ธปท.ยกเลิกบทบาทให้กู้ซอฟท์โลนแก่ภาคเศรษฐกิจจริงตาม พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ เชื่อหน่วยงานรัฐ-แบงก์พาณิชย์สามารถเข้ามาช่วยเหลือได้ดี ระบุไม่กระทบผู้ประกอบการรายเดิมที่ได้รับการอนุมัติกู้ไปแล้วกว่า 3 หมื่นราย มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท เพราะ ธปท.ยังดูแลไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุโครงการที่เปิดไว้
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธปท. (กกธ.)ได้มีมติให้ยุติบทบาทของ ธปท.ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจจริงในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) เพื่อให้เหมาะสมกับภาระกิจของธนาคารกลางในการรักษาเสถียรภาพทั้งการเงิน ระบบสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินตาม พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลของธนาคารกลางทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ทำหน้าที่ให้สินเชื่อกรณีพิเศษนี้มาแล้วประมาณ 50 ปี โดยค่อยๆ ทยอยลดบทบาทลง โดยขณะนี้มีภาครัฐทั้งกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐสามารถให้ความช่วยเหลือที่ดีได้ แต่หากในอนาคตภาครัฐต้องการช่วยเหลือเพิ่มเติมในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือมีผลกระทบกับเสถียรภาพทางการเงิน ธปท.สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้
“ผู้ประกอบการที่เคยได้รับอนุมัติวงเงินไว้แล้วจะไม่ได้รับผลกระทบยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ และ ธปท.ได้คุยกับธนาคารพาณิชย์แล้ว ถึงการยุติบทบาทในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจจริง และได้ขอความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในการทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะสภาพคล่องในระบบของธนาคารพาณิชย์เฉพาะที่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ในขณะนี้มีมากถึง 8 แสนล้านบาท”
นอกจากนี้ ธปท.ได้ขอยกเลิกโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวงเงิน 40,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสมทบของธปท. 20,000 ล้านบาท และธนาคารพาณิชย์อีก 20,000 ล้านบาท โดยโครงการนี้ออกมาในช่วงยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% ในช่วงปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมา เนื่องจาก ธปท.เกรงว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่ขณะนี้ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากจนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ โดยขณะนี้เงินบาทห่างกับช่วงยกเลิกมาตรการใหม่ๆ แค่ประมาณ 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ประกอบกับวงเงินสินเชื่อดังกล่าวยังไม่ได้อนุมัติจัดสรรจากธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้า จึงไม่มีข้อผูกพันแต่อย่างใด
ธปท.ยังคงให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจจริงแก่ผู้ประกอบการตามข้อผูกพันเดิมไปจนกว่าจะครบกำหนดเวลาตามข้อผูกพันหรือสิ้นสุดอายุโครงการ โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการรายเดิมที่ขออนุมัติสินเชื่อไว้จำนวน 31,215 ราย หรือคิดเป็นวงเงิน 56,398.25 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีผู้ประกอบการใช้วงเงินดังกล่าวไปแล้วจำนวน 28,482 ราย หรือคิดเป็น 39,723.76 ล้านบาท จึงไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้ประกอบการรายเดิม
“ปัจจุบันวงเงินที่ธปท.ได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการตามโครงการต่างๆคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% ของสินเชื่อรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ และคิดเป็นสัดส่วน 1.9%ของสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม”
สำหรับโครงการที่ ธปท.ยังคงให้ความช่วยเหลือต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุสัญญา แต่จะไม่มีการอนุมัติวงเงินแก่ผู้ประกอบการรายใหม่อีก ได้แก่ 1.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยมีตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นประกัน 2.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก 3.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท 4.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูล และ 5.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้.
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธปท. (กกธ.)ได้มีมติให้ยุติบทบาทของ ธปท.ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจจริงในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) เพื่อให้เหมาะสมกับภาระกิจของธนาคารกลางในการรักษาเสถียรภาพทั้งการเงิน ระบบสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินตาม พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลของธนาคารกลางทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ทำหน้าที่ให้สินเชื่อกรณีพิเศษนี้มาแล้วประมาณ 50 ปี โดยค่อยๆ ทยอยลดบทบาทลง โดยขณะนี้มีภาครัฐทั้งกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐสามารถให้ความช่วยเหลือที่ดีได้ แต่หากในอนาคตภาครัฐต้องการช่วยเหลือเพิ่มเติมในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือมีผลกระทบกับเสถียรภาพทางการเงิน ธปท.สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้
“ผู้ประกอบการที่เคยได้รับอนุมัติวงเงินไว้แล้วจะไม่ได้รับผลกระทบยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ และ ธปท.ได้คุยกับธนาคารพาณิชย์แล้ว ถึงการยุติบทบาทในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจจริง และได้ขอความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในการทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะสภาพคล่องในระบบของธนาคารพาณิชย์เฉพาะที่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ในขณะนี้มีมากถึง 8 แสนล้านบาท”
นอกจากนี้ ธปท.ได้ขอยกเลิกโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวงเงิน 40,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสมทบของธปท. 20,000 ล้านบาท และธนาคารพาณิชย์อีก 20,000 ล้านบาท โดยโครงการนี้ออกมาในช่วงยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% ในช่วงปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมา เนื่องจาก ธปท.เกรงว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่ขณะนี้ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากจนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ โดยขณะนี้เงินบาทห่างกับช่วงยกเลิกมาตรการใหม่ๆ แค่ประมาณ 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ประกอบกับวงเงินสินเชื่อดังกล่าวยังไม่ได้อนุมัติจัดสรรจากธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้า จึงไม่มีข้อผูกพันแต่อย่างใด
ธปท.ยังคงให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจจริงแก่ผู้ประกอบการตามข้อผูกพันเดิมไปจนกว่าจะครบกำหนดเวลาตามข้อผูกพันหรือสิ้นสุดอายุโครงการ โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการรายเดิมที่ขออนุมัติสินเชื่อไว้จำนวน 31,215 ราย หรือคิดเป็นวงเงิน 56,398.25 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีผู้ประกอบการใช้วงเงินดังกล่าวไปแล้วจำนวน 28,482 ราย หรือคิดเป็น 39,723.76 ล้านบาท จึงไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้ประกอบการรายเดิม
“ปัจจุบันวงเงินที่ธปท.ได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการตามโครงการต่างๆคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% ของสินเชื่อรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ และคิดเป็นสัดส่วน 1.9%ของสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม”
สำหรับโครงการที่ ธปท.ยังคงให้ความช่วยเหลือต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุสัญญา แต่จะไม่มีการอนุมัติวงเงินแก่ผู้ประกอบการรายใหม่อีก ได้แก่ 1.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยมีตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นประกัน 2.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก 3.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท 4.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูล และ 5.โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้.