ASTVผู้จัดการรายวัน – รมช.คลังทำความเข้าใจภาคการผลิตรถยนต์หลังพบปัญหานำเข้าเหล็ก Q11 จากญี่ปุ่นเพื่อผลิตรถยนต์ ระบุได้รับสิทธิภาษี 0% อยู่แล้วแต่เกิดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ยันหลังออกประกาศกรมฯ สามารถคืนเงินได้ทั้งหมด 400 ล้านบาท ย้ำไทยไม่เสียประโยชน์จากการให้สิทธิทางภาษีครั้งนี้แน่นอนเพราะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกได้มากขึ้น
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังเปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมยานยนต์ว่า ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลงในรายละเอียดการนำเข้าเหล็กจากญี่ปุ่น เพื่ออุตสาหกรรมรถยนต์ตามข้อตกลงเสรีทางการค้ากับประเทศญี่ปุ่น(เจเทปา) ที่จะได้รับสิทธิพิเศษภาษี 0% ว่าไม่ได้ครอบคลุมเพียงบริษัทผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่จะรวมถึงผู้ประกอบการเหล็กรีดร้อนรายอื่นด้วย ซึ่งจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า หลังจากนั้นจะออกเป็นประกาศกรมศุลกากรได้ในปลายเดือนนี้
ทั้งนี้ หลังออกประกาศกรมศุลกากรแล้ว ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์สามารถขอคืนภาษีที่ชำระไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ที่มีสัญญาเขตการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่นมีผลบังคับใช้ โดยมีมูลค่าภาษีที่ต้องคืนให้กับผู้ประกอบการประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งในหลักการของเขตการค้าเสรีที่ตกลงกันไว้นั้นจะต้องยกเว้นภาษีในส่วนนี้แต่ในการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและประสานกันมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมาจนสามารถแก้ไขปัญหานี้ลงได้ลุล่วง
ขณะเดียวกันมองว่าไม่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมากนัก แต่ต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงจะช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์มีการจ้างงาน 3.3 แสนคนและยังมีธุรกิจขนาดเล็กที่ต่อเนื่องอีกหลายพันรายซึ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ยังมีรายได้จากการส่งออกอีก 7.4 แสนล้านบาทต่อปี นอกจากนี้รัฐบาลยังได้เจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อเพิ่มสิทธิพิเศษต่างๆ ให้กับสินค้าไทยมากขึ้นเพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าไทยไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นด้วย
“สิ่งที่รัฐสูญเสียมีไม่มาก แต่ผลทางอ้อมจะมีมากกว่า เพราะการยกเว้นภาษีนำเข้าเหล็ก Q11 ซึ่งเป็นเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีการนำเข้าประมาณ 3 แสนตันต่อปี มีมูลค่า 8 พันล้านบาท คิดเป็นภาษีประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งไม่ได้มองว่าสูญเสีย เพราะเดิมเขาก็ไม่ควรจะเสียอยู่แล้ว ตามข้อตกลงที่มี แต่กลับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก” นายประดิษฐ์กล่าว
สำหรับแนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้อาศัยสิทธิพิเศษทางภาษีนำเข้าเหล็กไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น นายประดิษฐ์กล่าวว่า จะมีการทำงานร่วมกันกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมศุลกากร เพื่อกำหนดรายชื่อผู้ประกอบการที่นำเข้าเหล็ก Q11 ว่ามีจำนวนกี่ราย โควตาการนำเข้าของแต่ละรายจะมีมากน้อยต่างกันเพียงใด รวมถึงติดตามดูรายละเอียดของการใช้เหล็กด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ลักลอบนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยายนต์ไม่เช่นนั้นจะผิดเงื่อนไขข้อตกลงในครั้งนี้ได้.
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังเปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมยานยนต์ว่า ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลงในรายละเอียดการนำเข้าเหล็กจากญี่ปุ่น เพื่ออุตสาหกรรมรถยนต์ตามข้อตกลงเสรีทางการค้ากับประเทศญี่ปุ่น(เจเทปา) ที่จะได้รับสิทธิพิเศษภาษี 0% ว่าไม่ได้ครอบคลุมเพียงบริษัทผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่จะรวมถึงผู้ประกอบการเหล็กรีดร้อนรายอื่นด้วย ซึ่งจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า หลังจากนั้นจะออกเป็นประกาศกรมศุลกากรได้ในปลายเดือนนี้
ทั้งนี้ หลังออกประกาศกรมศุลกากรแล้ว ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์สามารถขอคืนภาษีที่ชำระไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ที่มีสัญญาเขตการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่นมีผลบังคับใช้ โดยมีมูลค่าภาษีที่ต้องคืนให้กับผู้ประกอบการประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งในหลักการของเขตการค้าเสรีที่ตกลงกันไว้นั้นจะต้องยกเว้นภาษีในส่วนนี้แต่ในการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและประสานกันมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมาจนสามารถแก้ไขปัญหานี้ลงได้ลุล่วง
ขณะเดียวกันมองว่าไม่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมากนัก แต่ต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงจะช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์มีการจ้างงาน 3.3 แสนคนและยังมีธุรกิจขนาดเล็กที่ต่อเนื่องอีกหลายพันรายซึ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ยังมีรายได้จากการส่งออกอีก 7.4 แสนล้านบาทต่อปี นอกจากนี้รัฐบาลยังได้เจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อเพิ่มสิทธิพิเศษต่างๆ ให้กับสินค้าไทยมากขึ้นเพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าไทยไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นด้วย
“สิ่งที่รัฐสูญเสียมีไม่มาก แต่ผลทางอ้อมจะมีมากกว่า เพราะการยกเว้นภาษีนำเข้าเหล็ก Q11 ซึ่งเป็นเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีการนำเข้าประมาณ 3 แสนตันต่อปี มีมูลค่า 8 พันล้านบาท คิดเป็นภาษีประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งไม่ได้มองว่าสูญเสีย เพราะเดิมเขาก็ไม่ควรจะเสียอยู่แล้ว ตามข้อตกลงที่มี แต่กลับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก” นายประดิษฐ์กล่าว
สำหรับแนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้อาศัยสิทธิพิเศษทางภาษีนำเข้าเหล็กไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น นายประดิษฐ์กล่าวว่า จะมีการทำงานร่วมกันกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมศุลกากร เพื่อกำหนดรายชื่อผู้ประกอบการที่นำเข้าเหล็ก Q11 ว่ามีจำนวนกี่ราย โควตาการนำเข้าของแต่ละรายจะมีมากน้อยต่างกันเพียงใด รวมถึงติดตามดูรายละเอียดของการใช้เหล็กด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ลักลอบนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยายนต์ไม่เช่นนั้นจะผิดเงื่อนไขข้อตกลงในครั้งนี้ได้.