ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติมั่นใจเศรษฐกิจไทยไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด ชี้อัตราเงินเฟ้อติดลบติดต่อกัน 6 เดือน เกิดจากโครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน-การช่วยเหลือการศึกษาและราคาน้ำมันราคาสูงขึ้น หากไม่มีโครงการรัฐฯ เงินเฟ้อที่ติดลบจะกลับเป็นบวก ยอมรับกังวลค่าบาทที่กำลังแข็งค่าหลังแบงก์พาณิชย์เทขายดอลลาร์เพื่อปรับฐานะช่วงสิ้นงวดและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเกือบหมื่นล้านบาท
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อต่ำมาก ซึ่งล่าสุดในเดือนมิ.ย.ติดลบ 4% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และต่ำสุดในรอบ 12 ปี แต่เงินเฟ้อที่ลดลงติดต่อกันไม่ได้เกิดจากภาวะเศรษฐกิจชะลอ ทำให้ราคาสินค้าลดลง แต่เกิดจากราคาน้ำมันสูงขึ้น และมาตรการภาครัฐเป็นสำคัญ
“จากการศึกษาของด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท.พบว่า อัตราเงินเฟ้อติดลบ 3.3% ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา หากไม่นับรวมโครงการ 5 มาตรการ 6 เดือนและการช่วยเหลือการศึกษาของรัฐบาล ซึ่งช่วยบรรเทาค่าครองชีพ เงินเฟ้อกลับอยู่ในด้านบวก 2.2% ส่วนเงินเฟ้อล่าสุด มิ.ย.ที่ติดลบ 4%ธปท.ยังไม่คำนวณว่าหากหักมาตรการรัฐบาลออกจะเป็นเท่าไร” รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ก่อนหน้านี้ นางอัจนาระบุด้วยว่าการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 5 หมื่นล้านบาทในช่วงกลางเดือน ก.ค.นี้ จะไม่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศและอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้เร่งตัวขึ้น
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อติดลบเป็นผลจากมาตรการของรัฐบาลและหากพิจารณาลึกเข้าไปอีก พบว่า ราคาสินค้าในหมวดอาหารและน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยังมีการจับจ่ายใช้สอยอยู่ ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 6 เดือนเกิดจากภาวะเงินฝืดแค่ทางเทคนิคเท่านั้น แต่ไม่ใช่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่เป็นเงินฝืด จึงไม่น่าเป็นห่วงนัก
“นโยบายการเงินจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง เพราะคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องพิจารณาภาวะแวดล้อมต่างๆ ทั้งภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและประเมินในอนาคตด้วย จึงไม่ได้มองแค่อัตราเงินเฟ้ออย่างเดียว และหากรัฐบาลสิ้นสุดโครงการ 5 เดือน 6 มาตรการในปลายเดือนก.ค.นี้แล้วจะกระทบให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นก็เชื่อว่า เงินเฟ้อไม่ได้สูงมาก แต่อาจแค่เงินเฟ้อไม่ถึงกับติดลบเท่านั้น” ผู้อำนวยการอาวุโสธปท.กล่าว
**ชี้บาทแข็งเหตุแบงก์เทขายดอลลาร์**
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้ค่อนข้างนิ่งประมาณ 34 กว่าบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินบาทแข็งค่าส่วนหนึ่งเกิดจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก โดยนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเกินดุลประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกิดจากปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง ประกอบกับในช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์จะมีการปรับฐานะมากขึ้นในช่วงสิ้นงวด
“ผู้ส่งออกกลัวว่าในอนาคตเงินบาทแข็งค่า จึงมีการขายและแบงก์พาณิชย์เองรับซื้อดอลลาร์สหรัฐเก็บไว้จากผู้ส่งออก ต่างคนต่างนำเงินดอลลาร์ออกมาขายในช่วงครึ่งหลังของปีหรือสิ้นงวดบัญชี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่เห็นการเก็งกำไรค่าเงินบาทของคนไทย”ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าว
วานนี้ (2 ก.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.08/10 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่อยู่ระดับ 34.02/04 บาท/ดอลลาร์
***นายกฯ แนะใช้นโยบายการเงินเต็มที่
จากสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอาจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เชื่อประเทศไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด หลังรัฐบาลนำเม็ดเงิน 8 แสนล้านบาท จากการลงทุนในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ และสภาพคล่องของสถาบันการเงินไม่ล้นระบบ รวมทั้งการที่อัตราเงินเฟ้อไม่สูง จะสามารถเป็นช่องทางทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้นโยบายการเงินได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวติดลบต่อเนื่อง อยู่ที่ร้อยละ 1.6 โดยมีอัตราเงินเฟ้อในช่วงเดือนมิถุนายน ขยายตัวติดลบร้อยละ 4 ซึ่งเป็นการขยายตัวติดลบสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง.
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อต่ำมาก ซึ่งล่าสุดในเดือนมิ.ย.ติดลบ 4% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และต่ำสุดในรอบ 12 ปี แต่เงินเฟ้อที่ลดลงติดต่อกันไม่ได้เกิดจากภาวะเศรษฐกิจชะลอ ทำให้ราคาสินค้าลดลง แต่เกิดจากราคาน้ำมันสูงขึ้น และมาตรการภาครัฐเป็นสำคัญ
“จากการศึกษาของด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท.พบว่า อัตราเงินเฟ้อติดลบ 3.3% ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา หากไม่นับรวมโครงการ 5 มาตรการ 6 เดือนและการช่วยเหลือการศึกษาของรัฐบาล ซึ่งช่วยบรรเทาค่าครองชีพ เงินเฟ้อกลับอยู่ในด้านบวก 2.2% ส่วนเงินเฟ้อล่าสุด มิ.ย.ที่ติดลบ 4%ธปท.ยังไม่คำนวณว่าหากหักมาตรการรัฐบาลออกจะเป็นเท่าไร” รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ก่อนหน้านี้ นางอัจนาระบุด้วยว่าการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 5 หมื่นล้านบาทในช่วงกลางเดือน ก.ค.นี้ จะไม่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศและอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้เร่งตัวขึ้น
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อติดลบเป็นผลจากมาตรการของรัฐบาลและหากพิจารณาลึกเข้าไปอีก พบว่า ราคาสินค้าในหมวดอาหารและน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยังมีการจับจ่ายใช้สอยอยู่ ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 6 เดือนเกิดจากภาวะเงินฝืดแค่ทางเทคนิคเท่านั้น แต่ไม่ใช่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่เป็นเงินฝืด จึงไม่น่าเป็นห่วงนัก
“นโยบายการเงินจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง เพราะคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องพิจารณาภาวะแวดล้อมต่างๆ ทั้งภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและประเมินในอนาคตด้วย จึงไม่ได้มองแค่อัตราเงินเฟ้ออย่างเดียว และหากรัฐบาลสิ้นสุดโครงการ 5 เดือน 6 มาตรการในปลายเดือนก.ค.นี้แล้วจะกระทบให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นก็เชื่อว่า เงินเฟ้อไม่ได้สูงมาก แต่อาจแค่เงินเฟ้อไม่ถึงกับติดลบเท่านั้น” ผู้อำนวยการอาวุโสธปท.กล่าว
**ชี้บาทแข็งเหตุแบงก์เทขายดอลลาร์**
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้ค่อนข้างนิ่งประมาณ 34 กว่าบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินบาทแข็งค่าส่วนหนึ่งเกิดจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก โดยนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเกินดุลประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกิดจากปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง ประกอบกับในช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์จะมีการปรับฐานะมากขึ้นในช่วงสิ้นงวด
“ผู้ส่งออกกลัวว่าในอนาคตเงินบาทแข็งค่า จึงมีการขายและแบงก์พาณิชย์เองรับซื้อดอลลาร์สหรัฐเก็บไว้จากผู้ส่งออก ต่างคนต่างนำเงินดอลลาร์ออกมาขายในช่วงครึ่งหลังของปีหรือสิ้นงวดบัญชี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่เห็นการเก็งกำไรค่าเงินบาทของคนไทย”ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าว
วานนี้ (2 ก.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.08/10 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่อยู่ระดับ 34.02/04 บาท/ดอลลาร์
***นายกฯ แนะใช้นโยบายการเงินเต็มที่
จากสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอาจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เชื่อประเทศไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด หลังรัฐบาลนำเม็ดเงิน 8 แสนล้านบาท จากการลงทุนในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ และสภาพคล่องของสถาบันการเงินไม่ล้นระบบ รวมทั้งการที่อัตราเงินเฟ้อไม่สูง จะสามารถเป็นช่องทางทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้นโยบายการเงินได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวติดลบต่อเนื่อง อยู่ที่ร้อยละ 1.6 โดยมีอัตราเงินเฟ้อในช่วงเดือนมิถุนายน ขยายตัวติดลบร้อยละ 4 ซึ่งเป็นการขยายตัวติดลบสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง.