ส่งออกไทยสร้างสถิติหน้าใหม่อีกแล้ว เดือนพ.ค.ขยายตัวติดลบเฉียด 17% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แถมเดือนหน้าส่อแววลบหนักอีก สั่งหดเป้าขยายตัวทั้งปีเป็นติดลบ 15% ถึงลบ 19% จากเดิมขยายตัว 0-3% แต่ยังดีได้หน้าเกินดุลการค้า 5 เดือนทะลุหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน ตื้อรัฐบาลไฟเขียว 3 มาตรการฉุดส่งออกพ้นปากเหวหากไม่ให้มีหวังติดลบกว่า 20% แน่
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการค้าระหว่างประเทศของไทยว่า ในเดือนพ.ค.2552 มีมูลค่าการส่งออก 11,656.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 26.6% ติดลบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ การนำเข้ามีมูลค่า 9,251.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 34.7% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2,405 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่าการส่งออก 55,872.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 22.95% การนำเข้ามีมูลค่า 45,817.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 36.78% ดุลการค้าเกินดุล 10,054.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน
“การส่งออกในเดือนพ.ค.ที่ติดลบ 26.6% นั้น เพราะฐานที่ใช้เทียบคือเดือนพ.ค.ปีก่อน ส่งออกได้สูงมาก และคาดว่าเดือนหน้าก็จะส่งออกติดลบสูงแบบนี้อีก”นายศิริพลกล่าว
ทั้งนี้ ในเดือนพ.ค.2551 ไทยส่งออกได้มูลค่า 15,880.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และเดือนมิ.ย.2551 ส่งออกได้ 16,650.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายศิริพลกล่าวว่า ในช่วง 5 เดือนแรกส่งออกยังขยายตัวติดลบ 22.95% โดยคาดว่าการส่งออกจากนี้ไป ในไตรมาส 2 และ 3 จะยังคงขยายตัวติดลบ แต่น่าจะเป็นอัตราที่ลดลง และจะเริ่มเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 4 ทำให้ยอดส่งออกทั้งปีจะขยายตัวติดลบ 15% ถึง ติดลบ 19% จากเป้าหมายที่คาดไว้ว่าจะขยายตัว 0-3%
“ขออนุญาตพูดตรงไปตรงมา เพราะประเมินตัวเลขแล้ว มันเป็นแบบนี้ แต่กระทรวงพาณิชย์จะพยายามผลักดันให้การส่งออกติดลบน้อยที่สุด”นายศิริพลกล่าว
สำหรับปัจจัยที่จะช่วยให้ส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 4 ขยายตัวเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จากการที่ประเทศต่างๆ อัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลงไป ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทีมการขายออกไปบุกเจาะตลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งน่าจะเห็นผลได้
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคาดหวังจากมาตรการของรัฐบาล ที่อยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติเพื่อให้การช่วยเหลือภาคการส่งออก ทั้งมาตรการคืนภาษีมุมน้ำเงิน การอนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธ.ส.น.) ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 3% ให้แก่ผู้ซื้อต่างประเทศ เพื่อซื้อสินค้าไทย และการอนุมัติให้ลดดอกเบี้ยแพ็กกิ้ง เครดิตให้ผู้ส่งออกไทย 3%เพื่อส่งออกไปตลาดใหม่ยังเป้าหมาย 25 ประเทศ ทั้งนี้ หากทั้ง 3 มาตรการไม่ได้รับอนุมัติ การส่งออกไทยปีนี้อาจติดลบเกิน 20%
อย่างไรก็ตาม การส่งออกยังมีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะการแข็งค่าของค่าเงินบาท ซึ่งหากบาทแข็งค่ามาก มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะลดลง และอาจนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าฟุ่มเฟือยมากจนทำให้เกิดภาวะขาดดุลการค้าได้ รวมถึงราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ส่งออกไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ราคาสินค้าสูงขึ้นศักยภาพการแข่งขันลดลง ขณะเดียวกัน อาจจะได้รับผลกระทบจากกรณีที่จีนออกมาตรการ “ บาย ไชน่า ” หรือ การซื้อสินค้าจีน ไว้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนนั้น ยอมรับว่า มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยแน่นอน
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือนพ.ค.ที่ลดลงมากถึง 26.6% นั้น เป็นการลดลงในทุกหมวด โดยสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 26.9% จากการลดลงของข้าว ยางพารา อาหารทะเลแช่แข็ง/กระป๋อง และแปรรูป (ไม่รวมกุ้ง) สินค้าอุตสาหกรรมลดลง 25.2% จากการลดลงของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ เป็นต้น และสินค้าอื่นๆ ลดลง 31.6%
ส่วนตลาดส่งออกนั้น ตลาดหลักยังลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2551 โดยลดลง 34.5% จากการลดลงของอาเซียน (5ประเทศ) 36.2% ญี่ปุ่น 35.7% สหภาพยุโรป (15ประเทศ) 35.2% สหรัฐฯ 29.9% ขณะที่ตลาดใหม่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังลดลง 17.8% โดยมีเพียงประเทศแอฟริกาที่ส่งออกเพิ่มขึ้น 18.4%
“ สาเหตุที่การส่งออกเดือนพ.ค.ลดลงมาก เพราะกำลังซื้อทั่วโลกยังไม่กลับมา สภาพคล่องผู้ส่งออกที่จะผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อยังไม่มี ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ยาก และราคาสินค้าเมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงมาก ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรม แต่กระทรวงพยายามหามาตรการกระตุ้นการส่งออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ขยายตัวได้มากที่สุด ”นายราเชนทร์กล่าว
สำหรับมาตรการกระตุ้นการส่งออกที่จะดำเนินการในเร็วๆ นี้ ได้แก่ โครงการ ไทยแลนด์ เบสต์ เฟรนด์ การเชิญผู้นำเข้าสินค้าไทยเข้ามาซื้อสินค้าไทย และรับสิทธิพิเศษต่างๆ มากมายระหว่างอยู่ในไทย ขณะนี้ตอบรับแล้ว 65 บริษัท ซื้อสินค้าไทยรวมกันปีละ 35,000 บาท ซึ่งการเดินทางมาในเดือนก.ค.นี้ ไทยตั้งเป้าหมายเพิ่มการสั่งซื้อเพิ่มอีก 10% และในอนาคตกลุ่มนี้จะสั่งซื้อเพิ่มเป็น 80,000 ล้านบาทได้ไม่ยาก ส่วนการคืนภาษีมุมน้ำเงินอยู่ระหว่างการพิจารณาของ กระทรวงการคลัง และอีก2 มาตรการเพิ่มเติมที่เหลืออยู่ระหว่างการพิจารณาของรมว.พาณิชย์
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการค้าระหว่างประเทศของไทยว่า ในเดือนพ.ค.2552 มีมูลค่าการส่งออก 11,656.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 26.6% ติดลบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ การนำเข้ามีมูลค่า 9,251.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 34.7% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2,405 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่าการส่งออก 55,872.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 22.95% การนำเข้ามีมูลค่า 45,817.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 36.78% ดุลการค้าเกินดุล 10,054.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน
“การส่งออกในเดือนพ.ค.ที่ติดลบ 26.6% นั้น เพราะฐานที่ใช้เทียบคือเดือนพ.ค.ปีก่อน ส่งออกได้สูงมาก และคาดว่าเดือนหน้าก็จะส่งออกติดลบสูงแบบนี้อีก”นายศิริพลกล่าว
ทั้งนี้ ในเดือนพ.ค.2551 ไทยส่งออกได้มูลค่า 15,880.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และเดือนมิ.ย.2551 ส่งออกได้ 16,650.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายศิริพลกล่าวว่า ในช่วง 5 เดือนแรกส่งออกยังขยายตัวติดลบ 22.95% โดยคาดว่าการส่งออกจากนี้ไป ในไตรมาส 2 และ 3 จะยังคงขยายตัวติดลบ แต่น่าจะเป็นอัตราที่ลดลง และจะเริ่มเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 4 ทำให้ยอดส่งออกทั้งปีจะขยายตัวติดลบ 15% ถึง ติดลบ 19% จากเป้าหมายที่คาดไว้ว่าจะขยายตัว 0-3%
“ขออนุญาตพูดตรงไปตรงมา เพราะประเมินตัวเลขแล้ว มันเป็นแบบนี้ แต่กระทรวงพาณิชย์จะพยายามผลักดันให้การส่งออกติดลบน้อยที่สุด”นายศิริพลกล่าว
สำหรับปัจจัยที่จะช่วยให้ส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 4 ขยายตัวเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จากการที่ประเทศต่างๆ อัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลงไป ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทีมการขายออกไปบุกเจาะตลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งน่าจะเห็นผลได้
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคาดหวังจากมาตรการของรัฐบาล ที่อยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติเพื่อให้การช่วยเหลือภาคการส่งออก ทั้งมาตรการคืนภาษีมุมน้ำเงิน การอนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธ.ส.น.) ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 3% ให้แก่ผู้ซื้อต่างประเทศ เพื่อซื้อสินค้าไทย และการอนุมัติให้ลดดอกเบี้ยแพ็กกิ้ง เครดิตให้ผู้ส่งออกไทย 3%เพื่อส่งออกไปตลาดใหม่ยังเป้าหมาย 25 ประเทศ ทั้งนี้ หากทั้ง 3 มาตรการไม่ได้รับอนุมัติ การส่งออกไทยปีนี้อาจติดลบเกิน 20%
อย่างไรก็ตาม การส่งออกยังมีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะการแข็งค่าของค่าเงินบาท ซึ่งหากบาทแข็งค่ามาก มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะลดลง และอาจนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าฟุ่มเฟือยมากจนทำให้เกิดภาวะขาดดุลการค้าได้ รวมถึงราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ส่งออกไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ราคาสินค้าสูงขึ้นศักยภาพการแข่งขันลดลง ขณะเดียวกัน อาจจะได้รับผลกระทบจากกรณีที่จีนออกมาตรการ “ บาย ไชน่า ” หรือ การซื้อสินค้าจีน ไว้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนนั้น ยอมรับว่า มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยแน่นอน
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือนพ.ค.ที่ลดลงมากถึง 26.6% นั้น เป็นการลดลงในทุกหมวด โดยสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 26.9% จากการลดลงของข้าว ยางพารา อาหารทะเลแช่แข็ง/กระป๋อง และแปรรูป (ไม่รวมกุ้ง) สินค้าอุตสาหกรรมลดลง 25.2% จากการลดลงของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ เป็นต้น และสินค้าอื่นๆ ลดลง 31.6%
ส่วนตลาดส่งออกนั้น ตลาดหลักยังลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2551 โดยลดลง 34.5% จากการลดลงของอาเซียน (5ประเทศ) 36.2% ญี่ปุ่น 35.7% สหภาพยุโรป (15ประเทศ) 35.2% สหรัฐฯ 29.9% ขณะที่ตลาดใหม่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังลดลง 17.8% โดยมีเพียงประเทศแอฟริกาที่ส่งออกเพิ่มขึ้น 18.4%
“ สาเหตุที่การส่งออกเดือนพ.ค.ลดลงมาก เพราะกำลังซื้อทั่วโลกยังไม่กลับมา สภาพคล่องผู้ส่งออกที่จะผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อยังไม่มี ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ยาก และราคาสินค้าเมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงมาก ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรม แต่กระทรวงพยายามหามาตรการกระตุ้นการส่งออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ขยายตัวได้มากที่สุด ”นายราเชนทร์กล่าว
สำหรับมาตรการกระตุ้นการส่งออกที่จะดำเนินการในเร็วๆ นี้ ได้แก่ โครงการ ไทยแลนด์ เบสต์ เฟรนด์ การเชิญผู้นำเข้าสินค้าไทยเข้ามาซื้อสินค้าไทย และรับสิทธิพิเศษต่างๆ มากมายระหว่างอยู่ในไทย ขณะนี้ตอบรับแล้ว 65 บริษัท ซื้อสินค้าไทยรวมกันปีละ 35,000 บาท ซึ่งการเดินทางมาในเดือนก.ค.นี้ ไทยตั้งเป้าหมายเพิ่มการสั่งซื้อเพิ่มอีก 10% และในอนาคตกลุ่มนี้จะสั่งซื้อเพิ่มเป็น 80,000 ล้านบาทได้ไม่ยาก ส่วนการคืนภาษีมุมน้ำเงินอยู่ระหว่างการพิจารณาของ กระทรวงการคลัง และอีก2 มาตรการเพิ่มเติมที่เหลืออยู่ระหว่างการพิจารณาของรมว.พาณิชย์