นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเจรจาปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชาด้านปราสาทเข้าพระวิหาร จ.ศรีสะเกษว่า กรอบการเจรจามีเป้าหมายตรงกันคือต้องแก้ปัญหาโดยสันติ ส่วนกำลังพลในพื้นที่นั้นมีความละเอียดอ่อนเช่นวัดก็ต้องใช้เวลาพูดคุยกันแม้จะยังตกลงกันไม่ได้ก็ตาม
ส่วนที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ให้สัมภาษณ์ท้าทายศักดิ์ศรีของ กองทัพไทยตลอดจะส่งผลต่อการพูดคุยกันของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ความเข้าใจของคนทำงานเป็นไปในทางที่ดี ส่วนการแสดงออกของฝ่ายการเมืองบางครั้งก็เป็นเรื่องของปัญหาภายในเหมือนกันซึ่งต้องเข้าใจ และคงไม่กระทบการทำงานเพราะคนทำงานก็ต้องคุยกัน หากไปถาม รมว.กลาโหม และผบ.เหล่าทัพต่างก็ยืนยันว่าการพูดคุยมีความเป้าหมายเดียวกันคือลดความตรึงเครียดลง แต่ต่างฝ่ายต่างก็ต้องระวังเพราะการเจารจานั้นจะมีความได้เปรียบเสียเปรียบ
ส่วนท่าทีล่าสุดของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่ประกาศพร้อมทำสงครมนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากพูดเรื่องความพร้อมนั้นไทยก็มีความพร้อม แต่สิ่งสำคัญคือมีการพูดคุยกันแล้วว่าการทำสงครามไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา ตนเชื่อว่าในที่สุดทั้งสองประเทศจะเข้าใจว่าการรบกันนั้นไม่มีใครชนะ จะเสียหายมาก และทั้งสองประเทศก็อยู่ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน มีงานที่ทำร่วมกันหลายเรื่อง เช่น คมนาคม การท่องเที่ยว การรวมตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม มันจึงไม่มีประโยชน์อะไร สุดสัปดาห์นี้ นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี จะไปร่วมงานเปิดถนนในเส้นทางที่ไทย ไปสนับสนุนกัมพูชา สิ่งนี้คือหลักของความสัมพันธ์ ปัญหาปราสาทเขาพระวิหารนั้น ต้องค่อยๆแก้ไข ส่วนคำพูดของนายกฯกัมพูชาที่เหมือนว่ามักเขกหัวรัฐบาลไทยเสมอๆนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องระวังเรื่องข่าวสาร
ผู้สื่อข่าวถามว่าปองพล อดิเรกสาร อดีตกรรมการมรดกโลกของไทยระบุว่า นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ เดินทางไปคัดค้านการขึ้นทะเบียบ ปราสาทพระวิหารของกัมพูชาประเทศเดียวในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่สเปนไม่ได้ผลเพราะได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าต้องเข้าใจข้อมูลว่า การตัดสินใจขึ้นทะเบียนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ช่วงที่นายปองพลและนายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศไปประชุม แต่มันมีข้อกำหนดว่ากัมพูชาต้องทำอะไรบ้าง เช่น การจัดทำรายงาน แผนที่ ข้อเสนอการบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทและบริเวณโดยรอบ สิ่งที่รัฐบาลนี้ต้องทำคือขั้นตอนเหล่านี้ต้องไม่กระทบกระเทือนอธิปไตยของไทย ฉะนั้น จึงทักท้วงไปว่า รายงานของกัมพูชาที่ส่งไปให้คณะกรรมการมรดกโลกเมื่อเดือน เม.ย. ไทยยังไม่เห็นเลยและไม่สามารถมั่นใจว่าจะไม่กระทบกระเทือนไทย จึงบอกไปว่ายังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการ คณะกรรมการมรดกโลกจึงเลื่อนการพิจารณาไปในเดือน ก.พ.2553ฉะนั้น ไม่มีอะไรซับซ้อนและขออย่าทำให้สับสนว่าขึ้นทะเบียนแล้วหรือไม่ มันเป็นเรื่องของปีที่แล้ว สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำคือแก้ไขปัญห และกำลังทำได้ตามแนวทางที่กำหนด
จุดยืนของไทยคือทำความเข้าใจกับคณะกรรมการมรดกโลกว่า จริงๆ แล้ว การขึ้นทะเบียนมรดกโลกต้องมีจุดหมายนำไปสู่สันติภาพ โดยคนไทย คนกัมพูชาและคนทั้งโลกได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ หากทำไปแล้วเกิดความตึงเครียด การรบ และสูญเสียนั้น ไม่ใช่จุดประสงค์ขององค์การสหประชาชน ยูเนสโก และคณะกรรมการมรดกโลก มันคือจุดที่ไทยดึงและติงไว้ จึงเชื่อว่าข้อนี้จะมีน้ำหนักพอที่จะให้ไทยเข้าไปมีส่วนบอกว่า จะทำอย่างไร ไม่ให้กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากไม่ฟังไทยจะมีปัญหาเหมือนช่วงที่นายปองพลและนายนพดลดำเนินการในครั้งที่ ผ่านมา ปัญหาจึงเห็นอยู่ในวันนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น สองประเทศจะไปขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหารร่วมกันได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มี ในชั้นนี้ยังไม่พูดกัน และจะทำให้เกิดความสับสนหลายเรื่อง ตราบที่เขตแดนยังไม่ชัด การจะขึ้นทะเบียนร่วมกันจะเกิดคำถามว่า เป็นพื้นที่ของใคร เว้นแต่ตกลงได้ว่าขึ้นทะเบียนร่วมกันโดยไม่มี ข้อตกลงเรื่องเขตแดน เรื่องนี้ไม่ใช่ฝ่ายใดตัดสินใจได้ แต่การเดินหน้าขอขึ้นทะเบียนนั้นกัมพูชาต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนและความเห็นของไทย แต่ท้ายสุดจะขึ้นทะเบียนร่วมหรือไม่ก็อยู่ที่ไทย กัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกที่จะคุยกัน แต่กัมพูชา ยังไม่ยอมคุยเรื่องนี้
บางคนบอกว่าหากรัฐบาลคิดไปจดทะเบียนร่วมจะเกิดความเสียเปรียบ ผมดูกฎหมายเป็นหลัก จุดยืนสมัยที่เป็นฝ่ายค้านเคยมีอย่างไรก็ยังเหมือนเดิม และอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าสิ่งที่เดินอยู่นั้นต้องการทำอะไร
พล.ต.กนก เนตระคเวสนะ รองแม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวว่า หลังจากสมเด็จ ฮุนเซน ประกาศหากกำลังทหารไทยรุกล้ำอธิปไตยจะยิงด้วยจรวดทหารกัมพูชาได้เคลื่อน อาวุธหนักเข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. โดยเฉพาะจรวด ได้เคลื่อนย้ายมาไว้ที่ บริเวณปราสาทเขาพระวิหารแล้ว รวมถึงรถถัง และ ปืนใหญ่ ด้วย
เท่าที่ติดตามสถานการณ์ตอนนี้เริ่มตรึงเครียดมากขึ้น หลังจากที่ สมเด็จฮุนเซน ประกาศว่าจะยิงจรวดหากฝ่ายกำลังทหารไทยรุกล้ำอธิปไตย ทั้งนี้ฝ่ายกำลังทหารไทยก็ได้มีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลา พล.ท.วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาคที่ 2 ก็พยายามเจรจากับทางฝั่งกัมพูชา โดยเฉพาะเรื่องการปรับกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม เห็นว่าหากกำลังอยู่เยอะโอกาสที่จะเกิดปัญหาก็มีอยู่เยอะเช่นกัน แต่หากกำลังมีน้อยโอกาสที่จะเกิดปัญหาก็น้อยลงไปด้วย
พล.ต.กนก กล่าวว่า ในวันนี้ (3 มิ.ย.) ทางกองกำลังสุรนารี จะมีการซักซ้อมแผนอพยพประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้เห็นว่าประชาชนในพื้นที่ไม่ได้วิตกกังวลใจอะไร เพราะสถานการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่ง
มีรายงานว่า แม่ทัพภาคที่ 2 ได้โทรศัพท์รายงานสถานการณ์ให้ พล.อ.อนุพงษ์ ที่อยู่ระหว่างเยือนเวียดนามทราบถึงท่าทีของ ผบ.ทหารภาคที่ 4 ของกัมพูชา ที่แจ้งให้ ทหารไทยถอนออกจากพื้นที่ทั้งหมด เพราะเป็นคำสั่งของ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรี ซึ่งทางแม่ทัพภาคที่ 2 ย้ำจุดยืนที่จะขอพูดคุยกับผู้นำทางทหารในพื้นที่อย่างสันติ
โดยพล.อ.อนุพงษ์ ได้กำชับผ่านทางโทรศัพท์วให้ แม่ทัพภาคที่ 2 พูดคุยกับทาง กัมพูชาอย่างอดทน และ กำชับให้ทหารในพื้นที่อดทนอย่างถึงที่สุด และ ตรึงพื้นที่ไว้ ตามคำสั่ง แม่ทัพภาคที่ 2 พร้อมทั้ง ไทยจะย้ำเจตนารมณ์ว่าจะไม่เป็นฝ่ายเริ่ม หรือ ยิงก่อน ขอให้ทุกอย่างแก้ไขปัญหาในกลไกของคณะกรรมการที่จะเจรจาแก้ไขปัญหาทุกระดับ และให้การเจรจาของผู้นำทหารในพื้นที่ดำเนินการต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ส่วนที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ให้สัมภาษณ์ท้าทายศักดิ์ศรีของ กองทัพไทยตลอดจะส่งผลต่อการพูดคุยกันของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ความเข้าใจของคนทำงานเป็นไปในทางที่ดี ส่วนการแสดงออกของฝ่ายการเมืองบางครั้งก็เป็นเรื่องของปัญหาภายในเหมือนกันซึ่งต้องเข้าใจ และคงไม่กระทบการทำงานเพราะคนทำงานก็ต้องคุยกัน หากไปถาม รมว.กลาโหม และผบ.เหล่าทัพต่างก็ยืนยันว่าการพูดคุยมีความเป้าหมายเดียวกันคือลดความตรึงเครียดลง แต่ต่างฝ่ายต่างก็ต้องระวังเพราะการเจารจานั้นจะมีความได้เปรียบเสียเปรียบ
ส่วนท่าทีล่าสุดของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่ประกาศพร้อมทำสงครมนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากพูดเรื่องความพร้อมนั้นไทยก็มีความพร้อม แต่สิ่งสำคัญคือมีการพูดคุยกันแล้วว่าการทำสงครามไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา ตนเชื่อว่าในที่สุดทั้งสองประเทศจะเข้าใจว่าการรบกันนั้นไม่มีใครชนะ จะเสียหายมาก และทั้งสองประเทศก็อยู่ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน มีงานที่ทำร่วมกันหลายเรื่อง เช่น คมนาคม การท่องเที่ยว การรวมตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม มันจึงไม่มีประโยชน์อะไร สุดสัปดาห์นี้ นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี จะไปร่วมงานเปิดถนนในเส้นทางที่ไทย ไปสนับสนุนกัมพูชา สิ่งนี้คือหลักของความสัมพันธ์ ปัญหาปราสาทเขาพระวิหารนั้น ต้องค่อยๆแก้ไข ส่วนคำพูดของนายกฯกัมพูชาที่เหมือนว่ามักเขกหัวรัฐบาลไทยเสมอๆนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องระวังเรื่องข่าวสาร
ผู้สื่อข่าวถามว่าปองพล อดิเรกสาร อดีตกรรมการมรดกโลกของไทยระบุว่า นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ เดินทางไปคัดค้านการขึ้นทะเบียบ ปราสาทพระวิหารของกัมพูชาประเทศเดียวในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่สเปนไม่ได้ผลเพราะได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าต้องเข้าใจข้อมูลว่า การตัดสินใจขึ้นทะเบียนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ช่วงที่นายปองพลและนายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศไปประชุม แต่มันมีข้อกำหนดว่ากัมพูชาต้องทำอะไรบ้าง เช่น การจัดทำรายงาน แผนที่ ข้อเสนอการบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทและบริเวณโดยรอบ สิ่งที่รัฐบาลนี้ต้องทำคือขั้นตอนเหล่านี้ต้องไม่กระทบกระเทือนอธิปไตยของไทย ฉะนั้น จึงทักท้วงไปว่า รายงานของกัมพูชาที่ส่งไปให้คณะกรรมการมรดกโลกเมื่อเดือน เม.ย. ไทยยังไม่เห็นเลยและไม่สามารถมั่นใจว่าจะไม่กระทบกระเทือนไทย จึงบอกไปว่ายังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการ คณะกรรมการมรดกโลกจึงเลื่อนการพิจารณาไปในเดือน ก.พ.2553ฉะนั้น ไม่มีอะไรซับซ้อนและขออย่าทำให้สับสนว่าขึ้นทะเบียนแล้วหรือไม่ มันเป็นเรื่องของปีที่แล้ว สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำคือแก้ไขปัญห และกำลังทำได้ตามแนวทางที่กำหนด
จุดยืนของไทยคือทำความเข้าใจกับคณะกรรมการมรดกโลกว่า จริงๆ แล้ว การขึ้นทะเบียนมรดกโลกต้องมีจุดหมายนำไปสู่สันติภาพ โดยคนไทย คนกัมพูชาและคนทั้งโลกได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ หากทำไปแล้วเกิดความตึงเครียด การรบ และสูญเสียนั้น ไม่ใช่จุดประสงค์ขององค์การสหประชาชน ยูเนสโก และคณะกรรมการมรดกโลก มันคือจุดที่ไทยดึงและติงไว้ จึงเชื่อว่าข้อนี้จะมีน้ำหนักพอที่จะให้ไทยเข้าไปมีส่วนบอกว่า จะทำอย่างไร ไม่ให้กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากไม่ฟังไทยจะมีปัญหาเหมือนช่วงที่นายปองพลและนายนพดลดำเนินการในครั้งที่ ผ่านมา ปัญหาจึงเห็นอยู่ในวันนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น สองประเทศจะไปขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหารร่วมกันได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มี ในชั้นนี้ยังไม่พูดกัน และจะทำให้เกิดความสับสนหลายเรื่อง ตราบที่เขตแดนยังไม่ชัด การจะขึ้นทะเบียนร่วมกันจะเกิดคำถามว่า เป็นพื้นที่ของใคร เว้นแต่ตกลงได้ว่าขึ้นทะเบียนร่วมกันโดยไม่มี ข้อตกลงเรื่องเขตแดน เรื่องนี้ไม่ใช่ฝ่ายใดตัดสินใจได้ แต่การเดินหน้าขอขึ้นทะเบียนนั้นกัมพูชาต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนและความเห็นของไทย แต่ท้ายสุดจะขึ้นทะเบียนร่วมหรือไม่ก็อยู่ที่ไทย กัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกที่จะคุยกัน แต่กัมพูชา ยังไม่ยอมคุยเรื่องนี้
บางคนบอกว่าหากรัฐบาลคิดไปจดทะเบียนร่วมจะเกิดความเสียเปรียบ ผมดูกฎหมายเป็นหลัก จุดยืนสมัยที่เป็นฝ่ายค้านเคยมีอย่างไรก็ยังเหมือนเดิม และอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าสิ่งที่เดินอยู่นั้นต้องการทำอะไร
พล.ต.กนก เนตระคเวสนะ รองแม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวว่า หลังจากสมเด็จ ฮุนเซน ประกาศหากกำลังทหารไทยรุกล้ำอธิปไตยจะยิงด้วยจรวดทหารกัมพูชาได้เคลื่อน อาวุธหนักเข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. โดยเฉพาะจรวด ได้เคลื่อนย้ายมาไว้ที่ บริเวณปราสาทเขาพระวิหารแล้ว รวมถึงรถถัง และ ปืนใหญ่ ด้วย
เท่าที่ติดตามสถานการณ์ตอนนี้เริ่มตรึงเครียดมากขึ้น หลังจากที่ สมเด็จฮุนเซน ประกาศว่าจะยิงจรวดหากฝ่ายกำลังทหารไทยรุกล้ำอธิปไตย ทั้งนี้ฝ่ายกำลังทหารไทยก็ได้มีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลา พล.ท.วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาคที่ 2 ก็พยายามเจรจากับทางฝั่งกัมพูชา โดยเฉพาะเรื่องการปรับกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม เห็นว่าหากกำลังอยู่เยอะโอกาสที่จะเกิดปัญหาก็มีอยู่เยอะเช่นกัน แต่หากกำลังมีน้อยโอกาสที่จะเกิดปัญหาก็น้อยลงไปด้วย
พล.ต.กนก กล่าวว่า ในวันนี้ (3 มิ.ย.) ทางกองกำลังสุรนารี จะมีการซักซ้อมแผนอพยพประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้เห็นว่าประชาชนในพื้นที่ไม่ได้วิตกกังวลใจอะไร เพราะสถานการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่ง
มีรายงานว่า แม่ทัพภาคที่ 2 ได้โทรศัพท์รายงานสถานการณ์ให้ พล.อ.อนุพงษ์ ที่อยู่ระหว่างเยือนเวียดนามทราบถึงท่าทีของ ผบ.ทหารภาคที่ 4 ของกัมพูชา ที่แจ้งให้ ทหารไทยถอนออกจากพื้นที่ทั้งหมด เพราะเป็นคำสั่งของ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรี ซึ่งทางแม่ทัพภาคที่ 2 ย้ำจุดยืนที่จะขอพูดคุยกับผู้นำทางทหารในพื้นที่อย่างสันติ
โดยพล.อ.อนุพงษ์ ได้กำชับผ่านทางโทรศัพท์วให้ แม่ทัพภาคที่ 2 พูดคุยกับทาง กัมพูชาอย่างอดทน และ กำชับให้ทหารในพื้นที่อดทนอย่างถึงที่สุด และ ตรึงพื้นที่ไว้ ตามคำสั่ง แม่ทัพภาคที่ 2 พร้อมทั้ง ไทยจะย้ำเจตนารมณ์ว่าจะไม่เป็นฝ่ายเริ่ม หรือ ยิงก่อน ขอให้ทุกอย่างแก้ไขปัญหาในกลไกของคณะกรรมการที่จะเจรจาแก้ไขปัญหาทุกระดับ และให้การเจรจาของผู้นำทหารในพื้นที่ดำเนินการต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า