เดือนธันวาคม 2551 ก่อนและหลังการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำที่คนไทยเฝ้ารอมาหลายปีดีดัก ผมเขียนบทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการรายวันจำนวน 2 ชิ้น ชิ้นแรก ภารกิจของอภิสิทธิ์ (11 ธ.ค.) และชิ้นถัดมา จุดอ่อนของอภิสิทธิ์ (18 ธ.ค.)
ในบทความชิ้นแรก ผมเขียนถึงภารกิจ 4 ประการที่รัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ ในฐานะฝ่ายบริหารต้องรีบทำอย่างเร่งด่วนที่สุด ประกอบไปด้วย ลำดับที่หนึ่ง การปกป้องและรักษาสถาบันหลักของชาติโดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ และการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ ลำดับที่สอง การแก้ไขและบรรเทาปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ลำดับที่สาม การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้และการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และลำดับที่สี่ การแก้ไขปัญหาเรื่องเขาพระวิหารและชายแดน
ขณะที่บทความชิ้นที่สองเรื่องจุดอ่อนของอภิสิทธิ์ ผมได้เขียนถึง “ข้อกังวล และ ความเป็นห่วง” ของบุคคลภายนอกที่มีต่อบุคลิก-ลักษณะนิสัยของคุณอภิสิทธิ์เองที่ค่อนข้างจะเป็นคนที่มีความอ่อนโยน แม้จะไม่ถึงขั้นอ่อนแอ แต่อาจจะเข้าข่าย “ขาดความเด็ดขาด”
ในช่วงเกือบ 6 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่คุณอภิสิทธิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 51 ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาผิดพลาด ส่งผลเสียให้ความทุ่มเทและความตั้งใจจริงที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ได้ดำเนินการไป โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างชาติและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้นกลับกลายเป็นเรื่อง “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” จากเหตุการณ์การเผาเมืองของคนเสื้อแดงในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ในเหตุการณ์ครั้งนั้นแม้จะไม่มีเจ้าหน้าที่ หรือคนเสื้อแดงเสียชีวิตจากการเข้าสลายการชุมนุม แต่ก็มีชีวิตชาวบ้านย่านนางเลิ้ง 2 คนที่ต้องถูกสังเวยให้กับความป่าเถื่อนของคนเสื้อแดงและความอ่อนแอในการบังคับใช้กฎหมายของผู้กุมอำนาจในภาครัฐ
การประกาศยกเลิกการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ความเสียหายทางเศรษฐกิจและชีวิตชาวบ้านนางเลิ้ง ถือว่าเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ควรจะใช้เป็นข้อเตือนใจในการเพิ่มพูน “ความกล้าหาญ” และ “ความเด็ดขาด” ให้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดการปัญหา และ บุคลากรด้านความมั่นคง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ วันนี้ สื่อมวลชน และประชาชนจำนวนไม่น้อยได้ตั้งคำถามกับการจัดการด้านความมั่นคงของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่พิสูจน์ถึงความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่ความล้มเหลวของการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา, การปล่อยให้ม็อบเสื้อแดงบุกเข้าไปทุบรถเพื่อหมายสังหารนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีถึงในกระทรวงมหาดไทย, การดำเนินการเผาเมืองด้วยรถแก๊สและรถเมล์ของคนเสื้อแดง ......
เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ล่าสุดคือ เหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งคนร้ายได้กราดยิงเข้าไปในมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 11 คน และบาดเจ็บอีกนับสิบราย
ความอุกอาจและอำมหิตของคนร้ายนั้นไม่แปลกที่เว็บไซต์ ASTVผู้จัดการนั้นจะพาดหัวว่าผู้กระทำนั้นมีพฤติกรรมเยี่ยง “สัตว์นรก” เพราะเหตุการณ์การทำร้ายผู้บริสุทธิ์นั้นเกิดขึ้นในบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่พี่น้องชาวมุสลิมกำลังทำละหมาดอยู่ด้วย!
นักข่าว ตำรวจ และนักวิชาการผู้คลุกคลีกับปัญหาภาคใต้หลายคนกล่าวในทำนองเดียวกันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่มัสยิด อ.เจาะไอร้องครั้งนี้ อาจจะเป็นชนวนที่จุดให้เกิดความรุนแรงรอบใหม่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ในเร็ววันนี้ และคราวนี้อาจจะมีความรุนแรงไม่แพ้เหตุการณ์ที่ผ่านๆ มา
ที่สำคัญมีหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า การลงมือครั้งนี้อาจไม่ได้เป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายที่หวังแบ่งแยกดินแดน แต่เป็น “กลุ่มอิทธิพล-กลุ่มคนมีสี” บางกลุ่มที่แสวงประโยชน์จากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งจากงบประมาณภาครัฐ จากธุรกิจผิดกฎหมาย-ยาเสพติด เป็นต้น
นับถึงวันนี้ ความไม่สงบในภาคใต้ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 แล้ว และ สถานการณ์ได้ถลำลึกเข้าไปสู่สถานการณ์เรื้อรัง ที่ศัตรูในสายตาที่หวาดระแวงของชาวบ้านมิได้มีแต่โจรผู้ก่อความไม่สงบหรือผู้ก่อการร้าย แต่เป็นตัวเจ้าหน้าที่ภาครัฐและอาจรวมถึงตัว “รัฐ” เองด้วย
สิ่งที่น่าเสียดายที่สุดก็คือ แม้พรรคประชาธิปัตย์ที่เคยคุยนักคุยหนาว่าตัวเองเข้าใจปัญหาภาคใต้ และหากได้เข้ามามีอำนาจบริหารก็จะสามารถแก้ปัญหาภาคใต้ได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด ก็ยังไม่สามารถบรรเทาให้สถานการณ์ความรุนแรงเบาบางลงได้
จริงๆ แล้ว ผมเห็นด้วยกับการที่คุณอภิสิทธิ์ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ครม.ภาคใต้) และสำนักงานบริหารกิจการชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ขึ้นมามีหน้าที่รับผิดชอบและจัดการกับปัญหาภาคใต้โดยตรง อย่างไรก็ตาม ผมต้องขออนุญาตทักท้วงคุณอภิสิทธิ์ด้วยว่า คุณอภิสิทธิ์ควรจะมีความเด็ดขาดมากกว่านี้ ในการจัดการกับผู้รับผิดชอบดูแลปัญหาความมั่นคง 4 คน อันประกอบไปด้วย
1. คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง
2. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก
และ 4. พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ในที่นี้ผมคงไม่ต้องแจกแจงว่า บุคคลทั้ง 4 มีหน้าที่อะไรเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคง และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้บ้าง เพราะทุกคนต่างก็เป็นข้าราชการระดับสูงและผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสายงานของตัวเอง อีกทั้งก็คงไม่จำเป็นต้องแจกแจงด้วยว่าทั้ง 4 คน ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวใดๆ บ้างในการจัดการความมั่นคงในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
จากผลงานของทั้ง 4 คนในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาและความแน่นเหนียวในการยึดโยงอยู่กับตำแหน่ง ณ ปัจจุบัน ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกครับ หากใครจะกล่าวหาว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” อยู่ภายใต้อิทธิพลของ “สีเขียว” กับอีกเงาของ คุณเนวิน ชิดชอบ ที่ผมขออนุญาตเรียกว่า “แก๊ง 5 คน”
แม้ “แก๊ง 5 คน” ในยุคคุณอภิสิทธิ์นี้ดูจะมีอิทธิฤทธิ์ไม่เท่า “แก๊ง 4 คน” ของจีนในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม อันประกอบไปด้วย เจียง ชิง, หวัง หงเหวิน, จาง ชุนเฉียว และเหยา เหวินหยวน แต่ผมเชื่อว่า “แก๊ง 5 คน” ในยุคนี้ มีฤทธิ์เดชเหนือกว่า “แก๊ง 4 คน” ที่สมาชิก 3 ใน 4 มีนามว่า “ป๊อก-โป๋-เป็ด” ในยุครัฐบาลสมัคร สุนทรเวชแน่นอน อีกทั้งมีแนวโน้มว่าคนกลุ่มนี้จะยังสามารถยึดกุมอำนาจและคงอิทธิพลในสังคมไทยไปได้อีกนานหลายปี
น่าเสียดายครับที่หลังวิกฤตการณ์เสื้อแดงช่วงสงกรานต์ คุณอภิสิทธิ์ได้ปล่อย “โอกาสทอง” ในการกำชับอำนาจให้หลุดลอยไปเปล่าๆ และปล่อยให้พรรคร่วมรัฐบาลได้ใจ จนนำมาสู่การผลักดันโครงการที่ไม่โปร่งใสต่างๆ มาต่อรองกับคุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์
กระนั้นผมยังเชื่อมั่นและยังคาดหวังครับว่า ความเสียหายในทรัพย์สินและภาพลักษณ์บ้านเมืองในช่วงเดือนเมษายน อีกความสูญเสียของ 2 ชีวิตของชาวบ้านที่นางเลิ้ง และ 10 กว่าชีวิตของชาวบ้านที่เจาะไอร้อง รวมถึงอีกหลายร้อยหลายพันชีวิตที่ภาคใต้คงจะไม่สูญเปล่าในมือคุณอภิสิทธิ์
ในบทความชิ้นแรก ผมเขียนถึงภารกิจ 4 ประการที่รัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ ในฐานะฝ่ายบริหารต้องรีบทำอย่างเร่งด่วนที่สุด ประกอบไปด้วย ลำดับที่หนึ่ง การปกป้องและรักษาสถาบันหลักของชาติโดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ และการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ ลำดับที่สอง การแก้ไขและบรรเทาปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ลำดับที่สาม การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้และการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และลำดับที่สี่ การแก้ไขปัญหาเรื่องเขาพระวิหารและชายแดน
ขณะที่บทความชิ้นที่สองเรื่องจุดอ่อนของอภิสิทธิ์ ผมได้เขียนถึง “ข้อกังวล และ ความเป็นห่วง” ของบุคคลภายนอกที่มีต่อบุคลิก-ลักษณะนิสัยของคุณอภิสิทธิ์เองที่ค่อนข้างจะเป็นคนที่มีความอ่อนโยน แม้จะไม่ถึงขั้นอ่อนแอ แต่อาจจะเข้าข่าย “ขาดความเด็ดขาด”
ในช่วงเกือบ 6 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่คุณอภิสิทธิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 51 ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาผิดพลาด ส่งผลเสียให้ความทุ่มเทและความตั้งใจจริงที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ได้ดำเนินการไป โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างชาติและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้นกลับกลายเป็นเรื่อง “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” จากเหตุการณ์การเผาเมืองของคนเสื้อแดงในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ในเหตุการณ์ครั้งนั้นแม้จะไม่มีเจ้าหน้าที่ หรือคนเสื้อแดงเสียชีวิตจากการเข้าสลายการชุมนุม แต่ก็มีชีวิตชาวบ้านย่านนางเลิ้ง 2 คนที่ต้องถูกสังเวยให้กับความป่าเถื่อนของคนเสื้อแดงและความอ่อนแอในการบังคับใช้กฎหมายของผู้กุมอำนาจในภาครัฐ
การประกาศยกเลิกการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ความเสียหายทางเศรษฐกิจและชีวิตชาวบ้านนางเลิ้ง ถือว่าเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ควรจะใช้เป็นข้อเตือนใจในการเพิ่มพูน “ความกล้าหาญ” และ “ความเด็ดขาด” ให้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดการปัญหา และ บุคลากรด้านความมั่นคง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ วันนี้ สื่อมวลชน และประชาชนจำนวนไม่น้อยได้ตั้งคำถามกับการจัดการด้านความมั่นคงของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่พิสูจน์ถึงความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่ความล้มเหลวของการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา, การปล่อยให้ม็อบเสื้อแดงบุกเข้าไปทุบรถเพื่อหมายสังหารนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีถึงในกระทรวงมหาดไทย, การดำเนินการเผาเมืองด้วยรถแก๊สและรถเมล์ของคนเสื้อแดง ......
เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ล่าสุดคือ เหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งคนร้ายได้กราดยิงเข้าไปในมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 11 คน และบาดเจ็บอีกนับสิบราย
ความอุกอาจและอำมหิตของคนร้ายนั้นไม่แปลกที่เว็บไซต์ ASTVผู้จัดการนั้นจะพาดหัวว่าผู้กระทำนั้นมีพฤติกรรมเยี่ยง “สัตว์นรก” เพราะเหตุการณ์การทำร้ายผู้บริสุทธิ์นั้นเกิดขึ้นในบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่พี่น้องชาวมุสลิมกำลังทำละหมาดอยู่ด้วย!
นักข่าว ตำรวจ และนักวิชาการผู้คลุกคลีกับปัญหาภาคใต้หลายคนกล่าวในทำนองเดียวกันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่มัสยิด อ.เจาะไอร้องครั้งนี้ อาจจะเป็นชนวนที่จุดให้เกิดความรุนแรงรอบใหม่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ในเร็ววันนี้ และคราวนี้อาจจะมีความรุนแรงไม่แพ้เหตุการณ์ที่ผ่านๆ มา
ที่สำคัญมีหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า การลงมือครั้งนี้อาจไม่ได้เป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายที่หวังแบ่งแยกดินแดน แต่เป็น “กลุ่มอิทธิพล-กลุ่มคนมีสี” บางกลุ่มที่แสวงประโยชน์จากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งจากงบประมาณภาครัฐ จากธุรกิจผิดกฎหมาย-ยาเสพติด เป็นต้น
นับถึงวันนี้ ความไม่สงบในภาคใต้ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 แล้ว และ สถานการณ์ได้ถลำลึกเข้าไปสู่สถานการณ์เรื้อรัง ที่ศัตรูในสายตาที่หวาดระแวงของชาวบ้านมิได้มีแต่โจรผู้ก่อความไม่สงบหรือผู้ก่อการร้าย แต่เป็นตัวเจ้าหน้าที่ภาครัฐและอาจรวมถึงตัว “รัฐ” เองด้วย
สิ่งที่น่าเสียดายที่สุดก็คือ แม้พรรคประชาธิปัตย์ที่เคยคุยนักคุยหนาว่าตัวเองเข้าใจปัญหาภาคใต้ และหากได้เข้ามามีอำนาจบริหารก็จะสามารถแก้ปัญหาภาคใต้ได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด ก็ยังไม่สามารถบรรเทาให้สถานการณ์ความรุนแรงเบาบางลงได้
จริงๆ แล้ว ผมเห็นด้วยกับการที่คุณอภิสิทธิ์ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ครม.ภาคใต้) และสำนักงานบริหารกิจการชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ขึ้นมามีหน้าที่รับผิดชอบและจัดการกับปัญหาภาคใต้โดยตรง อย่างไรก็ตาม ผมต้องขออนุญาตทักท้วงคุณอภิสิทธิ์ด้วยว่า คุณอภิสิทธิ์ควรจะมีความเด็ดขาดมากกว่านี้ ในการจัดการกับผู้รับผิดชอบดูแลปัญหาความมั่นคง 4 คน อันประกอบไปด้วย
1. คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง
2. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก
และ 4. พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ในที่นี้ผมคงไม่ต้องแจกแจงว่า บุคคลทั้ง 4 มีหน้าที่อะไรเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคง และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้บ้าง เพราะทุกคนต่างก็เป็นข้าราชการระดับสูงและผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสายงานของตัวเอง อีกทั้งก็คงไม่จำเป็นต้องแจกแจงด้วยว่าทั้ง 4 คน ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวใดๆ บ้างในการจัดการความมั่นคงในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
จากผลงานของทั้ง 4 คนในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาและความแน่นเหนียวในการยึดโยงอยู่กับตำแหน่ง ณ ปัจจุบัน ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกครับ หากใครจะกล่าวหาว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” อยู่ภายใต้อิทธิพลของ “สีเขียว” กับอีกเงาของ คุณเนวิน ชิดชอบ ที่ผมขออนุญาตเรียกว่า “แก๊ง 5 คน”
แม้ “แก๊ง 5 คน” ในยุคคุณอภิสิทธิ์นี้ดูจะมีอิทธิฤทธิ์ไม่เท่า “แก๊ง 4 คน” ของจีนในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม อันประกอบไปด้วย เจียง ชิง, หวัง หงเหวิน, จาง ชุนเฉียว และเหยา เหวินหยวน แต่ผมเชื่อว่า “แก๊ง 5 คน” ในยุคนี้ มีฤทธิ์เดชเหนือกว่า “แก๊ง 4 คน” ที่สมาชิก 3 ใน 4 มีนามว่า “ป๊อก-โป๋-เป็ด” ในยุครัฐบาลสมัคร สุนทรเวชแน่นอน อีกทั้งมีแนวโน้มว่าคนกลุ่มนี้จะยังสามารถยึดกุมอำนาจและคงอิทธิพลในสังคมไทยไปได้อีกนานหลายปี
น่าเสียดายครับที่หลังวิกฤตการณ์เสื้อแดงช่วงสงกรานต์ คุณอภิสิทธิ์ได้ปล่อย “โอกาสทอง” ในการกำชับอำนาจให้หลุดลอยไปเปล่าๆ และปล่อยให้พรรคร่วมรัฐบาลได้ใจ จนนำมาสู่การผลักดันโครงการที่ไม่โปร่งใสต่างๆ มาต่อรองกับคุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์
กระนั้นผมยังเชื่อมั่นและยังคาดหวังครับว่า ความเสียหายในทรัพย์สินและภาพลักษณ์บ้านเมืองในช่วงเดือนเมษายน อีกความสูญเสียของ 2 ชีวิตของชาวบ้านที่นางเลิ้ง และ 10 กว่าชีวิตของชาวบ้านที่เจาะไอร้อง รวมถึงอีกหลายร้อยหลายพันชีวิตที่ภาคใต้คงจะไม่สูญเปล่าในมือคุณอภิสิทธิ์