ASTVผู้จัดการรายวัน – “กนอ.” เผยภายใน 1 เดือน3 โครงการที่รอขอใบอนุญาตประกอบกิจการยังไม่มีปัญหาเหตุอยู่ในช่วงทดลองเดินเครื่องอยู่แต่เกินนั้นมาตรา 67 ยังไร้ข้อสรุปอาจต้องให้ใบอนุญาตเหตุการลงทุนรอไม่ได้ มั่นใจ 1 เดือนทุกฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อให้ภาพการลงทุนไทยชัดเจนเพื่อเศรษฐกิจ ด้านเอกชนยินดีทำตามกฎหมายแต่ปัญหาอยู่ที่ภาครัฐไม่ชัดเจนเอง
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บอร์ดกนอ.)เปิดเผยว่า 3 โครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กนอ. ยังพอมีเวลา 1 เดือนที่จะรอผลการสรุปความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนตามมาตรา 67 โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม(EIA)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)เพราะอยู่ในช่วงทดลอง(เทสต์รัน)ก่อนเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ซึ่งกนอ.คาดว่าทุกฝ่ายจะเร่งสรุปได้ภายใน 1 เดือนเพื่อไม่ให้กระทบต่อการลงทุนในวงกว้าง
“หากภายใน 1 เดือนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน กนอ.ก็จะให้ใบอนุญาตประกอบกิจการแก่ผู้ประกอบการไปก่อน และตั้งเงื่อนไขให้ทำตามมติที่เปลี่ยนแปลงภายหลังได้เช่น การทำ HIA แต่ก็หวังว่าน่าจะเร่งสรุปได้ ไม่เช่นนั้นก็จะกระทบต่อการลงทุน”นายประสาน กล่าว
ทั้งนี้ 3 โครงการที่ผ่านรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และก่อสร้างเสร็จแล้ว เหลือเพียงขอใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กนอ.คือ บริษัทสยามแผ่นเหล็กวิลาส ลงทุน 1,800 ล้านบาท บริษัทปตท.อะโรเมติกส์ จำกัด(มหาชน)หรือ PTTAR ลงทุน1,300 ล้านบาท และบริษัท อทิตยา เบอร์ลา ลงทุนปิโตรเคมีมูลค่า 270 ล้านบาท
สำหรับการที่กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกประกาศเรื่อง โรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงนั้น นอกจากจะเป็นไปตามมติของคระกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)แล้วยังเป็นไปตามมติของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาท์เทิร์นซีบอร์ด)ที่ต้องการให้ได้ความชัดเจนตามมาตรา67 แต่ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่ากระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่พิจารณาเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้เป็นการเปิดช่องเพื่อปล่อยผี
“ มาตรา 67 เกิดจากรายละเอียดของแต่ละหน่วยงานที่ควรทำ หากทุกฝ่ายรู้หน้าที่ก็คงไม่เกิดปัญหา ซึ่งเรื่องนี้นักลงทุนเองก็ไม่ได้มีความผิดอะไร และหากจะมองว่าการลงทุนดังกล่าวผิดตามมาตรา67 จริงๆ กระทรวงคมนาคมก็ต้องผิดด้วยเพราะการสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว(ส่วนต่อขยายจากสถานีสะพานตากสินถึงสถานีวงเวียนใหญ่)ที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาก็ผิดเช่นกัน และหากเป็นอย่างนี้ก็ผิดหมดทั้งประเทศ สำคัญที่สุดคือ หลังจากนี้ต้องตั้งคณะกรรมการอิสระ(เรกูเลเตอร์)ขึ้นมากำกับดูแล ไม่เช่นนั้นทุกอย่างจะไม่จบและไม่ได้เกิดผลดีอะไรต่อประเทศเลย”นายประสานกล่าว
นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนเองก็ไม่มีปัญหาเลยหากจะต้องทำ HIA เพราะไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ ขอเพียงแค่ให้ภาครัฐกำหนดแนวทางที่ชัดเจนออกมาเท่านั้น แต่ที่ผ่านมาภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนมากกว่า ไม่ใช่เอกชนบ่ายเบี่ยงที่จะไม่ทำแต่อย่างใด
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บอร์ดกนอ.)เปิดเผยว่า 3 โครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กนอ. ยังพอมีเวลา 1 เดือนที่จะรอผลการสรุปความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนตามมาตรา 67 โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม(EIA)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)เพราะอยู่ในช่วงทดลอง(เทสต์รัน)ก่อนเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ซึ่งกนอ.คาดว่าทุกฝ่ายจะเร่งสรุปได้ภายใน 1 เดือนเพื่อไม่ให้กระทบต่อการลงทุนในวงกว้าง
“หากภายใน 1 เดือนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน กนอ.ก็จะให้ใบอนุญาตประกอบกิจการแก่ผู้ประกอบการไปก่อน และตั้งเงื่อนไขให้ทำตามมติที่เปลี่ยนแปลงภายหลังได้เช่น การทำ HIA แต่ก็หวังว่าน่าจะเร่งสรุปได้ ไม่เช่นนั้นก็จะกระทบต่อการลงทุน”นายประสาน กล่าว
ทั้งนี้ 3 โครงการที่ผ่านรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และก่อสร้างเสร็จแล้ว เหลือเพียงขอใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กนอ.คือ บริษัทสยามแผ่นเหล็กวิลาส ลงทุน 1,800 ล้านบาท บริษัทปตท.อะโรเมติกส์ จำกัด(มหาชน)หรือ PTTAR ลงทุน1,300 ล้านบาท และบริษัท อทิตยา เบอร์ลา ลงทุนปิโตรเคมีมูลค่า 270 ล้านบาท
สำหรับการที่กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกประกาศเรื่อง โรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงนั้น นอกจากจะเป็นไปตามมติของคระกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)แล้วยังเป็นไปตามมติของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาท์เทิร์นซีบอร์ด)ที่ต้องการให้ได้ความชัดเจนตามมาตรา67 แต่ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่ากระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่พิจารณาเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้เป็นการเปิดช่องเพื่อปล่อยผี
“ มาตรา 67 เกิดจากรายละเอียดของแต่ละหน่วยงานที่ควรทำ หากทุกฝ่ายรู้หน้าที่ก็คงไม่เกิดปัญหา ซึ่งเรื่องนี้นักลงทุนเองก็ไม่ได้มีความผิดอะไร และหากจะมองว่าการลงทุนดังกล่าวผิดตามมาตรา67 จริงๆ กระทรวงคมนาคมก็ต้องผิดด้วยเพราะการสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว(ส่วนต่อขยายจากสถานีสะพานตากสินถึงสถานีวงเวียนใหญ่)ที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาก็ผิดเช่นกัน และหากเป็นอย่างนี้ก็ผิดหมดทั้งประเทศ สำคัญที่สุดคือ หลังจากนี้ต้องตั้งคณะกรรมการอิสระ(เรกูเลเตอร์)ขึ้นมากำกับดูแล ไม่เช่นนั้นทุกอย่างจะไม่จบและไม่ได้เกิดผลดีอะไรต่อประเทศเลย”นายประสานกล่าว
นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนเองก็ไม่มีปัญหาเลยหากจะต้องทำ HIA เพราะไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ ขอเพียงแค่ให้ภาครัฐกำหนดแนวทางที่ชัดเจนออกมาเท่านั้น แต่ที่ผ่านมาภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนมากกว่า ไม่ใช่เอกชนบ่ายเบี่ยงที่จะไม่ทำแต่อย่างใด