ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังส่งผลศึกษาทบทวน "5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน" ให้ รมว.คลังชี้ขาดหลังครบกำหนดในเดือนหน้า เผยเสนอให้ต่ออายุรถไฟรถเมล์ฟรี ค่าน้ำค่าไฟยังฟรีแต่ให้เพิ่มเพดานขั้นต่ำ อ้างห่วงคนไทยใช้ฟุ่มเฟือย ส่วนมาตรการที่เสนอให้ยกเลิกคือการชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน นายกฯ บอกให้เข้า ครม.ใน 2 สัปดาห์
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ส่งผลการศึกษาเพื่อทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนที่จะครบกำหนดในเดือนกรกฎาคมนี้ให้กับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ซึ่งผลการศึกษามีทั้ง 3 ส่วนคือ 1.สนับสนุนให้ต่อมาตรการ 2ยกเลิกบางมาตรการ และ 3.ปรับลดระดับการช่วยเหลือ
มาตรการที่เสนอให้ยกเลิกคือ การชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้บิดเบือนกลไกตลาดหากรัฐบาลเข้าไปแทรกแซงมากเกินไปควรจะปล่อยให้กลไกราคาเป็นไปโดยเสรีตามกลไกตลาด โดยผลการศึกษาได้มีข้อคิดเห็นแนบท้ายในกรณีของมาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือนและมาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน ว่าทั้งสองมาตรการนี้ยังจำเป็นหรือไม่หรือทำให้ประชาชนระดับล่างที่ได้รับความเดือนร้อนประหยัดได้จริงหรือไม่
“เราได้ให้ความเห็นแนบท้ายผลการศึกษาในส่วนของมาตรการน้ำฟรี ไฟฟรียังมีประโยชน์หรือไม่เพราะทำให้ประชาชนบางส่วนเมื่อเห็นว่าน้ำฟรี ไฟฟรีก็ไม่มีการประหยัดกลับใช้จ่ายกันอย่างฟุ่มเฟือย” นายสมชัยกล่าว
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ในส่วนของ สคร.อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลที่จะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคมเพื่อประเมินผลกระทบต่อภาระเงินคงคลังซึ่งอาจเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือยกเลิกนโยบายบางข้อที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยลง
“ส่วนของน้ำประปาและไฟฟ้านั้นอาจมีข้อเสนอให้ลดอัตราการอุดหนุนต่อหน่วยลงเพื่อให้มีการประหยัดการใช้พลังงานมากกว่านี้ แต่ส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์และลดภาระของประชาชนได้โดยตรงและทันทีคือรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรีก็อาจจะเสนอให้ต่ออายุมาตรการเหล่านี้ออกไป” นายอารีพงศ์กล่าว
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนเพื่อช่วยค่าครองชีพของประชาชนที่ใกล้ครบกำหนดแล้วนั้นว่า ให้กระทรวงการคลังเป็นคนเสนอ โดยจะนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 2 สัปดาห์
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนนั้นจะพิจารณาถึงความเหมาะสมว่ามีข้อไหนที่ยังมีความจำเป็นที่จะช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนระดับล่างที่ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนกลุ่มนี้ก็มีความเดือดร้อนอยู่เสมอ
“นโยบายบางอย่างที่ประกาศใช้อยากยังมีความเหมาะสมโดยเฉพาะแนวโน้มราคาน้ำมันโลกอยู่ในทิศทางปรับตัวสูงขึ้นเพราะเป็นปัจจัยที่อ่อนไหวที่สุด ซึ่งนโยบายฟรีบางอย่างไม่ว่าน้ำ ไฟฟ้าก็อาจพิจารณาทบทวนให้เหมาะสมเพราะมีผลกระทบต่อฐานะเงินคงคลังด้วย แต่หากเงินจากพ.ร.ก.กู้ 4 แสนล้านบาทเข้ามาชดเชยเงินคงคลังแล้วก็คงไม่มีปัญหาทำให้บริหารสภาพคล่องได้ดีขึ้นอย่างไรก็ตามถือว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีเพราะช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนได้มากพอสมควร” นายเอกนิติกล่าว
สำหรับนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาลที่จะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคมประกอบไปด้วย 1.มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำสำหรับบผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัยและผู้เช่าที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณการใช้น้ำระหว่าง 0 ถึง 30 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ซึ่งเป็นปริมาณการใช้ที่ตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของกลุ่มประชาชนผู้ใช้น้ำที่ รับบริการจาก กปน. กปภ. และ อปท.(ระบบประปาเทศพาณิชย์ ระบบประปาหมู่บ้าน และระบบประปาที่ดำเนินการในลักษณะพาณิชย์)
2.มาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน 3.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถประจำทางของ ขสมก. ประเภทรถโดยสารธรรมดาที่ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 800 คันใน 73 เส้นทาง 4.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จำนวน 164 ขบวน และรถไฟชั้น 3 เชิงพาณิชย์ จำนวน 8 ขบวน และ 5.ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ส่งผลการศึกษาเพื่อทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนที่จะครบกำหนดในเดือนกรกฎาคมนี้ให้กับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ซึ่งผลการศึกษามีทั้ง 3 ส่วนคือ 1.สนับสนุนให้ต่อมาตรการ 2ยกเลิกบางมาตรการ และ 3.ปรับลดระดับการช่วยเหลือ
มาตรการที่เสนอให้ยกเลิกคือ การชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้บิดเบือนกลไกตลาดหากรัฐบาลเข้าไปแทรกแซงมากเกินไปควรจะปล่อยให้กลไกราคาเป็นไปโดยเสรีตามกลไกตลาด โดยผลการศึกษาได้มีข้อคิดเห็นแนบท้ายในกรณีของมาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือนและมาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน ว่าทั้งสองมาตรการนี้ยังจำเป็นหรือไม่หรือทำให้ประชาชนระดับล่างที่ได้รับความเดือนร้อนประหยัดได้จริงหรือไม่
“เราได้ให้ความเห็นแนบท้ายผลการศึกษาในส่วนของมาตรการน้ำฟรี ไฟฟรียังมีประโยชน์หรือไม่เพราะทำให้ประชาชนบางส่วนเมื่อเห็นว่าน้ำฟรี ไฟฟรีก็ไม่มีการประหยัดกลับใช้จ่ายกันอย่างฟุ่มเฟือย” นายสมชัยกล่าว
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ในส่วนของ สคร.อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลที่จะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคมเพื่อประเมินผลกระทบต่อภาระเงินคงคลังซึ่งอาจเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือยกเลิกนโยบายบางข้อที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยลง
“ส่วนของน้ำประปาและไฟฟ้านั้นอาจมีข้อเสนอให้ลดอัตราการอุดหนุนต่อหน่วยลงเพื่อให้มีการประหยัดการใช้พลังงานมากกว่านี้ แต่ส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์และลดภาระของประชาชนได้โดยตรงและทันทีคือรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรีก็อาจจะเสนอให้ต่ออายุมาตรการเหล่านี้ออกไป” นายอารีพงศ์กล่าว
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนเพื่อช่วยค่าครองชีพของประชาชนที่ใกล้ครบกำหนดแล้วนั้นว่า ให้กระทรวงการคลังเป็นคนเสนอ โดยจะนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 2 สัปดาห์
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือนนั้นจะพิจารณาถึงความเหมาะสมว่ามีข้อไหนที่ยังมีความจำเป็นที่จะช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนระดับล่างที่ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนกลุ่มนี้ก็มีความเดือดร้อนอยู่เสมอ
“นโยบายบางอย่างที่ประกาศใช้อยากยังมีความเหมาะสมโดยเฉพาะแนวโน้มราคาน้ำมันโลกอยู่ในทิศทางปรับตัวสูงขึ้นเพราะเป็นปัจจัยที่อ่อนไหวที่สุด ซึ่งนโยบายฟรีบางอย่างไม่ว่าน้ำ ไฟฟ้าก็อาจพิจารณาทบทวนให้เหมาะสมเพราะมีผลกระทบต่อฐานะเงินคงคลังด้วย แต่หากเงินจากพ.ร.ก.กู้ 4 แสนล้านบาทเข้ามาชดเชยเงินคงคลังแล้วก็คงไม่มีปัญหาทำให้บริหารสภาพคล่องได้ดีขึ้นอย่างไรก็ตามถือว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีเพราะช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนได้มากพอสมควร” นายเอกนิติกล่าว
สำหรับนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาลที่จะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคมประกอบไปด้วย 1.มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำสำหรับบผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัยและผู้เช่าที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณการใช้น้ำระหว่าง 0 ถึง 30 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ซึ่งเป็นปริมาณการใช้ที่ตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของกลุ่มประชาชนผู้ใช้น้ำที่ รับบริการจาก กปน. กปภ. และ อปท.(ระบบประปาเทศพาณิชย์ ระบบประปาหมู่บ้าน และระบบประปาที่ดำเนินการในลักษณะพาณิชย์)
2.มาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน 3.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถประจำทางของ ขสมก. ประเภทรถโดยสารธรรมดาที่ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 800 คันใน 73 เส้นทาง 4.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จำนวน 164 ขบวน และรถไฟชั้น 3 เชิงพาณิชย์ จำนวน 8 ขบวน และ 5.ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน