แบงก์ชาติตั้งทีมเฉพาะกิจเกาะติดการระบาดไข้หวัด สั่งแบงก์พาณิชย์ติดตามพร้อมรายงานอย่างใกล้ชิด ระบุหากจำเป็นต้องปิดสาขาสกัดการแพร่ระบาดสามารถทำได้ทันที พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่ธปท.หากพบติดหวัดให้หยุดทำงานที่บ้านจนกว่าจะหายดี เตรียมนำถกที่ประชุมกนง.เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขวิกฤตการณ์ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการสั่งการ และตัดสินใจแก้ปัญหาเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ ซึ่งครอบคลุมวิกฤตการณ์ด้านการเงิน สถาบันการเงิน และเหตุการณ์ที่กระทบการทำงานของ ธปท.เช่น วินาศภัย รัฐประหาร การก่อจลาจล รวมถึงการะบาดร้ายแรงของโรคต่างๆ เพื่อให้ธปท.ยังสามารถทำธุรกิจหลักในการดูแลตลาดการเงิน ระบบการชำระเงิน และการดำเนินการของสถาบันการเงินได้อย่างต่อเนื่อง และลดหรือจำกัดโอกาสการติดเชื้อของพนักงาน โดยรายละเอียดของแผนฉุกเฉินดังกล่าว ได้จัดทำเสร็จสิ้นในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา และพร้อมที่จะนำมาใช้จริงได้ทันที
ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้มีการประสานงานกับสถาบันการเงินในเรื่องต่างๆ รวมทั้งแจ้งข้อลดหย่อน หรือผ่อนผันการดำเนินการที่ไม่สำคัญให้สถาบันการเงินรับทราบ เพื่อให้ระบบการเงิน ตลาดเงินในประเทศ และต่างประเทศรวมทั้งการทำงานของสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินของประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นปกติ แม้ในกรณีที่ภาวะโรคระบาดรุนแรง
สั่ง จนท.ติดหวัดทำงานที่บ้าน
ทั้งนี้ ในส่วนของพนักงาน ธปท.นั้น ในกรณีที่เกิดการระบาดอย่างรุนแรง ธปท.จะแยกเจ้าหน้าที่ที่จำเป็นต้องมาทำงานที่ ธปท. และเจ้าหน้าที่ที่สามารถทำงานที่บ้านได้ โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องมาทำงานที่ ธปท. เพื่อให้ระบบการเงินของประเทศจะมีระบบป้องกันการติดเชื้อ และการดูแลรักษาความสะอาดอย่างเต็มที่ เช่นการดูแลป้องกันการติดเชื้อผ่านทางธนบัตร ขณะที่พนักงานที่ทำงานที่บ้าน จะมีรหัสเพื่อเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์กลางของ ธปท. เพื่อให้การทำงานทุกระบบของ ธปท.ทำงานได้ต่อเนื่อง
“ในเวลานี้ ยังไม่ได้มองว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 อยู่ในขั้นรุนแรง แต่ ธปท.ต้องไม่ประมาท และเตรียมการเพื่อรองรับได้อย่างทันท่วงที และไม่มีปัญหาวุ่นวาย หากปัญหาการระบาดเปลี่ยนแปลงลุกลามอย่างรวดเร็ว เนื่องจากระบบการเงิน และสถาบันการเงินเป็นระบบที่กระทบกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และระบบเศรษฐกิจโดยรวม” ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ไฟเขียวให้อำนาจปิดสาขา
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มว่า ในการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินไข้หวัดใหญ่ 2009 กับสถาบันการเงิน ธปท.ชี้แจงว่า ธนาคารพาณิชย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องแจงข้อมูลการเงิน และการบริหารสภาพคล่องในระบบการเงินให้ธปท.ทราบตลอดเวลาในช่วงวิกฤตการณ์ เพื่อให้ธปท.ดูแลระบบการเงินของประเทศได้ต่อเนื่อง
แต่กรณีที่จำเป็นต้องปิดหรือย้ายสถานที่ของสาขาธนาคารพาณิชย์ สามารถดำเนินการได้ โดยแจ้ง ธปท.ทันทีที่มีโอกาส ขณะที่ในการรับส่งธนบัตร เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเงินสดเพียงพอใช้จ่ายในระบบนั้น กำหนดให้รับส่ง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แทนการรับส่งทุกวัน แต่เชื่อมั่นว่าจะมีเงินสดเพียงพอในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์
บอร์ด กนง.ถกผลกระทบเชื้อหวัด
ทั้งนี้ ในส่วนของผลกระทบของไข้หวัด 2009 ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไปนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้สายนโยบายการเงิน และนโยบายสถาบันการเงินกำลังจับตาผลกระทบของไข้หวัดใหญ่ 2009 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่การะบาดมีความรุนแรงขึ้น หรือจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อ
เพราะในขณะนี้เริ่มเห็นความกังวลของประชาชนต่อการระบาดของไข้หวัด 2008 เพิ่มขึ้น เช่น การหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ โรงละคร และห้างสรรพสินค้า ซึ่งหากพฤติกรรมดังกล่าวของประชาชนเพิ่มขึ้น อาจจะกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงต่อไปได้ หลังจากที่เริ่มเห็นผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น โดยในเบื้องต้นนี้ จะนำกรณีดังกล่าวเข้าหารือในคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากหรือน้อยอย่างไร
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขวิกฤตการณ์ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการสั่งการ และตัดสินใจแก้ปัญหาเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ ซึ่งครอบคลุมวิกฤตการณ์ด้านการเงิน สถาบันการเงิน และเหตุการณ์ที่กระทบการทำงานของ ธปท.เช่น วินาศภัย รัฐประหาร การก่อจลาจล รวมถึงการะบาดร้ายแรงของโรคต่างๆ เพื่อให้ธปท.ยังสามารถทำธุรกิจหลักในการดูแลตลาดการเงิน ระบบการชำระเงิน และการดำเนินการของสถาบันการเงินได้อย่างต่อเนื่อง และลดหรือจำกัดโอกาสการติดเชื้อของพนักงาน โดยรายละเอียดของแผนฉุกเฉินดังกล่าว ได้จัดทำเสร็จสิ้นในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา และพร้อมที่จะนำมาใช้จริงได้ทันที
ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้มีการประสานงานกับสถาบันการเงินในเรื่องต่างๆ รวมทั้งแจ้งข้อลดหย่อน หรือผ่อนผันการดำเนินการที่ไม่สำคัญให้สถาบันการเงินรับทราบ เพื่อให้ระบบการเงิน ตลาดเงินในประเทศ และต่างประเทศรวมทั้งการทำงานของสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินของประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นปกติ แม้ในกรณีที่ภาวะโรคระบาดรุนแรง
สั่ง จนท.ติดหวัดทำงานที่บ้าน
ทั้งนี้ ในส่วนของพนักงาน ธปท.นั้น ในกรณีที่เกิดการระบาดอย่างรุนแรง ธปท.จะแยกเจ้าหน้าที่ที่จำเป็นต้องมาทำงานที่ ธปท. และเจ้าหน้าที่ที่สามารถทำงานที่บ้านได้ โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องมาทำงานที่ ธปท. เพื่อให้ระบบการเงินของประเทศจะมีระบบป้องกันการติดเชื้อ และการดูแลรักษาความสะอาดอย่างเต็มที่ เช่นการดูแลป้องกันการติดเชื้อผ่านทางธนบัตร ขณะที่พนักงานที่ทำงานที่บ้าน จะมีรหัสเพื่อเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์กลางของ ธปท. เพื่อให้การทำงานทุกระบบของ ธปท.ทำงานได้ต่อเนื่อง
“ในเวลานี้ ยังไม่ได้มองว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 อยู่ในขั้นรุนแรง แต่ ธปท.ต้องไม่ประมาท และเตรียมการเพื่อรองรับได้อย่างทันท่วงที และไม่มีปัญหาวุ่นวาย หากปัญหาการระบาดเปลี่ยนแปลงลุกลามอย่างรวดเร็ว เนื่องจากระบบการเงิน และสถาบันการเงินเป็นระบบที่กระทบกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และระบบเศรษฐกิจโดยรวม” ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ไฟเขียวให้อำนาจปิดสาขา
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มว่า ในการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินไข้หวัดใหญ่ 2009 กับสถาบันการเงิน ธปท.ชี้แจงว่า ธนาคารพาณิชย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องแจงข้อมูลการเงิน และการบริหารสภาพคล่องในระบบการเงินให้ธปท.ทราบตลอดเวลาในช่วงวิกฤตการณ์ เพื่อให้ธปท.ดูแลระบบการเงินของประเทศได้ต่อเนื่อง
แต่กรณีที่จำเป็นต้องปิดหรือย้ายสถานที่ของสาขาธนาคารพาณิชย์ สามารถดำเนินการได้ โดยแจ้ง ธปท.ทันทีที่มีโอกาส ขณะที่ในการรับส่งธนบัตร เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเงินสดเพียงพอใช้จ่ายในระบบนั้น กำหนดให้รับส่ง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แทนการรับส่งทุกวัน แต่เชื่อมั่นว่าจะมีเงินสดเพียงพอในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์
บอร์ด กนง.ถกผลกระทบเชื้อหวัด
ทั้งนี้ ในส่วนของผลกระทบของไข้หวัด 2009 ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไปนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้สายนโยบายการเงิน และนโยบายสถาบันการเงินกำลังจับตาผลกระทบของไข้หวัดใหญ่ 2009 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่การะบาดมีความรุนแรงขึ้น หรือจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อ
เพราะในขณะนี้เริ่มเห็นความกังวลของประชาชนต่อการระบาดของไข้หวัด 2008 เพิ่มขึ้น เช่น การหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ โรงละคร และห้างสรรพสินค้า ซึ่งหากพฤติกรรมดังกล่าวของประชาชนเพิ่มขึ้น อาจจะกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงต่อไปได้ หลังจากที่เริ่มเห็นผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น โดยในเบื้องต้นนี้ จะนำกรณีดังกล่าวเข้าหารือในคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากหรือน้อยอย่างไร