ผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติห่วงสุญญากาศกระทบระบบการเงินและสถาบันการเงิน เหตุบอร์ด ธปท.มีปัญหา อ้างบอร์ด กนง.ชุดเดิมหมดอายุสิ้นเดือน ชี้เคารพศาลยุติธรรมแต่ไม่ห่วงกระแสสังคมกรณีกรรมการสรรหาถูกยื่นสอบคุณสมบัติขัด พ.ร.บ.ธปท. แต่ยอมรับต้องโปร่งใส
กรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นศาลปกครองให้ตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมคัดเลือก (สรรหา) บอร์ด ธปท. เนื่องจากมีกรรมการ 3 ใน 7 คน มีส่วนได้ส่วนเสียมานั่งเป็นกรรมการของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลสถาบันการของ ธปท. อาจขัดต่อเจตนาของ พ.ร.บ.ธปท. มาตรา 28/1 นั้น วานนี้ (19 ส.ค.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวว่าไม่อยากพูดถึงเรื่องดังกล่าว เนื่องจาก พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าที่มาของบอร์ด ธปท.ส่วนหนึ่งต้องมีบุคคลภายนอกมาเป็นประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกฎหมายยังระบุไว้ชัดเจนว่าการทำงานของ ธปท.ต้องโปร่งใส การประชุมจึงไม่มีปัญหา หากบอร์ด ธปท.ครบองค์ประชุม ทุกอย่างพร้อมเดินหน้า
***ห่วงสุญญากาศกระทบทั้งระบบ
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. กล่าวว่า การแต่งตั้งบอร์ด ธปท.ยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนรอโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งประธานที่มาจากบุคคลภายนอกอยู่ ดังนั้นในกรณีการฟ้องร้องเรื่องคุณสมบัติของคณะกรรมการคัดเลือกว่าไม่เหมาะสมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลปกครองเป็นผู้ตัดสิน รวมถึงการตัดสินว่าถ้าคณะกรรมการคัดเลือกขาดคุณสมบัติแล้วจะมีผลต่อสรรหาบุคคลมานั่งในบอร์ด ธปท.หรือไม่ขึ้นอยู่กับความผิดที่ศาลพิจารณาเป็นหลัก
ทั้งนี้ บอร์ดธปท. และคณะกรรมการชุดย่อยอีก 3 ชุด ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) คณะกรรมการระบบการชำระเงิน(กรช.) ในชุดเก่าจะหมดวาระลงในวันที่ 31 ส.ค.นี้ ดังนั้น หากยังไม่มีการแต่งตั้งบอร์ดชุดต่างๆ มารับช่วงทำงานแทนส่งผลให้เกิดสุญญากาศในการทำงานในหน้าที่การดูแลระบบการเงินและสถาบันการเงินไทยได้
“หากในอนาคตไม่มีบอร์ดชุดต่างๆ รวมถึง กนง.ที่มีการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ไม่รู้ว่าจะมีใครประชุมแทน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญหรือจำเป็นจริงๆ ภารกิจที่สำคัญอาจจะตกอยู่ที่ผู้ว่าการฯ ในช่วงสถานการณ์ที่บังคับให้ต้องดำเนินการอย่างมาก”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ใน พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ระบุว่าบอร์ด ธปท.มีทั้งสิ้น 12 คน โดยแบ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในตำแหน่งประธาน 1 คน และกรรมการอีก 5 คน และอีก 2 คนในฐานะกรรมการ ซึ่งมาโดยตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นอกจากนี้ตำแหน่งใน ธปท. อีก 4 คน ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ในฐานะรองประธานบอร์ด ธปท. และรองผู้ว่าการ ธปท.อีก 3 คน ในฐานะกรรมการเช่นกัน.
กรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นศาลปกครองให้ตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมคัดเลือก (สรรหา) บอร์ด ธปท. เนื่องจากมีกรรมการ 3 ใน 7 คน มีส่วนได้ส่วนเสียมานั่งเป็นกรรมการของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลสถาบันการของ ธปท. อาจขัดต่อเจตนาของ พ.ร.บ.ธปท. มาตรา 28/1 นั้น วานนี้ (19 ส.ค.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวว่าไม่อยากพูดถึงเรื่องดังกล่าว เนื่องจาก พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าที่มาของบอร์ด ธปท.ส่วนหนึ่งต้องมีบุคคลภายนอกมาเป็นประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกฎหมายยังระบุไว้ชัดเจนว่าการทำงานของ ธปท.ต้องโปร่งใส การประชุมจึงไม่มีปัญหา หากบอร์ด ธปท.ครบองค์ประชุม ทุกอย่างพร้อมเดินหน้า
***ห่วงสุญญากาศกระทบทั้งระบบ
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. กล่าวว่า การแต่งตั้งบอร์ด ธปท.ยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนรอโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งประธานที่มาจากบุคคลภายนอกอยู่ ดังนั้นในกรณีการฟ้องร้องเรื่องคุณสมบัติของคณะกรรมการคัดเลือกว่าไม่เหมาะสมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลปกครองเป็นผู้ตัดสิน รวมถึงการตัดสินว่าถ้าคณะกรรมการคัดเลือกขาดคุณสมบัติแล้วจะมีผลต่อสรรหาบุคคลมานั่งในบอร์ด ธปท.หรือไม่ขึ้นอยู่กับความผิดที่ศาลพิจารณาเป็นหลัก
ทั้งนี้ บอร์ดธปท. และคณะกรรมการชุดย่อยอีก 3 ชุด ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) คณะกรรมการระบบการชำระเงิน(กรช.) ในชุดเก่าจะหมดวาระลงในวันที่ 31 ส.ค.นี้ ดังนั้น หากยังไม่มีการแต่งตั้งบอร์ดชุดต่างๆ มารับช่วงทำงานแทนส่งผลให้เกิดสุญญากาศในการทำงานในหน้าที่การดูแลระบบการเงินและสถาบันการเงินไทยได้
“หากในอนาคตไม่มีบอร์ดชุดต่างๆ รวมถึง กนง.ที่มีการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ไม่รู้ว่าจะมีใครประชุมแทน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญหรือจำเป็นจริงๆ ภารกิจที่สำคัญอาจจะตกอยู่ที่ผู้ว่าการฯ ในช่วงสถานการณ์ที่บังคับให้ต้องดำเนินการอย่างมาก”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ใน พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ระบุว่าบอร์ด ธปท.มีทั้งสิ้น 12 คน โดยแบ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในตำแหน่งประธาน 1 คน และกรรมการอีก 5 คน และอีก 2 คนในฐานะกรรมการ ซึ่งมาโดยตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นอกจากนี้ตำแหน่งใน ธปท. อีก 4 คน ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ในฐานะรองประธานบอร์ด ธปท. และรองผู้ว่าการ ธปท.อีก 3 คน ในฐานะกรรมการเช่นกัน.