วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2552 นี้ ผมตั้งใจจะไปเป็นพระรองให้ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่วิทยาลัยวันศุกร์ มหาวิทยาลัยสงขลาฯ ที่หาดใหญ่
เจ้าภาพขอให้เราพูดเรื่องการเมืองใหม่ เราทั้งสองได้พูดและเขียนเรื่องนี้มาพอสมควร
ผมเคยไปพูดที่วิทยาลัยนี้หนึ่งครั้งโดยบังเอิญ เพราะผมไปคืนวันพุธ และกรรมการก็อุตส่าห์จัดขึ้นมาอย่างกะทันหัน หนังสือรายงานกิจกรรมของวิทยาลัยทำให้ผมชื่นใจและศรัทธา ในนั้นมีบทความประกอบการพูดเกือบ 200 ครั้งในหัวข้อต่างๆ ที่มีประโยชน์ ผมไปที่ไหนก็เที่ยวไปโฆษณาว่าอยากเห็นจังหวัดอื่นทำอย่างวิทยาลัยวันศุกร์ที่หาดใหญ่บ้าง ความแห้งแล้งทางปัญญาของเมืองไทยจะได้ลดลง
การจัดของวิทยาลัยเป็นแบบง่ายๆ กันเอง แต่เอาจริงเอาจัง เป็นระบบและต่อเนื่อง แบบวัฒนธรรมฝรั่ง คนไทยที่ไร้วินัยมักจะทำไม่ได้
หากแค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะไปทำการเมืองใหม่ได้อย่างไร
ผจก.ออนไลน์อาทิตย์ 7 มิถุนายน 2552 มีบทความผมชื่อ “อภิสิทธิ์กับบราวน์ : ใครจะไปก่อนกัน” คล้ายๆ บทความก่อนของผมชื่อ “ทักษิณ แบลร์ : ใครจะไปก่อนกัน” (ผจก. 16 ก.พ. 2549)
ผมเปิดดูปฏิกิริยาของผู้อ่าน ใน 5,072 ราย มีผู้โหวต 43 ราย และแสดงความคิดเห็น 40 ราย มีผู้สนับสนุนอภิสิทธิ์อย่างแข็งขัน พอๆ กับผู้ที่ไม่พอใจนายกฯ
มีผู้สาปแช่งให้ผมไปก่อนทั้งอภิสิทธิ์และบราวน์อยู่ 2-3 ราย ผมแผ่เมตตาและทำมรณานุสติเป็นประจำวันอยู่แล้ว จึงเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ตอนที่ผมเข้าเป็นน้องใหม่จุฬาฯ 50 กว่าปีมาแล้ว เพื่อนคณะวิทยาศาสตร์ เขียนบทความเรื่อง “สักวันหนึ่งเราจะต้องตาย” ขณะนี้ผู้เขียนยังไม่ตาย ชื่อพลอากาศตรีทองเยี่ยม สิงหดารา
นอกจากเกิด แก่ เจ็บ ตายในวัฏสงสาร มนุษย์ทุกชีวิตเหมือนกันทุกคน คือ (1) ไม่ประสบกับสิ่งที่ตนพึงปรารถนา และ (2) ประสบกับสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนา
อะไรดี อะไรไม่ดี นี้ขึ้นกับความคิดของแต่ละคน แต่ที่เหมือนกันก็คือทุกๆ คนอยากเห็น อยากได้สิ่งที่พึงปรารถนา และไม่อยากเห็น ไม่อยากได้ ต้องการกำจัดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
ผมเองเป็นนักศึกษาวิชาการเมืองไทย อยากเห็นสิ่งที่พึงปรารถนา เรายังไม่เคยมีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งๆ ที่เรามีประมุขที่ทรงเป็นประชาธิปไตย
ผมมองโลกในแง่ดี และมีศรัทธาในประเทศไทยและความเป็นคนไทย ไม่งั้นผมคงไม่กลับมาอยู่เมืองไทย และผมไม่เคยเป็นพลเมืองชั้นสองในต่างประเทศ ถ้าไม่มีความหวัง ผมคงไม่มานั่งเขียนบทความ เฉพาะที่ผู้จัดการก็เกือบห้าร้อยเรื่อง ตั้งแต่ผู้จัดการยังเชียร์ทักษิณอยู่ ผมตั้งเงื่อนไขว่าผมจะเขียนวิจารณ์ทักษิณและผจก.จะต้องไม่เซ็นเซอร์
ผมรู้ดีถึงข้อจำกัดว่า ผมไม่สามารถจะเขียนให้ผู้อ่านทุกคนเข้าใจเหมือนกันหรือตรงกับความต้องการของผมได้ โดยเฉพาะผู้อ่านที่อ่านอย่างฉาบฉวย และอ่านด้วยความคิดที่ยึดมั่นมาก่อนแล้ว ผู้อ่านประเภทนี้น่าเป็นห่วง ไม่น้อยกว่าผู้ที่มาชุมนุมประท้วง หรือผู้ที่มีส่วนในการตัดสินใจทางการเมืองอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามสถานการณ์
มีผู้อ่านท่านหนึ่งโพสต์มาว่า “กลายเป็นว่า มีแต่คน post มาด่า อ.มากกว่าที่จะวิเคราะห์ต่อจาก อ.ในเชิงความรู้ เพียงเพราะ อ.ไปเตือนนายกฯ มาร์คแรงๆ ขอให้กำลังใจ อ.ครับ อ่านมานานเห็นว่า ข้อเขียน อ.มีประโยชน์เสมอครับ ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นด้วยในบางเรื่องก็ตามครับ”
แปลว่าผู้อ่านไม่น้อยเชื่อว่าผมเขียนเพื่อทำลายนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ผมคิดว่าผมเขียนเพื่อช่วยนายกรัฐมนตรี
คุณหมออรรถสิทธิ์ บิดาของนายกฯ และอีกหลายคนในตระกูลเวชชาชีวะ เป็นกัลยาณมิตรของผม เช่นเดียวกับอาจารย์พงศ์เพ็ญและคุณประภาพิมพ์ พ่อตา-แม่ยายของอภิสิทธิ์ อาผมคือ พญ.อร่ามศรี นาครทรรพ ผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นผู้ดูแล ดช.มาร์คที่อังกฤษเมื่อยังเยาว์เวลาที่พ่อแม่เธอต้องไปเรียนหนังสือ
ก่อนเป็นนายกฯ ประมาณหนึ่งเดือน อภิสิทธิ์มาเป็นแขกเกียรติยศในงานรำลึกถึงศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหะอำไพ พี่ชายผม เรานั่งกินข้าวติดกันเพราะผมทำหน้าที่เจ้าภาพแทนพี่สะใภ้
ผมบอกอนาคตนายกฯ ว่า เป็นนายกฯ เมื่อใดผมขอฝากให้ทำก่อน 3 อย่าง คือ (1)ไปเฝ้าฯ ในหลวงเป็นประจำเพื่อสร้างจารีตประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขเหมือนอังกฤษ (2) นำพรรคประชาธิปัตย์ออกจาก Liberal International หรือสมาคมนานาชาติของพรรคการเมืองลิเบอรัล ซึ่งเป็นสมาคมพรรครองบ่อน ประชาธิปัตย์ควรเข้า Conservative Union สมาคมของพรรครุ่นเดอะ ซ้ำยังเป็นรัฐบาลอยู่เกือบทุกประเทศในยุโรป อภิสิทธิ์จะเป็นดาวเด่นของผู้นำโลกทันที และ (3) ต้องสร้างยุทธศาสตร์อีสานประชาธิปัตย์ให้สำเร็จ
ผมเห็นว่าประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองถาวรพรรคเดียวในระบบการเมืองไทย พรรคอื่นๆ เป็นพรรคหัวหน้าตั้งจึงไม่ยั่งยืน เป็นแก๊งเลือกตั้งชั่วคราวหมด แต่ประชาธิปัตย์ยังมีพฤติกรรมกึ่งหนึ่งเป็นแก๊งเลือกตั้ง หากมีเสียงพอสมควรจากอีสานเมื่อใด ประชาธิปัตย์ก็จะเป็นพรรคเต็มภาคภูมิ และยุทธศาสตร์ที่จะครองใจอีสานสู้กับทักษิณได้จะต้องเป็นยุทธศาสตร์แบบการเมืองใหม่
ผมเขียนมามากแล้ว ถึงความเป็นไปไม่ได้ในการปราบคอร์รัปชันหรือพัฒนาการเมือง หากเรายังอยู่ในระบบพรรคการเมืองแบบปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเมืองเก่า
เรามีแต่พรรคหัวหน้าตั้ง “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า” มีลักษณะเป็นพรรคชั่วคราว ขาดความมั่นคง แต่แย่งกันกินอย่างต่อเนื่อง เพราะกฎหมายบังคับสังกัดพรรค โดยกฎหมายตั้งพรรคและกฎหมายควบคุมพรรคโดย กกต.ซึ่งล้าหลังไม่เป็นประชาธิปไตยทั้งคู่
ผมเขียนมากเหมือนกันถึงความเป็นไปได้ยากของการเมืองใหม่ ถึงแม้จะมีปรากฏการณ์บันลือโลก 193 วันของพันธมิตรประชาชนประชาธิปไตยก็ตาม ผมชื่นชมและยอมรับความยิ่งใหญ่ในน้ำใจและความเสียสละของประชาชนในขบวนการดังกล่าวนี้ แต่ผมเห็นว่ามติอันล้นหลามอันนำไปสู่การตั้งพรรค และอุดมคติ 4 ประการของแกนนำพรรค คือ กล้าหาญ ซื่อสัตย์ เสียสละและอะไรอีกอย่างนั้น ใช่ว่าจะถ่ายทอดไปสู่ความสำเร็จของพรรคได้โดยอัตโนมัติ ซ้ำกรอบความคิดและกติกาหรือกฎหมายเก่าๆ จะบังคับให้ยอมจำนน หากต้องการเข้ามาเล่นการเมืองในเกมแบบเดิมๆ
ผมเห็นด้วยกับดร.อมร ว่าการเมืองและทางออกของประเทศเป็นไปไม่ได้ ถ้ายังยึดกรอบความคิดเดิมเรื่องตั้งพรรคและบังคับพรรค ผมคิดว่าทั้งอภิสิทธิ์และพันธมิตรฯ มีความคิดคล้ายๆ กัน เรื่องการมีพรรค หรือแม้กระทั่งการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ เพราะคิดว่าตนจะได้เปรียบ แต่ผมเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
ความคิดเป็นต้นแบบของการกระทำ การต่อสู้ระหว่างกรอบคิดเดิม (old paradigm) กับกรอบคิดใหม่ (new paradigm) จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ผู้แสวงหาความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งพึงปรารถนาที่ยังไม่มีจะต้องสลัดกรอบคิดเก่า และสามารถคิดในกรอบใหม่ โดยไม่เอาสิ่งที่มีอยู่เป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ระบบบริหาร หรือระบบพรรคการเมืองก็ตาม
พรรคการเมืองเป็นสถาบันสังคมชั้นยอด เพราะพรรคจะต้องเหนือกองทัพและพ่อค้า จึงต้องมีทั้งวินัยและความสามารถ ดังนั้นพรรคจะต้องพัฒนาการขึ้นมาตามหลักของการเคลื่อนไหวทางสังคม ตามหลักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ นั่นก็คือ เริ่มด้วยความคิด (สู่อุดมการณ์) กลายเป็นความเคลื่อนไหว แล้วยกระดับเป็นกระบวนการ จากกระบวนการไปสู่การจัดการ กลายเป็นองค์การ สามารถบริหารโดยวัตถุประสงค์ และจำเริญขึ้นเป็นสถาบัน มิใช่จู่ๆ ก็เขียนกฎหมายขึ้นมาบังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
การมีองค์กร ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากองค์กรระดับที่หนึ่ง ได้แก่ ครอบครัว ศาสนา อาชีพ หรือโรงเรียน จนกลายเป็นองค์กรระดับที่สอง เช่น วิทยาลัยวันศุกร์ สมาคม สหภาพแรงงาน หรือสหกรณ์ เหล่านี้เป็นต้น เป็นเงื่อนไขระดมทรัพยากรมนุษย์และแข่งกันสร้างผู้นำไปสู่สถาบันการเมือง
ประเทศไทยเรายังถูกครอบงำด้วยระบบราชการ และระบบการเมืองที่ผูกขาดด้วยอำนาจและเงิน ดังเช่นปัจจุบัน
คำถามที่ถูกต้อง คือ เมื่อไรเราจะมีการเมืองใหม่ เพราะการเมืองเก่าคงจะอยู่ไม่ได้แน่ๆ แต่ผมกลับถามผิดๆ ว่า การเมืองใหม่จะเป็นไปได้จริงหรือ
คนที่จะตอบได้คือคนไทยทั้งประเทศ เมื่อไรคนไทยรู้สึกหรือมีความคิดว่าต้องการการเมืองใหม่ เมื่อนั้นการเมืองใหม่จึงจะเป็นไปได้
เจ้าภาพขอให้เราพูดเรื่องการเมืองใหม่ เราทั้งสองได้พูดและเขียนเรื่องนี้มาพอสมควร
ผมเคยไปพูดที่วิทยาลัยนี้หนึ่งครั้งโดยบังเอิญ เพราะผมไปคืนวันพุธ และกรรมการก็อุตส่าห์จัดขึ้นมาอย่างกะทันหัน หนังสือรายงานกิจกรรมของวิทยาลัยทำให้ผมชื่นใจและศรัทธา ในนั้นมีบทความประกอบการพูดเกือบ 200 ครั้งในหัวข้อต่างๆ ที่มีประโยชน์ ผมไปที่ไหนก็เที่ยวไปโฆษณาว่าอยากเห็นจังหวัดอื่นทำอย่างวิทยาลัยวันศุกร์ที่หาดใหญ่บ้าง ความแห้งแล้งทางปัญญาของเมืองไทยจะได้ลดลง
การจัดของวิทยาลัยเป็นแบบง่ายๆ กันเอง แต่เอาจริงเอาจัง เป็นระบบและต่อเนื่อง แบบวัฒนธรรมฝรั่ง คนไทยที่ไร้วินัยมักจะทำไม่ได้
หากแค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะไปทำการเมืองใหม่ได้อย่างไร
ผจก.ออนไลน์อาทิตย์ 7 มิถุนายน 2552 มีบทความผมชื่อ “อภิสิทธิ์กับบราวน์ : ใครจะไปก่อนกัน” คล้ายๆ บทความก่อนของผมชื่อ “ทักษิณ แบลร์ : ใครจะไปก่อนกัน” (ผจก. 16 ก.พ. 2549)
ผมเปิดดูปฏิกิริยาของผู้อ่าน ใน 5,072 ราย มีผู้โหวต 43 ราย และแสดงความคิดเห็น 40 ราย มีผู้สนับสนุนอภิสิทธิ์อย่างแข็งขัน พอๆ กับผู้ที่ไม่พอใจนายกฯ
มีผู้สาปแช่งให้ผมไปก่อนทั้งอภิสิทธิ์และบราวน์อยู่ 2-3 ราย ผมแผ่เมตตาและทำมรณานุสติเป็นประจำวันอยู่แล้ว จึงเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ตอนที่ผมเข้าเป็นน้องใหม่จุฬาฯ 50 กว่าปีมาแล้ว เพื่อนคณะวิทยาศาสตร์ เขียนบทความเรื่อง “สักวันหนึ่งเราจะต้องตาย” ขณะนี้ผู้เขียนยังไม่ตาย ชื่อพลอากาศตรีทองเยี่ยม สิงหดารา
นอกจากเกิด แก่ เจ็บ ตายในวัฏสงสาร มนุษย์ทุกชีวิตเหมือนกันทุกคน คือ (1) ไม่ประสบกับสิ่งที่ตนพึงปรารถนา และ (2) ประสบกับสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนา
อะไรดี อะไรไม่ดี นี้ขึ้นกับความคิดของแต่ละคน แต่ที่เหมือนกันก็คือทุกๆ คนอยากเห็น อยากได้สิ่งที่พึงปรารถนา และไม่อยากเห็น ไม่อยากได้ ต้องการกำจัดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
ผมเองเป็นนักศึกษาวิชาการเมืองไทย อยากเห็นสิ่งที่พึงปรารถนา เรายังไม่เคยมีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งๆ ที่เรามีประมุขที่ทรงเป็นประชาธิปไตย
ผมมองโลกในแง่ดี และมีศรัทธาในประเทศไทยและความเป็นคนไทย ไม่งั้นผมคงไม่กลับมาอยู่เมืองไทย และผมไม่เคยเป็นพลเมืองชั้นสองในต่างประเทศ ถ้าไม่มีความหวัง ผมคงไม่มานั่งเขียนบทความ เฉพาะที่ผู้จัดการก็เกือบห้าร้อยเรื่อง ตั้งแต่ผู้จัดการยังเชียร์ทักษิณอยู่ ผมตั้งเงื่อนไขว่าผมจะเขียนวิจารณ์ทักษิณและผจก.จะต้องไม่เซ็นเซอร์
ผมรู้ดีถึงข้อจำกัดว่า ผมไม่สามารถจะเขียนให้ผู้อ่านทุกคนเข้าใจเหมือนกันหรือตรงกับความต้องการของผมได้ โดยเฉพาะผู้อ่านที่อ่านอย่างฉาบฉวย และอ่านด้วยความคิดที่ยึดมั่นมาก่อนแล้ว ผู้อ่านประเภทนี้น่าเป็นห่วง ไม่น้อยกว่าผู้ที่มาชุมนุมประท้วง หรือผู้ที่มีส่วนในการตัดสินใจทางการเมืองอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามสถานการณ์
มีผู้อ่านท่านหนึ่งโพสต์มาว่า “กลายเป็นว่า มีแต่คน post มาด่า อ.มากกว่าที่จะวิเคราะห์ต่อจาก อ.ในเชิงความรู้ เพียงเพราะ อ.ไปเตือนนายกฯ มาร์คแรงๆ ขอให้กำลังใจ อ.ครับ อ่านมานานเห็นว่า ข้อเขียน อ.มีประโยชน์เสมอครับ ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นด้วยในบางเรื่องก็ตามครับ”
แปลว่าผู้อ่านไม่น้อยเชื่อว่าผมเขียนเพื่อทำลายนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ผมคิดว่าผมเขียนเพื่อช่วยนายกรัฐมนตรี
คุณหมออรรถสิทธิ์ บิดาของนายกฯ และอีกหลายคนในตระกูลเวชชาชีวะ เป็นกัลยาณมิตรของผม เช่นเดียวกับอาจารย์พงศ์เพ็ญและคุณประภาพิมพ์ พ่อตา-แม่ยายของอภิสิทธิ์ อาผมคือ พญ.อร่ามศรี นาครทรรพ ผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นผู้ดูแล ดช.มาร์คที่อังกฤษเมื่อยังเยาว์เวลาที่พ่อแม่เธอต้องไปเรียนหนังสือ
ก่อนเป็นนายกฯ ประมาณหนึ่งเดือน อภิสิทธิ์มาเป็นแขกเกียรติยศในงานรำลึกถึงศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหะอำไพ พี่ชายผม เรานั่งกินข้าวติดกันเพราะผมทำหน้าที่เจ้าภาพแทนพี่สะใภ้
ผมบอกอนาคตนายกฯ ว่า เป็นนายกฯ เมื่อใดผมขอฝากให้ทำก่อน 3 อย่าง คือ (1)ไปเฝ้าฯ ในหลวงเป็นประจำเพื่อสร้างจารีตประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขเหมือนอังกฤษ (2) นำพรรคประชาธิปัตย์ออกจาก Liberal International หรือสมาคมนานาชาติของพรรคการเมืองลิเบอรัล ซึ่งเป็นสมาคมพรรครองบ่อน ประชาธิปัตย์ควรเข้า Conservative Union สมาคมของพรรครุ่นเดอะ ซ้ำยังเป็นรัฐบาลอยู่เกือบทุกประเทศในยุโรป อภิสิทธิ์จะเป็นดาวเด่นของผู้นำโลกทันที และ (3) ต้องสร้างยุทธศาสตร์อีสานประชาธิปัตย์ให้สำเร็จ
ผมเห็นว่าประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองถาวรพรรคเดียวในระบบการเมืองไทย พรรคอื่นๆ เป็นพรรคหัวหน้าตั้งจึงไม่ยั่งยืน เป็นแก๊งเลือกตั้งชั่วคราวหมด แต่ประชาธิปัตย์ยังมีพฤติกรรมกึ่งหนึ่งเป็นแก๊งเลือกตั้ง หากมีเสียงพอสมควรจากอีสานเมื่อใด ประชาธิปัตย์ก็จะเป็นพรรคเต็มภาคภูมิ และยุทธศาสตร์ที่จะครองใจอีสานสู้กับทักษิณได้จะต้องเป็นยุทธศาสตร์แบบการเมืองใหม่
ผมเขียนมามากแล้ว ถึงความเป็นไปไม่ได้ในการปราบคอร์รัปชันหรือพัฒนาการเมือง หากเรายังอยู่ในระบบพรรคการเมืองแบบปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเมืองเก่า
เรามีแต่พรรคหัวหน้าตั้ง “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า” มีลักษณะเป็นพรรคชั่วคราว ขาดความมั่นคง แต่แย่งกันกินอย่างต่อเนื่อง เพราะกฎหมายบังคับสังกัดพรรค โดยกฎหมายตั้งพรรคและกฎหมายควบคุมพรรคโดย กกต.ซึ่งล้าหลังไม่เป็นประชาธิปไตยทั้งคู่
ผมเขียนมากเหมือนกันถึงความเป็นไปได้ยากของการเมืองใหม่ ถึงแม้จะมีปรากฏการณ์บันลือโลก 193 วันของพันธมิตรประชาชนประชาธิปไตยก็ตาม ผมชื่นชมและยอมรับความยิ่งใหญ่ในน้ำใจและความเสียสละของประชาชนในขบวนการดังกล่าวนี้ แต่ผมเห็นว่ามติอันล้นหลามอันนำไปสู่การตั้งพรรค และอุดมคติ 4 ประการของแกนนำพรรค คือ กล้าหาญ ซื่อสัตย์ เสียสละและอะไรอีกอย่างนั้น ใช่ว่าจะถ่ายทอดไปสู่ความสำเร็จของพรรคได้โดยอัตโนมัติ ซ้ำกรอบความคิดและกติกาหรือกฎหมายเก่าๆ จะบังคับให้ยอมจำนน หากต้องการเข้ามาเล่นการเมืองในเกมแบบเดิมๆ
ผมเห็นด้วยกับดร.อมร ว่าการเมืองและทางออกของประเทศเป็นไปไม่ได้ ถ้ายังยึดกรอบความคิดเดิมเรื่องตั้งพรรคและบังคับพรรค ผมคิดว่าทั้งอภิสิทธิ์และพันธมิตรฯ มีความคิดคล้ายๆ กัน เรื่องการมีพรรค หรือแม้กระทั่งการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ เพราะคิดว่าตนจะได้เปรียบ แต่ผมเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
ความคิดเป็นต้นแบบของการกระทำ การต่อสู้ระหว่างกรอบคิดเดิม (old paradigm) กับกรอบคิดใหม่ (new paradigm) จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ผู้แสวงหาความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งพึงปรารถนาที่ยังไม่มีจะต้องสลัดกรอบคิดเก่า และสามารถคิดในกรอบใหม่ โดยไม่เอาสิ่งที่มีอยู่เป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ระบบบริหาร หรือระบบพรรคการเมืองก็ตาม
พรรคการเมืองเป็นสถาบันสังคมชั้นยอด เพราะพรรคจะต้องเหนือกองทัพและพ่อค้า จึงต้องมีทั้งวินัยและความสามารถ ดังนั้นพรรคจะต้องพัฒนาการขึ้นมาตามหลักของการเคลื่อนไหวทางสังคม ตามหลักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ นั่นก็คือ เริ่มด้วยความคิด (สู่อุดมการณ์) กลายเป็นความเคลื่อนไหว แล้วยกระดับเป็นกระบวนการ จากกระบวนการไปสู่การจัดการ กลายเป็นองค์การ สามารถบริหารโดยวัตถุประสงค์ และจำเริญขึ้นเป็นสถาบัน มิใช่จู่ๆ ก็เขียนกฎหมายขึ้นมาบังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
การมีองค์กร ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากองค์กรระดับที่หนึ่ง ได้แก่ ครอบครัว ศาสนา อาชีพ หรือโรงเรียน จนกลายเป็นองค์กรระดับที่สอง เช่น วิทยาลัยวันศุกร์ สมาคม สหภาพแรงงาน หรือสหกรณ์ เหล่านี้เป็นต้น เป็นเงื่อนไขระดมทรัพยากรมนุษย์และแข่งกันสร้างผู้นำไปสู่สถาบันการเมือง
ประเทศไทยเรายังถูกครอบงำด้วยระบบราชการ และระบบการเมืองที่ผูกขาดด้วยอำนาจและเงิน ดังเช่นปัจจุบัน
คำถามที่ถูกต้อง คือ เมื่อไรเราจะมีการเมืองใหม่ เพราะการเมืองเก่าคงจะอยู่ไม่ได้แน่ๆ แต่ผมกลับถามผิดๆ ว่า การเมืองใหม่จะเป็นไปได้จริงหรือ
คนที่จะตอบได้คือคนไทยทั้งประเทศ เมื่อไรคนไทยรู้สึกหรือมีความคิดว่าต้องการการเมืองใหม่ เมื่อนั้นการเมืองใหม่จึงจะเป็นไปได้