นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ กับกรรมการหอการค้าไทย ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกระทรวงพาณิชย์ และหอการค้าไทย เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้า โดยภารกิจเร่งด่วน คือ ดูแลการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่อง 2 เดือนที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม 2551 เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกในปี 2552 ได้ รวมถึงการจัดทำศูนย์เตือนภัยทางการค้าล่วงหน้า เพื่อแจ้งเตือนผู้ประกอบการถึงปัญหา หรือ การใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศผู้นำเข้า จนกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกับภาคเอกชน ส่งเสริม และผลักดันการเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนให้มากขึ้น ทั้งการค้าระหว่างไทยกับมาเลเซีย ลาว พม่า และกัมพูชา โดยจะจัดทำยุทธศาสตร์การค้าชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างกัน และป้องกันปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งภาคเอกชนได้เสนอให้เพิ่มความเข้มงวดมาตรการดูแลการนำเข้าสินค้าเกษตร ตามกรอบความตกลงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว และพม่า รวมถึงการทำคอนแทรกต์ ฟาร์มมิ่ง กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยต้องการให้เข้มงวดมากเป็นพิเศษในช่วงที่รัฐบาลเปิดโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร ขณะเดียวกัน ภาคเอกชน ยังต้องการให้ดูแลปริมาณการนำเข้า เพื่อไม่ให้กระทบต่อโครงการรับจำนำด้วย เช่น ปัญหาการลักลอบนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์เกษตรกรไทย เพื่อเข้าโครงการรับจำนำ ซึ่งทำให้เกษตรกรของไทย ไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการรับจำนำ
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังขอให้หอการค้าจังหวัด เสนอแหล่งท่องเที่ยว หรือ ชุมชน เพื่อจัดทำโครงการ 1 กลุ่ม 1 ย่านการค้า โดยจะมีการนำร่อง 18 ย่าน และพัฒนาย่านการค้าทางน้ำ โดยขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ส่งเสริมให้เกิดย่านการค้าแล้วในหลายจังหวัดนำร่อง เช่น ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และ กระบี่ เป็นต้น
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกับภาคเอกชน ส่งเสริม และผลักดันการเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนให้มากขึ้น ทั้งการค้าระหว่างไทยกับมาเลเซีย ลาว พม่า และกัมพูชา โดยจะจัดทำยุทธศาสตร์การค้าชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างกัน และป้องกันปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งภาคเอกชนได้เสนอให้เพิ่มความเข้มงวดมาตรการดูแลการนำเข้าสินค้าเกษตร ตามกรอบความตกลงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว และพม่า รวมถึงการทำคอนแทรกต์ ฟาร์มมิ่ง กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยต้องการให้เข้มงวดมากเป็นพิเศษในช่วงที่รัฐบาลเปิดโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร ขณะเดียวกัน ภาคเอกชน ยังต้องการให้ดูแลปริมาณการนำเข้า เพื่อไม่ให้กระทบต่อโครงการรับจำนำด้วย เช่น ปัญหาการลักลอบนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์เกษตรกรไทย เพื่อเข้าโครงการรับจำนำ ซึ่งทำให้เกษตรกรของไทย ไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการรับจำนำ
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังขอให้หอการค้าจังหวัด เสนอแหล่งท่องเที่ยว หรือ ชุมชน เพื่อจัดทำโครงการ 1 กลุ่ม 1 ย่านการค้า โดยจะมีการนำร่อง 18 ย่าน และพัฒนาย่านการค้าทางน้ำ โดยขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ส่งเสริมให้เกิดย่านการค้าแล้วในหลายจังหวัดนำร่อง เช่น ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และ กระบี่ เป็นต้น