สวัสดีครับทุกท่าน สัปดาห์นี้ผมมีประเด็นในเรื่องแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยมานำเสนอ ทั้งนี้ เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญที่ไม่มีใครคาดคิดเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ตลาดการเงินในสหรัฐฯมีการกลับมาคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่จะเกิดขึ้นในเดือน พ.ย.52 อย่างน้อย 0.25% จากระดับอัตราดอกเบี้ย Fed fund ในปัจจุบันที่ 0-0.25% โดยระดับของควานน่าจะเป็นที่สะท้อนผ่าน Fed fund future ระบุว่ามีความเป็นไปได้ 41.7% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.25% และ มีความเป็นไปได้ 15.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% หรืออาจจะกล่าวได้ว่า มีความน่าจะเป็นถึง 57.2% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่ความเป็นไปได้ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมลดลงเหลือเพียง 36.7% ซึ่งหากพิจารณาระดับความน่าจะเป็นในระดับดังกล่าวพบว่าต่ำกว่า 50% และต่ำกว่าระดับ 80% ที่มีการคาดการณ์อยู่ในปัจจุบัน
สำหรับการคาดการณ์ในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นการคาดการณ์ที่แตกต่างจากเดิมที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วที่สุดปลายปี 2553 ผมคิดว่า หากประเมินจากสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันคนส่วนใหญ่คงไม่คิดว่าธนาคารกลางที่ไหนในโลกนี้จะกล้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 ดังนั้น ความเชื่อเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯอาจจะยังคงไม่แพร่หลายมากนัก แต่ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมเชื่อและคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 หากดูการเคลื่อนไหวของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ พบว่า นักลงทุนในตลาดพันธบัตรเริ่มเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสปรับขึ้น เนื่องจาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น (1-2ปี) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 17-38 bps ภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่มีนัยสำคัญ ดังนั้น ผมจึงอยากเรียนให้ทุกท่านติดตามเรื่องอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯอย่างใกล้ชิด
พูดถึงสถานการณ์ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสปรับขึ้นกันมาพอสมควรแล้ว ผมอยากจะอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ตลาดการเงินคาดการณ์ในเรื่องดังกล่าวบ้างว่ามีแนวคิดอย่างไร โดยสรุป ผมคิดว่ามี 2 ประเด็น คือ 1) การที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ โดยล่าสุด ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payroll) เดือน พ.ค.ลดลง 345,000 ราย ซึ่งน้อยกว่าคาดการณ์ ในขณะที่สัปดาห์นี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ตัวเลข Retail sales เดือน พ.ค.จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% mom ส่งผลให้ตลาดการเงินมีความหวังมากขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวได้เร็วโดยเฉพาะในด้านการบริโภค ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุด คือ 70% ของ GDP สหรัฐฯ 2) ความกังวลในเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจากการที่เฟดอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบการเงินผ่านการซื้อพันธบัตร และ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแล้ว 100% จากระดับต่ำสุดในปีนี้ ผมคิดว่า ทั้ง 2 ปัจจัยก็ยังคงมีน้ำหนักไม่มาก โดยเฉพาะในเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งยังคงต้องใช้เวลา ซึ่งอาจส่งผลให้ยังคงไม่เกิดเงินเฟ้อในปี 2552 แต่สาเหตุสำคัญที่ผมคิดว่าเป็นปัจจัยที่เร่งให้เฟดอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น คือ การส่งสัญญาณในเรื่องการจัดการกับสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดการเงิน ซึ่งกำลังนำไปสู่ภาวะฟองสบู่อีกครั้งในตลาดหุ้น หรือ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทย หากพิจารณาดูจากภาวะเศรษฐกิจและความตึงตัวในตลาดการเงินระยะสั้น คงต้องบอกว่า ธปท.ยังคงไม่น่าจะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินมีอยู่อีกมาก แต่สำหรับในปี 2553 นั้นมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นได้ 25 bps เนื่องจาก 1) ผมคาดว่าสภาพคล่องทางการเงินในประเทศจะลดลง จากการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับ คาดว่า ธนาคารพาณิชย์คงเริ่มปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากผมคาดว่าสินเชื่อจะขยายตัวมากขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น 2) ในเรื่องการคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ (Inflation expectation) จะเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบหากธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังนั้น ผมจึงคาดการณ์ว่าก่อนที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะต้องมีมาตรการรองรับที่ชัดเจนแล้ว ส่วน ผลกระทบต่อไทย ในส่วนของภาคธุรกิจไม่น่าจะมากนัก หากอยู่ในระดับ 25-50 bps เนื่องจากอัตราดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกันกับตลาดหุ้น แต่ที่น่าจะมีมากหน่อยในช่วงนี้ คือ ตลาดพันธบัตรที่คาดว่าจะทำให้มีความผันผวนเพิ่มขึ้น
สำหรับการคาดการณ์ในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นการคาดการณ์ที่แตกต่างจากเดิมที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วที่สุดปลายปี 2553 ผมคิดว่า หากประเมินจากสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันคนส่วนใหญ่คงไม่คิดว่าธนาคารกลางที่ไหนในโลกนี้จะกล้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 ดังนั้น ความเชื่อเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯอาจจะยังคงไม่แพร่หลายมากนัก แต่ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมเชื่อและคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 หากดูการเคลื่อนไหวของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ พบว่า นักลงทุนในตลาดพันธบัตรเริ่มเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสปรับขึ้น เนื่องจาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น (1-2ปี) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 17-38 bps ภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่มีนัยสำคัญ ดังนั้น ผมจึงอยากเรียนให้ทุกท่านติดตามเรื่องอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯอย่างใกล้ชิด
พูดถึงสถานการณ์ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสปรับขึ้นกันมาพอสมควรแล้ว ผมอยากจะอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ตลาดการเงินคาดการณ์ในเรื่องดังกล่าวบ้างว่ามีแนวคิดอย่างไร โดยสรุป ผมคิดว่ามี 2 ประเด็น คือ 1) การที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ โดยล่าสุด ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payroll) เดือน พ.ค.ลดลง 345,000 ราย ซึ่งน้อยกว่าคาดการณ์ ในขณะที่สัปดาห์นี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ตัวเลข Retail sales เดือน พ.ค.จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% mom ส่งผลให้ตลาดการเงินมีความหวังมากขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวได้เร็วโดยเฉพาะในด้านการบริโภค ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุด คือ 70% ของ GDP สหรัฐฯ 2) ความกังวลในเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจากการที่เฟดอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบการเงินผ่านการซื้อพันธบัตร และ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแล้ว 100% จากระดับต่ำสุดในปีนี้ ผมคิดว่า ทั้ง 2 ปัจจัยก็ยังคงมีน้ำหนักไม่มาก โดยเฉพาะในเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งยังคงต้องใช้เวลา ซึ่งอาจส่งผลให้ยังคงไม่เกิดเงินเฟ้อในปี 2552 แต่สาเหตุสำคัญที่ผมคิดว่าเป็นปัจจัยที่เร่งให้เฟดอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น คือ การส่งสัญญาณในเรื่องการจัดการกับสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดการเงิน ซึ่งกำลังนำไปสู่ภาวะฟองสบู่อีกครั้งในตลาดหุ้น หรือ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทย หากพิจารณาดูจากภาวะเศรษฐกิจและความตึงตัวในตลาดการเงินระยะสั้น คงต้องบอกว่า ธปท.ยังคงไม่น่าจะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินมีอยู่อีกมาก แต่สำหรับในปี 2553 นั้นมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นได้ 25 bps เนื่องจาก 1) ผมคาดว่าสภาพคล่องทางการเงินในประเทศจะลดลง จากการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับ คาดว่า ธนาคารพาณิชย์คงเริ่มปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากผมคาดว่าสินเชื่อจะขยายตัวมากขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น 2) ในเรื่องการคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ (Inflation expectation) จะเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบหากธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังนั้น ผมจึงคาดการณ์ว่าก่อนที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะต้องมีมาตรการรองรับที่ชัดเจนแล้ว ส่วน ผลกระทบต่อไทย ในส่วนของภาคธุรกิจไม่น่าจะมากนัก หากอยู่ในระดับ 25-50 bps เนื่องจากอัตราดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกันกับตลาดหุ้น แต่ที่น่าจะมีมากหน่อยในช่วงนี้ คือ ตลาดพันธบัตรที่คาดว่าจะทำให้มีความผันผวนเพิ่มขึ้น