ผมดีใจที่เราจะได้พรรคการเมืองใหม่จากพันธมิตรฯ ครับ
และมาพร้อมกับ “การเมืองใหม่” ซึ่งย่อมเป็นที่ต้องการของทุกคน ที่เห็นว่าบ้านเมืองไทยเรานั้นจะไม่มีวันมีประชาธิปไตยที่พัฒนาก้าวหน้าไปจากที่เป็นอยู่นี้ได้เลย หากเราจะจมอยู่กับวัฏฏะน้ำเน่า มีการเมืองเก่า หน้าเก่าๆ ถ่ายโอนอำนาจในหมู่วงศาคณาญาติ
ถ้ามีการเมืองใหม่
ผมตั้งใจจะเข้าไปช่วยแบบเต็มตัว และก็จะเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่แกนนำจะตั้งนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นครั้งแรกหลังจากที่พรรคพลังใหม่ล้มเลิกไป เพราะโดนข้อหาว่าเป็นแนวร่วมกับคอมมิวนิสต์
ความจริงผมไม่มีข้อเสนออะไรให้พรรคการเมืองใหม่นี้หรอก
แต่มีหลายอย่างที่ผมอยากเห็นว่าสังคมการเมืองไทยน่าจะทำได้เพื่อเป็นการวางรากฐานให้ประชาธิปไตยลงรากลึกไปในชนบท และวางรากใหม่ให้กับระบบการศึกษาไทยเราด้วย
ประชาธิปไตยนั้นมีนัยบ่งบอกถึงสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ทั้งหมดนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องแม้จะไม่โดยตรง แต่มันเชื่อมโยงถึงพรรคการเมืองผ่านนโยบายซึ่งหากพรรคนั้นได้เข้าไปบริหาร สิ่งนี้คือผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับผ่านทางภาษีที่เขาเสียไป ส่วนหนึ่งคือโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐสร้างให้ และผลประโยชน์ด้านอื่นๆ
แต่ชาวบ้านนั้นสนใจ “การเลือกตั้ง” โดยเห็นว่าที่ผ่านมาเขาควร “ได้” จากการใช้สิทธิไปเลือกตั้งบ้าง นักการเมืองน้ำเน่าจะ “จ่าย” เงินหรือให้ “สิ่งของ” เพื่อตอบแทนหากเลือกเขา มีตั้งแต่ 20-100-500 ในเขตเมืองถึง 1,000 บาท ก็เห็นได้ไม่ยากนัก
ประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่อง “ซื้อ-ขาย” คือชั่วตั้งแต่เริ่มต้นเสียแล้ว
ไม่มีใครคิดจะแก้หรอก
ประชาชน “ได้” จริง แต่แท้จริงพวกเขาคือเหยื่อครับ ผมจึงเห็นว่าถ้าเราจะเริ่มต้นกันใหม่ ก็ต้องเริ่มจากเหยื่อกันก่อน
ประการแรก ชาวบ้านรู้นะ ว่าซื้อเสียงนั้นไม่ถูกต้องและผิดกฎหมาย แต่การได้เงินมันมีความหมายมากกว่าเรื่องถูกหรือผิด
ประการที่สอง ชาวบ้านเห็นว่าการเลือกตั้งนั้น ไม่ได้มีทุกวันและไม่ได้เห็นผลประโยชน์ตกแก่ตนในระยะยาว นโยบายกินไม่ได้ (ในแง่ส่วนตัว)
ทั้งสองประการนี้ ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าประชาธิปไตยอยู่แค่การเลือกตั้ง ส่วนสิทธิมักเป็นเรื่องต้องร้องขอ ถ้าร้องขอไม่ได้ก็ต้องใช้การประท้วงหรือ “ก่อม็อบ” เอาเอง
วิธีแรกที่ผมนึกคือ ชาวบ้านไม่มีหนทางหันหน้าไปพึ่งใคร พรรคการเมืองมีสาขาพรรค แต่ไม่ได้อยู่กับรากหญ้า ดังนั้นทำอย่างไรจึงจะหยั่งรากไปจนถึงระดับหมู่บ้านและเข้าถึงมวลชนในระดับที่ว่านี้
ที่พอจะทำได้ก็คือ สาขาพรรคควรขยายเครือข่าย โดยจัดตั้งให้มีระบบสมัชชา คือประชุมสมาชิก ระดมประชาชนทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก หารือกันกำหนดนโยบายระดับรากหญ้าในเชิงปฏิบัติ ไม่ใช่นโยบายนามธรรม แต่ให้มีรูปธรรม วิธีการก็ใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง แล้วดูว่าจะแก้ไขอย่างไร เมื่อรู้ปัญหาก็จะได้วิธีแก้ วิธีแก้นี่ก็จะได้ชุดความคิดออกมา ซึ่งก็จะรู้ว่านโยบายที่เป็นรูปธรรมสำหรับปัญหาแต่ละอย่างควรเป็นอย่างไร
เวลานี้คอมพิวเตอร์ราคาถูก การรวมปัญหาไว้ในระบบออนไลน์ของแต่ละหมู่บ้านขึ้นมาสู่ระดับจังหวัด, ภาค และเข้าส่วนกลางทำได้ไม่ยาก
ผู้บริหารพรรคก็ควรมีโครงสร้างที่แบ่งหน้าที่ระดับภาค, รองหัวหน้าพรรค, ควรแบ่งกันดูแลระดับภาคครับ
วิธีนี้เราจะได้นโยบายระดับรากหญ้าจริงๆ และแบ่งได้เป็นนโยบายหลายอย่าง ทั้งหมดเป็นรูปธรรม
สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ ระบบการศึกษา ได้แก่การยุบวิชาเรียนให้เป็นวิชาที่ไม่ต้องละเอียดแต่คลุมทั้งหมด แต่ในสายศิลป์กับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
สายศิลป์ อาจจะเรียนภาษา, ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, และอะไรอีกไม่เกิน 2 วิชา และให้นักเรียนเลือกเรียน 2 หรือ 3 วิชา
สายวิทยาศาสตร์ ก็เรียนเคมี, ฟิสิกส์, วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ให้เลือก 2-3 วิชา
วิชาเลือกอื่นๆ ก็เป็นวิชาเลือกจริงๆ เช่น วิชาอิสระ เช่นวิชาด้านการดนตรี, กีฬา, ศิลปะ-หรือสิ่งแวดล้อม เลือก 1 วิชา หรือ 2 วิชา
นักเรียนจะจบ ม.ปลาย ก็เรียนศิลป์และวิทย์ ใน ม.ต้นควบไปไม่เกิน 5 วิชา (รวมวิชาอิสระ 1 วิชา)
ม.ปลายจึงเลือกว่าจะเอาวิทย์หรือศิลป์ แต่ต้องมีวิทย์หรือศิลป์ทิ้งไว้ 1 วิชา
ครับ... ผมแค่คิดและคาด... ผมไม่ใช่ว่า “ฝัน” เป็นสิ่งที่ผมต้องการเห็นว่ามันน่าจะเกิดได้ในบ้านเมืองที่ผมอยู่ครับ
เมื่อได้คิดอยากจะเห็นแบบนี้แล้ว ผมควรจะทำอย่างไรต่อ
ผมคงทำอะไรมากไปกว่านี้ไม่ได้
มีแต่อยากเห็นสิ่งที่ผมเชื่อว่า หากมีรัฐบาลใหม่ซึ่งเป็นรัฐบาลในอนาคต (ที่ดี) ผมก็อยากเห็นสิ่งเหล่านี้ที่มีอยู่ หรือไม่มีได้เกิดขึ้น
1. ให้พัฒนาพิพิธภัณฑสถานฯ ให้ดีขึ้น มีงบประมาณมากกว่าเดิมอย่างน้อย 10 เท่าหรือมากกว่า มีทุนให้คนไปเรียนเรื่องการจัดการและการบริหาร
2. ให้มีการพัฒนาวงดนตรีระดับชาติ คือวงมโหรีไทย และออเคสตราฝรั่ง โดยไม่เกี่ยงให้มีคนต่างชาติเข้าร่วมมาเล่นเป็นเทอมเป็นวาระเพื่อพัฒนานักดนตรีไทยส่งเสริมให้ทุน นักดนตรีไทยไปเรียนเพิ่มเติม ส่งวงดนตรีไปหาประสบการณ์ต่างประเทศ
3. จัดระบบการแข่งขันกีฬา ประเภทที่คนนิยมเสียใหม่ ให้มีการแข่งขันในวันหยุดทุกสัปดาห์ ตั้งแต่ระดับโรงเรียนถึงมหาวิทยาลัยสนับสนุนสโมสรกีฬาให้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
4. จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาระดับชาติ (ไม่จำเป็นต้องระดับนานาชาติ) ขึ้นโดยจัดให้ใหญ่ สมเกียรติ โดยมีรางวัลสำคัญๆ เพิ่มประเภทกีฬาคัดตัวนักกีฬาตั้งแต่เด็กให้เข้าค่ายตั้งแต่ 3-6 เดือน ถ้าได้รับการคัดตัวให้เข้าค่าย 1-2 ปี โดยไม่ทิ้งการเรียน ส่วนโรงเรียนกีฬาให้แปรรูปเป็นมหาวิทยาลัยกีฬาและเป็นวิทยาศาสตร์การกีฬาให้มีทุกภาค
5. ให้มีการจัดสร้างห้องสมุดทันสมัย ทั้งเป็นห้องสมุดทันสมัยและมีระบบที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนมากทุกภูมิภาค ส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสือ มีรางวัลด้านวรรณกรรมระดับชาติ ที่สำคัญกว่าซีไรต์หรืออื่นๆ
6. ให้มีการจัดการแข่งขันรายปี ประดิษฐกรรมหรือนวัตกรรมใหม่ โดยมีรางวัลไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทในแต่ละสาขา - วิทยาศาสตร์, การค้นคว้าวิจัยด้านโบราณคดี, วิทยาศาสตร์ทางทะเล, วิทยุโทรทัศน์, อวกาศ และประดิษฐานกรรมพื้นบ้านใหม่ๆ ฯลฯ
ครับ ของแบบนี้ทำได้ง่ายๆ ถ้าคิดจะทำกันจริงๆ
และมาพร้อมกับ “การเมืองใหม่” ซึ่งย่อมเป็นที่ต้องการของทุกคน ที่เห็นว่าบ้านเมืองไทยเรานั้นจะไม่มีวันมีประชาธิปไตยที่พัฒนาก้าวหน้าไปจากที่เป็นอยู่นี้ได้เลย หากเราจะจมอยู่กับวัฏฏะน้ำเน่า มีการเมืองเก่า หน้าเก่าๆ ถ่ายโอนอำนาจในหมู่วงศาคณาญาติ
ถ้ามีการเมืองใหม่
ผมตั้งใจจะเข้าไปช่วยแบบเต็มตัว และก็จะเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่แกนนำจะตั้งนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นครั้งแรกหลังจากที่พรรคพลังใหม่ล้มเลิกไป เพราะโดนข้อหาว่าเป็นแนวร่วมกับคอมมิวนิสต์
ความจริงผมไม่มีข้อเสนออะไรให้พรรคการเมืองใหม่นี้หรอก
แต่มีหลายอย่างที่ผมอยากเห็นว่าสังคมการเมืองไทยน่าจะทำได้เพื่อเป็นการวางรากฐานให้ประชาธิปไตยลงรากลึกไปในชนบท และวางรากใหม่ให้กับระบบการศึกษาไทยเราด้วย
ประชาธิปไตยนั้นมีนัยบ่งบอกถึงสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ทั้งหมดนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องแม้จะไม่โดยตรง แต่มันเชื่อมโยงถึงพรรคการเมืองผ่านนโยบายซึ่งหากพรรคนั้นได้เข้าไปบริหาร สิ่งนี้คือผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับผ่านทางภาษีที่เขาเสียไป ส่วนหนึ่งคือโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐสร้างให้ และผลประโยชน์ด้านอื่นๆ
แต่ชาวบ้านนั้นสนใจ “การเลือกตั้ง” โดยเห็นว่าที่ผ่านมาเขาควร “ได้” จากการใช้สิทธิไปเลือกตั้งบ้าง นักการเมืองน้ำเน่าจะ “จ่าย” เงินหรือให้ “สิ่งของ” เพื่อตอบแทนหากเลือกเขา มีตั้งแต่ 20-100-500 ในเขตเมืองถึง 1,000 บาท ก็เห็นได้ไม่ยากนัก
ประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่อง “ซื้อ-ขาย” คือชั่วตั้งแต่เริ่มต้นเสียแล้ว
ไม่มีใครคิดจะแก้หรอก
ประชาชน “ได้” จริง แต่แท้จริงพวกเขาคือเหยื่อครับ ผมจึงเห็นว่าถ้าเราจะเริ่มต้นกันใหม่ ก็ต้องเริ่มจากเหยื่อกันก่อน
ประการแรก ชาวบ้านรู้นะ ว่าซื้อเสียงนั้นไม่ถูกต้องและผิดกฎหมาย แต่การได้เงินมันมีความหมายมากกว่าเรื่องถูกหรือผิด
ประการที่สอง ชาวบ้านเห็นว่าการเลือกตั้งนั้น ไม่ได้มีทุกวันและไม่ได้เห็นผลประโยชน์ตกแก่ตนในระยะยาว นโยบายกินไม่ได้ (ในแง่ส่วนตัว)
ทั้งสองประการนี้ ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าประชาธิปไตยอยู่แค่การเลือกตั้ง ส่วนสิทธิมักเป็นเรื่องต้องร้องขอ ถ้าร้องขอไม่ได้ก็ต้องใช้การประท้วงหรือ “ก่อม็อบ” เอาเอง
วิธีแรกที่ผมนึกคือ ชาวบ้านไม่มีหนทางหันหน้าไปพึ่งใคร พรรคการเมืองมีสาขาพรรค แต่ไม่ได้อยู่กับรากหญ้า ดังนั้นทำอย่างไรจึงจะหยั่งรากไปจนถึงระดับหมู่บ้านและเข้าถึงมวลชนในระดับที่ว่านี้
ที่พอจะทำได้ก็คือ สาขาพรรคควรขยายเครือข่าย โดยจัดตั้งให้มีระบบสมัชชา คือประชุมสมาชิก ระดมประชาชนทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก หารือกันกำหนดนโยบายระดับรากหญ้าในเชิงปฏิบัติ ไม่ใช่นโยบายนามธรรม แต่ให้มีรูปธรรม วิธีการก็ใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง แล้วดูว่าจะแก้ไขอย่างไร เมื่อรู้ปัญหาก็จะได้วิธีแก้ วิธีแก้นี่ก็จะได้ชุดความคิดออกมา ซึ่งก็จะรู้ว่านโยบายที่เป็นรูปธรรมสำหรับปัญหาแต่ละอย่างควรเป็นอย่างไร
เวลานี้คอมพิวเตอร์ราคาถูก การรวมปัญหาไว้ในระบบออนไลน์ของแต่ละหมู่บ้านขึ้นมาสู่ระดับจังหวัด, ภาค และเข้าส่วนกลางทำได้ไม่ยาก
ผู้บริหารพรรคก็ควรมีโครงสร้างที่แบ่งหน้าที่ระดับภาค, รองหัวหน้าพรรค, ควรแบ่งกันดูแลระดับภาคครับ
วิธีนี้เราจะได้นโยบายระดับรากหญ้าจริงๆ และแบ่งได้เป็นนโยบายหลายอย่าง ทั้งหมดเป็นรูปธรรม
สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ ระบบการศึกษา ได้แก่การยุบวิชาเรียนให้เป็นวิชาที่ไม่ต้องละเอียดแต่คลุมทั้งหมด แต่ในสายศิลป์กับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
สายศิลป์ อาจจะเรียนภาษา, ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, และอะไรอีกไม่เกิน 2 วิชา และให้นักเรียนเลือกเรียน 2 หรือ 3 วิชา
สายวิทยาศาสตร์ ก็เรียนเคมี, ฟิสิกส์, วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ให้เลือก 2-3 วิชา
วิชาเลือกอื่นๆ ก็เป็นวิชาเลือกจริงๆ เช่น วิชาอิสระ เช่นวิชาด้านการดนตรี, กีฬา, ศิลปะ-หรือสิ่งแวดล้อม เลือก 1 วิชา หรือ 2 วิชา
นักเรียนจะจบ ม.ปลาย ก็เรียนศิลป์และวิทย์ ใน ม.ต้นควบไปไม่เกิน 5 วิชา (รวมวิชาอิสระ 1 วิชา)
ม.ปลายจึงเลือกว่าจะเอาวิทย์หรือศิลป์ แต่ต้องมีวิทย์หรือศิลป์ทิ้งไว้ 1 วิชา
ครับ... ผมแค่คิดและคาด... ผมไม่ใช่ว่า “ฝัน” เป็นสิ่งที่ผมต้องการเห็นว่ามันน่าจะเกิดได้ในบ้านเมืองที่ผมอยู่ครับ
เมื่อได้คิดอยากจะเห็นแบบนี้แล้ว ผมควรจะทำอย่างไรต่อ
ผมคงทำอะไรมากไปกว่านี้ไม่ได้
มีแต่อยากเห็นสิ่งที่ผมเชื่อว่า หากมีรัฐบาลใหม่ซึ่งเป็นรัฐบาลในอนาคต (ที่ดี) ผมก็อยากเห็นสิ่งเหล่านี้ที่มีอยู่ หรือไม่มีได้เกิดขึ้น
1. ให้พัฒนาพิพิธภัณฑสถานฯ ให้ดีขึ้น มีงบประมาณมากกว่าเดิมอย่างน้อย 10 เท่าหรือมากกว่า มีทุนให้คนไปเรียนเรื่องการจัดการและการบริหาร
2. ให้มีการพัฒนาวงดนตรีระดับชาติ คือวงมโหรีไทย และออเคสตราฝรั่ง โดยไม่เกี่ยงให้มีคนต่างชาติเข้าร่วมมาเล่นเป็นเทอมเป็นวาระเพื่อพัฒนานักดนตรีไทยส่งเสริมให้ทุน นักดนตรีไทยไปเรียนเพิ่มเติม ส่งวงดนตรีไปหาประสบการณ์ต่างประเทศ
3. จัดระบบการแข่งขันกีฬา ประเภทที่คนนิยมเสียใหม่ ให้มีการแข่งขันในวันหยุดทุกสัปดาห์ ตั้งแต่ระดับโรงเรียนถึงมหาวิทยาลัยสนับสนุนสโมสรกีฬาให้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
4. จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาระดับชาติ (ไม่จำเป็นต้องระดับนานาชาติ) ขึ้นโดยจัดให้ใหญ่ สมเกียรติ โดยมีรางวัลสำคัญๆ เพิ่มประเภทกีฬาคัดตัวนักกีฬาตั้งแต่เด็กให้เข้าค่ายตั้งแต่ 3-6 เดือน ถ้าได้รับการคัดตัวให้เข้าค่าย 1-2 ปี โดยไม่ทิ้งการเรียน ส่วนโรงเรียนกีฬาให้แปรรูปเป็นมหาวิทยาลัยกีฬาและเป็นวิทยาศาสตร์การกีฬาให้มีทุกภาค
5. ให้มีการจัดสร้างห้องสมุดทันสมัย ทั้งเป็นห้องสมุดทันสมัยและมีระบบที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนมากทุกภูมิภาค ส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสือ มีรางวัลด้านวรรณกรรมระดับชาติ ที่สำคัญกว่าซีไรต์หรืออื่นๆ
6. ให้มีการจัดการแข่งขันรายปี ประดิษฐกรรมหรือนวัตกรรมใหม่ โดยมีรางวัลไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทในแต่ละสาขา - วิทยาศาสตร์, การค้นคว้าวิจัยด้านโบราณคดี, วิทยาศาสตร์ทางทะเล, วิทยุโทรทัศน์, อวกาศ และประดิษฐานกรรมพื้นบ้านใหม่ๆ ฯลฯ
ครับ ของแบบนี้ทำได้ง่ายๆ ถ้าคิดจะทำกันจริงๆ