วันอาทิตย์นี้ (21 มิถุนายน 2552)จะรู้ผลการเดิมพันครั้งสำคัญทางการเมือง ของการเมืองสองขั้วสองสี
“สีแดง”เพื่อไทย –ทักษิณ ชินวัตร
ปะทะ “สีน้ำเงิน”ภูมิใจไทย –เนวิน ชิดชอบ
พรรคไหนจะคว้าชัยในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.สกลนคร เขต 3 ซึ่งผลการเลือกตั้งที่ออกมา แม้ไม่ถึงกับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ ตามมา แต่ปฏิกิริยาข้างเคียงทางการเมือง นั้นอยู่ในระดับสูงมิใช่น้อย
ทั้งกับเพื่อไทยและภูมิใจไทย –ซีกรัฐบาลและฝ่ายค้าน
จึงทำให้สนามเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ ทักษิณ VS เนวิน ,เพื่อไทย VS ภูมิใจไทย เทหมดหน้าตักสู้ทุกเม็ด เพื่อมิให้ความพ่ายแพ้อยู่ฝั่งตัวเอง
ด้วยเป้าหมายต่างฝ่ายต่างแพ้ไม่ได้ ส่งผลให้สนามเลือกตั้งซ่อมสกลนครครั้งนี้ มีเค้าลางการแข่งขันที่สูงยิ่ง และไม่ใช่สนามเลือกตั้งซ่อมธรรมดาเหมือนที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ เช่น ร้อยเอ็ด,สมุทรปราการ ซึ่งแทบไม่มีข่าวสารความเคลื่อนไหวใดๆ ออกมาจนบางครั้งแทบไม่รู้เลยว่า มีการเลือกตั้งซ่อมเสร็จสิ้นไป
แต่ในการแข่งขันที่รุนแรงเช่นนี้ กลับพบอาการ
“เสือหลับ”ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ที่ทำงานแบบตั้งรับ ทั้งที่ข่าวสารการเลือกตั้งที่สกลนครออกมาอย่างต่อเนื่องรวมถึงรายงานที่กกต.จังหวัดรายงานมายัง กกต.ก็เห็นแล้วว่า
มี “สิ่งผิดปกติ”ในการเลือกตั้งเกิดขึ้น
ทว่า กกต.กลับทำงานเหมือนกับทุกอย่างเป็นเรื่องปกติ !
แล้วก็รอ แต่จะให้มีเรื่องร้องเรียนเข้ามายัง กกต.เพื่อให้ กกต.ตั้งประเด็นการสอบสวนตามคำร้องเรียนเป็นเรื่องๆ ไป
ทีมข่าวการเมือง ASTV ผู้จัดการ ขอสรุปว่า กกต.ใหญ่วิเคราะห์ภารกิจผิดพลาด ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม
กกต.ควรต้องลงพื้นที่ เพื่อวางแผนเตรียมการเลือกตั้งและเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับ กกต.สกลนคร ที่กำลังมีปัญหาการทำงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครอง
ทั้งๆ ที่ กกต.บางคน ที่ก็ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ มีการแข่งขันรุนแรง และมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหลายอย่าง
ทว่ากลับบอกไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่ เพราะหาก กกต.ทำเช่นนั้น มีการเลือกตั้งครั้งใด ที่ไหน แล้ว กกต.ลงพื้นที่ไปทำงาน ก็จะเป็นบรรทัดฐานสำหรับการเลือกตั้งพื้นที่อื่น ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป กกต.ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน
ปัดโธ่ ! นี่หรือ กกต.
ที่เป็นองค์กรอิสระ กินเงินเดือนประชาชน ตอนรับสมัคร ก็แสดงวิสัยทัศน์เสียเลิศหรูว่า พร้อมทุ่มเททำงานเพื่อประเทศชาติและส่วนรวม แต่พอถึงเวลาทำงานจริง เห็นกันอยู่ว่า
สถานการณ์การเลือกตั้งมันรุนแรง มีสิ่งผิดปกติ
เราขอเสนอให้ กกต.ทำงานเชิงรุก ต้องตัดไฟแต่ต้นลม ลงไปสู้กับปัญหา แสดงศักดาความเป็นกกต.ให้คนที่จะทุจริตเลือกตั้งเกรงกลัว
แต่กลับอ้างว่า ไม่มีเวลา ลงไปแล้วจะทำให้เป็นบรรทัดฐานกับพื้นที่เลือกตั้งอื่น
ถ้าคิดกันแบบนี้ ขอโทษเถอะ กกต.ที่เคารพ
ลาออกไปอยู่บ้านดีกว่า อย่ามาทำงานเลย
พวก กกต.ทั้งหมด ไม่รู้เลยหรือว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง คือองค์กรที่ต้องตื่นตัว และจับสัญญาณความรุนแรงของการเลือกตั้ง ที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด ทั้งบนดิน-ใต้ดิน การใช้อำนาจการเมือง อำนาจรัฐทุกรูปแบบ เพื่อนำไปสู่การป้องกันการทุจริตการเลือกตั้ง และเอาผิดผู้เกี่ยวข้องกับการซื้อสิทธิ์ขายเสียง หรือทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
เพราะหากพบการทุจริต หรือการเตรียมการแล้วป้องกันไว้ได้ทัน แล้วสกัดไว้ได้ มันย่อมดีกว่าที่จะให้มีการทุจริตเลือกตั้งแล้วคนที่ทุจริตได้รับเลือกตั้ง สุดท้ายตอนหลัง กกต.ไม่รับรองผลการเลือกตั้ง แล้วสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
นั่นหมายความว่า รัฐต้องเสียภาษีไปกับการจัดการเลือกตั้งใหม่อีกหลายล้านบาท
รวมถึงหาก กกต.ทำหน้าที่อย่างจริงจัง แล้วสืบสวนสอบสวนขยายผลจนนำไปสู่การเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งหากพบว่าเป็นการวางแผนทุจริตเลือกตั้งอย่างเป็นขบวนการ มีการใช้อำนาจรัฐ อำนาจการเมืองไปในทางที่ผิด ก็สามารถนำไปสู่การเอาผิดผู้เกี่ยวข้องให้หลาบจำ เช่นการนำไปสู่การยุบพรรคและตัดสิทธิ์การเมืองผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
และที่ผ่านมาก็มีกลิ่นการทุจริตเลือกตั้งออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง จนเชื่อกันว่า หลังเลือกตั้งเสร็จสิ้น คงมีการร้องเรียนต่อ กกต.กันไปมาหลายเรื่องแน่นอน เพราะมันมีข้อพิรุธให้เห็นหลายเรื่อง
ตั้งแต่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อ วันที่ 13-14 มิ.ย. ที่ผ่านมา อันพบว่าได้เกิดตัวเลขมหัศจรรย์ทางการเมืองที่คนสกลนครด้วยกันเองก็ยังตาค้าง
เพราะ 2 วันดังกล่าวประชาชนแห่เข้าคิวลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าจำนวนทั้งสิ้น 21,060 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 234,303 คน คิดเป็นร้อยละ 8.98%
อันเป็นตัวเลขผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ามากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าเพียง 3,407 คน เท่ากับว่าเลือกตั้งล่วงหน้ามีคนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากกว่าเลือก ส.ส.ถึง 6 เท่า !
เราไม่ได้ปรามาสหรือตั้งสมมุติฐานว่า มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับประชาชนชาวสกลนคร ในลักษณะว่าไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากผิดปกติ เพราะถูกเกณฑ์มา หรือมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
การที่มีประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันมาก ย่อมถือว่าเป็นเรื่องดี แสดงให้เห็นว่าประชาชนตื่นตัวในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และต้องการแสดงพลังประชาธิปไตย โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีการซื้อเสียงหรือถูกเกณฑ์มา
เราเชื่อว่า ทุกเสียงของประชาชนก็ย่อมมีศักดิ์ศรีของตัวเอง คงไม่ยอมให้เงินไม่กี่ร้อยกี่พันบาทมาซื้อได้ เพียงแต่เมื่อตัวเลขผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง มันมากผิดปกติ
ค้านสายตาประชาชน
ก็สมควรต้องมีการตั้งข้อสังเกต และต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อให้สิ้นกระบวนการข้อสงสัย และหากไม่มีอะไรผิดปกติ ก็สมควรต้องชมเชยความตื่นตัวของประชาชนเสียด้วยซ้ำ
สิ่งสำคัญ ก็คือ กกต.จะต้องดูแลจัดการการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2552 ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และควรที่ กกต.จะต้องรีบเร่งจัดการสอบสวนพฤติการณ์หลายอย่างที่สังคมเห็นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้อาจมีการทุจริตการเลือกตั้ง หรือใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ ไม่ว่าจะเป็น
1.การสอบสวนกรณีเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งฝ่ายตำรวจ ฝ่ายปกครอง วางตัวไม่เป็นกลางในการเลือกตั้ง รวมถึงข้อร้องเรียนเรื่องมีการใช้กลไกอำนาจรัฐผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนไปถึงระดับนายอำเภอและระดับจังหวัด รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่น เช่น อบต.เพื่อช่วยผู้สมัครบางพรรคการเมือง
2.การตรวจสอบการซื้อเสียงในพื้นที่เลือกตั้ง ที่พบว่าดูจะไม่ทำงานเชิงรุกอย่างจริงจัง ทั้งที่เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก และไม่ควรแต่จะทำงานตั้งรับรอให้มีการร้องเรียนแต่ควรต้องสืบสวนสอบสวนหาข่าวอย่างจริงจัง
อย่าลืมว่า หลายเหตุการณ์ที่มีการจับทุจริตการเลือกตั้ง แล้วสร้างผลสะเทือนทางการเมืองอย่างสูง ก็ไม่ได้มาจากการมีเรื่องร้องเรียนมาก่อน
แต่เกิดจากการสืบสวนสอบสวนหาข่าว จนสามารถจับทุจริตการเลือกตั้งได้
ไม่ว่าจะเป็นกรณีการทุจริตเลือกตั้งที่บุรีรัมย์ ซึ่ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส นำทีมสอบสวนและจับกุมการทุจริตเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม 2538 จนเกิดตำนาน 'ยี้ห้อยร้อยยี่สิบ' ในถิ่นเลือกตั้งบุรีรัมย์ของ เนวิน ชิดชอบ ซึ่งสามารถจับกุมผู้กระทำผิดพร้อมหลักฐานเงินสด
11.4 ล้านบาท ซึ่งเป็นธนบัตรใบละ100 กับ 20 เย็บติดกับเบอร์ของผู้สมัครส.ส.คนหนึ่งในทีมของเนวิน และผลสุดท้ายศาลได้ตัดสินลงโทษผู้ต้องหา และยึดเงินของกลาง
หรืออีกกรณีหนึ่งคือการทุจริตเลือกตั้งที่เชียงราย ในการเลือกตั้งเมื่อ ธันวาคม2550 ที่ทีมตำรวจของพล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม และ พล.ต.ต.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ร่วมกันสอบสวนการทุจริตเลือกตั้งในเชียงราย จนกกต.เอาผิดกับ ยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในความผิดที่ไปแจกเงินให้กับกลุ่มกำนัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นหัวคะแนนของนายยงยุทธ เพื่อให้นำเงินดังกล่าวไปซื้อเสียง
จนส่งผลให้ มีการยุบพรรคพลังประชาชน
แล้วเหตุใดในพื้นที่เลือกตั้งที่รุนแรงเช่นสกลนคร กกต.จึงกลับไม่สนใจจะสืบสวนสอบสวนการทุจริตเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มต้นวันแรกๆ ของการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะหาก กกต.ตื่นตัวตั้งแต่แรก ป่านนี้ อาจมีข่าวใหญ่ทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้วก็ได้
3.ข้อร้องเรียนเรื่องการเปลี่ยนหีบบัตรเลือกตั้งล่วงหน้า และมีการกาบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าเพื่อนำไปหย่อนในหีบบัตรเลือกตั้งที่เตรียมไว้ การขนคนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า โดยใช้รถทะเบียนบุรีรัมย์ รับส่ง
และ 4.ต้องวางแผนเตรียมพร้อมในการเลือกตั้งให้รัดกุม อย่าให้เกิดปัญหาเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นกับกรณีการเก็บรักษาหีบบัตรเลือกตั้ง หลังจากตำรวจสกลนคร ปฏิเสธที่จะให้นำหีบบัตรเลือกตั้งไปฝากไว้ที่ห้องขังของสถานีตำรวจ แต่กลับนำไปไว้ที่รถขังผู้ต้องหาแล้วจอดทิ้งไว้ข้างโรงพัก
เพราะกรณีที่เกิดขึ้น จริงอยู่ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่กับการที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ไม่ยอมให้ความร่วมมือกับ กกต.ในการจัดการเลือกตั้ง
เรื่องนี้ เราเห็นด้วยว่าการที่ กกต.ทำหนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี และ ผบ.ตร. เพื่อขอให้ย้ายพล.ต.ต.อุดม จำปาจันทร์ ผบก.สกลนคร เนื่องจากไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลหีบบัตรเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่ควรแล้ว
เพราะเรื่องเช่นนี้ต้องลงโทษให้เข็ดหลาบ เพราะขนาดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ แต่กลับละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะกลัวความผิดพลาด แล้วจะเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ให้ประชาชนได้อย่างไร
สรุปรวมว่า ถึงตอนนี้ แม้เหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่ชั่วโมงจะมีการเลือกตั้ง แต่ กกต.ยังพอมีเวลาที่จะต้องปรับวิธีคิด การทำงานโดยด่วน
ต้องเลิกทำงานแบบปกติ ในสถานการณ์ผิดปกติ
ควรตื่นตัวในการรู้เท่าทันนักการเมือง พรรคการเมือง ที่ปรับเปลี่ยนวิธีการทุจริตเลือกตั้งเพื่อหนีการจับผิดของ กกต. เพราะตอนนี้เริ่มเห็นแล้วว่า การทุจริตเลือกตั้งกำลังมีการปรับเปลี่ยนแนวคิด-นวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา
จนน่าหวั่นเกรงว่าต่อไปการทุจริตเลือกตั้ง การซื้อเสียงจะเปลี่ยนวิธีการมามุ่งเน้นที่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า เพราะถูกจับตาจาก กกต.น้อยกว่าในวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจริง หรือคืนก่อนวันเลือกตั้งที่เรียกกันว่า “คืนหมาหอน” กันเสียแล้ว
“สีแดง”เพื่อไทย –ทักษิณ ชินวัตร
ปะทะ “สีน้ำเงิน”ภูมิใจไทย –เนวิน ชิดชอบ
พรรคไหนจะคว้าชัยในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.สกลนคร เขต 3 ซึ่งผลการเลือกตั้งที่ออกมา แม้ไม่ถึงกับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ ตามมา แต่ปฏิกิริยาข้างเคียงทางการเมือง นั้นอยู่ในระดับสูงมิใช่น้อย
ทั้งกับเพื่อไทยและภูมิใจไทย –ซีกรัฐบาลและฝ่ายค้าน
จึงทำให้สนามเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ ทักษิณ VS เนวิน ,เพื่อไทย VS ภูมิใจไทย เทหมดหน้าตักสู้ทุกเม็ด เพื่อมิให้ความพ่ายแพ้อยู่ฝั่งตัวเอง
ด้วยเป้าหมายต่างฝ่ายต่างแพ้ไม่ได้ ส่งผลให้สนามเลือกตั้งซ่อมสกลนครครั้งนี้ มีเค้าลางการแข่งขันที่สูงยิ่ง และไม่ใช่สนามเลือกตั้งซ่อมธรรมดาเหมือนที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ เช่น ร้อยเอ็ด,สมุทรปราการ ซึ่งแทบไม่มีข่าวสารความเคลื่อนไหวใดๆ ออกมาจนบางครั้งแทบไม่รู้เลยว่า มีการเลือกตั้งซ่อมเสร็จสิ้นไป
แต่ในการแข่งขันที่รุนแรงเช่นนี้ กลับพบอาการ
“เสือหลับ”ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ที่ทำงานแบบตั้งรับ ทั้งที่ข่าวสารการเลือกตั้งที่สกลนครออกมาอย่างต่อเนื่องรวมถึงรายงานที่กกต.จังหวัดรายงานมายัง กกต.ก็เห็นแล้วว่า
มี “สิ่งผิดปกติ”ในการเลือกตั้งเกิดขึ้น
ทว่า กกต.กลับทำงานเหมือนกับทุกอย่างเป็นเรื่องปกติ !
แล้วก็รอ แต่จะให้มีเรื่องร้องเรียนเข้ามายัง กกต.เพื่อให้ กกต.ตั้งประเด็นการสอบสวนตามคำร้องเรียนเป็นเรื่องๆ ไป
ทีมข่าวการเมือง ASTV ผู้จัดการ ขอสรุปว่า กกต.ใหญ่วิเคราะห์ภารกิจผิดพลาด ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม
กกต.ควรต้องลงพื้นที่ เพื่อวางแผนเตรียมการเลือกตั้งและเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับ กกต.สกลนคร ที่กำลังมีปัญหาการทำงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครอง
ทั้งๆ ที่ กกต.บางคน ที่ก็ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ มีการแข่งขันรุนแรง และมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหลายอย่าง
ทว่ากลับบอกไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่ เพราะหาก กกต.ทำเช่นนั้น มีการเลือกตั้งครั้งใด ที่ไหน แล้ว กกต.ลงพื้นที่ไปทำงาน ก็จะเป็นบรรทัดฐานสำหรับการเลือกตั้งพื้นที่อื่น ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป กกต.ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน
ปัดโธ่ ! นี่หรือ กกต.
ที่เป็นองค์กรอิสระ กินเงินเดือนประชาชน ตอนรับสมัคร ก็แสดงวิสัยทัศน์เสียเลิศหรูว่า พร้อมทุ่มเททำงานเพื่อประเทศชาติและส่วนรวม แต่พอถึงเวลาทำงานจริง เห็นกันอยู่ว่า
สถานการณ์การเลือกตั้งมันรุนแรง มีสิ่งผิดปกติ
เราขอเสนอให้ กกต.ทำงานเชิงรุก ต้องตัดไฟแต่ต้นลม ลงไปสู้กับปัญหา แสดงศักดาความเป็นกกต.ให้คนที่จะทุจริตเลือกตั้งเกรงกลัว
แต่กลับอ้างว่า ไม่มีเวลา ลงไปแล้วจะทำให้เป็นบรรทัดฐานกับพื้นที่เลือกตั้งอื่น
ถ้าคิดกันแบบนี้ ขอโทษเถอะ กกต.ที่เคารพ
ลาออกไปอยู่บ้านดีกว่า อย่ามาทำงานเลย
พวก กกต.ทั้งหมด ไม่รู้เลยหรือว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง คือองค์กรที่ต้องตื่นตัว และจับสัญญาณความรุนแรงของการเลือกตั้ง ที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด ทั้งบนดิน-ใต้ดิน การใช้อำนาจการเมือง อำนาจรัฐทุกรูปแบบ เพื่อนำไปสู่การป้องกันการทุจริตการเลือกตั้ง และเอาผิดผู้เกี่ยวข้องกับการซื้อสิทธิ์ขายเสียง หรือทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
เพราะหากพบการทุจริต หรือการเตรียมการแล้วป้องกันไว้ได้ทัน แล้วสกัดไว้ได้ มันย่อมดีกว่าที่จะให้มีการทุจริตเลือกตั้งแล้วคนที่ทุจริตได้รับเลือกตั้ง สุดท้ายตอนหลัง กกต.ไม่รับรองผลการเลือกตั้ง แล้วสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
นั่นหมายความว่า รัฐต้องเสียภาษีไปกับการจัดการเลือกตั้งใหม่อีกหลายล้านบาท
รวมถึงหาก กกต.ทำหน้าที่อย่างจริงจัง แล้วสืบสวนสอบสวนขยายผลจนนำไปสู่การเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งหากพบว่าเป็นการวางแผนทุจริตเลือกตั้งอย่างเป็นขบวนการ มีการใช้อำนาจรัฐ อำนาจการเมืองไปในทางที่ผิด ก็สามารถนำไปสู่การเอาผิดผู้เกี่ยวข้องให้หลาบจำ เช่นการนำไปสู่การยุบพรรคและตัดสิทธิ์การเมืองผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
และที่ผ่านมาก็มีกลิ่นการทุจริตเลือกตั้งออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง จนเชื่อกันว่า หลังเลือกตั้งเสร็จสิ้น คงมีการร้องเรียนต่อ กกต.กันไปมาหลายเรื่องแน่นอน เพราะมันมีข้อพิรุธให้เห็นหลายเรื่อง
ตั้งแต่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อ วันที่ 13-14 มิ.ย. ที่ผ่านมา อันพบว่าได้เกิดตัวเลขมหัศจรรย์ทางการเมืองที่คนสกลนครด้วยกันเองก็ยังตาค้าง
เพราะ 2 วันดังกล่าวประชาชนแห่เข้าคิวลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าจำนวนทั้งสิ้น 21,060 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 234,303 คน คิดเป็นร้อยละ 8.98%
อันเป็นตัวเลขผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ามากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าเพียง 3,407 คน เท่ากับว่าเลือกตั้งล่วงหน้ามีคนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากกว่าเลือก ส.ส.ถึง 6 เท่า !
เราไม่ได้ปรามาสหรือตั้งสมมุติฐานว่า มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับประชาชนชาวสกลนคร ในลักษณะว่าไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากผิดปกติ เพราะถูกเกณฑ์มา หรือมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
การที่มีประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันมาก ย่อมถือว่าเป็นเรื่องดี แสดงให้เห็นว่าประชาชนตื่นตัวในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และต้องการแสดงพลังประชาธิปไตย โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีการซื้อเสียงหรือถูกเกณฑ์มา
เราเชื่อว่า ทุกเสียงของประชาชนก็ย่อมมีศักดิ์ศรีของตัวเอง คงไม่ยอมให้เงินไม่กี่ร้อยกี่พันบาทมาซื้อได้ เพียงแต่เมื่อตัวเลขผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง มันมากผิดปกติ
ค้านสายตาประชาชน
ก็สมควรต้องมีการตั้งข้อสังเกต และต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อให้สิ้นกระบวนการข้อสงสัย และหากไม่มีอะไรผิดปกติ ก็สมควรต้องชมเชยความตื่นตัวของประชาชนเสียด้วยซ้ำ
สิ่งสำคัญ ก็คือ กกต.จะต้องดูแลจัดการการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2552 ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และควรที่ กกต.จะต้องรีบเร่งจัดการสอบสวนพฤติการณ์หลายอย่างที่สังคมเห็นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้อาจมีการทุจริตการเลือกตั้ง หรือใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ ไม่ว่าจะเป็น
1.การสอบสวนกรณีเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งฝ่ายตำรวจ ฝ่ายปกครอง วางตัวไม่เป็นกลางในการเลือกตั้ง รวมถึงข้อร้องเรียนเรื่องมีการใช้กลไกอำนาจรัฐผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนไปถึงระดับนายอำเภอและระดับจังหวัด รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่น เช่น อบต.เพื่อช่วยผู้สมัครบางพรรคการเมือง
2.การตรวจสอบการซื้อเสียงในพื้นที่เลือกตั้ง ที่พบว่าดูจะไม่ทำงานเชิงรุกอย่างจริงจัง ทั้งที่เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก และไม่ควรแต่จะทำงานตั้งรับรอให้มีการร้องเรียนแต่ควรต้องสืบสวนสอบสวนหาข่าวอย่างจริงจัง
อย่าลืมว่า หลายเหตุการณ์ที่มีการจับทุจริตการเลือกตั้ง แล้วสร้างผลสะเทือนทางการเมืองอย่างสูง ก็ไม่ได้มาจากการมีเรื่องร้องเรียนมาก่อน
แต่เกิดจากการสืบสวนสอบสวนหาข่าว จนสามารถจับทุจริตการเลือกตั้งได้
ไม่ว่าจะเป็นกรณีการทุจริตเลือกตั้งที่บุรีรัมย์ ซึ่ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส นำทีมสอบสวนและจับกุมการทุจริตเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม 2538 จนเกิดตำนาน 'ยี้ห้อยร้อยยี่สิบ' ในถิ่นเลือกตั้งบุรีรัมย์ของ เนวิน ชิดชอบ ซึ่งสามารถจับกุมผู้กระทำผิดพร้อมหลักฐานเงินสด
11.4 ล้านบาท ซึ่งเป็นธนบัตรใบละ100 กับ 20 เย็บติดกับเบอร์ของผู้สมัครส.ส.คนหนึ่งในทีมของเนวิน และผลสุดท้ายศาลได้ตัดสินลงโทษผู้ต้องหา และยึดเงินของกลาง
หรืออีกกรณีหนึ่งคือการทุจริตเลือกตั้งที่เชียงราย ในการเลือกตั้งเมื่อ ธันวาคม2550 ที่ทีมตำรวจของพล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม และ พล.ต.ต.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ร่วมกันสอบสวนการทุจริตเลือกตั้งในเชียงราย จนกกต.เอาผิดกับ ยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในความผิดที่ไปแจกเงินให้กับกลุ่มกำนัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นหัวคะแนนของนายยงยุทธ เพื่อให้นำเงินดังกล่าวไปซื้อเสียง
จนส่งผลให้ มีการยุบพรรคพลังประชาชน
แล้วเหตุใดในพื้นที่เลือกตั้งที่รุนแรงเช่นสกลนคร กกต.จึงกลับไม่สนใจจะสืบสวนสอบสวนการทุจริตเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มต้นวันแรกๆ ของการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะหาก กกต.ตื่นตัวตั้งแต่แรก ป่านนี้ อาจมีข่าวใหญ่ทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้วก็ได้
3.ข้อร้องเรียนเรื่องการเปลี่ยนหีบบัตรเลือกตั้งล่วงหน้า และมีการกาบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าเพื่อนำไปหย่อนในหีบบัตรเลือกตั้งที่เตรียมไว้ การขนคนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า โดยใช้รถทะเบียนบุรีรัมย์ รับส่ง
และ 4.ต้องวางแผนเตรียมพร้อมในการเลือกตั้งให้รัดกุม อย่าให้เกิดปัญหาเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นกับกรณีการเก็บรักษาหีบบัตรเลือกตั้ง หลังจากตำรวจสกลนคร ปฏิเสธที่จะให้นำหีบบัตรเลือกตั้งไปฝากไว้ที่ห้องขังของสถานีตำรวจ แต่กลับนำไปไว้ที่รถขังผู้ต้องหาแล้วจอดทิ้งไว้ข้างโรงพัก
เพราะกรณีที่เกิดขึ้น จริงอยู่ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่กับการที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ไม่ยอมให้ความร่วมมือกับ กกต.ในการจัดการเลือกตั้ง
เรื่องนี้ เราเห็นด้วยว่าการที่ กกต.ทำหนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี และ ผบ.ตร. เพื่อขอให้ย้ายพล.ต.ต.อุดม จำปาจันทร์ ผบก.สกลนคร เนื่องจากไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลหีบบัตรเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่ควรแล้ว
เพราะเรื่องเช่นนี้ต้องลงโทษให้เข็ดหลาบ เพราะขนาดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ แต่กลับละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะกลัวความผิดพลาด แล้วจะเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ให้ประชาชนได้อย่างไร
สรุปรวมว่า ถึงตอนนี้ แม้เหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่ชั่วโมงจะมีการเลือกตั้ง แต่ กกต.ยังพอมีเวลาที่จะต้องปรับวิธีคิด การทำงานโดยด่วน
ต้องเลิกทำงานแบบปกติ ในสถานการณ์ผิดปกติ
ควรตื่นตัวในการรู้เท่าทันนักการเมือง พรรคการเมือง ที่ปรับเปลี่ยนวิธีการทุจริตเลือกตั้งเพื่อหนีการจับผิดของ กกต. เพราะตอนนี้เริ่มเห็นแล้วว่า การทุจริตเลือกตั้งกำลังมีการปรับเปลี่ยนแนวคิด-นวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา
จนน่าหวั่นเกรงว่าต่อไปการทุจริตเลือกตั้ง การซื้อเสียงจะเปลี่ยนวิธีการมามุ่งเน้นที่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า เพราะถูกจับตาจาก กกต.น้อยกว่าในวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจริง หรือคืนก่อนวันเลือกตั้งที่เรียกกันว่า “คืนหมาหอน” กันเสียแล้ว