วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552 นี้ ผมจะไปพูดในงานที่ระลึกครบรอบหนึ่งปีของการชุมนุม 193 ของชมรมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เหมือนกับทุกครั้งผมไม่รู้ว่าจะต้องพูดเรื่องอะไร มีเวลาสักเท่าใด จะพูดกับใครบ้าง ผู้จัดรายการของ ASTV โทร.มาเมื่อวันพฤหัสบดีบอกว่า ไม่เป็นไร อาจารย์มาแต่เช้าก็แล้วกัน จะได้พูดนำประเด็นพันธมิตรฯ ควรตั้งพรรคหรือไม่
ก็เป็นยังงี้มาตลอดละครับ ผมก็บ่นทุกครั้ง แต่ก็ไปทุกครั้ง เพราะเชื่อพล.ต.จำลองว่า มาทำหน้าที่ ใช้หนี้แผ่นดิน และมาทำบุญ
ผมดีใจที่มีส่วนร่วมเท่าขี้เล็บของผม เมื่อรวมกับพันธมิตรฯ แต่ละคนซึ่งหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศเป็นเวลา 193 วันก็กลายเป็น”ขุนเขาตระหง่านตั้ง เสียดพื้นทิฆัมพร”ขึ้นมาเป็นอภิมหานาฏกรรมประชาธิปไตยที่ผมไม่เชื่อว่าใครในโลกนี้จะลบสถิติได้
แต่ถึงอย่างไร ผมก็ตระหนักดีว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น “มันเป็นเพียงความเคลื่อนไหวเสมือนหนึ่งกระบวนการเท่านั้น” ถึงจะยิ่งใหญ่เพียงใด แต่“มันก็ยังมิใช่และไม่เป็นองค์กร”
หากได้อาศัย 3 องค์กรเก่าที่มีอยู่ คือ ASTV- ผู้จัดการ หนึ่ง กองทัพธรรมสันติอโศก หนึ่ง และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ หนึ่ง จึงเกิดความสามารถในการ “เกาะเกี่ยว” และ “กลมกลืน” กับมวลมหาประชาชนในท่ามกลาง ผู้ยึดมั่นในความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาธิปไตย และรังเกียจความกังฉินกินโกงบ้านเมืองของฝ่ายอธรรม ทำให้ล้มรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมได้ถึง 3 รัฐบาล
ผมได้แต่หวังว่า น้ำหนักภารกิจของพันธมิตรฯ นั้นมิได้ฉุดให้องค์กรที่มีอยู่แล้วลดถอยลงจนกลายสภาพเป็นเพียงความเคลื่อนไหวไปด้วย แต่กลับจะเข้มแข็งและรับผิดชอบ ผลักดันและหนุนช่วยให้พันธมิตรฯ พัฒนาขึ้นเป็นองค์กรที่บริหารด้วยวัตถุประสงค์ให้จงได้
ธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้น จะต้องเริ่มจากความคิดไปสู่ความเคลื่อนไหว ไปสู่กระบวนการ และการจัดการหรือองค์กร แล้วจึงจะกลายเป็นโครงสร้างประจำหรือสถาบันในที่สุด
พรรคการเมืองเป็นสถาบันสังคมในระดับสูงสุด ซึ่งต้องพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ โดยอาศัยฐานที่ตั้งและทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์จากองค์กรที่เรียกว่า “องค์กรระดับที่สอง” ประเทศเรามีองค์กรระดับที่สองน้อยมาก และที่มีอยู่ส่วนใหญ่ก็อ่อนแอ กองทัพธรรมของสันติอโศกเป็นตัวอย่างขององค์กรระดับที่สองที่แข็งแกร่งพอที่จะเป็นหลักให้พันธมิตรฯ ต่อสู้อย่างยืดเยื้อยาวนานได้ ส่วน ASTV นั้นเป็นองค์กรระดับที่หนึ่ง พนักงานของ ASTV จะต้องรวมตัวกันเข้ากับผู้มีอาชีพเดียวกันเป็นสหภาพหรือสมาคมผู้สื่อข่าว จึงจะยกระดับกลายเป็นองค์กรระดับที่สองขึ้นมาได้ต่างหาก
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะต้องพัฒนาขึ้นมาเป็นองค์กรระดับสองเสียก่อน สมาชิกขององค์กรจึงจะสามารถแยกย้ายกันออกไปเป็นกองทัพหน้า กองทัพหลัง กองทัพหนุน และกองทัพหลวงในพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ที่จะตั้งขึ้นมา
ที่พูดนี้ดูเหมือนจะยุ่งยากและยอกย้อนกินเวลามาก ชาติหน้าบ่ายๆ อาจจะยังไม่สำเร็จ ความจริงไม่ใช่ อุปมาเหมือนเราจะสร้างรถยนต์ หรือทีมฟุตบอลลีก เราไม่จำเป็นจะต้องเริ่มที่ ก. ข. ใหม่ เพราะองค์ความรู้ ตำรา และตัวอย่างพื้นฐานมีอยู่แล้ว
เพียงแต่ว่า การเมืองเก่าขึ้นอยู่กับสัญลักษณ์เก่า โครงสร้างเก่า องค์ประกอบเก่า และระบบพฤติกรรมเก่า เรียกรวมๆ กันว่า “กรอบคิดเก่า หรือ old paradigm (อย่าไปแปลเป็นแขกโดยไม่จำเป็นว่ากระบวนทัศน์)
“การเมืองใหม่” จะต้องไม่ติดกับหรือติดกรอบของความคิดเก่า การเมืองใหม่จะต้องเริ่มด้วย กรอบความคิดใหม่ new paradigm
พันธมิตรฯ โค่นล้มรัฐบาลอธรรมสำเร็จด้วยกรอบความคิดใหม่ เรื่องการกระทำหน้าที่พิทักษ์หลักรัฐธรรมนูญโดยอาศัยปรัชญาพุทธ และทฤษฎีสัญญาประชาคม หรือ social contract ซึ่งถึงแม้จะเป็นของเก่าแก่ ก็เพิ่งจะถูกนำมาใช้อย่างจริงจังและเห็นผล
ไม่ต้องสมมติว่าอีกต่อไป ต้องสรุปเลยดีกว่าว่า หากต้องการเห็นการเมืองใหม่ พันธมิตรฯ จะต้องตั้งพรรคการเมือง เพราะพรรคการเมืองที่มีอยู่ทั้งหมดขณะนี้ ล้วนแต่เป็นพรรคการเมืองในกับและกรอบของความคิดเก่า
เริ่มตั้งแต่ความคิดตั้งพรรค กระบวนการจัดตั้งพรรค ลักษณะของพรรค โครงสร้าง องค์ประกอบของพรรค และปฏิบัติการของพรรคหรือพฤติกรรมของพรรคในการเลือกผู้นำ เลือกผู้สมัคร ในการหาเสียง ในการปฏิบัติหน้าที่ในสภา ล้วนแล้วแต่จะต้องเป็นไปตามกรอบความคิดใหม่ทั้งสิ้น
พรรคพันธมิตรฯ จะออกจากกับหรือกรอบความคิดเก่า ได้หรือ พรรคพันธมิตรฯจะไม่ทำเหมือนพรรคเก่าๆ ได้ไหม
คำถามนี้จะต้องตอบด้วยการกระทำมิใช่ด้วยคำพูดของแกนนำและมวลชนของพันธมิตรฯ ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
ผมเห็นใจในความจำเป็นที่พันธมิตรฯ จะต้องตั้งพรรค ผมเอาใจช่วย และไม่ตั้งใจจะขัดขวาง เพียงแต่อยากจะให้เกิดลูกฮึดและใช้ปัญญา สมาธิกับความกล้าหาญ ผมไม่อยากเห็นพันธมิตรฯ พ่ายกลลวงของศัตรู หรือแพ้ความหลงหรือมีตัวตนของตัวเอง
ผมจึงได้ระบายความห่วงไว้ในวันที่ 5 กับวันที่ 8 มีนาคม 2552 เรื่อง พรรคใหม่-การเมืองใหม่ : คำขานรับที่น่ากลัวกับพรรคใหม่-การเมืองเก่า : ยาพิษในถ้วยทอง ตามลำดับ ผมจะยังไม่ขอฉายซ้ำในตอนนี้
สัปดาห์ก่อนและสัปดาห์ที่แล้ว ผมไปพูดกับพันธมิตรฯ ชลบุรีที่สัตหีบ พันธมิตรฯ หนองคาย และพันธมิตรฯ อุดรธานี คำถามเดียวกันที่ได้ก็คือ พันธมิตรฯ สมควรตั้งพรรคหรือไม่
ผมจึงตอบด้วยการย้อนถามว่า ถ้าพันธมิตรฯ ไม่ตั้งแล้วใครจะตั้ง ถ้าพันธมิตรฯ ไม่ตั้งแล้วจะได้การเมืองใหม่มาอย่างไร
ผมถือโอกาสยกคำพูดของสองพี่น้องเคนเนดี้ที่โด่งดัง คือโรเบิรต์ เคนเนดี้ รัฐมนตรียุติธรรม และประธานธิบดี เคนเนดี้ ผู้พี่ชาย
Robert Kennedy มีโศลกลือชื่อประจำตัวว่า จะมัวถามอยู่ทำไมว่า why? คำตอบมีอยู่แล้วว่า why not? พรรคพันธมิตรฯ “Why not?”
และโศลกอมตะของจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ก็คือ อย่าถามว่า ชาติจะทำอะไรให้กับท่านบ้าง ต้องถามว่า ท่านจะทำอะไรให้ชาติได้บ้าง
ถ้าการตั้งพรรค (แบบ) ใหม่เป็นความจำเป็นเพื่อชาติ การตั้งพรรคของพันธมิตรฯ ก็คือภารกิจประวัติศาสตร์ ทำไมจึงจะไม่ตั้ง จะคอยให้ใครมาตั้ง
อย่างไรก็ตาม ผมขอให้ผู้ฟังตระหนักเสียก่อนดังนี้ว่า
1. การติดยึดกฎหมายเลือกตั้งปัจจุบัน กฎหมายพรรคปัจจุบัน กกต.ปัจจุบัน การสร้างพรรคที่มีโครงสร้างเหมือนพรรคต่างๆ ในปัจจุบัน การเป็นห่วงและนับที่นั่งล่วงหน้าและการหาเงิน หาเสียงเหมือนพรรคในปัจจุบัน การตั้งหัวหน้าพรรคก่อนการตั้งพรรคเหมือนพรรคก่อนๆ การสถาปนาแกนนำเป็นศาสดาหรือผู้นำพรรคโดยอัตโนมัติเป็นการยอมจำนนและติดกับกรอบความคิดเก่า
2. การเมืองไทยยังไม่เคยเป็นประชาธิปไตย การทดลองประชาธิปไตยของไทยสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ซึ่งทหารทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เป็นจุดหักเหหรือสันปันน้ำของการเมืองไทยที่วนเวียนกันอยู่ระหว่าง “วงจรอุบาทว์”แล “วัฏจักรน้ำเน่า” มาจนกระทั่งทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ นิวัตประเทศไทยถาวร 3 วันหลังจากรัฐประหาร เมืองไทยเป็นเผด็จการต่อเนื่องจนถึง 14 ตุลาคม 2516 หลังจากนั้นมีการยึดอำนาจอีกในวันที่ 6 ตุลามหาโหด 2519 ซึ่งทอดยาวจนถึงสิ้นยุคพล.อ.เปรม 4 สิงหาคม 2531 สลับด้วยยุคพล.อ.ชาติชายถึงวันที่ 23 กันยายน 2535 ละสะดุดอีกในวันที่ 19 กันยายน 2549 จนกระทั่งถึง 29 มกราคม 2551 เวลาที่สลับด้วยการเลือกตั้งรัฐบาลชาติชาย ชวน บรรหาร ชวลิต ทักษิณ และสมัคร เงินล้วนแต่เป็นปัจจัยหลักทั้งสิ้น
3. การเมืองไทยตกอยู่ใต้อิทธิพลของ “กงจักรและน้ำเน่า” เพราะระบบบริหารเป็นแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสส่วนกลาง” และระบบการเมืองหรือพรรคการเมืองเป็นแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า”
4. จะต้องคำนึงด้วยว่าการเมืองมิได้จำกัดอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎร แต่มีการเมืองท้องถิ่นด้วยการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาล นายกฯ และสภา อบจ. นายกฯ และสภา อบต.ถึง 150,000 ที่นั่ง ควบคุมและคดโกงเงินถึง 25% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีการปกครองภูมิภาค ซึ่งถูกแต่งตั้งและเป็นทาสนักการเมืองไปแล้วไม่ว่าจะผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจ ทหาร หรือข้าราชการกระทรวงต่างๆ
5. การตั้งพรรคจะต้องไม่ทำลายหรือกระทบกระเทือน ภารกิจประวัติศาสตร์ของพันธมิตรฯ คือ (1) จะต้องไม่ละเลย หย่อนยานหรือเบาบาง การเมืองภาคประชาชน ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและต่อสู้ การกระทำผิดต่อบ้านเมืองและประชาชนของบุคคลตามข้อ 4 (2) การขยายการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เติบโตและต่อเนื่อง และพันธมิตรฯ จะต้องเป็น solidarity movement อย่างแท้จริง ใหญ่โตและกว้างขวางกว่าพรรคการเมือง (3) การต่อสู้ในสภาหรือพรรคการเมืองนั้นเป็นเพียงกองทัพหน้าของผู้ปฏิบัติการจำนวนน้อย ซึ่งจะต้องเป็นตัวแทนและคนใช้ของประชาชนที่จะต้องมาจากประชาชนอย่างแท้จริง โครงสร้าง องค์ประกอบ และพฤติกรรม ของพรรคจะต้องมีการ เกาะเกี่ยว และ เกลื่อนกลืน กันอย่างแนบเนียนทุกระดับคือ ต่างประเทศ กรุงเทพฯ และ พื้นที่
ที่พูดมานี้ เป็นเรื่องพูดง่ายแต่ทำยาก หากไม่เหลือวิสัยของวิญญูชน ขอแต่ให้ทุกคนใช้ปัญญาสมาธิความกล้าหาญ มีความถ่อมตนหรือโยนิโสมนสิการ และความพากเพียรกระทำอิทธิบาทอยู่เป็นเนืองนิตย์ และประดิษฐ์กรอบคิดใหม่ให้สำเร็จเสียก่อน
การตั้งพรรคนั้นเป็นภารกิจศักดิ์สิทธิ์ยิ่งใหญ่และลำบาก ควรตัดสินใจให้เด็ดเดี่ยวและไม่ชักช้า ส่วนจะตั้งอย่างไร เมื่อใด และจะออกแบบอย่างไร จะต้องไม่ยอมจำนนและออกจากรอบของการเมืองน้ำเน่าให้ได้
ขออวยพรให้พันธมิตรฯ นำประเทศออกจากหลุมดำของการเมืองเก่าสำเร็จ!!!
ก็เป็นยังงี้มาตลอดละครับ ผมก็บ่นทุกครั้ง แต่ก็ไปทุกครั้ง เพราะเชื่อพล.ต.จำลองว่า มาทำหน้าที่ ใช้หนี้แผ่นดิน และมาทำบุญ
ผมดีใจที่มีส่วนร่วมเท่าขี้เล็บของผม เมื่อรวมกับพันธมิตรฯ แต่ละคนซึ่งหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศเป็นเวลา 193 วันก็กลายเป็น”ขุนเขาตระหง่านตั้ง เสียดพื้นทิฆัมพร”ขึ้นมาเป็นอภิมหานาฏกรรมประชาธิปไตยที่ผมไม่เชื่อว่าใครในโลกนี้จะลบสถิติได้
แต่ถึงอย่างไร ผมก็ตระหนักดีว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น “มันเป็นเพียงความเคลื่อนไหวเสมือนหนึ่งกระบวนการเท่านั้น” ถึงจะยิ่งใหญ่เพียงใด แต่“มันก็ยังมิใช่และไม่เป็นองค์กร”
หากได้อาศัย 3 องค์กรเก่าที่มีอยู่ คือ ASTV- ผู้จัดการ หนึ่ง กองทัพธรรมสันติอโศก หนึ่ง และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ หนึ่ง จึงเกิดความสามารถในการ “เกาะเกี่ยว” และ “กลมกลืน” กับมวลมหาประชาชนในท่ามกลาง ผู้ยึดมั่นในความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาธิปไตย และรังเกียจความกังฉินกินโกงบ้านเมืองของฝ่ายอธรรม ทำให้ล้มรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมได้ถึง 3 รัฐบาล
ผมได้แต่หวังว่า น้ำหนักภารกิจของพันธมิตรฯ นั้นมิได้ฉุดให้องค์กรที่มีอยู่แล้วลดถอยลงจนกลายสภาพเป็นเพียงความเคลื่อนไหวไปด้วย แต่กลับจะเข้มแข็งและรับผิดชอบ ผลักดันและหนุนช่วยให้พันธมิตรฯ พัฒนาขึ้นเป็นองค์กรที่บริหารด้วยวัตถุประสงค์ให้จงได้
ธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้น จะต้องเริ่มจากความคิดไปสู่ความเคลื่อนไหว ไปสู่กระบวนการ และการจัดการหรือองค์กร แล้วจึงจะกลายเป็นโครงสร้างประจำหรือสถาบันในที่สุด
พรรคการเมืองเป็นสถาบันสังคมในระดับสูงสุด ซึ่งต้องพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ โดยอาศัยฐานที่ตั้งและทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์จากองค์กรที่เรียกว่า “องค์กรระดับที่สอง” ประเทศเรามีองค์กรระดับที่สองน้อยมาก และที่มีอยู่ส่วนใหญ่ก็อ่อนแอ กองทัพธรรมของสันติอโศกเป็นตัวอย่างขององค์กรระดับที่สองที่แข็งแกร่งพอที่จะเป็นหลักให้พันธมิตรฯ ต่อสู้อย่างยืดเยื้อยาวนานได้ ส่วน ASTV นั้นเป็นองค์กรระดับที่หนึ่ง พนักงานของ ASTV จะต้องรวมตัวกันเข้ากับผู้มีอาชีพเดียวกันเป็นสหภาพหรือสมาคมผู้สื่อข่าว จึงจะยกระดับกลายเป็นองค์กรระดับที่สองขึ้นมาได้ต่างหาก
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะต้องพัฒนาขึ้นมาเป็นองค์กรระดับสองเสียก่อน สมาชิกขององค์กรจึงจะสามารถแยกย้ายกันออกไปเป็นกองทัพหน้า กองทัพหลัง กองทัพหนุน และกองทัพหลวงในพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ที่จะตั้งขึ้นมา
ที่พูดนี้ดูเหมือนจะยุ่งยากและยอกย้อนกินเวลามาก ชาติหน้าบ่ายๆ อาจจะยังไม่สำเร็จ ความจริงไม่ใช่ อุปมาเหมือนเราจะสร้างรถยนต์ หรือทีมฟุตบอลลีก เราไม่จำเป็นจะต้องเริ่มที่ ก. ข. ใหม่ เพราะองค์ความรู้ ตำรา และตัวอย่างพื้นฐานมีอยู่แล้ว
เพียงแต่ว่า การเมืองเก่าขึ้นอยู่กับสัญลักษณ์เก่า โครงสร้างเก่า องค์ประกอบเก่า และระบบพฤติกรรมเก่า เรียกรวมๆ กันว่า “กรอบคิดเก่า หรือ old paradigm (อย่าไปแปลเป็นแขกโดยไม่จำเป็นว่ากระบวนทัศน์)
“การเมืองใหม่” จะต้องไม่ติดกับหรือติดกรอบของความคิดเก่า การเมืองใหม่จะต้องเริ่มด้วย กรอบความคิดใหม่ new paradigm
พันธมิตรฯ โค่นล้มรัฐบาลอธรรมสำเร็จด้วยกรอบความคิดใหม่ เรื่องการกระทำหน้าที่พิทักษ์หลักรัฐธรรมนูญโดยอาศัยปรัชญาพุทธ และทฤษฎีสัญญาประชาคม หรือ social contract ซึ่งถึงแม้จะเป็นของเก่าแก่ ก็เพิ่งจะถูกนำมาใช้อย่างจริงจังและเห็นผล
ไม่ต้องสมมติว่าอีกต่อไป ต้องสรุปเลยดีกว่าว่า หากต้องการเห็นการเมืองใหม่ พันธมิตรฯ จะต้องตั้งพรรคการเมือง เพราะพรรคการเมืองที่มีอยู่ทั้งหมดขณะนี้ ล้วนแต่เป็นพรรคการเมืองในกับและกรอบของความคิดเก่า
เริ่มตั้งแต่ความคิดตั้งพรรค กระบวนการจัดตั้งพรรค ลักษณะของพรรค โครงสร้าง องค์ประกอบของพรรค และปฏิบัติการของพรรคหรือพฤติกรรมของพรรคในการเลือกผู้นำ เลือกผู้สมัคร ในการหาเสียง ในการปฏิบัติหน้าที่ในสภา ล้วนแล้วแต่จะต้องเป็นไปตามกรอบความคิดใหม่ทั้งสิ้น
พรรคพันธมิตรฯ จะออกจากกับหรือกรอบความคิดเก่า ได้หรือ พรรคพันธมิตรฯจะไม่ทำเหมือนพรรคเก่าๆ ได้ไหม
คำถามนี้จะต้องตอบด้วยการกระทำมิใช่ด้วยคำพูดของแกนนำและมวลชนของพันธมิตรฯ ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
ผมเห็นใจในความจำเป็นที่พันธมิตรฯ จะต้องตั้งพรรค ผมเอาใจช่วย และไม่ตั้งใจจะขัดขวาง เพียงแต่อยากจะให้เกิดลูกฮึดและใช้ปัญญา สมาธิกับความกล้าหาญ ผมไม่อยากเห็นพันธมิตรฯ พ่ายกลลวงของศัตรู หรือแพ้ความหลงหรือมีตัวตนของตัวเอง
ผมจึงได้ระบายความห่วงไว้ในวันที่ 5 กับวันที่ 8 มีนาคม 2552 เรื่อง พรรคใหม่-การเมืองใหม่ : คำขานรับที่น่ากลัวกับพรรคใหม่-การเมืองเก่า : ยาพิษในถ้วยทอง ตามลำดับ ผมจะยังไม่ขอฉายซ้ำในตอนนี้
สัปดาห์ก่อนและสัปดาห์ที่แล้ว ผมไปพูดกับพันธมิตรฯ ชลบุรีที่สัตหีบ พันธมิตรฯ หนองคาย และพันธมิตรฯ อุดรธานี คำถามเดียวกันที่ได้ก็คือ พันธมิตรฯ สมควรตั้งพรรคหรือไม่
ผมจึงตอบด้วยการย้อนถามว่า ถ้าพันธมิตรฯ ไม่ตั้งแล้วใครจะตั้ง ถ้าพันธมิตรฯ ไม่ตั้งแล้วจะได้การเมืองใหม่มาอย่างไร
ผมถือโอกาสยกคำพูดของสองพี่น้องเคนเนดี้ที่โด่งดัง คือโรเบิรต์ เคนเนดี้ รัฐมนตรียุติธรรม และประธานธิบดี เคนเนดี้ ผู้พี่ชาย
Robert Kennedy มีโศลกลือชื่อประจำตัวว่า จะมัวถามอยู่ทำไมว่า why? คำตอบมีอยู่แล้วว่า why not? พรรคพันธมิตรฯ “Why not?”
และโศลกอมตะของจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ก็คือ อย่าถามว่า ชาติจะทำอะไรให้กับท่านบ้าง ต้องถามว่า ท่านจะทำอะไรให้ชาติได้บ้าง
ถ้าการตั้งพรรค (แบบ) ใหม่เป็นความจำเป็นเพื่อชาติ การตั้งพรรคของพันธมิตรฯ ก็คือภารกิจประวัติศาสตร์ ทำไมจึงจะไม่ตั้ง จะคอยให้ใครมาตั้ง
อย่างไรก็ตาม ผมขอให้ผู้ฟังตระหนักเสียก่อนดังนี้ว่า
1. การติดยึดกฎหมายเลือกตั้งปัจจุบัน กฎหมายพรรคปัจจุบัน กกต.ปัจจุบัน การสร้างพรรคที่มีโครงสร้างเหมือนพรรคต่างๆ ในปัจจุบัน การเป็นห่วงและนับที่นั่งล่วงหน้าและการหาเงิน หาเสียงเหมือนพรรคในปัจจุบัน การตั้งหัวหน้าพรรคก่อนการตั้งพรรคเหมือนพรรคก่อนๆ การสถาปนาแกนนำเป็นศาสดาหรือผู้นำพรรคโดยอัตโนมัติเป็นการยอมจำนนและติดกับกรอบความคิดเก่า
2. การเมืองไทยยังไม่เคยเป็นประชาธิปไตย การทดลองประชาธิปไตยของไทยสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ซึ่งทหารทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เป็นจุดหักเหหรือสันปันน้ำของการเมืองไทยที่วนเวียนกันอยู่ระหว่าง “วงจรอุบาทว์”แล “วัฏจักรน้ำเน่า” มาจนกระทั่งทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ นิวัตประเทศไทยถาวร 3 วันหลังจากรัฐประหาร เมืองไทยเป็นเผด็จการต่อเนื่องจนถึง 14 ตุลาคม 2516 หลังจากนั้นมีการยึดอำนาจอีกในวันที่ 6 ตุลามหาโหด 2519 ซึ่งทอดยาวจนถึงสิ้นยุคพล.อ.เปรม 4 สิงหาคม 2531 สลับด้วยยุคพล.อ.ชาติชายถึงวันที่ 23 กันยายน 2535 ละสะดุดอีกในวันที่ 19 กันยายน 2549 จนกระทั่งถึง 29 มกราคม 2551 เวลาที่สลับด้วยการเลือกตั้งรัฐบาลชาติชาย ชวน บรรหาร ชวลิต ทักษิณ และสมัคร เงินล้วนแต่เป็นปัจจัยหลักทั้งสิ้น
3. การเมืองไทยตกอยู่ใต้อิทธิพลของ “กงจักรและน้ำเน่า” เพราะระบบบริหารเป็นแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสส่วนกลาง” และระบบการเมืองหรือพรรคการเมืองเป็นแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า”
4. จะต้องคำนึงด้วยว่าการเมืองมิได้จำกัดอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎร แต่มีการเมืองท้องถิ่นด้วยการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาล นายกฯ และสภา อบจ. นายกฯ และสภา อบต.ถึง 150,000 ที่นั่ง ควบคุมและคดโกงเงินถึง 25% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีการปกครองภูมิภาค ซึ่งถูกแต่งตั้งและเป็นทาสนักการเมืองไปแล้วไม่ว่าจะผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจ ทหาร หรือข้าราชการกระทรวงต่างๆ
5. การตั้งพรรคจะต้องไม่ทำลายหรือกระทบกระเทือน ภารกิจประวัติศาสตร์ของพันธมิตรฯ คือ (1) จะต้องไม่ละเลย หย่อนยานหรือเบาบาง การเมืองภาคประชาชน ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและต่อสู้ การกระทำผิดต่อบ้านเมืองและประชาชนของบุคคลตามข้อ 4 (2) การขยายการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เติบโตและต่อเนื่อง และพันธมิตรฯ จะต้องเป็น solidarity movement อย่างแท้จริง ใหญ่โตและกว้างขวางกว่าพรรคการเมือง (3) การต่อสู้ในสภาหรือพรรคการเมืองนั้นเป็นเพียงกองทัพหน้าของผู้ปฏิบัติการจำนวนน้อย ซึ่งจะต้องเป็นตัวแทนและคนใช้ของประชาชนที่จะต้องมาจากประชาชนอย่างแท้จริง โครงสร้าง องค์ประกอบ และพฤติกรรม ของพรรคจะต้องมีการ เกาะเกี่ยว และ เกลื่อนกลืน กันอย่างแนบเนียนทุกระดับคือ ต่างประเทศ กรุงเทพฯ และ พื้นที่
ที่พูดมานี้ เป็นเรื่องพูดง่ายแต่ทำยาก หากไม่เหลือวิสัยของวิญญูชน ขอแต่ให้ทุกคนใช้ปัญญาสมาธิความกล้าหาญ มีความถ่อมตนหรือโยนิโสมนสิการ และความพากเพียรกระทำอิทธิบาทอยู่เป็นเนืองนิตย์ และประดิษฐ์กรอบคิดใหม่ให้สำเร็จเสียก่อน
การตั้งพรรคนั้นเป็นภารกิจศักดิ์สิทธิ์ยิ่งใหญ่และลำบาก ควรตัดสินใจให้เด็ดเดี่ยวและไม่ชักช้า ส่วนจะตั้งอย่างไร เมื่อใด และจะออกแบบอย่างไร จะต้องไม่ยอมจำนนและออกจากรอบของการเมืองน้ำเน่าให้ได้
ขออวยพรให้พันธมิตรฯ นำประเทศออกจากหลุมดำของการเมืองเก่าสำเร็จ!!!