ธปท.เผยขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพ(ICS) แทนระบบการหักบัญชีเช็คอิเล็กทรอนิกส์ คาดสามารถใช้งานในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ภายในปีหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ฝ่ายระบบการชำระเงิน ได้เปิดเผยความคืบหน้าโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพ (Imaged Cheque Clearing System ) หรือ ICS เพื่อทดแทนระบบการหักบัญชีเช็คอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Cheque Clearing System ) หรือ ECS ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอุปกรณ์และโปรแกรมที่ใช้งานอยู่มีความล้าสมัย และส่งผลต่อการบำรุงรักษา
ทั้งนี้ ธปท.คาดว่าระบบการหักบัญชีด้วยภาพ จะพัฒนาเสร็จสิ้นและสามารถใช้งานในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ภายในปี 2552 ก่อนที่จะขยายผลการใช้ทั่วประเทศต่อไป
ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.และคณะทำงานปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการหักบัญชีเช็ค ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานเช็ค เพื่อรองรับระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพ ได้แก่ การปรับปรุงมาตรฐานเช็คให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและรองรับ การนำระบบ ICS มาใช้ในอนาคต รวมทั้งอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บและธนาคารผู้จ่าย รวมทั้งการศึกษามาตรฐานภาพเช็ค (Image Specification) ที่ใช้ในกระบวนการเรียกเก็บ เพื่อนำมากำหนดมาตรฐานภาพเช็คสำหรับระบบ ICS ต่อไป
ทั้งนี้ จากข้อมูลของธปท.ในปี 2550 ที่ผ่านมา ปริมาณการใช้เช็คเฉลี่ยต่อวันมีประมาณ 329,517 ฉบับ มูลค่าเฉลี่ย 132,800 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณการใช้เช็คระหว่างธนาคารเฉลี่ยต่อจำนวนประชากรทั้งหมดลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ 1.28 ฉบับต่อคนต่อปี และปริมาณเช็คระหว่างธนาคารลดลงจาก 84.1 ล้านฉบับในปี 2549 เหลือ 80.7 ล้านฉบับในปี 2550 มูลค่าเช็คระหว่างธนาคารเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจาก 8.6% ในปี 2549 เหลือ 8% ในปี 2550 โดยมีมูลค่ารวม 32,537,000 ล้านบาท
ขณะที่สัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในปี 2550 ยังอยู่ในอัตราใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ 73.1% และ 90.7% ตามลำดับ ส่วนเช็คของสำนักหักบัญชีในต่างจังหวัดมีสัดส่วนของปริมาณและมูลค่า รองลงมาคือ 18.7% และ 8.2% สำหรับเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชียังคงมีสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเทียบกับเช็คทั้งหมดเพียง 8.2 % และ 1.1% ตามลำดับ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ฝ่ายระบบการชำระเงิน ได้เปิดเผยความคืบหน้าโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพ (Imaged Cheque Clearing System ) หรือ ICS เพื่อทดแทนระบบการหักบัญชีเช็คอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Cheque Clearing System ) หรือ ECS ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอุปกรณ์และโปรแกรมที่ใช้งานอยู่มีความล้าสมัย และส่งผลต่อการบำรุงรักษา
ทั้งนี้ ธปท.คาดว่าระบบการหักบัญชีด้วยภาพ จะพัฒนาเสร็จสิ้นและสามารถใช้งานในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ภายในปี 2552 ก่อนที่จะขยายผลการใช้ทั่วประเทศต่อไป
ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.และคณะทำงานปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการหักบัญชีเช็ค ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานเช็ค เพื่อรองรับระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพ ได้แก่ การปรับปรุงมาตรฐานเช็คให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและรองรับ การนำระบบ ICS มาใช้ในอนาคต รวมทั้งอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บและธนาคารผู้จ่าย รวมทั้งการศึกษามาตรฐานภาพเช็ค (Image Specification) ที่ใช้ในกระบวนการเรียกเก็บ เพื่อนำมากำหนดมาตรฐานภาพเช็คสำหรับระบบ ICS ต่อไป
ทั้งนี้ จากข้อมูลของธปท.ในปี 2550 ที่ผ่านมา ปริมาณการใช้เช็คเฉลี่ยต่อวันมีประมาณ 329,517 ฉบับ มูลค่าเฉลี่ย 132,800 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณการใช้เช็คระหว่างธนาคารเฉลี่ยต่อจำนวนประชากรทั้งหมดลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ 1.28 ฉบับต่อคนต่อปี และปริมาณเช็คระหว่างธนาคารลดลงจาก 84.1 ล้านฉบับในปี 2549 เหลือ 80.7 ล้านฉบับในปี 2550 มูลค่าเช็คระหว่างธนาคารเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจาก 8.6% ในปี 2549 เหลือ 8% ในปี 2550 โดยมีมูลค่ารวม 32,537,000 ล้านบาท
ขณะที่สัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในปี 2550 ยังอยู่ในอัตราใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ 73.1% และ 90.7% ตามลำดับ ส่วนเช็คของสำนักหักบัญชีในต่างจังหวัดมีสัดส่วนของปริมาณและมูลค่า รองลงมาคือ 18.7% และ 8.2% สำหรับเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชียังคงมีสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเทียบกับเช็คทั้งหมดเพียง 8.2 % และ 1.1% ตามลำดับ