ASTVผู้จัดการรายวัน - ปลัดคลังคนใหม่ประกาศภาระกิจเร่งด่วนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ชี้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เป็นบวกได้ไตรมาส 4 ปีนี้ แนะผ่อนคลายนโยบายการเงินการคลัง ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารเงินแบงก์ทหารไทยชี้การที่รัฐออกพันธบัตรจะช่วยให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรมีสูงขึ้น พร้อมคาดเงินบาทปีนี้อ่อนค่าแตะ 38-38.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการธนาคาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB และปลัดกระทรวงการคลัง ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "Thailand Economic Situation" ในงาน TMB Economic Outlook 2009 : ทางรอดเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางไฟวิกฤตโลก ซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารทหารไทย วานนี้ (4 มิ.ย.)
นายสถิตย์กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้กับเมื่อ 12 ปีก่อนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยดูได้จากปัจจัยชี้วัด 2-3 ด้าน คือ 1. ดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งในครั้งก่อนเศรษฐกิจมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเกิน 3% ของจีดีพี หลายปีติดต่อกันและเคยไปถึงเกิน 8% ส่วนในไตรมาสแรกของปีนี้มีการขาดดุลมากกว่า 4.8% ของจีดีพี 2. สถาบันการเงินในช่วงวิกฤตครั้งก่อนนั้นสินเชื่อมีการขยายตัวมากกว่า 20% ซึ่งเป็นการเติบโตที่มากผิดปกติเนื่องจากมีการกู้เกินความจำเป็น ขณะที่ตอนนี้สินเชื่อมีการขยายไม่เกิน 10% อีกทั้งหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ก็อยู่ในระดับต่ำและเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวมก็อยู่ในระดับที่ดี และ 3. เงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนตัวมองว่าถ้ามีมากกว่าหนี้ระยะสั้น 1 เท่าตัวก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ใช้ได้ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่าหนี้ระยะสั้นถึง 5 เท่า
"ฟันธงว่าประเทศไทยไม่ได้มีวิกฤตเศรษฐกิจ เพียงแต่มีปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาที่ ส่งผลไปยังยุโรปและญี่ปุ่น อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกของประเทศไทยที่มีลดลงและมีความยากลำบากมากขึ้น อีกทั้งปัญหาเศรษฐกิจไทยยังมาจากปัญหาความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางด้านการเมืองในประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวที่ลดลง ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวติดลบถึง 7.1%ในไตรมาสแรกซึ่งเป็นตัวเลขที่มากเป็นประวัติการณ์"
โดยในระยะสั้นนี้จำเป็นที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลาม โดยจะต้องใช้เครื่องมือในด้านนโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลาย ซึ่งรัฐบาลก็ได้ทำการเพิ่มงบกลางปี ลดภาษีผู้มีรายได้น้อย ลดภาษีภาคธุรกิจรวมถึงการทำธุรกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งสนับสนุนสินเชื่อให้เข้าสู่ระบบให้มากขึ้นและให้ภาคเอกชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มองว่าวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว โดยจะเห็นได้จากราคาอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น รวมถึงยอดขายบ้านทั้งบ้านใหม่และมือสองก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นผลจากการแก้ไขปัญหาที่ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเริ่มกลับมา
ในส่วนของประเทศไทยนั้นมองว่าเศรษฐกิจไทยได้ถึงจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกก็ต้องใช้เวลากว่าจะมีการลงทุนในไทยอีกระยะหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีอะไรที่ผิดปกติไปมากกว่านี้และการดำเนินการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลซึ่งทำได้ตรงจุดอยู่แล้ว และมีความร่วมมือกันแก้ไขปัญหาทั้งในภาครัฐและเอกชนก็ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเป็นบวกได้ในไตรมาส 4 ของปีนี้
วันเดียวกันในช่วงเช้า นายสถิตย์ กล่าวในฐานะปลัดกระทรวงการคลังคนใหม่ว่า งานเร่งด่วนชิ้นแรกของตนเองในการเข้ารับตำแหน่งคือ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
แบงก์คาดบาทมีสิทธิ์อ่อนแตะ38
ด้านนายเสถียร ตันธนะสฤษดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงิน ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า จากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ของภาครัฐ รัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงิน เพื่อนำมากระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาล ย่อมส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นที่จะพุ่งสูงขึ้นกว่าพันธบัตรระยะยาว ดังนั้น ทางการควรเข้ามาควบคุมให้ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนระยะสั้นกับระยะยาว หรือสเปรด เกิดความสมดุลกัน เพราะหากยังปล่อยให้ผลตอบแทนระยะสั้นสูงไปมากจะกระทบต่อเศรษฐกิจในอนาคตได้
อย่างไรก็ตาม ยังคาดการณ์ทิศทางค่าเงินบาทในปีนี้มีโอกาสอ่อนค่าแตะระดับ 38.00-38.50 บาทต่อดอลลาร์เนื่องจากพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัว ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น รวมทั้งมองว่าจะมีการขายทำกำไรในตลาดหุ้น และมีการไหลออกของเงินทุน จากเดิมเคยคาดว่าค่าเงินบาทปีนี้อาจจะอ่อนค่าถึงระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
"ในส่วนของ ธปท.ที่เข้ามาแทรกแซงไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วจนเกินไปนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ถูก ทั้งนี้ ธปท.ควรที่จะซื้อดอลลาร์เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทต่อไป โดยค่าเงินบาท ควรเคลื่อนไหวใกล้เคียง หรืออ่อนค่ากว่าภูมิภาคเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะ ประเทศไทยยังคงพึ่งพาการส่งออกสูง ซึ่งค่าเงินที่อ่อนค่าก็จะส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคา".
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการธนาคาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB และปลัดกระทรวงการคลัง ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "Thailand Economic Situation" ในงาน TMB Economic Outlook 2009 : ทางรอดเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางไฟวิกฤตโลก ซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารทหารไทย วานนี้ (4 มิ.ย.)
นายสถิตย์กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้กับเมื่อ 12 ปีก่อนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยดูได้จากปัจจัยชี้วัด 2-3 ด้าน คือ 1. ดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งในครั้งก่อนเศรษฐกิจมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเกิน 3% ของจีดีพี หลายปีติดต่อกันและเคยไปถึงเกิน 8% ส่วนในไตรมาสแรกของปีนี้มีการขาดดุลมากกว่า 4.8% ของจีดีพี 2. สถาบันการเงินในช่วงวิกฤตครั้งก่อนนั้นสินเชื่อมีการขยายตัวมากกว่า 20% ซึ่งเป็นการเติบโตที่มากผิดปกติเนื่องจากมีการกู้เกินความจำเป็น ขณะที่ตอนนี้สินเชื่อมีการขยายไม่เกิน 10% อีกทั้งหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ก็อยู่ในระดับต่ำและเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวมก็อยู่ในระดับที่ดี และ 3. เงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนตัวมองว่าถ้ามีมากกว่าหนี้ระยะสั้น 1 เท่าตัวก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ใช้ได้ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่าหนี้ระยะสั้นถึง 5 เท่า
"ฟันธงว่าประเทศไทยไม่ได้มีวิกฤตเศรษฐกิจ เพียงแต่มีปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาที่ ส่งผลไปยังยุโรปและญี่ปุ่น อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกของประเทศไทยที่มีลดลงและมีความยากลำบากมากขึ้น อีกทั้งปัญหาเศรษฐกิจไทยยังมาจากปัญหาความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางด้านการเมืองในประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวที่ลดลง ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวติดลบถึง 7.1%ในไตรมาสแรกซึ่งเป็นตัวเลขที่มากเป็นประวัติการณ์"
โดยในระยะสั้นนี้จำเป็นที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลาม โดยจะต้องใช้เครื่องมือในด้านนโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลาย ซึ่งรัฐบาลก็ได้ทำการเพิ่มงบกลางปี ลดภาษีผู้มีรายได้น้อย ลดภาษีภาคธุรกิจรวมถึงการทำธุรกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งสนับสนุนสินเชื่อให้เข้าสู่ระบบให้มากขึ้นและให้ภาคเอกชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มองว่าวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว โดยจะเห็นได้จากราคาอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น รวมถึงยอดขายบ้านทั้งบ้านใหม่และมือสองก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นผลจากการแก้ไขปัญหาที่ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเริ่มกลับมา
ในส่วนของประเทศไทยนั้นมองว่าเศรษฐกิจไทยได้ถึงจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกก็ต้องใช้เวลากว่าจะมีการลงทุนในไทยอีกระยะหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีอะไรที่ผิดปกติไปมากกว่านี้และการดำเนินการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลซึ่งทำได้ตรงจุดอยู่แล้ว และมีความร่วมมือกันแก้ไขปัญหาทั้งในภาครัฐและเอกชนก็ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเป็นบวกได้ในไตรมาส 4 ของปีนี้
วันเดียวกันในช่วงเช้า นายสถิตย์ กล่าวในฐานะปลัดกระทรวงการคลังคนใหม่ว่า งานเร่งด่วนชิ้นแรกของตนเองในการเข้ารับตำแหน่งคือ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
แบงก์คาดบาทมีสิทธิ์อ่อนแตะ38
ด้านนายเสถียร ตันธนะสฤษดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงิน ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า จากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ของภาครัฐ รัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงิน เพื่อนำมากระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาล ย่อมส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นที่จะพุ่งสูงขึ้นกว่าพันธบัตรระยะยาว ดังนั้น ทางการควรเข้ามาควบคุมให้ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนระยะสั้นกับระยะยาว หรือสเปรด เกิดความสมดุลกัน เพราะหากยังปล่อยให้ผลตอบแทนระยะสั้นสูงไปมากจะกระทบต่อเศรษฐกิจในอนาคตได้
อย่างไรก็ตาม ยังคาดการณ์ทิศทางค่าเงินบาทในปีนี้มีโอกาสอ่อนค่าแตะระดับ 38.00-38.50 บาทต่อดอลลาร์เนื่องจากพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัว ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น รวมทั้งมองว่าจะมีการขายทำกำไรในตลาดหุ้น และมีการไหลออกของเงินทุน จากเดิมเคยคาดว่าค่าเงินบาทปีนี้อาจจะอ่อนค่าถึงระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
"ในส่วนของ ธปท.ที่เข้ามาแทรกแซงไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วจนเกินไปนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ถูก ทั้งนี้ ธปท.ควรที่จะซื้อดอลลาร์เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทต่อไป โดยค่าเงินบาท ควรเคลื่อนไหวใกล้เคียง หรืออ่อนค่ากว่าภูมิภาคเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะ ประเทศไทยยังคงพึ่งพาการส่งออกสูง ซึ่งค่าเงินที่อ่อนค่าก็จะส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคา".