ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - "อดีต รมว.พาณิชย์" กระตุ้นผู้ประกอบการนักลงทุนภาคใต้ เตรียมพร้อมเพิ่มโอกาสทางการค้า การลงทุน หลังอาเซียนได้บรรลุข้อตกลงการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและจะมีการเปิดเสรีเต็มรูปแบบในปี 58 ห่วงปาล์มน้ำมันพืชหลักของภาคใต้จะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี เพราะยังพัฒนาไม่ทันมาเลย์ พร้อมเตือนให้วางแผนการปลูกพืชพลังงาน-อาหารรับมือความปั่นป่วนในอนาคต ชี้การพัฒนาด้านลอจิสติกส์ยังห่วย ต้นทุนสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วถึงเท่าตัว คือ 20% จี้นักการเมืองสร้างการเมืองให้มีเสถียรภาพเพื่อการพัฒนาประเทศรองรับการแข่งขัน
สืบเนื่องจากประเทศไทยได้ร่วมลงนามเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ตั้งแต่ปี 2536 และมีกรอบความตกลงด้านบริการ ประกาศเขตการลงทุน จนพัฒนาสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะมีขึ้นในปี 2558 เปิดเสรีทางการค้า สินค้าและการลงทุน ซึ่งสินค้าในกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศจะลดภาษีเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลของการเปิดเสรีนี้จะส่งเสริมการได้ประโยชน์จากทรัพยากรในภูมิภาคอาเซียนจะสร้างตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 570 ล้านคน หรือ 9% ของประชากรโลก โดยมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง ทั้งวัตถุดิบ ซึ่งสามารถเลือกวัตถุดิบ แรงงาน เทคโนโลยีและสถานที่ผลิตที่ได้เปรียบที่สุด เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันสูง ศักยภาพเหล่านี้จะดึงดูดการลงทุนจากประเทศนอกอาเซียนและจะสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มสามารถเจรจาต่อรองในเวทีการค้าโลก
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจะต้องติดตามและให้ความสนใจการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้รับรู้ลู่ทางการค้าบริการ 12 สาขาสำคัญที่มีโอกาสลงทุนมากขึ้นใน และเตรียมรับการแข่งขันการลงทุนของต่างประเทศ ซึ่งเปิดให้นักลงทุนอาเซียนทำธุรกิจในประเทศสมาชิกโดยอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้สูงถึง 70% ได้แก่บริการด้านธุรกิจ-วิชาชีพ เช่นแพทย์ วิศวกร ทนายความ และนักบัญชี เป็นต้น, บริการด้านสื่อสาร-โทรคมนาคม, บริการด้านการก่อสร้าง, บริการด้านการจัดจำหน่าย, บริการด้านการศึกษา, บริการด้านสิ่งแวดล้อม, บริการด้านการเงิน, บริการด้านสุขภาพ, บริการด้านการท่องเที่ยว, บริการด้านการขนส่ง และบริการอื่นๆ
นายเกริกไกร กล่าวว่า สำหรับการเปิดเสรีทางการค้ายางพารานั้น ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อชาวสวนและผู้ประกอบการ เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออกยางอันดับ 1 ของโลกปีละ 4-5 ล้านตัน แม้ว่าจะมีคู่แข่งใหม่ๆ นอกตลาดอาเซียน เช่น จีนใต้ อินเดีย ที่ลงทุนปลูกยางรองรับความต้องการใช้ก็ตาม
แต่เรื่องที่น่าห่วงคือปาล์มน้ำมัน ซึ่งปลูกมากในภาคใต้และรัฐบาลต้องลงมาดูแล เพราะประเทศมาเลเซียมีศักยภาพในเรื่องนี้สูง มีสวนปาล์มขนาดใหญ่กว่า พร้อมด้วยสายพันธุ์ที่ดี และใช้เทคโนโลยี ไทยจึงต้องหันมาพัฒนาตัวเองให้สามารถแข่งขันเรื่องปาล์มให้ได้ รวมถึงการรองรับปัญหาเรื่องพลังงานสีเขียว โดยการจัดโซนการปลูกพืชพลังงานทางเลือก และอาหาร ให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะ ไม่เกิดการแย่งชิงพื้นที่ และรองรับความต้องการทั้งพลังงานและอาหารในอนาคตให้ได้
อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยจะพัฒนารองรับและปรับตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับเสถียรภาพการเมืองของไทยด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างลอจิสติกส์ซึ่งเป็นปัญหาหลักของไทย ทำให้มีต้นทุนด้านนี้สูงถึง 20% ขณะที่ประเทศเจริญแล้วมีต้นทุนเพียง 10% เท่านั้น จึงต้องมีการจัดการภายในประเทศ ทั้งเรื่องของเซาท์เทิร์นซีบอร์ดที่มีโครงการเกิดขึ้นมานาน แต่ไม่สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นจริงเสียที
สืบเนื่องจากประเทศไทยได้ร่วมลงนามเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ตั้งแต่ปี 2536 และมีกรอบความตกลงด้านบริการ ประกาศเขตการลงทุน จนพัฒนาสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะมีขึ้นในปี 2558 เปิดเสรีทางการค้า สินค้าและการลงทุน ซึ่งสินค้าในกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศจะลดภาษีเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลของการเปิดเสรีนี้จะส่งเสริมการได้ประโยชน์จากทรัพยากรในภูมิภาคอาเซียนจะสร้างตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 570 ล้านคน หรือ 9% ของประชากรโลก โดยมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง ทั้งวัตถุดิบ ซึ่งสามารถเลือกวัตถุดิบ แรงงาน เทคโนโลยีและสถานที่ผลิตที่ได้เปรียบที่สุด เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันสูง ศักยภาพเหล่านี้จะดึงดูดการลงทุนจากประเทศนอกอาเซียนและจะสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มสามารถเจรจาต่อรองในเวทีการค้าโลก
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจะต้องติดตามและให้ความสนใจการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้รับรู้ลู่ทางการค้าบริการ 12 สาขาสำคัญที่มีโอกาสลงทุนมากขึ้นใน และเตรียมรับการแข่งขันการลงทุนของต่างประเทศ ซึ่งเปิดให้นักลงทุนอาเซียนทำธุรกิจในประเทศสมาชิกโดยอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้สูงถึง 70% ได้แก่บริการด้านธุรกิจ-วิชาชีพ เช่นแพทย์ วิศวกร ทนายความ และนักบัญชี เป็นต้น, บริการด้านสื่อสาร-โทรคมนาคม, บริการด้านการก่อสร้าง, บริการด้านการจัดจำหน่าย, บริการด้านการศึกษา, บริการด้านสิ่งแวดล้อม, บริการด้านการเงิน, บริการด้านสุขภาพ, บริการด้านการท่องเที่ยว, บริการด้านการขนส่ง และบริการอื่นๆ
นายเกริกไกร กล่าวว่า สำหรับการเปิดเสรีทางการค้ายางพารานั้น ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อชาวสวนและผู้ประกอบการ เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออกยางอันดับ 1 ของโลกปีละ 4-5 ล้านตัน แม้ว่าจะมีคู่แข่งใหม่ๆ นอกตลาดอาเซียน เช่น จีนใต้ อินเดีย ที่ลงทุนปลูกยางรองรับความต้องการใช้ก็ตาม
แต่เรื่องที่น่าห่วงคือปาล์มน้ำมัน ซึ่งปลูกมากในภาคใต้และรัฐบาลต้องลงมาดูแล เพราะประเทศมาเลเซียมีศักยภาพในเรื่องนี้สูง มีสวนปาล์มขนาดใหญ่กว่า พร้อมด้วยสายพันธุ์ที่ดี และใช้เทคโนโลยี ไทยจึงต้องหันมาพัฒนาตัวเองให้สามารถแข่งขันเรื่องปาล์มให้ได้ รวมถึงการรองรับปัญหาเรื่องพลังงานสีเขียว โดยการจัดโซนการปลูกพืชพลังงานทางเลือก และอาหาร ให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะ ไม่เกิดการแย่งชิงพื้นที่ และรองรับความต้องการทั้งพลังงานและอาหารในอนาคตให้ได้
อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยจะพัฒนารองรับและปรับตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับเสถียรภาพการเมืองของไทยด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างลอจิสติกส์ซึ่งเป็นปัญหาหลักของไทย ทำให้มีต้นทุนด้านนี้สูงถึง 20% ขณะที่ประเทศเจริญแล้วมีต้นทุนเพียง 10% เท่านั้น จึงต้องมีการจัดการภายในประเทศ ทั้งเรื่องของเซาท์เทิร์นซีบอร์ดที่มีโครงการเกิดขึ้นมานาน แต่ไม่สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นจริงเสียที