อคส.เผยผู้ส่งออก 17 รายที่ชนะประมูลข้าว ต้องการขนข้าวในส่วนที่จ่ายเงินแล้ว ส่วนจะยอมยกเลิกสัญญาหรือไม่ยังสงวนท่าที ขณะที่ผู้ส่งออกระบุพร้อมเลิกสัญญา ขอแค่ขนข้าวที่จ่ายเงินแล้วออกก็พอ เหตุเรือมารับแล้ว หากช้าจะเสียหายหนักและเสียชื่อ เตรียมบุกพบ “อภิสิทธิ์” 23 มิ.ย.นี้ ขอความชัดเจน “สุเทพ” ยันไม่มีปัญหาพรรคร่วม อ้างผู้จัดการรัฐบาลยกมือไหว้ทุกพรรคจนมือบวม เพื่อประคองให้ “รัฐนาวา”รอด เชื่อทุกพรรคเข้าใจ คุยกันได้
นายยงยศ ปาละนิติเสนา รักษาการผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้ส่งออก 17 รายที่ชนะการประมูลข้าวของรัฐบาลจำนวนกว่า 2 ล้านตันจากที่เปิดประมูล 2.6 ล้านตัน วานนี้ (19 มิ.ย.) ว่า เสียงของเอกชนส่วนใหญ่ต้องการให้อคส. อนุญาตให้ขนข้าว โดยเฉพาะในส่วนที่ชำระเงินแล้วโดยด่วน โดยให้เหตุผลว่า ผู้ซื้อได้ส่งเรือเข้ามารับมอบข้าวแล้ว หากล่าช้าจะกระทบต่อการส่งออก และทำให้เสียชื่อเสียง ส่วนการยกเลิกสัญญาซื้อขายข้าวนั้น เอกชนส่วนใหญ่ยังสงวนท่าที
“ ได้ขอให้แต่ละรายไปจัดทำรายละเอียดและความจำเป็นของผู้ส่งออก ที่ไม่อาจยกเลิกสัญญาได้ หรือยกเลิกได้เพียงบางส่วน ซึ่งได้ขอให้แนบเอกสารหลักฐานคำสั่งซื้อและใบอนุมัติส่งออก ภายในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ และจะรวบรวมข้อเสนอของเอกชนทั้งหมดเสนอให้นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาและสั่งการว่าให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป ”นายยงยศกล่าว
สำหรับการระงับการขนย้ายข้าวออก คงต้องชะลอไว้ต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งอย่างเป็นทางการออกมาว่า จะให้อคส.ดำเนินการอย่างไร
แหล่งข่าว 1 ในผู้ส่งออก 17 รายที่ชนะการประมูล กล่าวว่า อคส.ได้ชี้แจงถึงสาเหตุของการชะลอรับมอบข้าวและการยกเลิกสัญญาการประมูล โดยให้เหตุผลว่า เป็นไปตามคำสั่งของรมว.พาณิชย์ และอคส.ได้เสนอ 2 แนวทาง คือ 1.หากยกเลิกสัญญาข้าวทั้งหมด เอกชนต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือหรือชดเชยอย่างไร และ 2.หากมีการอนุมัติให้ขนย้ายเฉพาะข้าวในส่วนที่ชำระเงินทั้งหมด แล้วยกเลิกในส่วนที่เหลือ เอกชนจะเห็นอย่างไรและทั้ง 2 กรณีจะมีการฟ้องร้องภาครัฐหรือไม่
ทั้งนี้ เอกชนส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ขอให้มีการขนย้ายข้าวในส่วนที่ชำระเงินไปแล้ว เนื่องจากเอกชนได้รับความเดือดร้อน ต้องหาข้าวมาส่งมอบให้ลูกค้าตามคำสั่งซื้อ โดยที่ผ่านมา ได้มีการขนย้ายข้าวที่ชำระเงินไปมากกว่าครึ่งออกจากโกดังไปแล้ว ดังนั้น คงไม่สามารถนำข้าวกลับมาคืนภาครัฐได้ เนื่องจากได้นำข้าวไปส่งมอบให้ลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“ อคส. ได้บอกให้ผู้ส่งออกไปทำหนังสือแจ้งความเดือนร้อนมาเสนอ ส่วนใหญ่เห็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ต้องการข้าวในส่วนที่ชำระเงิน ที่เหลือจะยกเลิกก็ไม่ว่ากัน” แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในวันอังคารที่ 23 มิ.ย.นี้ ผู้ชนะการประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาลจำนวนกว่า 2 ล้านตัน จากที่เปิดประมูล 2.6 ล้านตัน ทั้ง 17 ราย จะเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือกรณีสัญญาซื้อขายข้าว โดยจะขอให้นายกรัฐมนตรีอนุมัติให้เอกชนขนข้าวในส่วนที่ชำระเงินแล้วปริมาณ 2.4 แสนตันออกไปได้ เพราะได้รับความเดือนร้อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อลูกค้าต่างประเทศรออยู่ ส่วนปริมาณข้าวที่เหลือที่ยังไม่ได้มีการจ่ายเงิน หากรัฐบาลจะยกเลิก เอกชนยินยอม และจะไม่มีการฟ้องร้องภาครัฐแต่อย่างใด
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับข้าวที่เหลือ หากรัฐบาลล้มประมูลและมีการเปิดประมูลใหม่ เอกชนยินดีจะเข้าร่วมประมูล เพื่อยืนยันถึงสถานะว่าเป็นผู้ส่งออกมีการค้าขายจริง ไม่ได้นำข้าวมาเวียนเทียนในโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลอย่างที่เกิดกระแสข่าว และขณะนี้ข้าวในตลาดส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่สต๊อกรัฐบาลหมด เอกชนจำเป็นต้องซื้อข้าวจากรัฐบาล แต่การระบายควรทยอยระบายครั้งละ 5 แสนตัน ถึง 1 ล้าน ไม่ควรระบายล็อตใหญ่ เพราะจะกระทบกับเสถียรภาพของราคาข้าวในตลาด และควรจะรอดูช่วยจังหวะที่เหมาะสมในการระบาย
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด กล่าวว่า ยืนยันที่จะขอรับมอบข้าวตามสัญญาในส่วนที่มีการชำระเงิน 100% ไปแล้ว 3.7 หมื่นตัน มูลค่า 700 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ได้รับมอบไปแล้ว 1 หมื่นตัน จากคลังของอคส.และคลังขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จึงต้องการรับมอบที่เหลือทั้งหมด เพราะเป็นไปตามสัญญาที่ระบุไว้ในข้อ 12 ว่า ข้าวที่ชำระเงินแล้วจะถือว่าเป็นกรรมสิทธิของผู้ซื้อ อีกทั้งได้มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว
ส่วนเรื่องการดำเนินคดียังไม่ได้หารือกัน เพราะต้องการรับฟังความคิดของนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่จะมีโอกาสได้พบปะกันในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องนี้อย่างไร
ชี้ปัญหาข้าวปฏิบัติไม่ตรงกรอบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาข้าวว่า ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ทางพ่อค้าข้าวได้นัดมาเพื่อของพบ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์กำลังลำดับเหตุการณ์ เพื่อที่จะเสนอมาให้รับทราบ และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.)และประธานในที่ประชุมครม.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และกรอบไปแล้ว ซึ่งปัญหาก็คือ การทำงานของผู้ปฏิบัติตรงกับกรอบที่วางไว้หรือไม่ เข้าใจตรงกันหรือเปล่ากับการปฏิบัติ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็ต้องสรุปมา เพราะการตัดสินใจในการปฏิบัติทั้งหมด เช่น การลงนามในสัญญาหรือการจะอนุญาตให้ส่งของออกหรือไม่ แต่สิ่งที่เป็นนโยบายที่ให้ไปก็คือให้ปฏิบัติตามมติครม.
ส่วนปัญหาที่ทางบริษัทเอกชนเขาไม่ยอมและจะฟ้องนั้น นายกฯกล่าวว่า ก็คงต้องพูดคุยกันก่อน และก็จะต้องสอบถาม เพราะเขาก็ทำหนังสือร้องเรียนมาตั้งแต่เบื้องต้นว่า เขามีความเสียหายอย่างไร ก็ต้องไปตรวจสอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาทางรมว.พาณิชย์ ก็พูดได้อยู่คำเดียวว่าเป็นคำสั่งนายกฯ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ ผมบอกว่าให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ” อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีที่มีการประมูลก่อนก็ไม่มีปัญหา ไม่ถือว่าขัดต่อมติครม. เมื่อถามว่าเกรงหรือไม่ว่าเรื่องนี้จะทำให้เอกชนเกิดความไม่เชื่อมั่นรัฐบาล นายกฯ กล่าวว่าหลักที่ตนเคยพูดไว้ก็คือว่า ถ้าเกิดความเสียหายกับเอกชน โดยเอกชนเข้ามาในสัญญาโดยบริสุทธิ์ หรือสุจริต เขาต้องได้รับความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ขอรายละเอียดให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งก่อนว่าเป็นอย่างไร
"สุเทพ"ยันไม่เป็นปัญหาพรรคร่วม
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวถึงปัญหาราคาข้าวที่นายกฯมอบหมายให้เป็นคนกลาง ระหว่างนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ และนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ว่า ความจริงเรื่องนี้มันเลยเขตปัญหาความมั่นคงที่ตนดูแลอยู่ แต่ในฐานะคนกลางเมื่อทำให้เขามีหลักเกณฑ์ ทำอะไรที่ลงตัวแล้วก็ถือว่าจบแล้ว ตนจะทำเฉพาะเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคง
เมื่อถามว่าแต่เรื่องนี้กระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลเช่นกัน นายสุเทพ หัวเราะ ก่อนตอบว่า เอาว่า เมื่อไรที่นายกฯใช้ ก็จะไปทำต่อ ทำตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีข่าวว่าก่อนหน้านี้ทางพรรคภูมิใจไทย ส่งข้อห่วงใยต่างๆ มาถึงท่านเพื่อผ่านไปที่นายกฯ ล่าสุดมีเรื่องข้าวส่งมาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา ตนมีหน้าที่เป็นผู้จัดการตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้นเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลคับข้อง หมองใจหรืออึดอัด เขาก็เรียกตนไปคุย
"ผมมือบวมไปหมดแล้วนี่ เห็นมั๊ย ยกมือไหว้คนโน้น คนนี้ เพื่อที่จะให้รัฐบาลอยู่ได้ สามารถทำงานให้ชาติบ้านเมืองได้ ก็ต้องพยายามประคับประคองกันไป ผมเชื่อว่าทุกฝ่ายมีเหตุผล และในที่สุดก็เชื่อว่าจะคุยกันได้ และคุยกับทุกพรรค เขาเรียกเมื่อไร ไปเมื่อนั้น" นายสุเทพกล่าว.
นายยงยศ ปาละนิติเสนา รักษาการผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้ส่งออก 17 รายที่ชนะการประมูลข้าวของรัฐบาลจำนวนกว่า 2 ล้านตันจากที่เปิดประมูล 2.6 ล้านตัน วานนี้ (19 มิ.ย.) ว่า เสียงของเอกชนส่วนใหญ่ต้องการให้อคส. อนุญาตให้ขนข้าว โดยเฉพาะในส่วนที่ชำระเงินแล้วโดยด่วน โดยให้เหตุผลว่า ผู้ซื้อได้ส่งเรือเข้ามารับมอบข้าวแล้ว หากล่าช้าจะกระทบต่อการส่งออก และทำให้เสียชื่อเสียง ส่วนการยกเลิกสัญญาซื้อขายข้าวนั้น เอกชนส่วนใหญ่ยังสงวนท่าที
“ ได้ขอให้แต่ละรายไปจัดทำรายละเอียดและความจำเป็นของผู้ส่งออก ที่ไม่อาจยกเลิกสัญญาได้ หรือยกเลิกได้เพียงบางส่วน ซึ่งได้ขอให้แนบเอกสารหลักฐานคำสั่งซื้อและใบอนุมัติส่งออก ภายในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ และจะรวบรวมข้อเสนอของเอกชนทั้งหมดเสนอให้นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาและสั่งการว่าให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป ”นายยงยศกล่าว
สำหรับการระงับการขนย้ายข้าวออก คงต้องชะลอไว้ต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งอย่างเป็นทางการออกมาว่า จะให้อคส.ดำเนินการอย่างไร
แหล่งข่าว 1 ในผู้ส่งออก 17 รายที่ชนะการประมูล กล่าวว่า อคส.ได้ชี้แจงถึงสาเหตุของการชะลอรับมอบข้าวและการยกเลิกสัญญาการประมูล โดยให้เหตุผลว่า เป็นไปตามคำสั่งของรมว.พาณิชย์ และอคส.ได้เสนอ 2 แนวทาง คือ 1.หากยกเลิกสัญญาข้าวทั้งหมด เอกชนต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือหรือชดเชยอย่างไร และ 2.หากมีการอนุมัติให้ขนย้ายเฉพาะข้าวในส่วนที่ชำระเงินทั้งหมด แล้วยกเลิกในส่วนที่เหลือ เอกชนจะเห็นอย่างไรและทั้ง 2 กรณีจะมีการฟ้องร้องภาครัฐหรือไม่
ทั้งนี้ เอกชนส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ขอให้มีการขนย้ายข้าวในส่วนที่ชำระเงินไปแล้ว เนื่องจากเอกชนได้รับความเดือดร้อน ต้องหาข้าวมาส่งมอบให้ลูกค้าตามคำสั่งซื้อ โดยที่ผ่านมา ได้มีการขนย้ายข้าวที่ชำระเงินไปมากกว่าครึ่งออกจากโกดังไปแล้ว ดังนั้น คงไม่สามารถนำข้าวกลับมาคืนภาครัฐได้ เนื่องจากได้นำข้าวไปส่งมอบให้ลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“ อคส. ได้บอกให้ผู้ส่งออกไปทำหนังสือแจ้งความเดือนร้อนมาเสนอ ส่วนใหญ่เห็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ต้องการข้าวในส่วนที่ชำระเงิน ที่เหลือจะยกเลิกก็ไม่ว่ากัน” แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในวันอังคารที่ 23 มิ.ย.นี้ ผู้ชนะการประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาลจำนวนกว่า 2 ล้านตัน จากที่เปิดประมูล 2.6 ล้านตัน ทั้ง 17 ราย จะเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือกรณีสัญญาซื้อขายข้าว โดยจะขอให้นายกรัฐมนตรีอนุมัติให้เอกชนขนข้าวในส่วนที่ชำระเงินแล้วปริมาณ 2.4 แสนตันออกไปได้ เพราะได้รับความเดือนร้อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อลูกค้าต่างประเทศรออยู่ ส่วนปริมาณข้าวที่เหลือที่ยังไม่ได้มีการจ่ายเงิน หากรัฐบาลจะยกเลิก เอกชนยินยอม และจะไม่มีการฟ้องร้องภาครัฐแต่อย่างใด
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับข้าวที่เหลือ หากรัฐบาลล้มประมูลและมีการเปิดประมูลใหม่ เอกชนยินดีจะเข้าร่วมประมูล เพื่อยืนยันถึงสถานะว่าเป็นผู้ส่งออกมีการค้าขายจริง ไม่ได้นำข้าวมาเวียนเทียนในโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลอย่างที่เกิดกระแสข่าว และขณะนี้ข้าวในตลาดส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่สต๊อกรัฐบาลหมด เอกชนจำเป็นต้องซื้อข้าวจากรัฐบาล แต่การระบายควรทยอยระบายครั้งละ 5 แสนตัน ถึง 1 ล้าน ไม่ควรระบายล็อตใหญ่ เพราะจะกระทบกับเสถียรภาพของราคาข้าวในตลาด และควรจะรอดูช่วยจังหวะที่เหมาะสมในการระบาย
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด กล่าวว่า ยืนยันที่จะขอรับมอบข้าวตามสัญญาในส่วนที่มีการชำระเงิน 100% ไปแล้ว 3.7 หมื่นตัน มูลค่า 700 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ได้รับมอบไปแล้ว 1 หมื่นตัน จากคลังของอคส.และคลังขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จึงต้องการรับมอบที่เหลือทั้งหมด เพราะเป็นไปตามสัญญาที่ระบุไว้ในข้อ 12 ว่า ข้าวที่ชำระเงินแล้วจะถือว่าเป็นกรรมสิทธิของผู้ซื้อ อีกทั้งได้มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว
ส่วนเรื่องการดำเนินคดียังไม่ได้หารือกัน เพราะต้องการรับฟังความคิดของนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่จะมีโอกาสได้พบปะกันในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องนี้อย่างไร
ชี้ปัญหาข้าวปฏิบัติไม่ตรงกรอบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาข้าวว่า ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ทางพ่อค้าข้าวได้นัดมาเพื่อของพบ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์กำลังลำดับเหตุการณ์ เพื่อที่จะเสนอมาให้รับทราบ และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.)และประธานในที่ประชุมครม.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และกรอบไปแล้ว ซึ่งปัญหาก็คือ การทำงานของผู้ปฏิบัติตรงกับกรอบที่วางไว้หรือไม่ เข้าใจตรงกันหรือเปล่ากับการปฏิบัติ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็ต้องสรุปมา เพราะการตัดสินใจในการปฏิบัติทั้งหมด เช่น การลงนามในสัญญาหรือการจะอนุญาตให้ส่งของออกหรือไม่ แต่สิ่งที่เป็นนโยบายที่ให้ไปก็คือให้ปฏิบัติตามมติครม.
ส่วนปัญหาที่ทางบริษัทเอกชนเขาไม่ยอมและจะฟ้องนั้น นายกฯกล่าวว่า ก็คงต้องพูดคุยกันก่อน และก็จะต้องสอบถาม เพราะเขาก็ทำหนังสือร้องเรียนมาตั้งแต่เบื้องต้นว่า เขามีความเสียหายอย่างไร ก็ต้องไปตรวจสอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาทางรมว.พาณิชย์ ก็พูดได้อยู่คำเดียวว่าเป็นคำสั่งนายกฯ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ ผมบอกว่าให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ” อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีที่มีการประมูลก่อนก็ไม่มีปัญหา ไม่ถือว่าขัดต่อมติครม. เมื่อถามว่าเกรงหรือไม่ว่าเรื่องนี้จะทำให้เอกชนเกิดความไม่เชื่อมั่นรัฐบาล นายกฯ กล่าวว่าหลักที่ตนเคยพูดไว้ก็คือว่า ถ้าเกิดความเสียหายกับเอกชน โดยเอกชนเข้ามาในสัญญาโดยบริสุทธิ์ หรือสุจริต เขาต้องได้รับความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ขอรายละเอียดให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งก่อนว่าเป็นอย่างไร
"สุเทพ"ยันไม่เป็นปัญหาพรรคร่วม
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวถึงปัญหาราคาข้าวที่นายกฯมอบหมายให้เป็นคนกลาง ระหว่างนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ และนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ว่า ความจริงเรื่องนี้มันเลยเขตปัญหาความมั่นคงที่ตนดูแลอยู่ แต่ในฐานะคนกลางเมื่อทำให้เขามีหลักเกณฑ์ ทำอะไรที่ลงตัวแล้วก็ถือว่าจบแล้ว ตนจะทำเฉพาะเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคง
เมื่อถามว่าแต่เรื่องนี้กระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลเช่นกัน นายสุเทพ หัวเราะ ก่อนตอบว่า เอาว่า เมื่อไรที่นายกฯใช้ ก็จะไปทำต่อ ทำตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีข่าวว่าก่อนหน้านี้ทางพรรคภูมิใจไทย ส่งข้อห่วงใยต่างๆ มาถึงท่านเพื่อผ่านไปที่นายกฯ ล่าสุดมีเรื่องข้าวส่งมาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา ตนมีหน้าที่เป็นผู้จัดการตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้นเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลคับข้อง หมองใจหรืออึดอัด เขาก็เรียกตนไปคุย
"ผมมือบวมไปหมดแล้วนี่ เห็นมั๊ย ยกมือไหว้คนโน้น คนนี้ เพื่อที่จะให้รัฐบาลอยู่ได้ สามารถทำงานให้ชาติบ้านเมืองได้ ก็ต้องพยายามประคับประคองกันไป ผมเชื่อว่าทุกฝ่ายมีเหตุผล และในที่สุดก็เชื่อว่าจะคุยกันได้ และคุยกับทุกพรรค เขาเรียกเมื่อไร ไปเมื่อนั้น" นายสุเทพกล่าว.