xs
xsm
sm
md
lg

รู้ทันตลาดทุน:BANPU : กำไรอ่อนตัว แต่มูลค่ายังน่าสนใจ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

SCRI คาด BANPU จะประกาศกำไรสุทธิ Q2/52 ที่ 3,434 ล้านบาท ลดลง 28% qoq แต่ยังเติบโต 49% yoy โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นผลจากราคาจำหน่ายถ่านหินเฉลี่ยที่เริ่มอ่อนตัวลงจาก Peak ใน Q1/52 แต่ยังคงสูงขึ้น yoy ทั้งนี้ ถือว่าสอดคล้องกับทิศทางที่มองไว้ก่อนหน้าแม้ในเชิง Earning Momentum ของ BANPU คาดจะอยู่ในช่วงขาลงในช่วง 4 ไตรมาสข้างหน้า แต่ในเชิงภาพรวมทั้งปี 2552 คาดยังคงเห็นการเติบโตไม่ต่ำกว่า 19% yoy ขณะที่ ปี 2553 คาดยังคงทรงตัวโดยมีแผนการผลิตที่เพิ่มจากเหมืองในอินโดนีเซียและจีนช่วยชดเชยกับราคาขายเฉลี่ยที่คาดยังปรับลดลง (สวนทางกับราคา BJI ที่คาดเริ่มฟื้นตัวขึ้น ทั้งนี้จาก Lag Time) ซึ่ง ภาพรวมระดับกำไรใน 2 ปีข้างหน้า คาดยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าอดีตอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเทียบกับราคาปัจจุบันซึ่งสะท้อน PER ที่ 7.8 เท่าในปี 2552-2553 ถือว่ายังคงต่ำเมื่อเทียบกับการกลับมาเป็นช่วงขาขึ้นของราคาถ่านหิน SCRI คงการประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 379 บาท ซึ่งประเมินโดยอิงส่วนลดจากการประเมินมูลค่าเหมาะสมระยะยาวไปแล้วประมาณ 15% ชดเชยกับวัฎจักรขาลงของกำไร ซึ่งทีราคาเหมาะสมดังกล่าวยังคงมี upside อีก 20% ขณะที่ คาดให้ Dividend Yield ปี 2552 ที่ 13 บาท/หุ้น คิดเป็น 4.13% คงคำแนะนำ "ซื้อ"

* คาดกำไรสุทธิ Q2/52 ที่ 3,434 ล้านบาท ลดลง 28% qoq แต่ยังเติบโต 49% yoy : ทั้งนี้ qoq ลดลงจาก 1)ราคาจำหน่ายถ่านหินเฉลี่ยของเหมืองในอินโดนีเซียที่คาดลดลงเป็น 74 เหรียญ/ตัน ลดลง 12% qoq(คาด Q1/52 เป็น Peak ของราคาถ่านหิน) 2) กำไรของธุรกิจไฟฟ้าในจีนที่คาดมีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงจากราคาถ่านหินที่ปรับขึ้นเล็กน้อยใน Q2/52 ขณะที่ Tariff ยังคงเดิม 3) กำไรจาก Hedging ที่ลดลงจาก Q1/52 ที่มีประมาณ 700 ล้านบาท (สุทธิระหว่างกำไร Hedging ถ่านหินกับขาดทุน Hedging น้ำมัน) และ 4) รายได้อื่นที่ลดเมื่อเทียบกับ Q2/52 ที่มีเงินปันผลรับจาก RATCH ประมาณ 239 ล้านบาท สำหรับ yoy คาดยังคงเพิ่มขึ้น 49%yoy จาก 1) กำไรธุรกิจถ่านหินของเหมืองอินโดนีเซียซึ่งราคาเฉลี่ยยังคงเพิ่มขึ้น 10%yoy และปริมาณจำหน่ายถ่านหินที่คาดเพิ่มขึ้น 3%yoy เป็น 4.6 ล้านตัน 2)กำไรของ BLCP ที่เพิ่มขึ้นจากการรับรู้กำไรอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งคาดประมาณ 225 ล้านบาท เทียบกับ Q2/51 ที่รับรู้ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 428 ล้านบาท และ3) กำไรธุรกิจถ่านหินในจีนที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในเหมืองต้าหนิงใน Q3/51(จาก 12.5% เป็น 56%) ทั้งนี้ แนวโน้มกำไรใน Q2/52 ถือว่าสอดคล้องกับที่มองไว้ก่อนหน้าซึ่งคาดว่า Q1/52 จะเป็นไตรมาส Peak ก่อนอ่อนตัวลงในช่วงที่เหลือของปี

* ผลประกอบการอยู่ในช่วงขาลงแต่ภาพรวมผลประกอบการทั้งปี 2552 ยังคงเติบโต : แนวโน้มกำไรของ BANPU ในช่วง 4 ไตรมาสข้างหน้าถือว่าอยู่ในช่วงขาลง โดยเป็นช่วงที่ราคาขายถ่านหินเฉลี่ยจะเริ่มสะท้อนแนวโน้มราคาถ่านหิน BJI ที่ปรับลงในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ภาพของกำไรในปี 2552 คาดยังคงเติบโตไม่ต่ำกว่า 19% yoy โดยใน Q1/52 BANPU ทำกำไรสุทธิได้แล้วถึง 52% ของกำไรปี 2551 และเมื่อรวมคาดการณ์ใน Q2/52 คาดจะสูงถึง 89% ของกำไรปี 2551 และหากคิดบนประมาณการกำไรปี 2552 ทำได้แล้วถึง 75% ทั้งนี้ ภาพของผลประกอบการใน Q3/52 คาดจะอ่อนตัวจากราคาจำหน่ายถ่านหิน และ Q4/52 อ่อนตัวจากราคาจำหน่ายถ่านหินและการหยุด Shutdown ของ BLCP ซึ่งปีนี้คาดจะ Shutdown นานกว่าปีก่อนๆจากการเดินเครื่องในระดับสูงใน 1H/52 ทั้งนี้ SCRI จึงคงเหลือประมาณการของ 2H/52 ไว้เพียงอีก 25%

* คาดระดับกำไรปี 2553 ยังคงทรงตัวสูง : SCRI เชื่อว่าแนวโน้มราคาถ่านหินได้ผ่านจุดต่ำจุดสุดไปแล้วใน 1H/52 และจะกลับมาเป็นขาขึ้นใน 2H/52 และปี 2553 (ซึ่งเป็นแนวโน้มในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันที่ระยะยาวมีความสัมพันธ์กันกว่า 80%) โดย SCRI อิงสมมติฐานราคาถ่านหิน BJI เฉลี่ยในปี 2552 ที่ระดับ 74 เหรียญ/ตัน (YTD อยู่ที่ 70 เหรียญ/ตัน) และ 81 เหรียญ/ตัน ในปี 2553 อย่างไรก็ตาม จากการมี Lag Time ในการปรับราคาทำให้คาดราคาจำหน่ายถ่านหินเฉลี่ยในปี 2553 ของ BANPU ยังคงลดลง ทั้งนี้ คาดการณ์ภาพผลประกอบการปี 2553 ทรงตัว โดยมีปัจจัยหนุนจาก 1) กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น 2.4% เป็น 21 ล้านตัน ชดเชยคาดการณ์ราคาเฉลี่ยทีอ่อนตัวลงในปี 2553 บางส่วน และ 2) จากการเริ่มผลิตของเหมืองเกาเหอในจีนซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตตามสัดส่วนประมาณ 1.4 ล้านตัน (แผนการผลิตเหมืองเกาเหอ 3 ล้านตันในปี 2553 โดย BANPU ถือหุ้น 45%) ทั้งนี้ แม้ในปี 2553 การเติบโตของ BANPU ไม่โดดเด่น แต่ถือว่าระดับการทำกำไรปรับขึ้นมาสูงกว่าในอดีตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ Upside ที่อาจเกิดขึ้นในปี 2552-2553 คือการทำ M&A เหมืองใหม่ซึ่ง BANPU ถือว่ามีความพร้อมจากสภาพคล่องและสัดส่วน IBD/Equity ที่อยู่ในระดับต่ำเพียง 0.54 เท่า ณ สิ้น Q1/52
กำลังโหลดความคิดเห็น