นการพิจารณาและสืบค้นในข้อมูลที่มีการร้องเข้ามาเท่านั้น
ถือหุ้นก่อนหรือหลังมีค่าเท่ากัน
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณี กกต.มีมติเสียงข้างมากให้ 16 ส.ว.สิ้นสมาชิกภาพ เนื่องจากถือหุ้นเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา48 และ265 ว่าข้อมูลที่อนุกรรมการไต่สวนเสนอได้มีการตรวจสอบหุ้นที่ผู้ถูกร้องเสนอ พร้อมคัดแยกรายชื่อบริษัทที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย 14 บริษัท และบริษัทที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย 21 บริษัท โดยกกต.เสียงข้างมาก เห็นว่า การถือครองหุ้นสื่อ และบริษัทที่รับสัมปทานรัฐนั้นขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 265 ที่บัญญัติไว้เพียงว่า ส.ส.หรือ ส.ว.จะต้องไม่ถือครองหุ้นบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ ดังนั้นไม่ว่าจะถือก่อน หรือหลังเข้ารับตำแหน่ง ก็ไม่มีผลอะไรแตกต่าง
"ที่ผมเป็นเสียงข้างน้อย เพราะมองว่า มาตรา 265 อยู่ในหมวดการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะถือว่า ฝ่าฝืนมาตรานี้ก็ต้องมีการกระทำในลักษณะที่ขัดกับประโยชน์ แต่จากการไต่สวนของอนุกรรมการนั้น หุ้นสื่อ หรือหุ้นบริษัทที่16 ส.ว.ถืออยู่ เป็นการถือมาก่อนที่จะดำรงตำแหน่ง และในรายงานของอนุกรรมการฯ ก็ระบุเองว่า ตอนที่ส.ว.ชุดนี้เข้ามาแรกๆ สำนักเลขาธิการวุฒิสภาได้เชิญผู้แทนของป.ป.ช. มาอธิบายเรื่องการถือหุ้น โดยมี ส.ว.ถามว่า ถ้าถือหุ้นบริษัทการบินไทย บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) และซื้อในตลาดหลักทรัพย์ จะต้องมีการขายไปก่อนที่เขาจะเข้าปฏิญาณตนรับตำแหน่งเป็นส.ว.หรือไม่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ป.ป.ช. ก็ชี้แจงเองว่า คงไม่จำเป็น เพราะไม่ได้เข้าไปครอบงำ และในความเห็นของผมเอง ก็มองว่า 16 ส.ว. เขาไม่ได้จงใจที่จะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ หุ้นที่เขามีก็ไม่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งบริษัท เพราะอย่างบางคนถือหุ้นแค่หลักร้อยเท่านั้นเอง ซึ่งหุ้นขนาดนี้ไม่มีผลให้เขาสามารถเข้าไป จูงใจ แทรกแซงหรือบริหาร ครอบงำบริษัทอะไรได้ จนเรียกว่าเป็นการกระทำฝ่าฝืนเรื่องผลประโยชน์ขัดกัน"
ส่วนหลายบริษัทที่อนุกรรมการฯเห็นว่า ไม่เข้าข่ายบริษัทที่มีลักษณะต้องห้าม ส.ว.เข้าไปถือหุ้นแต่คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าเป็นสัมปทานรัฐ เช่นบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) นั้นทางอนุกรรมการฯ ก็มองว่า บริษัทดังกล่าวมีการแข่งขันกับสายการบินอื่น จึงไม่เข้าข่าย แต่อย่างบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) ในรายงานสอบสวนของอนุฯ ก็บอกว่า ผู้แทนของบริษัทเหล่านี้ ก็รับว่าเป็นกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ อย่างไรก็ตาม เมื่อกกต.มีมติแล้วว่า การถือหุ้นของ 16 ส.ว. เป็นเหตุให้สิ้นสมาชิกภาพ ก็จะส่งคำวินิจฉัยไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งส.ว.ทั้ง 16 ก็ เอาประเด็นเหล่านี้ไปสู้ที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้วกัน
นายประพันธ์ ยังกล่าวอีกว่า มติ กกต.เรื่องนี้สามารถนำไปใช้กับการพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส.และรมต.ได้เลย เพราะเป็นหลักกฎหมายเดียวกัน ซึ่งเวลานี้ทั้ง 2 เรื่อง อยู่ในชั้นการไต่สวนของอนุกรรมการ กกต.
มาร์คให้ตัดใจเลิกซื้อหุ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.และส.ว. หลายคนถือหุ้นสัมปทานรัฐ โดยมีรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้อยู่ด้วยว่า กกต.จะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ถูกร้องเรียนต้องยอมรับการตัดสิน ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
ส่วนกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีก็มีชื่อถูกยื่นตรวจสอบด้วยนั้น จะมีผลต่อการปรับ ครม.หรือไม่ ก็ต้องขึ้นกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตนจำไม่ได้ว่ามีรัฐมนตรีท่านใดบ้าง เพราะจำนวนที่ถูกร้องมี 20-30 คน ที่เป็นส.ส.
เมื่อถามว่า การขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.หมายความว่าขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าไม่ถือเป็นคุณสมบัติ แต่เป็นการกระทำที่ต้องห้าม เข้าใจว่าถ้าห้ามส.ส.ทำอะไร ก็ต้องห้ามรมต.ทำอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่เข้ากับกฎเหล็ก 9 ข้อที่ได้ตั้งขึ้น เพราะไม่ใช่เรื่องพฤติกรรมหลังจากที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรี เพราะหลายท่านถูกร้องในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน หลังจากนั้นขายหุ้นไปก็มี ขณะนี้ไม่ได้ถือหุ้นอยู่
เมื่อถามว่าถ้ามีผลกระทบต่อส.ส. จำนวนมากจะมีผลต่อการทำงานในสภาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไปถึงตรงนั้นแล้วก็ต้องมาคิดคำนวณว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
"ผมว่ามันเป็นกติกา ทุกคนต้องเคารพกติกา เพียงแต่เราไม่ทราบแน่ชัดเท่านั้นเองว่า สุดท้ายผลคำวินิจฉัยสุดท้ายเป็นอย่างไร ส่วนจะตายน้ำตื้นหรือไม่ ท่านเหล่านี้ผมเข้าใจว่า ทั้งส.ส.และส.ว.บางท่านร่วมร่างรัฐธรรมนูญมาก็มี ท่านก็เข้าใจของท่านว่าไม่เป็นปัญหา ผมว่าต้องไปถามท่าน ส่วนตัวผมเองเลิกไปหมดแล้ว เพราะที่ผ่านมาผมเลิกการถือ-ซื้อ-ขายหุ้น มาสักระยะหนึ่งแล้ว เพราะรู้ว่าจะเป็นปัญหาต่อการวินิจฉัยเหมือนกัน ดีที่สุดผมว่าตัดใจเถอะครับ อย่าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับนักการเมือง สำหรับผม" นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่า คิดว่ารัฐธรรมนูญในมาตรา 48 และมาตรา 265 (2) และ(4) มีปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ตีความเป็นข้อยุติสุดท้าย ต้องดูเหตุผลของศาล เพราะเข้าใจว่ามีถึง 20 คนไม่ผิด คงต้องมีเหตุผลของกกต. ก่อนหน้านี้ตนได้กำชับส.ส.ในพรรค แต่ถือเป็นดุลยพินิจของแต่ละคน เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่ารัฐบาลนี้จะพังก่อนกำหนด นายอภิสิทธิ์ หัวเราะก่อนกล่าวว่า กำหนดมันเหลือ 2 ปีกว่า เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องเหตุการณ์ทางการเมือง เป็นไปตามกติกา อยู่ในกรอบประชาธิปไตย
"สุเทพ"แจงขายไปนานแล้ว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ตนมีชื่ออยู่ในข่ายที่ต้องตรวจสอบเนื่องจากมีหุ้นบริษัทที่ได้รับสัมปทานรัฐว่า ไม่เป็นไร ว่ากันไปตามกฎหมาย สำหรับตนไปซื้อหุ้นไว้ในตลาดหลักทรัพย์ ตอนนั้นหุ้นราคาตก จึงไม่ได้ขาย จึงค้างอยู่ แต่พอเห็นว่ามีปัญหาก็โอนขายไปหมดแล้ว ยอมขาดทุน และไม่ซื้ออีกเลย เลิก ซึ่งขายไปนานแล้วตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่งรองนายกฯ ตอนสมัยที่ยังเป็นฝ่ายค้านอยู่
เมื่อถามว่าได้คุยกับสมาชิกในพรรคประชาธิปัตย์บ้างหรือไม่ เพราะมีข่าวว่ามีถึง 28 คน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่ามีใครบ้าง และยังไม่ได้มีการหารือกัน แต่เราก็ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าอย่างไรก็ตามนั้น ถ้าผิดก็ไปสู้คดีในศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อถามว่าจำนวนตัวเลขส.ส.ที่ถูกร้องเรียนค่อนข้างมาก อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล นายสุเทพ กล่าวว่า จะทำอย่างไรได้ กฎหมายเป็นอย่างนั้นก็ต้องว่ากันไป เมื่อถามว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่าต้องไปถามฝ่ายที่เขาแก้รัฐธรรมนูญกัน ตนไม่เข้าไปร่วมวงด้วยแล้ว ปวดหัวเหลือเกิน
เมื่อถามว่า หากเป็นไปตามนี้ก็คงจะสอยหมดทั้ง ส.ส.และส.ว. ก็คงไม่เหลือ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า "เขาก็คงเลือกตั้งใหม่ ถ้ามีตำแหน่งว่าง ก็ต้องเลือกตั้งใหม่ ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าเท่าไหร่ ก็รอดูไปก่อน และประเด็นนี้มีแต่เขาฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ แต่เราไม่ได้ไปฟ้องใครเลย"
เมื่อถามว่าแสดงว่าพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีข้อมูลของพรรคอื่นที่อาจจะไปฟ้องในเรื่องนี้เหมือนกันหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ได้สนใจหรอก ตนไม่มีหน้าที่เที่ยวตามราวีใคร
ปชป.เรียกประชุมด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันที่ 20 มิ.ย. เวลา 14.00 น. พรรคประชาธิปัตย์ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค โดยการประชุมครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วมประชุมด้วย โดยวาระสำคัญมี 3 เรื่องได้แก่ 1. การถือครองหุ้นกิจการสื่อ-สัมปทานรัฐ ของรัฐมนตรี และส.ส.กว่า 60 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลชุดนี้ 2. การพิจารณาการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากมีการส่งสัญญาณจากพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคที่ผิดหวัง และต้องการสลับตำแหน่งรัฐมนตรี ตามที่รัฐบาลได้สัญญาว่า ครบ 6 เดือนจะมีการปรับเปลี่ยน 3.วิเคราะห์และประเมินการประชุมใหญ่ของกลุ่มเสื้อแดงในวันที่ 27 มิ.ย.
16 ส.ว.หารือที่ปรึกษากฎหมาย
เมื่อเวลา 15.30 น. วานนี้ (19มิ.ย.) ที่รัฐสภา ส.ว.บางส่วนจาก16 คน ที่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีคำวินิจฉัยให้ พ้นสมาชิกภาพ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 48 และ 265 (2) จากกรณีที่ถือหุ้นสัมปทานของรัฐ และการถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน นำโดยนายวรวุฒิ โรจนพานิช นายสมชาย แสวงการ ส.ว. สรรหาได้หารือกับคณะที่ปรึกษากฎหมายของวุฒิสภา อาทินายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานกรรมาการที่ปรึกษาฯ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา
นายไพบูลย์ กล่าวว่า การตีความของ กกต.ผิดสังเกต เพราะส.ว.จำนวน30 กว่าคน ซึ่งต้องวินิจเป็นรายบุคคล แต่กลับเสร็จอย่างรวดเร็วในคราวเดียวกัน เกรงว่าจะไม่รอบคอบ หากวินิจฉัยสถานภาพของส.ส. ส.ว.อย่างนี้เป็นเรื่องน่าห่วง ทั้งนี้จะมีการประชุมของส.ว.ทั้ง 16 คน เพื่อหารือในเรื่องข้อกฎหมายอีกครั้ง ในวันพุธที่24 มิ.ย.นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมเอกสาร และหลักฐานที่จะนำไปชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความบกพร่องของรัฐธรรมนูญปี50 หรือไม่นายไพบูลย์ กล่าวว่ารัฐธรรมนูญมาตรา48 ประกอบมาตรา265 (2) (4) มีมานานแล้ว ซึ่งการบัญญัติไว้ไม่ใช่ปัญหา แต่คนตีความกฎหมายคือปัญหา ที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้มีการพิจารณารายละเอียดของรัฐธรรมนูญก่อนที่จะตัดสิน เพราจะทำให้เกิดความยุ่งยาก และขยายผลปัญหาระหว่างสถาบันนิติบัญญัติ และองค์กรอิสระ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เรื่องนี้แม้จะมีมติจากกกต.แล้วก็ตาม แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้วินิจฉัย ชี้ขาด โดยพิจารณาเป็นรายๆ อยู่ที่การถือหุ้นของของแต่ละคน ซึ่งแตกต่างกัน ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าแนวทางใดถูกต้อง
นายวรวุฒิ หนึ่งใน16 ส.ว. ที่ถูกกกต.วินิจฉัยให้สิ้นสมาชิกภาพ กล่าวว่าหลังจากที่นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังกกต. ตนได้นำหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีอีซีแอล จำนวน 1 พันหุ้น ขายไปในราคาทั้งสิ้น 400 บาท และเมื่อมีการตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนของส.ว. ตนจึงได้ทำเอกสารชี้แจงซึ่งเป็นที่เข้าใจเรียบร้อยแล้ว และรู้สึกสบายใจเพราะบริษัทดังกล่าวไม่ใช่บริษัทที่มีสัมปทาน ทั้งนี้ ตนขอแสดงเจตนารมณ์ว่า ไม่ได้ทำการค้ากำไร หรือมีหุ้นในบริษัทสัมปทานแบบผูกขาด แต่เมื่อจะถึงขั้นที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตนอยากวิงวอนให้มีการพิจารณาโดยรอบคอบในรายละเอียด ตนจึงจะยอมรับ แต่ ณ ตอนนี้ตนรับไม่ได้
"ผมเสียใจ เพราะมูคค่าหุ้นที่ผมมีตอนนั้นแค่ 400 บาทแต่ต้องถูกขับออกจากส.ว. มันตลก ซึ่งเอกสารที่มีคนนำไปยื่นนั้น ไม่รู้ว่ากกต.ได้ตรวจสอบดีแล้วหรือไม่ ผมจึงอยากจะขอความเห็นใจด้วย" นายวรวุฒิกล่าวและว่า ตนได้รับทราบข้อมูลมาว่ากกต.ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณา 2 ชุด เพื่อพิจารณาสถานะของ ส.ส. 5 คน และของส.ว.5 คน ซึ่งอนุกรรรมการพิจารณาแล้ว ก็ยกคำร้องทั้งหมด แต่ปรากฏว่ากกต. กลับฟังเสียงข้างน้อยแค่ 2 เสียง แล้วมาวินิจฉัยสถานะของพวกเรา ไม่เข้าใจว่าเมื่อตั้งอนุกรรมการแล้วทำไมไม่ฟังมติของอนุกรรมการเป็นตัวตั้ง
ด้านพล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง ผู้ถือหุ้นบริษัทปตท.เคมิคอลจำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ตนเคยได้ประชุมร่วมกับนักกฎหมายของวุฒิสภา และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยให้ความเห็นว่า การถือหุ้นของตนนั้นไม่มีเจตนาเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำหนังสือชี้แจงทรัพย์สินทั้งหมดไปยังกกต. รวมทั้งชี้แจงหุ้นสัมปทานที่ถูกกล่าวหาอยู่ด้วย เพื่อแสดงเจตนารมณ์ ซึ่งขั้นตอนการไต่สวนของกกต.ยังอยู่อีกไกล เนื่องจากต้องมีขั้นตอนการยื่นเรื่องมายังประธานวุฒิสภา และเป็นหน้าที่ศาลที่ต้องให้ความเป็นธรรม
"ผมรับราชการมา35ปี จะทำอะไรก็ต้องคิดถึงส่วนรวมและบ้านเมืองให้รอบคอบกว่าทุกคน ดังนั้นการจะทำอะไรให้เป็นข่าวในขณะที่บ้านเมืองวิกฤต ผมไม่รู้ว่าคนที่ทำคิดอะไรอยู่" พล.ต.อ.โกวิทกล่าว
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การตีไม่ควรตีความโดยใช้กฎหมายเพียงมาตราเดียว แต่ต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมด และดูที่เจตนาของกฎหมายเป็นหลัก ซึ่งน่าจะถามคนที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ50 จะได้ชัดเจนมากขึ้น
นายถาวร ลีนุตพงษ์ ส.ว.สรรหา หนึ่งใน 16 ส.ว.ที่ต้องคำวินิจฉัยของกกต. กล่าวว่า ปัญหาในส่วนของตนเป็นการถือหุ้นกู้ของบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) โดยหุ้นดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ยและจำนวนไม่มาก ตนเคยชี้แจงเรื่องนี้กับกกต. และไม่มีเจตนาที่จะปิดบัง ในการแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังเป็นแค่คำวินิจฉัยของกกต. ซึ่งหากมีโอกาสได้ตรวจสอบแล้วก็พร้อมจะชี้แจงเรื่องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ศ.ตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า รู้สึกตกใจกับคำวินิจฉัยของกกต. แต่ก็ต้องยอมรับ ส่วนตัวหุ้นที่มีอยู่ถือโดยสามี โดยเป็นหุ้นจำนวนไม่มากไม่สามารถไปแทรกแซงหรือให้คุณให้โทษกับกิจการของปตท.ได้ หุ้นที่ได้มาได้มาจากผู้ใหญ่ให้เป็นของขวัญ จึงเก็บไว้เป็นขวัญถุง ส่วนหุ้นของบริษัทเทเลคอมเอเชีย หากพิจารณาจากชื่อหุ้น ก็รู้แล้วว่าเป็นหุ้นเก่าไม่ใช่หุ้นของบริษัททรู ซึ่งตนถือมานานจนนึกว่าเป็นบริษัทของต่างประเทศเสียด้วยซ้ำ หากเป็นหุ้นของบริษัททรู ได้ว่าเป็นบริษัทเดียวกันคงขายไปแล้ว
ทั้งนี้ จากการหารือกับส.ว.บางคนที่ต้องคำวินิจฉัยของกกต.ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเข้าข่ายขาดสมาชิกภาพได้อย่างไร กรณีถือหุ้นในบริษัททรู ส.ว.บางคนที่ถูกร้องแต่ไม่ถูกวินิจฉัย ก็ถือหุ้นบริษัททรู จึงไม่เข้าใจว่าทำไมคนหนึ่งรอด อีกคนกลับมีปัญหา ทั้งนี้ ตนพร้อมชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญหากกกต.ส่งเรื่องให้ศาลวินิจฉัย
ปธ.วุฒิชี้กระทบการทำงานแน่
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กกต.ยังไม่ส่งเรื่องมาที่ตน แต่ได้รับทราบข้อมูลจากสื่อมวลชน ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่กกต.วินิจฉัย แต่ต้องมีอีกด้าน คือให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าข้อกฎหมายนี้จะออกมาอย่างไร หุ้นที่ถืออยู่ หรือผูกขาดตัดตอนหรือเปล่า และเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นอย่างไร ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ที่จะเอนเอียงได้รับผลประโยชน์จากการสัมปทานหรือเปล่า ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยกัน
"หากศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นเช่นเดียวกับ กกต. จะกระทบต่อการทำงานของวุฒิแน่นอน เพราะตั้ง 16 ท่าน องค์ประกอบของส.ว.ไม่ถึงร้อยละ95 และส.ว.ก็ทำงานอะไรไม่ได้ ก็จะรอให้หามาจนครบ รวมทั้งพิจารณากฎหมายก็ไม่ได้ คล้ายกับเป็นสูญญากาศ แต่เชื่อว่ายังไม่เกิดเร็วๆ นี้ต้องใช้เวลา" ประธานวุฒิสภา กล่าว และว่าหาก กกต.ส่งเรื่องมาถึงตน จะพิจารณาความถูกต้องประมาณ 1 สัปดาห์ หากไม่มีอะไร ก็ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย.