เอเอฟพี – รายงานที่ออกโดยธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) แนะนำว่าประเทศเอเชียควรดูแนวทางของการใช้เงินสกุลเดียวของยูโรโซน หากว่าต้องการจะลดความเสี่ยงในการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลต่าง ๆในเอเชียโดยใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นอัตรากลาง และกระตุ้นการใช้เงินสกุลภูมิภาคให้มากขึ้น
รายงานฉบับนี้ชี้อีกด้วยว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การค้าเงินสกุลเอเชียได้ขยายตัวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามประเทศต่าง ๆ ยังมีระเบียบที่เข้มงวดควบคุมการปริวรรตเงินตราเพื่อต่อต้านการเก็งกำไร ซึ่งทำให้ตลาดซื้อขายเงินตราในภูมิภาคนี้ไม่เติบโตเท่าที่ควร รวมทั้งผู้เขียนรายงานยังได้แนะนำว่า การบริหารความเสี่ยงและการซื้อขายต่าง ๆจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น หากว่าระบบการชำระเงินเปลี่ยนจากอิงกับดอลล่าร์สหรัฐฯ มาเป็นอิงเงินสกุลของเอเชียเอง
รายงานดังกล่าวเขียนโดย โยสุเกะ ซึยุกุชิและฟิลลิป วูลริดจ์ ซึ่งแม้บีไอเอสอันเป็นที่รู้จักกันในฐานะธนาคารกลางแห่งธนาคารกลางทั้งหลาย จะเป็นหน่วยงานที่จัดพิมพ์และแจกจ่าย แต่ในรายงานก็บอกว่าคำแนะนำเหล่านี้เป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เขียนมิได้เป็นความคิดเห็นของบีไอเอส
ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลการซื้อขายเงินตราระหว่างเงินตราต่างๆ จำนวน 10 สกุล ในเอเชีย คือ ดอลลาร์ฮ่องกง, ดอลลาร์สิงคโปร์, เหรินหมินปี้จีน, รูปีอินเดีย, รูเปียห์อินโดนีเซีย, ริงกิตมาเลเซีย, เปโซฟิลิปปินส์, บาทไทย, วอนเกาหลีใต้, และเงินนิวไต้หวันดอลลาร์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและเน้นช่วงปี 2007 ซึ่งได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการเกี่ยวกับสภาพการณ์ของตลาดเงินในเอเชียที่มักใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นอัตราแลกเปลี่ยนกลางระหว่างกัน ทั้งนี้รายงานระบุว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯนั้นมีบทบาท “ถึง 97%” ในการซื้อขายเงินสกุลเอเชียทั้งหมดในเดือนเมษายนปี 2007
“การใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯมาเป็นอัตรากลางสำหรับแลกเปลี่ยน ได้ทำให้ระบบชำระเงินของสกุลเงินเอเชียทั้งหลายมีความอ่อนไหวต่อความเสี่ยงมากขึ้น” รายงานกล่าว
ตามทฤษฎีแล้ว ในแต่ละขั้นตอนการซื้อขายเงินตราต่างประเทศตามปกติ มักจะชำระกันด้วยสกุลเงินของประเทศที่มีการซื้อขายระหว่างกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเอเชียนั้นกลับชำระกันด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ต้องกลับไปชำระบัญชีกันในระบบเงินของสหรัฐฯ จึงทำให้ความเสี่ยงของการซื้อขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะทำให้เวลาของการชำระบัญชีทอดยาวออกไปเพราะความแตกต่างของเวลาระหว่างตลาดเอเชียและนิวยอร์ก
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ “อาจจะต้องมีการจ่ายเงินสกุลหนึ่งออกไปก่อนที่จะสามารถยืนยันการรับในเงินอีกสกุลหนึ่งได้” และ“นี่อาจทำให้หลายฝ่ายเข้ามาร่วมในการเปิดรับความเสี่ยงเฉพาะหน้าที่มีมูลค่ามหาศาล”
รายงานสรุปว่า “การใช้เงินสกุลภูมิภาคในการซื้อขายเงินตราภายในภูมิภาคแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯนั้น เป็นหนึ่งในหลาย ๆทางที่จะทำให้ความเสี่ยงในการชำระบัญชีนี้ลงไปได้”
ผู้เขียนทั้งสองยังได้ชี้อีกว่ายุโรปน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับว่าเอเชียควรจะใช้ระบบใด ในทศวรรษที่ 1980 ก่อนที่จะมีเงินยูโรใช้กัน เงินดอยทช์มาร์กได้ค่อย ๆเข้ามาทำหน้าที่แทนดอลลาร์สหรัฐฯในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยกัน
รายงานยังได้ชี้อีกว่ามูลค่าการค้าเงินสกุลเอเชียขยายตัวอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเมื่อปีที่แล้วมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 249,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และก็น่าจะขยายตัวไปได้อีกแต่กลับถูกจำกัดไว้ด้วยกฏระเบียบควบคุมการปริวรรตเงินตราของรัฐบาลทั้งหลาย โดยในบรรดาเงินสกุลที่ทำการศึกษา มีเพียงเงินดอลลาร์ฮ่องกงและสิงคโปร์เท่านั้นที่ไม่มีกฏระเบียบควบคุมการซื้อขาย
ในห้วงเวลาที่ศึกษา ผู้เขียนพบว่าเงินเอเชียสกุลอื่นๆ นอกเงินเยนญี่ปุ่น มีปริมาณการซื้อขายเปลี่ยนมือกันเพิ่มขึ้นอย่างมาก กล่าวคือ พุ่งขึ้นถึง 130% ในช่วงระหว่างปี 2004 – 2007 โดยในจำนวนนี้เป็นการซื้อขายดอลลาร์ฮ่องกงถึงราว 40% ของการซื้อขายในหนึ่งวัน ในขณะที่มูลค่าการซื้อขายเงินเหรินหมินบี้ของจีนก็ก้าวกระโดดมากกว่า 7 เท่าตัว จาก 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2004 มาเป็น 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2007
“การไหลของเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของเอเชียทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างขนานใหญ่เมื่อเดือนเมษายนปี 2007” อันเป็นเวลาเดียวกับที่มูลค่าหุ้นในเอเชียทะยานขึ้นอย่างแรงจากคำสั่งซื้อนอกประเทศ
อย่างไรก็ตามรายงานก็ระบุว่าการซื้อขายเปลี่ยนมือเงินสกุลเอเชียที่ขยายตัวรวดเร็ว แต่ก็ยังคิดเป็นสัดส่วนแค่ 7.5%ของการแลกเปลี่ยนเงินตราทั้งโลกเท่านั้น
โดยปกติแล้ว มูลค่าของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในโลกนี้จะสูงกว่ามูลค่าการซื้อขายสินค้าและบริการอยู่ถึง 30 เท่า แต่ว่าการค้าเงินสกุลเอเชียนั้นต่ำกว่าสัดส่วนนี้อย่างมากยกเว้นในกรณีของเงินดอลลาร์ฮ่องกง
อย่างไรก็ตาม รายงานก็สรุปด้วยว่า “สภาพคล่องของตลาดปริวรรตเงินตราในเอเชียยังคงถูกควบคุมด้วยระเบียบการแลกเปลี่ยนซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศของรัฐบาลต่าง ๆ”
แม้ว่ากฎระเบียบดังกล่าว ซึ่งกำหนดวิธีการหรือมูลค่าของการซื้อและขายในเงินสกุลท้องถิ่น จะมีขึ้นเพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไรรวมทั้งป้องกันความผิดปกติของค่าเงิน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไปข้างหน้าและการเติบโตของตลาดปริวรรตเงินตราได้
ผู้เขียนรายงานยังได้ชี้อีกว่าในระบบที่มีการควบคุม การซื้อและขายเงินตราสกุลต่าง ๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับบัญชีแลกเปลี่ยนทางเงินปกติ จำเป็นจะต้องได้รับการอนุมัติจากธนาคารกลางเสียก่อน ซึ่งระเบียบเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นการซื้อขายเงินสกุลต่าง ๆนอกอาณาเขตของประเทศ
รายงานระบุไว้ว่า “สภาพการณ์ที่เป็นอยู่นี้ทำให้การชำระบัญชีในเขตของประเทศต่าง ๆโดยผ่านธนาคารหรือสาขาของธนาคารที่ได้รับมอบหมายที่ตั้งอยู่ในประเทศหนึ่ง ๆนั้นมีความยากลำบากมาก กล่าวโดยชัดเจนก็คือระบบนี้จำกัดประสิทธิภาพในการส่งมอบเงินสกุลหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการข้ามประเทศ”
ผลก็คือการซื้อขายเงินสกุลเอเชียในประเทศหนึ่ง ๆนั้นแพงกว่าสกุลเงินระหว่างประเทศถึงสองเท่า นอกจากนี้ ระเบียบควบคุมมีแนวโน้มจะจำกัดความเคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราในประเทศหนึ่ง ๆสำหรับผู้ไม่ได้อยู่อาศัยในประเทศให้ลดลงไป ประเทศที่มีกฎระเบียบเข้มงวดนี้ก็อย่างเช่น จีน ซึ่งห้ามบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองของประเทศเข้ามาเล่นในตลาดซื้อขายเงินในประเทศ
รายงานจึงสรุปว่าการค้าเงินสกุลเอเชียยังคงทำกันในระหว่างพลเมืองของประเทศนั้น ๆเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เงินสกุลระหว่างประเทศนั้นซื้อขายกันระหว่างกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นพลเมืองของประเทศเจ้าของเงินนั้นเป็นส่วนใหญ่ “ดังนั้นจึงดูเหมือนว่ากลุ่มซื้อขายเงินตราที่ไม่ใช่พลเมืองของประเทศเจ้าของเงิน จะต้องเป็นผู้เล่นรายเล็กในตลาดเอเชียต่อไป ตราบเท่าที่การซื้อขายเงินนอกประเทศยังคงถูกห้ามอยู่”
รายงานฉบับนี้ชี้อีกด้วยว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การค้าเงินสกุลเอเชียได้ขยายตัวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามประเทศต่าง ๆ ยังมีระเบียบที่เข้มงวดควบคุมการปริวรรตเงินตราเพื่อต่อต้านการเก็งกำไร ซึ่งทำให้ตลาดซื้อขายเงินตราในภูมิภาคนี้ไม่เติบโตเท่าที่ควร รวมทั้งผู้เขียนรายงานยังได้แนะนำว่า การบริหารความเสี่ยงและการซื้อขายต่าง ๆจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น หากว่าระบบการชำระเงินเปลี่ยนจากอิงกับดอลล่าร์สหรัฐฯ มาเป็นอิงเงินสกุลของเอเชียเอง
รายงานดังกล่าวเขียนโดย โยสุเกะ ซึยุกุชิและฟิลลิป วูลริดจ์ ซึ่งแม้บีไอเอสอันเป็นที่รู้จักกันในฐานะธนาคารกลางแห่งธนาคารกลางทั้งหลาย จะเป็นหน่วยงานที่จัดพิมพ์และแจกจ่าย แต่ในรายงานก็บอกว่าคำแนะนำเหล่านี้เป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เขียนมิได้เป็นความคิดเห็นของบีไอเอส
ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลการซื้อขายเงินตราระหว่างเงินตราต่างๆ จำนวน 10 สกุล ในเอเชีย คือ ดอลลาร์ฮ่องกง, ดอลลาร์สิงคโปร์, เหรินหมินปี้จีน, รูปีอินเดีย, รูเปียห์อินโดนีเซีย, ริงกิตมาเลเซีย, เปโซฟิลิปปินส์, บาทไทย, วอนเกาหลีใต้, และเงินนิวไต้หวันดอลลาร์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและเน้นช่วงปี 2007 ซึ่งได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการเกี่ยวกับสภาพการณ์ของตลาดเงินในเอเชียที่มักใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นอัตราแลกเปลี่ยนกลางระหว่างกัน ทั้งนี้รายงานระบุว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯนั้นมีบทบาท “ถึง 97%” ในการซื้อขายเงินสกุลเอเชียทั้งหมดในเดือนเมษายนปี 2007
“การใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯมาเป็นอัตรากลางสำหรับแลกเปลี่ยน ได้ทำให้ระบบชำระเงินของสกุลเงินเอเชียทั้งหลายมีความอ่อนไหวต่อความเสี่ยงมากขึ้น” รายงานกล่าว
ตามทฤษฎีแล้ว ในแต่ละขั้นตอนการซื้อขายเงินตราต่างประเทศตามปกติ มักจะชำระกันด้วยสกุลเงินของประเทศที่มีการซื้อขายระหว่างกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเอเชียนั้นกลับชำระกันด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ต้องกลับไปชำระบัญชีกันในระบบเงินของสหรัฐฯ จึงทำให้ความเสี่ยงของการซื้อขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะทำให้เวลาของการชำระบัญชีทอดยาวออกไปเพราะความแตกต่างของเวลาระหว่างตลาดเอเชียและนิวยอร์ก
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ “อาจจะต้องมีการจ่ายเงินสกุลหนึ่งออกไปก่อนที่จะสามารถยืนยันการรับในเงินอีกสกุลหนึ่งได้” และ“นี่อาจทำให้หลายฝ่ายเข้ามาร่วมในการเปิดรับความเสี่ยงเฉพาะหน้าที่มีมูลค่ามหาศาล”
รายงานสรุปว่า “การใช้เงินสกุลภูมิภาคในการซื้อขายเงินตราภายในภูมิภาคแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯนั้น เป็นหนึ่งในหลาย ๆทางที่จะทำให้ความเสี่ยงในการชำระบัญชีนี้ลงไปได้”
ผู้เขียนทั้งสองยังได้ชี้อีกว่ายุโรปน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับว่าเอเชียควรจะใช้ระบบใด ในทศวรรษที่ 1980 ก่อนที่จะมีเงินยูโรใช้กัน เงินดอยทช์มาร์กได้ค่อย ๆเข้ามาทำหน้าที่แทนดอลลาร์สหรัฐฯในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยกัน
รายงานยังได้ชี้อีกว่ามูลค่าการค้าเงินสกุลเอเชียขยายตัวอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเมื่อปีที่แล้วมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 249,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และก็น่าจะขยายตัวไปได้อีกแต่กลับถูกจำกัดไว้ด้วยกฏระเบียบควบคุมการปริวรรตเงินตราของรัฐบาลทั้งหลาย โดยในบรรดาเงินสกุลที่ทำการศึกษา มีเพียงเงินดอลลาร์ฮ่องกงและสิงคโปร์เท่านั้นที่ไม่มีกฏระเบียบควบคุมการซื้อขาย
ในห้วงเวลาที่ศึกษา ผู้เขียนพบว่าเงินเอเชียสกุลอื่นๆ นอกเงินเยนญี่ปุ่น มีปริมาณการซื้อขายเปลี่ยนมือกันเพิ่มขึ้นอย่างมาก กล่าวคือ พุ่งขึ้นถึง 130% ในช่วงระหว่างปี 2004 – 2007 โดยในจำนวนนี้เป็นการซื้อขายดอลลาร์ฮ่องกงถึงราว 40% ของการซื้อขายในหนึ่งวัน ในขณะที่มูลค่าการซื้อขายเงินเหรินหมินบี้ของจีนก็ก้าวกระโดดมากกว่า 7 เท่าตัว จาก 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2004 มาเป็น 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2007
“การไหลของเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของเอเชียทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างขนานใหญ่เมื่อเดือนเมษายนปี 2007” อันเป็นเวลาเดียวกับที่มูลค่าหุ้นในเอเชียทะยานขึ้นอย่างแรงจากคำสั่งซื้อนอกประเทศ
อย่างไรก็ตามรายงานก็ระบุว่าการซื้อขายเปลี่ยนมือเงินสกุลเอเชียที่ขยายตัวรวดเร็ว แต่ก็ยังคิดเป็นสัดส่วนแค่ 7.5%ของการแลกเปลี่ยนเงินตราทั้งโลกเท่านั้น
โดยปกติแล้ว มูลค่าของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในโลกนี้จะสูงกว่ามูลค่าการซื้อขายสินค้าและบริการอยู่ถึง 30 เท่า แต่ว่าการค้าเงินสกุลเอเชียนั้นต่ำกว่าสัดส่วนนี้อย่างมากยกเว้นในกรณีของเงินดอลลาร์ฮ่องกง
อย่างไรก็ตาม รายงานก็สรุปด้วยว่า “สภาพคล่องของตลาดปริวรรตเงินตราในเอเชียยังคงถูกควบคุมด้วยระเบียบการแลกเปลี่ยนซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศของรัฐบาลต่าง ๆ”
แม้ว่ากฎระเบียบดังกล่าว ซึ่งกำหนดวิธีการหรือมูลค่าของการซื้อและขายในเงินสกุลท้องถิ่น จะมีขึ้นเพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไรรวมทั้งป้องกันความผิดปกติของค่าเงิน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไปข้างหน้าและการเติบโตของตลาดปริวรรตเงินตราได้
ผู้เขียนรายงานยังได้ชี้อีกว่าในระบบที่มีการควบคุม การซื้อและขายเงินตราสกุลต่าง ๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับบัญชีแลกเปลี่ยนทางเงินปกติ จำเป็นจะต้องได้รับการอนุมัติจากธนาคารกลางเสียก่อน ซึ่งระเบียบเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นการซื้อขายเงินสกุลต่าง ๆนอกอาณาเขตของประเทศ
รายงานระบุไว้ว่า “สภาพการณ์ที่เป็นอยู่นี้ทำให้การชำระบัญชีในเขตของประเทศต่าง ๆโดยผ่านธนาคารหรือสาขาของธนาคารที่ได้รับมอบหมายที่ตั้งอยู่ในประเทศหนึ่ง ๆนั้นมีความยากลำบากมาก กล่าวโดยชัดเจนก็คือระบบนี้จำกัดประสิทธิภาพในการส่งมอบเงินสกุลหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการข้ามประเทศ”
ผลก็คือการซื้อขายเงินสกุลเอเชียในประเทศหนึ่ง ๆนั้นแพงกว่าสกุลเงินระหว่างประเทศถึงสองเท่า นอกจากนี้ ระเบียบควบคุมมีแนวโน้มจะจำกัดความเคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราในประเทศหนึ่ง ๆสำหรับผู้ไม่ได้อยู่อาศัยในประเทศให้ลดลงไป ประเทศที่มีกฎระเบียบเข้มงวดนี้ก็อย่างเช่น จีน ซึ่งห้ามบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองของประเทศเข้ามาเล่นในตลาดซื้อขายเงินในประเทศ
รายงานจึงสรุปว่าการค้าเงินสกุลเอเชียยังคงทำกันในระหว่างพลเมืองของประเทศนั้น ๆเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เงินสกุลระหว่างประเทศนั้นซื้อขายกันระหว่างกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นพลเมืองของประเทศเจ้าของเงินนั้นเป็นส่วนใหญ่ “ดังนั้นจึงดูเหมือนว่ากลุ่มซื้อขายเงินตราที่ไม่ใช่พลเมืองของประเทศเจ้าของเงิน จะต้องเป็นผู้เล่นรายเล็กในตลาดเอเชียต่อไป ตราบเท่าที่การซื้อขายเงินนอกประเทศยังคงถูกห้ามอยู่”