ASTVผู้จัดการรายวัน – รมว.คลังยืนยันต่ออายุมาตรการรถเมล์-รถไฟ-น้ำ-ไฟฟรี หวังลดภาระค่าครองชีพประชาชนต่อเนื่องถึงปลายปีรับเศรษฐกิจฟื้น โอดไม่อยากเห็นคนไทยฟุ่มเฟือยพลังงาน บิ๊ก สคร.เผยอยู่ระหว่างรอตัวเลขงบกลางปี เพื่อคำนวณความสามารถรองรับการขยายเวลามาตรการก่อนสรุปว่าจะต่ออายุ 2 หรือ 5 เดือน
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อยู่ระหว่างการศึกษาข้อดีข้อเสียของ 5 มาตรการ 6 เดือนช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะครบกำหนดในสิ้นเดือนกรกฎาคมว่า สมควรที่จะขยายเวลาต่อไปหรือ โดยมีเงื่อนไขว่า จะขยายเวลาออกไปอีก 2 เดือนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2552 หรือ ขยายเวลาออกไปอีก 5 เดือนเพื่อให้ถึงสิ้นปี 2552 โดยจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการลดภาระให้กับประชาชน ขณะเดียวกันก็ต้องดูผลกระทบต่องบประมาณด้วย คาดว่าภายในกลางเดือนนี้จะมีข้อสรุป
“ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบต่างๆ ว่า หากยกเลิกทั้งหมด ผลกระทบกับประชานจะเป็นอย่างไร หรือขยายเวลาต่อไปทั้งหมด ผลจะเป็นอย่างไร หรือยกเลิกบางมาตรการ อะไรที่ควรจะอยู่ต่อหรือจะยกเลิกไป และหากจะขยายออกไปควรจะเป็น 2 เดือน เพื่อให้อยู่ในงบประมาณ 52 หรือ หากจะขยายไปถึงสิ้นปี ก็ต้องดูว่าภาระงบประมาณส่วนนี้จะมาจากไหน เพราะไม่ได้ตั้งงบประมาณส่วนนี้ในงบ 53”
นายกรณ์กล่าวถึงกรณีที่จะต้องขยายเวลาออกอีกว่า ถ้าขยายเวลาออกไป 2 เดือนจะยังอยู่ในงบประมาณ 2552 หรือให้ถึงสิ้นปี ก็จะเป็นภาระต่องบประมาณเดือนละ 1.2 หมื่นล้านบาท และคาดว่า เศรษฐกิจในช่วงสิ้นปีจะเริ่มดี ทำให้ผลกระทบต่อปากท้องของประชาชนน่าจะลดลง
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)กล่าวว่า ประเด็นสำคัญว่า จะขยายเวลา 5 มาตรการออกไปอีกกี่เดือนขึ้นกับงบประมาณกลางปีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาว่า ที่เหลือจากการจัดสรรให้แต่ละหน่วยงานแล้วเหลืองบกลางปีจำนวนเท่าใด และสามารถรองรับการขยายเวลามาตรการออกไปได้กี่เดือน ซึ่งต้องรอการจัดสรรงบกลางปีให้เสร็จก่อน
“เรื่องจะต่ออายุมาตรการออกไปอีกกี่เดือนหรือกี่มาตรการยังตอบไม่ได้ในขณะนี้เพราะขึ้นอยู่กับเรื่องงบประมาณเป็นหลัก และรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะได้รับการชดเชยแห่งละเท่าไรนั้นเป็นเรื่องการพิจารณางบประมาณของสภา” นายอารีพงศ์กล่าว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ส่งผลการศึกษาเพื่อทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนที่จะครบกำหนดในเดือนกรกฎาคมนี้ให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ซึ่งผลการศึกษามีทั้งสนับสนุนให้ต่อมาตรการบางมาตรการ ทบทวนปรับลดการช่วงเหลือบางมาตรการและยกเลิกบางมาตรการ
ซึ่งมาตรการที่เสนอให้ยกเลิกคือ การชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้บิดเบือนกลไกตลาดหากรัฐบาลเข้าไปแทรกแซงมากเกินไปควรจะปล่อยให้กลไกราคาเป็นไปโดยเสรีตามกลไกตลาด โดยผลการศึกษาได้มีข้อคิดเห็นแนบท้ายในกรณีของมาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือนและมาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน ว่าทั้งสองมาตรการนี้ยังจำเป็นหรือไม่หรือทำให้ประชาชนระดับล่างที่ได้รับความเดือนร้อนประหยัดได้จริงหรือไม่
“เราได้ให้ความเห็นแนบท้ายผลการศึกษาในส่วนของมาตรการน้ำฟรี ไฟฟรียังมีประโยชน์หรือไม่เพราะทำให้ประชาชนบางส่วนเมื่อเห็นว่าน้ำฟรี ไฟฟรีก็ไม่มีการประหยัดกลับใช้จ่ายกันอย่างฟุ่มเฟือย” นายสมชัยกล่าว
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนนั้นจะพิจารณาถึงความเหมาะสมว่ามีข้อไหนที่ยังมีความจำเป็นที่จะช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนระดับล่างที่ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนกลุ่มนี้ก็มีความเดือดร้อนอยู่เสมอ
“นโยบายบางอย่างที่ประกาศใช้อยากยังมีความเหมาะสมโดยเฉพาะแนวโน้มราคาน้ำมันโลกอยู่ในทิศทางปรับตัวสูงขึ้นเพราะเป็นปัจจัยที่อ่อนไหวที่สุด ซึ่งนโยบายฟรีบางอย่างไม่ว่าน้ำ ไฟฟ้าก็อาจพิจารณาทบทวนให้เหมาะสมเพราะมีผลกระทบต่อฐานะเงินคงคลังด้วย แต่หากเงินจากพ.ร.ก.กู้ 4 แสนล้านบาทเข้ามาชดเชยเงินคงคลังแล้วก็คงไม่มีปัญหาทำให้บริหารสภาพคล่องได้ดีขึ้นอย่างไรก็ตามถือว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีเพราะช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนได้มากพอสมควร” นายเอกนิติกล่าว
สำหรับนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาลที่จะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคมประกอบไปด้วย 1.มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำสำหรับบผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัยและผู้เช่าที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณการใช้น้ำระหว่าง 0 ถึง 30 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ซึ่งเป็นปริมาณการใช้ที่ตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของกลุ่มประชาชนผู้ใช้น้ำที่ รับบริการจาก กปน. กปภ. และ อปท.(ระบบประปาเทศพาณิชย์ ระบบประปาหมู่บ้าน และระบบประปาที่ดำเนินการในลักษณะพาณิชย์)
2.มาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน 3.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถประจำทางของ ขสมก. ประเภทรถโดยสารธรรมดาที่ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 800 คันใน 73 เส้นทาง 4.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จำนวน 164 ขบวน และรถไฟชั้น 3 เชิงพาณิชย์ จำนวน 8 ขบวน และ 5.ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน.
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อยู่ระหว่างการศึกษาข้อดีข้อเสียของ 5 มาตรการ 6 เดือนช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะครบกำหนดในสิ้นเดือนกรกฎาคมว่า สมควรที่จะขยายเวลาต่อไปหรือ โดยมีเงื่อนไขว่า จะขยายเวลาออกไปอีก 2 เดือนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2552 หรือ ขยายเวลาออกไปอีก 5 เดือนเพื่อให้ถึงสิ้นปี 2552 โดยจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการลดภาระให้กับประชาชน ขณะเดียวกันก็ต้องดูผลกระทบต่องบประมาณด้วย คาดว่าภายในกลางเดือนนี้จะมีข้อสรุป
“ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบต่างๆ ว่า หากยกเลิกทั้งหมด ผลกระทบกับประชานจะเป็นอย่างไร หรือขยายเวลาต่อไปทั้งหมด ผลจะเป็นอย่างไร หรือยกเลิกบางมาตรการ อะไรที่ควรจะอยู่ต่อหรือจะยกเลิกไป และหากจะขยายออกไปควรจะเป็น 2 เดือน เพื่อให้อยู่ในงบประมาณ 52 หรือ หากจะขยายไปถึงสิ้นปี ก็ต้องดูว่าภาระงบประมาณส่วนนี้จะมาจากไหน เพราะไม่ได้ตั้งงบประมาณส่วนนี้ในงบ 53”
นายกรณ์กล่าวถึงกรณีที่จะต้องขยายเวลาออกอีกว่า ถ้าขยายเวลาออกไป 2 เดือนจะยังอยู่ในงบประมาณ 2552 หรือให้ถึงสิ้นปี ก็จะเป็นภาระต่องบประมาณเดือนละ 1.2 หมื่นล้านบาท และคาดว่า เศรษฐกิจในช่วงสิ้นปีจะเริ่มดี ทำให้ผลกระทบต่อปากท้องของประชาชนน่าจะลดลง
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)กล่าวว่า ประเด็นสำคัญว่า จะขยายเวลา 5 มาตรการออกไปอีกกี่เดือนขึ้นกับงบประมาณกลางปีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาว่า ที่เหลือจากการจัดสรรให้แต่ละหน่วยงานแล้วเหลืองบกลางปีจำนวนเท่าใด และสามารถรองรับการขยายเวลามาตรการออกไปได้กี่เดือน ซึ่งต้องรอการจัดสรรงบกลางปีให้เสร็จก่อน
“เรื่องจะต่ออายุมาตรการออกไปอีกกี่เดือนหรือกี่มาตรการยังตอบไม่ได้ในขณะนี้เพราะขึ้นอยู่กับเรื่องงบประมาณเป็นหลัก และรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะได้รับการชดเชยแห่งละเท่าไรนั้นเป็นเรื่องการพิจารณางบประมาณของสภา” นายอารีพงศ์กล่าว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ส่งผลการศึกษาเพื่อทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนที่จะครบกำหนดในเดือนกรกฎาคมนี้ให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ซึ่งผลการศึกษามีทั้งสนับสนุนให้ต่อมาตรการบางมาตรการ ทบทวนปรับลดการช่วงเหลือบางมาตรการและยกเลิกบางมาตรการ
ซึ่งมาตรการที่เสนอให้ยกเลิกคือ การชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้บิดเบือนกลไกตลาดหากรัฐบาลเข้าไปแทรกแซงมากเกินไปควรจะปล่อยให้กลไกราคาเป็นไปโดยเสรีตามกลไกตลาด โดยผลการศึกษาได้มีข้อคิดเห็นแนบท้ายในกรณีของมาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือนและมาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน ว่าทั้งสองมาตรการนี้ยังจำเป็นหรือไม่หรือทำให้ประชาชนระดับล่างที่ได้รับความเดือนร้อนประหยัดได้จริงหรือไม่
“เราได้ให้ความเห็นแนบท้ายผลการศึกษาในส่วนของมาตรการน้ำฟรี ไฟฟรียังมีประโยชน์หรือไม่เพราะทำให้ประชาชนบางส่วนเมื่อเห็นว่าน้ำฟรี ไฟฟรีก็ไม่มีการประหยัดกลับใช้จ่ายกันอย่างฟุ่มเฟือย” นายสมชัยกล่าว
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนนั้นจะพิจารณาถึงความเหมาะสมว่ามีข้อไหนที่ยังมีความจำเป็นที่จะช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนระดับล่างที่ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนกลุ่มนี้ก็มีความเดือดร้อนอยู่เสมอ
“นโยบายบางอย่างที่ประกาศใช้อยากยังมีความเหมาะสมโดยเฉพาะแนวโน้มราคาน้ำมันโลกอยู่ในทิศทางปรับตัวสูงขึ้นเพราะเป็นปัจจัยที่อ่อนไหวที่สุด ซึ่งนโยบายฟรีบางอย่างไม่ว่าน้ำ ไฟฟ้าก็อาจพิจารณาทบทวนให้เหมาะสมเพราะมีผลกระทบต่อฐานะเงินคงคลังด้วย แต่หากเงินจากพ.ร.ก.กู้ 4 แสนล้านบาทเข้ามาชดเชยเงินคงคลังแล้วก็คงไม่มีปัญหาทำให้บริหารสภาพคล่องได้ดีขึ้นอย่างไรก็ตามถือว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีเพราะช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนได้มากพอสมควร” นายเอกนิติกล่าว
สำหรับนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาลที่จะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคมประกอบไปด้วย 1.มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำสำหรับบผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัยและผู้เช่าที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณการใช้น้ำระหว่าง 0 ถึง 30 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ซึ่งเป็นปริมาณการใช้ที่ตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของกลุ่มประชาชนผู้ใช้น้ำที่ รับบริการจาก กปน. กปภ. และ อปท.(ระบบประปาเทศพาณิชย์ ระบบประปาหมู่บ้าน และระบบประปาที่ดำเนินการในลักษณะพาณิชย์)
2.มาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน 3.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถประจำทางของ ขสมก. ประเภทรถโดยสารธรรมดาที่ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 800 คันใน 73 เส้นทาง 4.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จำนวน 164 ขบวน และรถไฟชั้น 3 เชิงพาณิชย์ จำนวน 8 ขบวน และ 5.ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน.