เป็นที่วิตกกันมากว่าระบบการศึกษาไทยนั้น แม้จะปรับปรุงหรือจะปฏิรูปอย่างไร แต่หัวใจในการแก้ปัญหาก็ยังไม่ถูกจุดอยู่ดี เหตุผลหนึ่งอยู่ที่ตั้งใจให้เด็กเรียนได้เก่งแค่ไหนแต่ก็เก่งแค่วิชา รู้แค่ทฤษฎี หรือรู้ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ แต่ในชีวิตจริงนั้นกลับนำมาใช้หรือ apply ไม่ได้
เข้าทำนองความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
แต่เด็กที่เรียนระดับปานกลาง กลับปรับตัวได้ดีกว่าเด็กเหล่านี้ใช้เวลาในการเล่นมากกว่าเรียน ชอบคิดทำอะไรที่ไม่เหมือนคนอื่น ชอบประดิษฐ์ของแปลกใหม่ มักมีคำถามแหวกแนว และคิดอะไรที่ “นอกกรอบ” อยู่เสมอ อีกทั้งยังไม่ค่อยเชื่อตำราเรียน หรือไม่ก็ตั้งคำถาม มีข้อสงสัยในขณะที่เด็กอื่นๆ ชอบท่องจำ และถือว่าความรู้สึกสิ้นสุดในตำราที่ให้คำตอบไว้พร้อมสรรพ
ผมไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่อายุยังน้อย ปรับตัวได้ยากในเดือนแรก เพราะใช้วิธีอ่านหรือท่องตามที่เคยเรียนจากเมืองไทยและไม่ปริปากซักถามครูที่สอน ทำให้ครูคิดว่าเข้าใจหมดทุกอย่าง
เวลาให้การบ้าน แทนที่จะมีคำตอบเป็นของตัวเอง ก็ใช้วิธีปะติดปะต่อเอาจากตำราโดยใช้สัก 2-3 เล่ม แม้จะแทรกความเห็นไปบ้างในการสรุป คะแนนที่ได้ก็อยู่ในเกณฑ์ “สอบตก”
ผมเรียนแบบนี้อยู่ 6 เดือน ไม่ได้ผลครับ
ในวิชาภาษาอังกฤษนั้น เวลาเขียนเรียงความผมเข้าใจว่าถ้าใช้ศัพท์ยากก็แสดงภูมิว่า ภาษาเขียนเราดี ความจริงไม่ใช่ ในชั้นมีเพื่อนที่ชอบพอกัน เขียนเรียงความมักได้คะแนนเต็มหรือ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ทุกครั้ง ชื่อ บิล โลแกน คนนี้ภาษาดีมาก
ผมอยากรู้ว่าทำอย่างไร ก็เลยขอเรียงความมาอ่านก็พบว่าเขาใช้ภาษาง่ายๆ แต่ภาษาง่ายๆ นี้กลับมีความหมายที่ลึกซึ้งและกินใจกว้างขวาง ทำให้เกิดจินตภาพได้กว้างไม่ก็เกิดการตีความ
ออกไปได้อีก
ผมเลยคิดได้ว่า ภาษาไทยก็เช่นกัน ผมเขียนเรียงความภาษาไทยได้คะแนนดีเสมอ เคยได้ที่หนึ่งก็บ่อยครั้ง และผมเขียนง่ายๆ ประโยคก็สั้นๆ และรัดกุม ไม่ใช้ศัพท์ยากเลย
หลังจากนั้น ผมก็เลยหาทางเขียนเรียงความภาษาอังกฤษเสียใหม่
และพบว่าถ้าผมใช้เวลาคิดนาน ผมจะเขียนช้า และจะคิดศัพท์ที่ซับซ้อนทำให้การผูกประโยคยากมาก
ผมเปลี่ยนวิธีเขียนใหม่ โดยเขียนแบบไม่คิดก่อนเขียน วางโครงเรื่องไว้ในสมอง พอรู้ว่าจะเขียนอะไรก็ลงมือเขียนอย่างเร็วทันที เขียนแบบไม่ยั้งไม่หยุดและเขียนแบบต่อเนื่อง และเขียนให้ประโยคสั้นมากๆ
ได้ผลครับ ภาษาผมง่าย ได้ใจความ
แต่ก็มีปัญหา ปัญหาก็คือ “ระบบคิด”
เรื่อง “ระบบคิด” นี่แหละครับ เป็นปัญหาระบบการศึกษาของประเทศเรา และเป็นเรื่องใหญ่
มันเป็นเรื่องฝังรากมาช้านาน โดยเริ่มจาก “ครอบครัว” และการเลี้ยงดู
ครอบครัวไทยไม่นิยมให้มีการ “เถียง” ผู้ใหญ่ แม้แต่เถียงกันในหมู่พี่น้องก็ไม่ได้ แต่สังคมไทยเป็นสังคมที่มีคนใจร้ายมาก
คนไทยใจร้ายตรงที่ชอบว่าคนอื่นลับหลัง หรือ “นินทา” กัน การนินทานี้มักเป็นนิยมแพร่หลายโดยเป็นการกล่าวร้ายซึ่งเท็จจริงปะปนกัน
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ “ความเห็น” ไม่ใช่ “ ความคิด” เลย
เพราะ “ถ้าคิด” แบบไทยจริงๆ ก็จะต้องคิดแบบ “เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง” ซึ่งจะทำให้เราไม่นินทาใคร
ละครไทยทุกเรื่อง เต็มไปด้วยการนินทา และแปรรูปไปเป็นการแสดงออกด้วยการลอบกัดทำร้ายร่างกายกัน แย่งชิงตั้งแต่มรดกไปถึงสมบัติพัสถานจนถึง “ผู้ชาย” ซึ่งมีทุกเรื่อง
คุณลักษณะและคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนบั่นทอนไม่ให้เรามี “ระบบคิด” ระบบคิดนั้น เริ่มต้นจาก “ตรรกะ” ที่มีรากฐานของเหตุและผลจากความแตกต่าง, ความเหมือนและความต่างความสมดุลและความไม่สมดุล
ดังนั้น ทุกวิชาที่เราเรียนกัน เราจึงไม่ควร “เชื่อ” โดยไม่ใช้หลักการของ “ตรรกะ” ประวัติศาสตร์คือความเป็นมาที่มีจุดเริ่มต้นซึ่งเกิดจากความขัดแย้ง และต้องมี 2 ด้านคู่กัน ถูกผิดมองต่างมุมกัน ต้องจำแนกเหตุและผลของแต่ละมุมกัน โดยดูสภาพปัจจัย, สิ่งแวดล้อมของแต่ละฝ่ายให้ออก จึงจะเห็นภาพรวมทั้งหมด
เมื่อผมอยู่ในโรงเรียนต่างประเทศ เคยเลี่ยงตอบคำถามที่ถามยาวๆ เพราะคิดว่าคำถามยาวๆ จะยาก แต่กลับพบว่าคำถามยาวจะบอกอะไร “มากกว่า” คำถามสั้นๆ
เช่น ถามว่า “สงครามโลกครั้งที่ 1 จำเป็นมากกว่าครั้งที่ 2” แค่นี้ก็เท่ากับต้องตอบถึง 2 ครั้ง คือสงครามครั้งที่ 1 และ 2 แถมต้องสาธยายเทียบกันด้วยว่ามันเป็นอย่างไรด้วย
บางทีถามว่า “ถ้าปราศจากฮิตเลอร์ เยอรมนีจะไม่แพ้สงครามอะไรแบบนี้”
แม้แต่วิชาภูมิศาสตร์ ผมก็เจอะมาแล้ว
ให้ตอบว่า “พื้นที่ใดเลี้ยงกรุงเทพฯ ในด้านอาหาร” (วาดแผนที่ประกอบ) เชื่อไหมว่าภูมิศาสตร์ประเทศไทยไม่ได้ออกเป็นข้อสอบสำหรับเด็กในนิวซีแลนด์ก่อนที่ผมจะสอบ ม.ปลายที่นั่นเกือบ 20 ปี มาแล้ว
และผมทำไม่ได้ เพราะผมไม่รู้จริงๆ ว่าแผนที่อยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทองนั้นเป็นอย่างไร
ผมเลยไม่ได้ทำ กลับไปทำคอร์นวอลล์ (Cornwaall) และภูมิศาสตร์ของเลค ดิสติก (Lake Districk) ในอังกฤษเสียฉิบ เพราะผมวาดแผนที่ทั้ง 2 แห่งได้ละเอียดยิบตาเลยครับ
ผมสอบได้ท็อปของโรงเรียนที่เรียนอยู่ และติด 1 ใน 10 ทั่วประเทศ ด้วยเปอร์เซ็นต์ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ นี่ถ้าผมทำภูมิศาสตร์ประเทศไทยได้ ผมคงได้ดีกว่านี้
ผมเรียนวิธีคิดจากต่างประเทศและสอบผ่านแบบข้ามชั้นเรียน 2 ปีซ้อน ในนิวซีแลนด์ โดยเรียนจบไฮสกูลเพียง 3 ปี แทนที่จะเรียน 5 ปี ตามที่โรงเรียนกำหนด และข้ามไปเข้ามหาวิทยาลัยได้เลย ทั้งๆ ที่อาจารย์ทุกคนคัดค้านว่าผมจะไม่จบได้ปริญญากลับบ้าน แต่ผมก็จบจนได้อีกไม่กี่ปีต่อมา
วิธีคิดของผมนั้นง่ายมาก คือคิดให้ใหม่อยู่เสมอและอยากคิดเป็นก็อ่านให้มาก หนังสือแต่ละเล่มมีมุมมองคนละมุม ก็ควรมีมุมมองของเราเองอย่าให้ซ้ำกับของเขา
ในการเสนอมุมของเราก็ใช้ข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น หาข้อความมาสนับสนุนชี้ให้เห็นว่าเพราะอะไร ข้อความนั้นจึงสนับสนุนความคิดของเรา
ทุกอย่างง่ายเสมอ ถ้าเราคิดว่ามันง่ายครับ
เข้าทำนองความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
แต่เด็กที่เรียนระดับปานกลาง กลับปรับตัวได้ดีกว่าเด็กเหล่านี้ใช้เวลาในการเล่นมากกว่าเรียน ชอบคิดทำอะไรที่ไม่เหมือนคนอื่น ชอบประดิษฐ์ของแปลกใหม่ มักมีคำถามแหวกแนว และคิดอะไรที่ “นอกกรอบ” อยู่เสมอ อีกทั้งยังไม่ค่อยเชื่อตำราเรียน หรือไม่ก็ตั้งคำถาม มีข้อสงสัยในขณะที่เด็กอื่นๆ ชอบท่องจำ และถือว่าความรู้สึกสิ้นสุดในตำราที่ให้คำตอบไว้พร้อมสรรพ
ผมไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่อายุยังน้อย ปรับตัวได้ยากในเดือนแรก เพราะใช้วิธีอ่านหรือท่องตามที่เคยเรียนจากเมืองไทยและไม่ปริปากซักถามครูที่สอน ทำให้ครูคิดว่าเข้าใจหมดทุกอย่าง
เวลาให้การบ้าน แทนที่จะมีคำตอบเป็นของตัวเอง ก็ใช้วิธีปะติดปะต่อเอาจากตำราโดยใช้สัก 2-3 เล่ม แม้จะแทรกความเห็นไปบ้างในการสรุป คะแนนที่ได้ก็อยู่ในเกณฑ์ “สอบตก”
ผมเรียนแบบนี้อยู่ 6 เดือน ไม่ได้ผลครับ
ในวิชาภาษาอังกฤษนั้น เวลาเขียนเรียงความผมเข้าใจว่าถ้าใช้ศัพท์ยากก็แสดงภูมิว่า ภาษาเขียนเราดี ความจริงไม่ใช่ ในชั้นมีเพื่อนที่ชอบพอกัน เขียนเรียงความมักได้คะแนนเต็มหรือ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ทุกครั้ง ชื่อ บิล โลแกน คนนี้ภาษาดีมาก
ผมอยากรู้ว่าทำอย่างไร ก็เลยขอเรียงความมาอ่านก็พบว่าเขาใช้ภาษาง่ายๆ แต่ภาษาง่ายๆ นี้กลับมีความหมายที่ลึกซึ้งและกินใจกว้างขวาง ทำให้เกิดจินตภาพได้กว้างไม่ก็เกิดการตีความ
ออกไปได้อีก
ผมเลยคิดได้ว่า ภาษาไทยก็เช่นกัน ผมเขียนเรียงความภาษาไทยได้คะแนนดีเสมอ เคยได้ที่หนึ่งก็บ่อยครั้ง และผมเขียนง่ายๆ ประโยคก็สั้นๆ และรัดกุม ไม่ใช้ศัพท์ยากเลย
หลังจากนั้น ผมก็เลยหาทางเขียนเรียงความภาษาอังกฤษเสียใหม่
และพบว่าถ้าผมใช้เวลาคิดนาน ผมจะเขียนช้า และจะคิดศัพท์ที่ซับซ้อนทำให้การผูกประโยคยากมาก
ผมเปลี่ยนวิธีเขียนใหม่ โดยเขียนแบบไม่คิดก่อนเขียน วางโครงเรื่องไว้ในสมอง พอรู้ว่าจะเขียนอะไรก็ลงมือเขียนอย่างเร็วทันที เขียนแบบไม่ยั้งไม่หยุดและเขียนแบบต่อเนื่อง และเขียนให้ประโยคสั้นมากๆ
ได้ผลครับ ภาษาผมง่าย ได้ใจความ
แต่ก็มีปัญหา ปัญหาก็คือ “ระบบคิด”
เรื่อง “ระบบคิด” นี่แหละครับ เป็นปัญหาระบบการศึกษาของประเทศเรา และเป็นเรื่องใหญ่
มันเป็นเรื่องฝังรากมาช้านาน โดยเริ่มจาก “ครอบครัว” และการเลี้ยงดู
ครอบครัวไทยไม่นิยมให้มีการ “เถียง” ผู้ใหญ่ แม้แต่เถียงกันในหมู่พี่น้องก็ไม่ได้ แต่สังคมไทยเป็นสังคมที่มีคนใจร้ายมาก
คนไทยใจร้ายตรงที่ชอบว่าคนอื่นลับหลัง หรือ “นินทา” กัน การนินทานี้มักเป็นนิยมแพร่หลายโดยเป็นการกล่าวร้ายซึ่งเท็จจริงปะปนกัน
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ “ความเห็น” ไม่ใช่ “ ความคิด” เลย
เพราะ “ถ้าคิด” แบบไทยจริงๆ ก็จะต้องคิดแบบ “เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง” ซึ่งจะทำให้เราไม่นินทาใคร
ละครไทยทุกเรื่อง เต็มไปด้วยการนินทา และแปรรูปไปเป็นการแสดงออกด้วยการลอบกัดทำร้ายร่างกายกัน แย่งชิงตั้งแต่มรดกไปถึงสมบัติพัสถานจนถึง “ผู้ชาย” ซึ่งมีทุกเรื่อง
คุณลักษณะและคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนบั่นทอนไม่ให้เรามี “ระบบคิด” ระบบคิดนั้น เริ่มต้นจาก “ตรรกะ” ที่มีรากฐานของเหตุและผลจากความแตกต่าง, ความเหมือนและความต่างความสมดุลและความไม่สมดุล
ดังนั้น ทุกวิชาที่เราเรียนกัน เราจึงไม่ควร “เชื่อ” โดยไม่ใช้หลักการของ “ตรรกะ” ประวัติศาสตร์คือความเป็นมาที่มีจุดเริ่มต้นซึ่งเกิดจากความขัดแย้ง และต้องมี 2 ด้านคู่กัน ถูกผิดมองต่างมุมกัน ต้องจำแนกเหตุและผลของแต่ละมุมกัน โดยดูสภาพปัจจัย, สิ่งแวดล้อมของแต่ละฝ่ายให้ออก จึงจะเห็นภาพรวมทั้งหมด
เมื่อผมอยู่ในโรงเรียนต่างประเทศ เคยเลี่ยงตอบคำถามที่ถามยาวๆ เพราะคิดว่าคำถามยาวๆ จะยาก แต่กลับพบว่าคำถามยาวจะบอกอะไร “มากกว่า” คำถามสั้นๆ
เช่น ถามว่า “สงครามโลกครั้งที่ 1 จำเป็นมากกว่าครั้งที่ 2” แค่นี้ก็เท่ากับต้องตอบถึง 2 ครั้ง คือสงครามครั้งที่ 1 และ 2 แถมต้องสาธยายเทียบกันด้วยว่ามันเป็นอย่างไรด้วย
บางทีถามว่า “ถ้าปราศจากฮิตเลอร์ เยอรมนีจะไม่แพ้สงครามอะไรแบบนี้”
แม้แต่วิชาภูมิศาสตร์ ผมก็เจอะมาแล้ว
ให้ตอบว่า “พื้นที่ใดเลี้ยงกรุงเทพฯ ในด้านอาหาร” (วาดแผนที่ประกอบ) เชื่อไหมว่าภูมิศาสตร์ประเทศไทยไม่ได้ออกเป็นข้อสอบสำหรับเด็กในนิวซีแลนด์ก่อนที่ผมจะสอบ ม.ปลายที่นั่นเกือบ 20 ปี มาแล้ว
และผมทำไม่ได้ เพราะผมไม่รู้จริงๆ ว่าแผนที่อยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทองนั้นเป็นอย่างไร
ผมเลยไม่ได้ทำ กลับไปทำคอร์นวอลล์ (Cornwaall) และภูมิศาสตร์ของเลค ดิสติก (Lake Districk) ในอังกฤษเสียฉิบ เพราะผมวาดแผนที่ทั้ง 2 แห่งได้ละเอียดยิบตาเลยครับ
ผมสอบได้ท็อปของโรงเรียนที่เรียนอยู่ และติด 1 ใน 10 ทั่วประเทศ ด้วยเปอร์เซ็นต์ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ นี่ถ้าผมทำภูมิศาสตร์ประเทศไทยได้ ผมคงได้ดีกว่านี้
ผมเรียนวิธีคิดจากต่างประเทศและสอบผ่านแบบข้ามชั้นเรียน 2 ปีซ้อน ในนิวซีแลนด์ โดยเรียนจบไฮสกูลเพียง 3 ปี แทนที่จะเรียน 5 ปี ตามที่โรงเรียนกำหนด และข้ามไปเข้ามหาวิทยาลัยได้เลย ทั้งๆ ที่อาจารย์ทุกคนคัดค้านว่าผมจะไม่จบได้ปริญญากลับบ้าน แต่ผมก็จบจนได้อีกไม่กี่ปีต่อมา
วิธีคิดของผมนั้นง่ายมาก คือคิดให้ใหม่อยู่เสมอและอยากคิดเป็นก็อ่านให้มาก หนังสือแต่ละเล่มมีมุมมองคนละมุม ก็ควรมีมุมมองของเราเองอย่าให้ซ้ำกับของเขา
ในการเสนอมุมของเราก็ใช้ข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น หาข้อความมาสนับสนุนชี้ให้เห็นว่าเพราะอะไร ข้อความนั้นจึงสนับสนุนความคิดของเรา
ทุกอย่างง่ายเสมอ ถ้าเราคิดว่ามันง่ายครับ